Cicada CINEMA SESSIONS

Article Import

Cicada วงไต้หวันกับดนตรี neo-classical ป๊อปน่าฟัง โชว์ที่แตกต่างที่สุดใน CINEMA SESSIONS

Cicada วงอินดี้ที่ฟอร์มมาครบ 10 ปี สร้างบรรยากาศอันคลาสสิกในทุกโชว์ด้วยอุณหภูมิพอเหมาะ เพลงของพวกเขายืนอยู่บนเส้นแบ่งของความเป็น post-rock กับ neo-classical พอดิบพอดี ไม่มีคำร้องหรือเนื้อเพลงมารบกวนเลย ใครได้ฟังครั้งแรกอาจจะคิดว่าว่ามันคือซาวด์แทร็คจากหนังที่ชวนขนลุกได้

Cicada 1

“สไตล์ดนตรีของพวกเราเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยอยู่แล้ว พวกเราใช้เครื่องดนตรีออเคสตราเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ซ้อนทับกันจนใช้เป็นบรรยากาศในการเล่าเรื่องได้” Jesy มือเปียโนของวงเชื่อแบบนั้น “ตั้งแต่ตอนตั้งวง  เราไม่ได้อยากจำกัดความตัวเองว่าเราทำเพลงแนวอะไร จนถึงตอนนี้ พวกเราแค่นึกถึงใจความสำคัญและเรื่องราวที่เราอยากเล่า สถานที่ที่เราอยากไปแต่งเพลงให้กับเกาะนี้ (ประเทศไต้หวัน) ถ้าเราอยากพูดถึงสิ่งนี้ก็ต้องไปหามันถึงที่ ไม่อย่างนั้นเราจะเขียนหรือถ่ายทอดออกมาได้ไม่ถึงอารมณ์พอ”

ตั้งแต่ปี 2013 วง Cicada ออกเดินทางไปทั่วประเทศ ตั้งแต่ตะวันออกถึงตะวันตก จนออกมาเป็นอัลบั้ม Hiking in the Mist ออกมา ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากภูเขาชื่อดังในไต้หวันหลายลูกที่สมาชิกของวงได้เดินทางไปพิชิตยอดและถ่ายทอดมันออกมา เช่น Jiaming Lake, Qilai South Peak และ Hehuan North Peak เมื่อปีที่แล้ว

Cicada 4

ในโปรเจกต์ CINEMA SESSIONS ครั้งนี้ พวกเขาเอาเพลง Twilight Clouds ในอัลบั้มใหม่ Hiking in the Mist มาโชว์ด้วย เพลงนี้ถ่ายทอดทิวทัศน์ของภูเขา Beidawu ท่ามกลางแสงจันทร์บนยอดเขา Xidoli ลำแสงสีทองที่สาดลงบนทะเลหมอก เกิดเป็นลำแสงที่ส่องแสงลงมาจากเมฆ พวกเขาทดลองบันทึกชั่วโมงต้องมนต์ ณ ตอนนั้นเป็นเสียงดนตรี Overlook Where We Came From พูดถึงเมืองที่อยู่ห่างไกลจากป่าเขา เฝ้ามองพื้นที่ตรงนั้นในจุดที่ไม่เคยเห็น บรรยายความเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์

ไม่แปลกใจเลยที่การรวมดนตรีคลาสสิกกับความป๊อปเอาไว้ด้วยกัน คือความโดดเด่นของ Cicada มือกีตาร์ Wei-Lun และ Jesy เคยเล่นอยู่ในวงอื่นมาก่อน ซึ่ง Kang-Kai มือไวโอลินและ Ting-Chen มือเชลโล่ก็มาจากสาขาดนตรีคลาสสิกในมหาวิทยาลัย แน่นอนว่าพวกเขามีความเห็นที่ไม่ค่อยจะลงรอยกันบ่อย ๆ เวลาเขียนเพลง

Cicada 2

“เวลาเราพูดถึงโน้ตดนตรี ทุกคนจะมีวิธีอ่านที่ไม่เหมือนกัน Jesy อาจจะพูดว่า ‘ใส่อารมณ์ลงไปหน่อยมั้ย’ แต่เราไม่รู้ว่าเธอหมายถึงการเติมจังหวะสนุก ๆ ลงไป หรือเติมเสียงเครื่องดนตรี (crescendo) ลงไปให้กึกก้องขึ้นกันแน่” Kang-Kai พูดขึ้นมาเพราะเขาเป็นคนเดียวที่ฟังแต่ดนตรีคลาสสิก ตอนนี้ต่างคนต่างเริ่มแนะนำเพลงแนวอื่น ๆ ให้กันและกันฟัง ทำให้สไตล์ดนตรีของทุกคนใกล้ชิดกันมากขึ้น “อย่างงานอันน่าทึ่งของ Rachmaninoff ที่ผมแนะนำให้ Jesy ในทางกลับกัน เธอก็แนะนำให้ผมฟัง Hans Zimmer หรือ Ólafur Arnalds เหมือนกัน”

มิถุนายนปีที่แล้ว Cicada ได้รับเชิญให้ไปทัวร์ถึงหกเมืองในรัสเซีย บ้านเกิดของนักประพันธ์เพลงสายคลาสสิกระดับโลกมากมาย โชว์ของพวกเขาสร้างเสียงอันน่าตื่นตะลึงไปทั่ว แถมยังแอบใช้เวลาที่เหลือไปประกวดดนตรีในงานประจำปี International Tchaikovsky Competition อีกด้วย ทุกคนมีประสบการณ์ที่ประทับใจในประเทศนี้

Cicada 3

“คุณจะสัมผัสได้ทันทีว่าการฟังเพลงไปคอนเสิร์ตของพวกเขาเป็นกิจวัตรประจำวันของชีวิต” Wei-Lun บอก “พวกเราฟังเพลงกัน 6 ชั่วโมงต่อวัน เพราะมันคือการแข่งขัน เมื่อเราลองฟังไปซัก 3-4 วง เราอาจจะรู้สึกว่ามันยังเป็นเพลงเดิม ๆ แต่เราจะค่อย ๆ เข้าใจเองว่าพวกเขามีเอกลักษณ์หรือสไตล์ที่แตกต่างกัน มันเหมือนกับเวทีประกวดเพลงป๊อปนั่นแหละ การเข้าถึงสไตล์ดนตรีก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป”

อัลบั้มใหม่ของพวกเขาอัดที่สตูดิโอ Yuchen ซึ่งบังเอิญว่า Wei-Lun ก็อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ที่นี่เหมือนกัน เขาเองก็เคยดูหนังในโรงหนังแห่งนี้ก่อนมันจะเปลี่ยนเป็นห้องอัดด้วย ในฐานะแฟนเพลงของ Ryuichi Sakamoto เขาคิดว่า Cicada ก็มีวิธีเขียนเพลงที่น่าสนใจ อาจจะเพราะว่ามันเขียนอยู่บนแก่นหรือฉากบางอย่าง ที่พยายามใช้เครื่องดนตรีในการบรรยายภาพ ไม่เหมือนกับวงที่เขาเคยเล่นอยู่เลยแม้แต่น้อย “แค่การใส่กีตาร์โปร่งลงไปในวงคลาสสิกก็แปลกใหม่มาก ๆ แล้ว”

Cicada ใช้ตัวโน้ตในการบรรยายภาพจำที่พวกเขาเคยสัมผัส เลยถ่ายทอดภูเขาและป่าเขาในความทรงจำของพวกเขาออกมาผ่านโชว์ในสตูดิโอ Yuchen ได้งดงามเหมือนเดิม

Facebook Comments

Next:


Peerapong Kaewthae

แม็ค เป็นคนชอบฟังเพลงเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และก็ชอบแนะนำวงดนตรีหรือเพลงใหม่ ๆ ให้คนอื่นรู้จักผ่านตัวอักษรตลอดเวลา