Article Guru

Trip Hop ประวัติอย่างย่อของดนตรีดำมืดอันน่าหลงใหลจากเมือง Bristol

  • Writer: Montipa Virojpan

Oh, can’t anybody see
We’ve got a war to fight
Never found our way
Regardless of what they say

มีดนตรีประเภทหนึ่งที่แค่โน้ตตัวแรกเริ่มบรรเลงก็ทำให้เกิดบรรยากาศทึมเทา ไม่ปลอดภัย จังหวะช้า ที่เริ่มดำเนินไปทำให้รู้สึกหดหู่ แต่เสียงหวานสะกดทุกโสตประสาตยังคงดังก้อง คลอไปกับบีตกลองนิ่ง ที่ทำให้เราเผลอโยกตามอยู่เสมอ นั่นเองที่เราค้นพบว่าเราไม่ปฏิเสธความงามอันหม่นหมองของมันเสียหน่อย

How can it feel, this wrong
From this moment
How can it feel, this wrong

นั่นเป็นครั้งแรกที่เราได้รู้จักกับ Potishead ผ่านเพลง Roads จากอัลบั้ม Dummy ที่ผูกพันมากในชั่วขณะหนึ่ง เป็นช่วงเดียวกับตอนที่เพิ่งค้นพบและหมกมุ่นกับเพลง dream pop, shoegaze รวมถึงดนตรีแนวอื่น ของฝั่งอังกฤษในยุค 90s ชนิดที่สามารถเล่นเพลงทั้งอัลบั้มได้เป็นวัน จนเราได้มารู้ว่าเพลงหม่น พวกนั้นเรียกว่า ‘trip hop’

ถ้าบริตป๊อปคือฉากหน้าที่หวือหวาและร่าเริงของวัยรุ่นที่อยากจะปลดปล่อยซึ่งความหงุดหงิดทั้งปวงผ่านดนตรีเร้า และปาร์ตี้สุดเหวี่ยง ทริปฮอปคือเงามืดที่เคลื่อนไหวและเก็บงำเอาความไม่พอใจในเมืองบริสทอลที่ถูกกดทับไว้ในยุคสมัยของ Tatcherism มาระเบิดออกอย่างนุ่มนวล

คำกล่าวนี้อยู่ใน podcast ที่ Jeff Wragg เล่าถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ของทริปฮอปและสิ่งที่เรียกว่า ‘Bristol sound’ อย่างจริงจังในวิทยานิพนธ์ของเขา เพื่อหาที่มาที่ไปของแนวเพลง และหาจุดร่วมของศิลปินที่ถูกเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวดนตรีทริปฮอปอย่าง Massive Attack, Potishead และ Tricky ว่านอกจากการที่พวกเขามาจากเมืองบริสทอลเหมือนกันแล้ว อะไรคือสาเหตุที่ทำให้สร้างงานออกมามีสไตล์ใกล้เคียงกันถึงขนาดนี้

Jeff Wragg เชื่อว่าบริสทอลซาวด์ โดยเฉพาะกับทริปฮอป อาจไม่ได้จำกัดความขึ้นมาเพราะชื่อสถานที่ต้นกำเนิดของมัน แต่ด้วยความที่บริสทอลไม่ใช่เมืองที่ใหญ่อะไร ทำให้มีศิลปินกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญทางสังคมและสภาพความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน ได้มาทำความรู้จัก แชร์ความรู้สึกนึกคิด แลกเปลี่ยนมุมมองทางการเมือง และได้คอนเซ็ปต์ในการสร้างเพลงมาจากรากฐานเดียวกัน ทำให้ผลงานที่ออกมาคล้ายคลึงกันในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน เกิดเป็นภาพจำของคนที่ได้ยินเพลงเหล่านั้นพร้อม กัน แต่ก็ไม่ใช่ศิลปินจากบริสทอลทุกคนที่จะทำดนตรีลักษณะนี้ ถ้าจะให้อธิบายอย่างเห็นภาพก็สามารถเทียบได้กับเมืองหรือกลุ่มชุมชนต่าง ที่มีดนตรีมาเกี่ยวพันในประวัติศาสตร์ของพวกเขา อย่างที่ Coventry มี 2-tone ska ที่ Seattle มี grunge ที่ D.C. มี hardcore ที่ Bronx มี hip hop และ Bristol ก็มี trip hop

แต่แล้วลักษณะทางดนตรีแบบไหนกันล่ะถึงจะเรียกว่าทริปฮอป? สมการอย่างง่ายสุดที่พอจะอธิบายได้คือ

trippy + hip hop = trip hop;

บริสทอลซาวด์ มันคือพังก์ที่มาเจอกับฮิปฮอป แล้วก็เร็กเก้ ลองไปฟัง The Pop Group ของ Mark Stewart กับ Massive Attack ยุคแรก แล้วก็ Smith and Mighty แล้วคุณจะนึกออก… จริง เพลงของ Tricky อธิบายแนวนี้ได้ดีที่สุดเลย เขาแม่งเป็นพังก์มากกว่าเป็นแร็ปเปอร์อีก” Geoff Barrow วง Potishead ให้คำนิยามของดนตรีแนวนี้

ดนตรีแช่มช้า ไลน์เบสหนักหน่วง บีตกลองทุ้มต่ำสม่ำเสมอ มีซาวด์ซินธิไซเซอร์ขับเน้นบรรยากาศ บางครั้งอาจผสมเอาดนตรีแนวอื่น อย่างดั๊บ ฟังก์ โซล r&b ร็อก ไซคีเดลิก ให้ความรู้สึกเมามาย หลอนจิต แต่ก็อาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะบางครั้งดนตรีทริปฮอปก็มีความเป็นดนตรีทดลองอยู่สูง

แต่ตามหลักการแล้วดนตรีแนวต่าง ของอังกฤษในยุคนั้นได้รับอิทธิพลมาจาก Jamaican music อย่างที่เราเคยเล่าไปในบทความ drum n bass ที่ล้วนแต่ยืนพื้นมาจากดนตรีทางนี้ทั้งสิ้น และว่ากันตามตรง ศิลปิน dnb บางกลุ่มก็มีจุดกำเนิดมาจากเมืองบริสทอลเช่นเดียวกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่บอกว่าทริปฮอปเป็นส่วนหนึ่งของบริสทอลซาวด์ แต่บริสทอลซาวด์ไม่ใช่ทริปฮอป

การได้ที่ดนตรีฝั่งจาไมกันที่เริ่มแพร่กระจายในอังกฤษมาตั้งแต่ยุค 40-50s เกิดจากเมืองบริสทอลมีนโยบายรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ส่งผลให้มีผู้อพยพชาวจาไมกันหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากเป็นรุ่นแรก และคนรุ่นต่อมาเริ่มตระหนักถึงการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและถ่ายทอดอัตลักษณ์พื้นถิ่นของพวกเขา soundsystem ดั๊บ เร็กเก้ สกา rocksteady จึงเฟื่องเป็นที่นิยมมากตามคลับต่าง ช่วงยุค 60s โดยพวกเขาหยิบเอาลักษณะเด่นของเบสดรัมหนัก หนืด มีจังหวะที่หนักแน่น คงที่ในเพลงดั้งเดิม มาใส่ในเครื่องดนตรีสากลอย่างเบส และกลอง รวมถึงแนวดนตรีอื่น ที่มีอยู่ในขณะนั้น 

และในยุคปลาย 80s ต้น 90s ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของทริปฮอป ศิลปินเหล่านั้นได้ผสมผสานดั๊บเข้ากับบีตแบบอเมริกันฮิปฮอปที่กำลังเฟื่องฟู และคนอังกฤษก็ซึมซับอิทธิพลมาอย่างช่วยไม่ได้ สังเกตได้จากอัลบั้ม Dummy ของ Potishead ที่หลายเพลงจะใช้กลองแบบเร็กเก้เป็นอินโทร และมีเสียงสแครชแผ่นแบบที่ได้ยินกันในเพลงฮิปฮอป หรืออย่างเพลง Five Man Army ของ Massive Attack ก็ใช้กลองฟุ้งแบบเร็กเก้ แม้แต่กีตาร์ก็เล่นออกมาในจังหวะ skank ซาวด์ดั๊บหนัก ไลน์เบสหน่วง

อีกแง่หนึ่งที่ทำให้เราเชื่อเหลือเกินว่าพวกเขาได้อิทธิพลมาจากฮิปฮอปแน่ ก็คือการใช้ sampling และทั้ง Tricky และ Potishead ก็เลือกใช้เพลงเดียวกันซึ่งเป็นของ Isaac Hayes ชื่อ Ike’s Rap 2 จากปี 1971 ในผลงานของพวกเขา

หรือเพลง Sour Times ของ Potishead ก็ใช้ samp จากเพลง Danube Incident ของ Lalo Schifrin

ก่อนนี้ผู้คนรู้สึกว่าเพลงฮิปฮอปแท้ เป็นสิ่งแปลกแยก ด้วยการแร็ปหรือร้องของ American hip hop จะให้ความรู้สึกรุนแรง พลังเหลือล้น เปิดเผย และมีอิสระมากกว่า Bristol trip hop ที่มักจะเป็นการพึมพำ กระซิบกระซาบ หรือแม้แต่เนื้อหาในเพลงที่บอกเล่าการถูกกดทับและความน่าอึดอัดหลายประการ

Storm.. in the morning light
I feel
No more can I say
Frozen to myself

I got nobody on my side
And surely that ain’t right
And surely that ain’t right

ส่วนหนึ่งอาจเป็นคาแร็กเตอร์ดนตรีที่สะท้อนมาจากอุปนิสัยที่สงวนท่าทีของคนอังกฤษ หรืออาจตีความได้ว่าเป็นการสะท้อนสภาพสังคมที่สื่อถูกปิดกั้น และคนรุ่นใหม่เองก็ถูกลิดรอนสิทธิจากรัฐบาลมากาเร็ต แทตเชอร์ ที่มีปัญหาพ่วงมาทั้งสงครามเย็น การเหยียดผิว การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม สังเกตว่าวัยรุ่นยุคนั้นมีวิธีแสดงออกผ่านดนตรีที่มีความเฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป (Brit pop, ska punk, dnb, breakbeat)

ทริปฮอปเองก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ด้วยลักษณะที่แปลกใหม่แต่ไม่สุดทางจนเกินไป และแฝงไว้ด้วยบรรยากาศของเมืองที่คุ้นเคยสำหรับพวกเขา ทริปฮอปจึงกลายเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและไม่เหมือนใครของคนกลุ่มนั้น หรือการที่ Potishead นำเพลงอัลบั้มแรกและอัลบั้ม self-titled มาแสดงร่วมกับวงออเคสตรา ก็ทำให้ความเก๋นี้กลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และแทรกซึมเข้าไปใน rave scene ของอังกฤษ ไว้เปิดหลังจากที่ทุกคนสนุกสุดเหวี่ยงมาแล้วตลอดทั้งคืน

เราคิดแต่แรกว่าจะไม่ทำเพลงแบบที่เปิดในคลับ เพลงของพวกเราทำไว้ฟังตอนปาร์ตี้เลิก ตอนที่คุณอยากจะผ่อนคลาย หรือกลับมาหายใจเข้าออกช้า แบบเดิมอีกครั้ง” Grant Marshall จาก Massive Attack เล่า

ซึ่งต่อมาทริปฮอปก็ถูกใช้เป็นเพลงประกอบโฆษณาหลาย ตัว และเพลงของ Massive Attack เองก็ไปปรากฏเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์หลาย เรื่อง ทั้ง Unfinished Symphony ใน ‘Sliver’ (1993), Spying Glass ใน ‘One Eight Seven’ (1997), Superpredators ใน ‘The Jackal’ (1997), Dissolve Girl ในเรื่อง ‘The Mattrix’ (1999), Safe From Harm ใน ‘The Insider’ (1999) จึงทำให้ทริปฮอปกลายมาเป็นเพลงกระแสหลักอยู่พักหนึ่ง

มาจนถึงตอนนี้ แม้ความนิยมของทริปฮอปจะลดลง แต่ยังมีหลาย คนที่ย้อนกลับไปฟังเพลงของวงเหล่านี้ แม้แต่ภาพยนตร์และซีรีส์ยุคใหม่หลาย เรื่องก็เลือกที่จะใช้เพลงของวงแม่แบบมาเป็นเพลงประกอบ อาจเป็นเพราะพวกเขารู้สึกว่าทริปฮอปเป็นดนตรีที่สามารถสร้างบรรยากาศและขับการเล่าความรู้สึกในเรื่องให้สมบูรณ์ขึ้นได้

เพลง Angel ดูจะเป็นที่นิยมมาก ๆ ถูกนำไปประกอบภาพยนตร์ช่วงต้นยุคมิลเลนเนียมถึงสามเรื่อง Angel ในเรื่อง ‘Snatch’ (2002), ‘Stay’ (2005) และ ‘Firewall’ (2006)

หรือเพลง I Against I ก็มาโผล่ในเรื่อง ‘Blade 2’

ใน ‘Romeo + Juliet’ ของ Baz Luhrmann ก็มี Nellee Hooper (เคยเป็นโปรดิวเซอร์ของ U2, Madonna และ Björk) เป็นหนึ่งในศิลปินของซีนนี้ทำเพลงประกอบให้หนังเรื่องนี้ โดยเฉพาะเพลง Tybalt Arrives ที่เป็นทริปฮอปมาก

หนึ่งในเพลงที่โด่งดังที่สุดของ Massive Attack อย่าง Teardrop ที่ได้เงาเสียงของ Elizabeth Fraser จาก Cocteau Twins มาร้อง ถูกใช้เป็นเพลงในตอนหนึ่งของซีรีส์ ‘Prison Break’

หรือเพลง Paradise Circus ที่ Hope Sandoval จาก Mazzy Star มาร้องและร่วมเขียนเนื้อก็ถูกใช้เป็นเพลงประกอบซีรีส์ ‘Luther’

ภาพยนตร์ ‘High-Rise’ นำแสดงโดย Tom Hiddleston ได้ Potishead มาทำเพลง S.O.S. ของ Abba ในเวอร์ชันใหม่เป็นทริปฮอป ซึ่งสร้างบรรยากาศลึกลับ หรูหรา สิ้นหวัง เข้ากับธีมของหนังแบบยากที่จะปฏิเสธ

และ Netflix Original Series เรื่องล่าสุดที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนของ Gerard Way วง My Chemical Romance ก็ใช้เพลง Mad About You ของวงจากเบลเยียม Hooverphonic มาประกอบในตอนหนึ่งของ ‘The Umbrella Academy

ทริปฮอปยังส่งอิทธิพลอย่างต่อเนื่องให้ศิลปินยุคหลัง ๆ ทั้ง Nicholas Jaar, Bonobo, Lana Del Rey หรือ SPC EGO ได้ทำผลงานออกมาด้วยซาวด์ดนตรียุคใหม่ แต่ก็มีองค์ประกอบของทริปฮอปอยู่ในหลาย เพลง หรือบางครั้งเราจะได้ยินลักษณะเด่น ๆ ของมันบ้างในอีกแนวดนตรีที่เรียกว่า ‘downtempo’

แม้แต่ในไทยเองก็มีวงที่ได้อิทธิพลจากทริปฮอปอยู่ไม่น้อย ทั้ง Ramintra, The Photo Sticker Machine, Blissonic, Naked Astronaught, Henri Dunant, Ten Layers of Air ซึ่งได้ข่าวว่าเร็ว นี้ Beagle Hug จะไปทำดนตรีแนวนี้เช่นกัน และอาจจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ในอนาคต

สิ่งนี้ยิ่งทำให้เรานึกถึงคำพูดของหลาย คนที่จะบอกว่าดนตรีแนวนั้น แนวนี้ จะตายมันจะไม่ตายหายจากเราไปไหน เราเชื่อว่าดนตรีหลาย รูปแบบที่ถือกำเนิดเมื่อในอดีต ผ่านยุครุ่งเรือง และร่วงโรยไปตามช่วงเวลาที่ผันเปลี่ยน และไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อพ่อแม่ของเราเดินผ่านมาได้ยินเพลงที่เราฟังแล้วจะทักว่าเหมือนเพลงที่พวกเขาเคยฟังตอนหนุ่มสาว ด้วยความเป็นวัฏฏะที่อยู่เหนือกาลของมัน จะทำให้ผู้คนจากในปัจจุบัน และอนาคต ได้หวนกลับไปทำความรู้จักกับมันอีกครั้ง (ลองไปฟังหลาย ๆ compilation ของค่าย Mo’ Wax หรือ Ninja Tune ซึ่งเป็นค่ายที่ศิลปินทำแนวทริปฮอปออกมาเยอะมาก หรือเพลงของ Björk, Thievery Corporation, Sneaker Pimps, Morcheeba, Goldfrapp ก็เด็ดดวงไม่แพ้กันนะ)

อ้างอิง
Bristol Time: The return of a trip-hop legacy
50 Best Trip Hop Albums
Top 10 Massive Attack Tracks on the Big Screen

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้