Article Import

สุดในทาง Rave : บ้าบิ่น ดุดัน พุ่งพล่าน นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้เรารัก The Prodigy

  • Writer: Montipa Virojpan

ช่วงปลายปี 80s ต้น 90s คือยุคที่ถือกำเนิดแนวดนตรีและวัฒนธรรมทางเลือกหลากหลายมากมายเกินกว่าเราจะนับนิ้ว ซึ่งสิ่งใหม่เหล่านั้นก็ส่งผลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในบรรดา pop culture ที่เกิดขึ้นในอังกฤษทั้ง บริตป๊อป หรือ Spice Girls ทางฝั่ง underground เราก็น่าจะเคยได้ยินคำว่า ‘rave’ กันมาบ้าง ซึ่ง The Prodigy ก็เป็นหนึ่งในภาพจำของสิ่งที่ว่า

Prodigy

เดิมทีแล้ว ‘Prodigy’ คือชื่อรุ่นของอนาล็อกซินธิไซเซอร์ Moog ซึ่งต่อมาถูกนำมาใช้เป็นชื่อดีเจของ Liam Howlett และชื่อที่ว่าก็ถูกเขียนลงบนมิกซ์เทปผลงานของเขาที่มอบให้กับ Keith Flint นักเต้นเท้าไฟที่พบกันในปาร์ตี้เรฟงานหนึ่งเมื่อปี 1989 ก่อนจะได้มาพบกับมือคีย์บอร์ด Leeroy Thornhill ที่นำพาการเต้นสไตล์ชัฟเฟิลเข้ามา ตามด้วย MC Maxim กับนักร้องหญิง Sharky ที่มาสมทบในภายหลัง ถือกำเนิดขึ้นมาเป็น The Prodigy หนึ่งในวงอิเล็กทรอนิกที่บุกเบิก big beat ขึ้นมาใน rave scene ของอังกฤษในปี 1990 และสามารถทำให้ดนตรีอันเดอร์กราวด์กลายมาเป็นเพลงกระแสหลักได้เมื่อปี 1991 เพลง Charly ของพวกเขาขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของ UK Singles Chart

ดนตรีของ The Prodigy ถือว่าโดดเด่นมากกับการใช้ริเริ่ม sampling จากการ์ตูนดังในยุคนั้น มาผสมกับ hardcore และ breakbeat หนัก จนต่อมากลายมาเป็น ‘big beat’ ทำให้ศิลปินและโปรดิวเซอร์หลายคนทำตาม โดยในอัลบั้มชุดแรกอย่าง Experience ในปี 1992 ยังได้อิทธิพลจากดนตรี jungle แม้แต่สไตล์การร้องหรือแร็ปในยุคแรก ก็ยังคงอัตลักษณ์ของเพลงดั๊บ เร็กเก้ หรือ Jamaican music ต่าง ที่แผ่อิทธิพลไปยังแวดวงดนตรีอื่น ของอังกฤษในยุคนั้นไม่ต่างกันกับ drum and bass และ trip hop

นอกเหนือจากความเป็นผู้บุกเบิกทางสไตล์ดนตรีของพวกเขา สิ่งที่ทำให้วงถูกจับตามองคือความท้าทายกับสื่อหลักและรัฐบาลยุคนั้นที่พยายามต่อต้าน rave scene ซึ่งเชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของความรุนแรงและยาเสพติด ในเพลง Charly ก็เหมือนเป็นเพลงที่ออกมายั่วล้อและต่อต้านเพลงรณรงค์ให้ไม่ใช้ยาเสพติด ซึ่งทำให้เหล่า clubbers กลับให้ความสนใจและพูดถึงวงมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็วจากอัลบั้มชุดที่สอง Music For The Jilted Generation

ปี 1994 เกิดการประท้วงครั้งใหญ่เพื่อต่อต้านมาตรา 63 ในประมวลกฎหมายอาญาของอังกฤษ ที่เพิ่มอำนาจให้กับตำรวจในการปราบปราม rave scene เวลานั้น มีการใช้ความรุนแรงที่ไม่ชอบธรรมและเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจและพลเรือนที่ Hyde Park ทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ทางวงก็เป็นกระบอกเสียงในการต่อต้านอำนาจรัฐผ่านดนตรีของพวกเขาที่ร่าเริงน้อยกว่าชุดที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด มีบีตหม่น และน่าอึดอัด แม้แต่เนื้อเพลงที่ร้องว่า ‘Fuck them and their law’ ในเพลง Their Law ก็แสดงถึงจุดยืนอันชัดเจนในขณะนั้นของวง ซึ่งก็ถ่ายทอดผ่านอาร์ตเวิร์กปกอัลบั้มที่เหมือนคนคลั่งพยายามแหกออกจากพลังอันมืดดำของผู้บังคับใช้กฎหมาย และสิ่งเหล่านี้ได้พิสูจน์ว่าพลังของคนรุ่นใหม่ที่เชื่อในเสรีภาพและสิทธิ์ที่จะมีความสุขของตัวเองนั้นสำคัญ ในที่สุดแล้ว การแสดงสดที่บ้าระห่ำ พลังพุ่งพล่าน และลีลาการเต้นที่ไม่เหมือนใครของฟลินท์และลีรอยที่เคยสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้ rave scene ก็ได้ประจักษ์ต่อสายตาของสาธารณชนในเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของอังกฤษอย่าง Glastonbury

กราฟความสำเร็จของพวกเขาพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในเพลง Smack My Bitch Up จากอัลบั้มชุดที่ 3 The Fat of the Land ก็ถูกแบนจาก BBC แม้แต่ MTV เองก็ไม่เอาด้วยเพราะเนื้อหานำเสนอเรื่องสองแง่สองง่าม การเหยียดเพศ แต่ทางวงก็ออกมาโต้กลับว่า พวกเขาไม่ได้เป็นพวกเกลียดเพศแม่เพราะตัวละครหลักในมิวสิกวิดิโอของเพลงนี้เป็นผู้หญิง แต่ขณะเดียวกัน แทร็คอื่น ในอัลบั้มอย่าง Breath และ Firestarter กลับขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่งในชาร์ตเพลงของอังกฤษ ถูกใช้ในงานโฆษณาหรือเพลงประกอบการรายงานผลกีฬาเอ็กซ์ตรีม และกลายเป็นผลงานคลาสสิกเลื่องชื่อของวง เรียกได้ว่าในปี 1997 ถือเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของวงก็ว่าได้

แม้สมาชิกวงจะเริ่มมีการปรับเปลี่ยน อย่าง Sharky จะไม่อยู่ต่อตั้งแต่ปี 1991 และลีรอยที่ขอแยกจากวงไปในปี 2000 แต่ The Prodigy ยังคงผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องและมีกลิ่นอายที่แตกต่างกันไป ทั้ง Always Outnumbered, Nerver Outgunned (2004) กับความเปรี้ยวแสบสันต์ที่ผสมผสานกับร็อกหนักหน่วง เป็นอิเล็กโทรแคลชที่เท่เหลือเกิน Invaders Must Die (2009) ที่มีเพลงฮิตอย่าง Omen กับเมโลดี้ซินธ์ชวนหัว ช่วงยุคที่ดั๊บสเต็ปกำลังค่อย ได้รับความนิยมไปทั่ว The Day is My Enemy (2015) ที่เราจะเริ่มได้ยินซาวด์อิเล็กทรอนิกร่วมสมัยมากขึ้น มีการผสมผสานเพลงแดนซ์แบบอื่น เข้ามามากกว่าที่จะเป็น big beat เพียว แบบแต่ก่อน ถือเป็นการปรับตัวของวงที่ทำให้ยังยืนตำแหน่งที่สุดของสายมาได้อย่างยาวนาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพวกเขาถูกจัดให้เล่นเป็น headliner ในเทศกาลดนตรีระดับโลกมากมาย ซึ่งพวกเขาก็เคยเดินทางมาแสดงที่ประเทศไทยในคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกเมื่อปี 2015 ด้วย

ปี 2017 เทศกาลดนตรี Clockenflap ที่ฮ่องกงได้ฤกษ์ฉลองครบรอบสิบปีด้วยการจัดไลน์อัพสุดโหด ซึ่ง The Prodigy ก็เป็นหนึ่งใน headliner ของงาน และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เราตัดสินใจบินมาดูเพราะพลาดโชว์ที่ไทย เวลาประมาณสามทุ่ม ผู้ชมมารวมตัวกันอย่างไม่ได้นัดหมายพร้อมกลิ่นกัญชาลอยคลุ้งในอากาศ ทันทีที่เพลงแรกอย่าง Breathe เริ่มบรรเลง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดูรวดเร็วไม่ทันตั้งตัวไปหมด รู้ตัวอีกทีคือเรากำลังกำลังกระโดดสุดตัวไปกับคนอื่น ไปพร้อม ความรู้สึก ตอนนั้นน่าจะเป็น ทำไมไม่รู้จักวงนี้ให้ไวกว่านี้ (วะ) ซึ่งในโชว์นั้นพวกเขาก็เล่นเพลงอื่น ทั้ง Nasty Play, Wild Frontier, Omen, Firestarter, The Day Is My Enemy DnB Remix), Roadblox, Voodoo People, Get Your Fight On, Run With the Wolves, Invaders Must Die, Poison, Everybody in the Place, Smack My Bitch Up, Spitfire, No Good (Start the Dance) และ ปิดท้ายด้วย Take Me to the Hospital ดนตรีอิเล็กทรอนิกสุดคลั่งของพวกเขา แสงสีเสียงบนเวทีสาดใส่คนดูอย่างรุนแรงไม่ต่างจากเพลงของวง ทุกคนเต้นกันไม่มีหยุดพัก นั่นเองก็ทำให้เรายกการแสดงของ The Prodigy ว่าเป็นหนึ่งใน live performance ที่ดีที่สุดในชีวิตที่เคยดูมา

ปี 2018 พวกเขาก็ปล่อยสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 7 No Tourists มาให้ได้ฟังกัน ซึ่งกลิ่นอายของดนตรีก็เป็นส่วนผสมที่ลงตัวของวงในยุคเก่าและยุคใหม่ ในตลอดเวลาเกือบสามสิบปีที่ผ่านมาพวกเขายังสามารถรักษามาตรฐาน และสร้างความตื่นเต้น แปลกใหม่ให้กับคนฟังได้ในขณะเดียวกัน เลียมได้ให้คอนเซ็ปต์กับอัลบั้มล่าสุดนี้ว่า พวกเขาต้องการให้อัลบั้มนี้ให้ความรู้สึกถึงการอยากหลุดพ้น และต้องการที่จะหนีออกไปจากกรอบเดิม ที่เคยวางไว้อย่าเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ครับ การเที่ยวตามไกด์บุ๊กมันไม่น่าตื่นเต้นและท้าทายเท่าเราออกเดินเที่ยวเองหรอก” 

จนเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 4 มีนาคม ตามเวลาประเทศไทย เราได้รับทราบข่าวที่ไม่คาดคิดและไม่ทันตั้งตัว เมื่อหลายสำนักข่าวรายงานว่า Keith Flint ฟรอนต์แมนของวงที่พวกเราจดจำเขาได้ในลุคผมสีฉูดฉาดเป็นหนามแหลมแยกกันสองข้างราวกับเขาของปิศาจ เสียชีวิตลงในวัย 49 ปี

เลียมเขียนแคปชันในอินสตาแกรมของเขาว่าเขายังตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและรู้สึกเศร้าอย่างมากกับการจากไปของเพื่อนผู้ร่วมเดินทางกันมาเป็นเวลา 28 ปี เขาบอกว่าคีธเป็น ‘A true pioneer, innovator and legend. He will be forever missed.’

คีธ คือผู้บุกเบิก ผู้ริเริ่ม และตำนานที่แท้จริง เราจะคิดถึงเขาตลอดไป

ในเว็บไซต์ทางการของ The Prodigy ปรากฏภาพกราฟฟิกมดโลโก้ของวงและข้อความไว้อาลัย ‘It is with deepest shock and sadness that we can confirm the death of our brother Keith Flint who sadly took his own life over the weekend. We thank you for respecting the privacy of all concerned at this time.’ เป็นเรื่องที่พวกเราช็อกและเศร้ามาก ที่จะต้องยืนยันว่า คีธ ฟลินท์ เพื่อนของพวกเรา ปลิดชีพตัวเองและจากพวกเราไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เราขอขอบคุณที่ทุกคนให้ความเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะนี้

ถึงตอนนี้เราก็ยังไม่เชื่อว่าสิ่งที่ได้เห็นตามเว็บไซต์ต่าง จะเป็นเรื่องจริง เมื่อเพลง We Live Forever จากอัลบั้มล่าสุดในเวอร์ชัน Teddy Killerz Remix เพิ่งถูกปล่อยออกมาเมื่อสามวันที่แล้ว ความรู้สึกสดใหม่และพลังล้นเหลือของคีธในโชว์วันนั้นยังแจ่มชัดจนถึงทุกวันนี้ The Prodigy น่าจะเป็นอีกวงที่เราสามารถนั่งฟังเพลงของพวกเขาแบบไล่ไปทีละอัลบั้มได้แบบไม่กดข้าม แรงบันดาลใจที่วงได้มอบให้ศิลปินรุ่นใหม่หลาย คนผ่านเพลงทุกเพลงของพวกเขาจะยังคงอยู่ ซึ่งเราก็ต้องติดตามกันต่อว่าการเดินทางของ The Prodigy ในวันที่ไร้เงาคีธจะเป็นอย่างไรต่อไป

ด้วยความอาลัย

อ้างอิง
AP News
No Tourists Liam Howlett Interview
How Music Jilted Generation Turned Rave Outsiders to Festival Headliners
Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้