No! This is not vaporwave

Article Guru

This is not vaporwave : แล้วจริง ๆ มันคืออะไรกันแน่

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Illustrator: Tuna Dunn

No! This is not vaporwave … But what the f*ck is vaporwave?

เชี่ย vaporwave ก็มา
“V a p o r w a v e ดีแฮะ
“AESTHETICS

ช่วงนี้เรามักจะได้เห็นคอมเมนต์ประมาณนี้บน YouTube ของศิลปินหลาย วงที่กลับมาพร้อมแนวที่มีสีสันแตกต่างออกไปจากงานก่อน ของพวกเขา โดยส่วนมากจะเป็นเพลงที่ได้อิทธิพลมาจากดนตรีโซล ฟังก์ อิเล็กทรอนิก ผสมผสานกันกับความเป็นร็อกแบนด์ออกมาจนได้เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายเท่ แต่จะมีจังหวะโยกย้วยยืดยาดมีสไตล์ไปอีกแบบ คงไม่ปฏิเสธว่า Mac DeMarco หรือ Homeshake (Peter Saga อดีตมือกีตาร์ของตาแมค) คือศิลปินต่างประเทศที่มีอิทธิพลไม่น้อยต่อความนิยมนี้

No! This is not vaporwave

แต่ตาแมคและตาพีทเนี่ย เขาไม่ใช่ vaporwave น่ะสิ เพลงของศิลปินหลาย วงที่เขาบอกว่ามัน vaporwave ก็ไม่ได้ vaporwave แบบที่หลายคนบอกแม้แต่น้อย ก่อนที่จะเข้าใจผิดกันไปใหญ่ เราขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกันว่าจริง แล้ว vaporwave คืออะไร และเพลงที่ทุกคนกำลังฟังอยู่มันเรียกว่าอะไรกันแน่

Vaporwave คือชื่อเรียกของศิลปะและดนตรีที่ได้รับความนิยมในคนกลุ่มหนึ่งช่วงยุค 2010s โดยเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมทางเลือกที่เป็น niche (กลุ่มเฉพาะ) ต่าง ที่เกิดขึ้นในยุคก่อนไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือศิลปะ ตอนนี้เราขอไล่เรียงอิทธิพลที่ทำให้เกิดเป็น vaporwave กันไปทีละอย่าง และอย่างแรกคือ cyberpunk

wtf_is_vaporwave2

เราจะเรียก cyberpunk ว่าเป็นอิเล็กทรอนิกแดนซ์มิวสิกประเภทนึงก็ได้ แต่จุดกำเนิดของมันมาจากคอนเซปต์ความสิ้นหวังในเทคโนโลยีที่เชื่อว่าจะกลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงคือ คนที่มีกำลังซื้อเท่านั้นถึงจะมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ หรืออีกการตีความหนึ่งของ cyberpunk คือการตระหนักถึงการใช้ social network ที่เริ่มทำให้การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างในชีวิตจริงย่ำแย่ลงไปทุกที

จากที่หลายคนทราบกันอยู่แล้วว่า punk คือดนตรีที่แสดงออกถึงการต่อต้านระบบ cyberpunk จึงเป็นการขบถทางเทคโนโลยีในมุมหนึ่งเช่นเดียวกัน เพลงที่ออกมาจึงเป็นอิเล็กทรอนิกที่ฟังดูแล้วอาจเป็นซาวด์ที่ค่อนข้างเชยเพราะได้รับการพัฒนามาจากเพลงแดนซ์ยุค 80s และโทนดนตรีโดยรวมจะมีความเป็นด้านลบ มืดหม่น และแฝงด้วยความเหงา ซึ่ง cyberpunk เองก็มีศิลปะที่ใช้ถ่ายทอดคอนเซปต์ของตัวเองให้เป็นรูปธรรมขึ้นด้วย นั่นคือภาพส่วนมากจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจร หุ่นยนต์ เครื่องจักรกล หรือบรรยากาศกลางคืนที่ดูน่าหดหู่ภายใต้แสงไฟนีออนที่สว่างอยู่เพียงจุดเล็ก ๆ ตามตึกรามบ้านช่องที่ทรุดโทรม หากดูภาพรวมแล้วสีสันที่ใช้จะออกมาในโทนมืดดำดูไม่เป็นมิตรนักอย่างในเกม Bladerunner

Bladerunner Inspired Concept by James Cheong
Bladerunner Inspired Concept by James Cheong

ถ้าพอเข้าใจกันแล้วว่า cyberpunk คืออะไรพอสมควรแล้วก่อนที่ไอเดียของ vaporwave จะดาร์กไปกว่านี้ เราจะมาต่อที่อีกองค์ประกอบที่ทำให้เกิดเป็น vaporwave ดีกว่า นั่นคือ AESTHETICS (เขาชอบเขียนกันหยั่งงี้อะ) เอาเข้าจริงมันคือศิลปะ retrofuturistic ถ้าแปลตรงตัวคือมีตั้งความเก่าและความใหม่ในตัวเอง ซึ่งความใหม่ในที่นี้จะเป็นความใหม่ที่อิงจากโลกยุคเก่า แปลว่ามันจะไม่ได้ดูล้ำแบบอนาคตอีกพันปีอะไรขนาดนั้น จะยังติด element ความเชยอยู่แบบที่อาร์ตเวิร์กของดนตรีอิเล็กทรอนิก 80s เขาชอบทำกัน และใช้สีนีออนเจ็บ ๆ แปร๋น ๆ พอนึกกันออกไหม แต่ความพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์สุด ของ vaporwave คงเป็นรูปประติมากรรมยุค renaissance และการวางเลย์เอาต์แบบเว็บดีไซน์สไตล์ Microsoft ยุค 90s ที่บางทีก็วางเป็นระเบียบซะดูติ๋มไปเลย แล้วมีการใช้ noise ต่าง แบบ homevideo เก่า หรือ glitch art ที่เป็นสไตล์การออกแบบที่เป็นที่นิยมในช่วงยุคนึง ซึ่งเขาไม่ได้แค่เอามาตัดแปะรวมกันให้ดูตลก เพียงอย่างเดียว แต่มันคือการยั่วล้อเสียดสีบริโภคนิยมวัฒนธรรมป๊อปในโลกยุคสมัยปัจจุบัน โดยใช้วิธีการเอาอะไรเก่า จากยุคก่อนมาแปะปึ้งปนกันมั่ว ๆ เข้าไปเล้ย เย่

ซึ่งเหตุนี้น่าจะเป็นผลที่ทำให้แนวเพลง vaporwave เป็นการหยิบยกเอาดนตรี smooth jazz, lounge, r&b เพลงแดนซ์ หรือแม้แต่ elevator music (ยังจำกันได้ไหม ถ้าจำไม่ได้ คลิกที่นี่) จากตั้งแต่ยุค 80s 90s เป็นต้นมามายำใหญ่ใส่เอฟเฟกต์ chopped and screwed เยื้องย่างที่เป็นจังหวะหยุดสลับซ้ำ ช้า แบบที่เพลงฮิปฮอปเขาทำกัน หรือการทำ looping และพยายามทำให้มันมีความเป็นอิเล็กทรอนิกแบบอนาล็อกให้เข้ากับ visual เฉิ่มเชยที่ปูมาตั้งแต่ต้น และอีกอย่างที่น่าสนใจคือศิลปิน vaporwave มักจะไม่ค่อยใช้ชื่อจริงหรือเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงกันซักเท่าไหร่ และสามารถหาเพลงของพวกเขาฟังได้ใน Bandcamp, Soundcloud, Last.fm, Reddit และ 4chan แต่พวกเขาก็ไม่ได้ไก่กาอาราเล่นะ เพราะมีนิตยสารดนตรีหัวดังหลาย เล่มในต่างประเทศ หรือแม้แต่ MTV ก็เลือกจะถ่ายทอดเรื่องราวของพวกเขาด้วยเหมือนกัน

wtf_is_vaporwave1

แต่เคยสงสัยไหมว่าใครคือคนแรกที่แพร่ลัทธิ vaporwave นี้ มีข้อสันนิษฐานจากหลักฐานที่ค้นพบเพียงน้อยนิดว่าว่าศิลปินอิเล็กทรอนิกอเมริกันนาม Danial Lopatin ที่ใช้นามแฝงว่า Chuck Person ออกอัลบั้มชื่อ Eccojams Vol.1 เมื่อปลายปี 2010 ผ่านทาง The Curatorial Club ซึ่งปกอัลบั้มก็เอามาจากเกมชื่อ ‘Ecco and Dolphin’ ในปี 1992 โดยแนวเพลงก็เป็นอย่างที่เราจะได้ฟังในลิงก์ข้างล่างนี้ล่ะ เป็นประมาณเพลงป๊อป 80s ทั้งหลายที่ตัดส่วนจนไม่เหลือชิ้นดีมารวมกันและทำให้หนืดราวกับเมายา (เราเจอมาว่าในนั้นมีทั้งเพลงของ Fleetwood Mac, Michael Jackson, Marvin Gaye, Kate Bush, Phil Collins, Tears for Fears และอีกหลายคน) หรือ pitch correction กดให้เสียงร้องต่ำอะไรก็ว่าไป มีทำลูป มีทำแผ่นตกร่อง เฮี้ยนและเพี้ยนชะมัด พอทุกอย่างเข้าแก๊ปขนาดนี้แล้ว เหล่าสาวกถึงกับยกให้อัลบั้มนี้เป็นจุดกำเนิดของ vaporwave เลยทีเดียว

นอกจากนี้แล้ว ความเป็นญี่ปุ่นทั้งตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น หรือการ์ตูนญี่ปุ่นเองก็เป็นอีกเสน่ห์ของ vaporwave เรามักจะเห็นอนิเมะหลายเรื่องถูกตัดตอนมาใส่เป็นมิวสิกวิดิโอ หรือแม้แต่การเขียนตัวอักษรก็จะออกมาในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากการเขียนภาษาอังกฤษตามปกติ เช่น การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด การใช้สัญลักษณ์ต่าง หรือแม้แต่ พิ พ์ ว้ (ใจเย็นนะเพื่อน  Stoondio ก็ไม่ใช่ vaporwave) มันเลยยิ่งดูหลุด เพี้ยน มั่วซั่วเข้าไปใหญ่

อ่านมาถึงตรงนี้คงเห็นแล้วว่า vaporwave เป็น subculture ที่สนุกและเพี้ยนอยู่ไม่น้อย แต่ไม่น่าเชื่อเลยว่า ยังมีคนแตกแนวเพลงย่อย ของ vaporwave ต่อไปเป็น futurefunk, mallsoft หรือ hardvapour และวัฒนธรรมประมาณนี้ยังเป็นญาติห่าง กับพวก chillwave, seapunk, witch house, simpsonwave ไรงี้เหมือนกันนะ โอ้ย ยุบยับไปหมด ซึ่งความแตกต่างของมันน่าจะเป็นงานภาพที่ถ่ายทอดอัตลักษณ์ของแต่ละแนวให้มีความแตกต่างกัน

enhanced-buzz-27157-1353091745-2

แต่แล้ว เพลงของศิลปินทั้งหลายที่เราได้ฟังกันทั้ง Homeshake น่าจะเรียกว่าเป็นอินดี้ป๊อป ที่เสริมเติมแต่งซาวด์อิเล็กทรอนิกจากซินธ์และดรัมแมชชีน รวมถึงคอร์ดแจ๊ส หรือบีทย้วย แบบ r&b เข้ามามากกว่า ส่วน Mac Demarco ก็เป็น lo-fi indie pop ที่เมโลดี้น่าจะได้อิทธิพลจากโฟล์ก yatch rock (ย็อทร็อก คือ สมูธมิวสิกสมัยปลายปี 70s ต้น 80s จากอเมริกา อย่างวง The Doobie Brothers, Ambrosia หรือ Michael McDonald วง Prep เขาบอกมางี้) แถมมีชื่อเรียกเพลงตัวเองโดยเฉพาะว่า jizz-jazz อีก

หรืออย่างในไทย เพลง ดีออก ของ Summer Dress หรือหลากเพลงย้วยของ Gorn Clw มันใช่ vaporwave หรือเปล่านะ ส่วนตัวขอบอกว่า No! This is not vaporwave  ไม่ใช่ vaporwave เพราะไม่มีอิทธิพลด้านภาพจากที่กล่าวมาข้างบนเลย ส่วนภาคดนตรีอาจได้กลิ่นของแนวดนตรีที่ถูกนำไปใช้เป็น vaporwave เช่น ความเป็นซินธ์ป๊อปเก่า เมโลดี้แบบดนตรีโซล ร้องสไตล์ r&b และด้วยการเรียบเรียงแบบร่วมสมัย อันนี้มีโครงสร้างเพลงสไตล์อินดี้ป๊อป แต่มีท่วงทำนองย้วย เชื่องช้าชวนฝัน มักจะใช้ซินธิไซเซอร์ที่ให้ซาวด์วินเทจหรือมีความ lo-fi โดยอาจจะมีการเพิ่มบีทแปลก เข้ามา หรือเน้นบางท่อนให้เครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งอย่างกีตาร์ หรือซินธ์ให้เด่นเพื่อให้เกิดเป็นจุดเด่นที่สอดคล้องกับแนวเพลงหลักหรือตัวตนของศิลปินนั้น เสียมากกว่า และจากที่ถามมาจากศิลปินเอง เพลงนี้ไม่ใช่ vaporwave อย่างแน่นอนจ้า

เอ่า ถ้าเห็นภาพกันมากขึ้นแล้ว ลองไปฟังเพลง vaporwave จริง ๆ กันเลย

No! This is not vaporwave อ้างอิงจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Vaporwave
https://www.reddit.com/r/Cyberpunk/comments/38v2dt/what_is_the_essentials_of_nailing_the_cyberpunk/
https://www.geek.com/tech/drown-yourself-beneath-the-vaporwave-1657121/

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้