Article Interview

Better Weather กลับมาพร้อมมุมมองความรักที่เปลี่ยนไปในเพลง ‘ไม่เกี่ยวเลย’

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Jiratchaya Pattarathunrong

ห่างหายกันไปเกือบ ๆ 3 ปีจากอัลบั้มชุดที่สอง ตอนนี้ Better Weather กลับมาแล้วพร้อมซิงเกิ้ลแรกจากอัลบั้มล่าสุด ไม่เกี่ยวเลย ที่ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในสีสันดนตรีและสิ่งที่พวกเขาอยากจะเล่าก็มีความโตขึ้น มาฟังคำอธิบายถึงที่มาที่ไปของอัลบั้มที่กำลังจะออกมาให้ได้ฟังกันโดยละเอียดจากพวกเขาดีกว่า

จากงานชุดแรกที่ยึดแนวทางแบบ Euro pop มาจนถึงงานชุดล่าสุด Better Weather มีแนวเพลงเปลี่ยนไปมากน้อยขนาดไหน

ฟุ้ง: พื้นฐานมันก็ไม่ได้เปลี่ยนนะครับ เราน่าจะเป็นแบบป๊อปทางยุโรปเพราะผมไกด์ขึ้นด้วยแนวเพลง วิธีใช้เครื่องดนตรี สังเกตได้อย่าง Tahiti 80, Coldplay, Oasis เหมือนเราเริ่มฟังจากตรงนั้นมา การทำ Better Weather ชุดแรกเราเลยว่าจะทำเป็นแบบ French pop ซึ่งรากฐานมันคือ The Beatles วิธีการลงกลองมันจะเป็นพยางค์ที่ชัดเจน แตกต่างกับอเมริกันเลย เราก็เลยรู้สึกว่าการทำ Better Weather หนึ่งคือวิธีการลงกลองต้องใช่ เครื่องดนตรีต้องใช่ เสียงแตก วิธีการเล่นกีตาร์ต้องไปในทางนี้ นี่คือคอนเซ็ปต์ของวงนี้ อีกอย่างคือเพราะเราชอบ ไม่ใช่ไม่ฟังอเมริกันนะ แต่ว่าถูกจริตกับฝั่งนี้มากกว่า

ดิว: สุดท้ายแล้วมันมีทั้งเรื่องโทนเสียง เสียงประสาน ที่มันอยู่ภายใต้เพลงของพวกเรา มันได้รับอิทธิพลมาจากการฟังเพลงเนี่ยแหละ เราเลือกสิ่งที่รู้สึกว่ามันเข้ากับเรา เราก็เลยคิดว่าถ้าเรานำเสนอในมุมนั้น ถ้าย้อนกลับไปดู  เวลานั้นแทบจะไม่มีวงดนตรีที่คล้ายกับเราเลยมั้ง เลยรู้สึกว่าน่าจะเป็นมิติใหม่ของวงการเพลง ถามว่ามันเป็นความพยายามที่จะเป็นแบบนี้ไหม คือเปล่าเลย เราชอบอยู่แล้ว (ฟุ้ง: เหมือนเราฟังอะไรมาเยอะเราก็ได้แบบนั้น ชอบแบบนั้น) แล้วถามว่าเวลาผ่านไป แนวเพลงมันเปลี่ยนไปไหม ก็อย่างที่ฟุ้งบอกครับมันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย มันแค่มีความวาไรตี้มากขึ้น มันมีสิ่งที่ทำให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่นความเกรี้ยวกราดบางอย่าง

ฟุ้ง: เราอยากเป็นโซลเราก็ใส่สิ่งที่เราฟังมา อย่างในชุดที่สองมันจะมีความต่างจากชุดแรก แต่วิธีตั้งต้นมันเหมือนกัน มือกลองในการอัดเราก็เปลี่ยน สไตล์ในการตีกลองก็จะเปลี่ยน แต่ด้วยเมโลดี้หรือเครื่องดนตรีก็ยังเหมือนเดิม

แล้วอะไรทำให้อินกับเพลงป๊อป

ดิว: ผมว่ามันน่าจะมาจากการที่เราเติบโตมากับเพลงของ Bakery Music ย้อนกลับไปก็ถือว่าเป็นความแปลกของวงการเพลงไทยเหมือนกันเพราะเมนสตรีมมันคือ Grammy RS ซาวด์แบบอเมริกันด้วยการเรียบเรียงแบบนั้น แต่พอเรามีทางเลือก ก็มาฟังเบเกอรี่ มันก็เหมือนเราถูกเลี้ยงดูมาแบบนั้น การฟังเพลงตอนที่โตขึ้นเราก็เลือกจะฟังอะไรที่มันคล้าย กัน

ฟุ้ง: ถ้าวงเมืองนอกผมจะชอบ Oasis ผมชอบ Noal Gallagher มาก ก่อนออกจากบ้านต้องฟัง สมัยก่อน คือจริง วงเรามีความร็อกในตัวนะ แต่ถ้าร็อกหนักมากอาจจะไม่ค่อยเข้า (ดิว: ถามว่าเราจะไปโยกหัวเลยก็ไม่ไหว) เมื่อก่อนก็ฟัง P.O.D นะ Slipknot, Korn ตอนเด็ก ช่วงทดลอง ก็คือชอบนะ แต่ถ้าชอบจริง คืออะไร มันก็จะรู้ทีหลัง

ดิว: คือเราฟังหลายแนว ตอน .4 ผมซื้อเทปแบบ System of a Down ฟัง Limp Bizkit แล้วเราก็เคยเอามาเล่นด้วยกันนะตอนซ้อม แล้วรู้สึกว่าสุดท้ายเราไม่รอดหรอก (ฟุ้ง: Linkin Park เราก็เล่น) ก็เลยมายึดเอาสิ่งที่เราคิดว่ามันใช่หรือเวลาไปดูคอนเสิร์ตแล้วอินอันไหนที่สุด

ฟุ้ง: แต่ว่ายุคเด็ก ตอนนั้น วงอินดี้ที่ฟังแล้วถูกจริตมาก เลยคือ Tahiti 80 อัลบั้มแรกตอน .ต้น โห จากการที่ชอบ Oasis, Coldplay แล้วเจอ French pop วงเนี้ย ต่อด้วย Phoenix เราก็แบบ เนี่ยแหละ ทางของเรา ตอนมัธยมเราก็มีความเป็นโซลนะ คุณตั้มมือกลอง เบเกอรี่จะมีความเป็นโซลอยู่ Soul After Six เงี้ย ก็คือท้ายที่สุดแล้ว เพลงโซลหรือเพลงคนดำ r&b ผมกับคุณดิวจะฟังเยอะ easy listening ก็จะได้พวกนี้มา ตั้งแต่เด็ก วง Red, Stephen Bishop เป็นสายอเมริกันป๊อปที่ชอบตั้งแต่เด็ก

แต่ในเพลงล่าสุดกลับมีซินธ์ที่ชัดมาก เป็นเรื่องยุคสมัยหรือเปล่าที่ทุกเพลงต้องมีซินธ์

ดิว: มันก็เป็นเรื่องยุคสมัยนะ อย่างอัลบั้มแรกมันน่าจะเป็นเรื่องการวางเลเยอร์ position วงตอนนั้นมีกีตาร์สองคน ความโดดเด่นมันเลยต้องเป็นกีตาร์แบนด์ แต่พออัลบั้มสองสมาชิกเราเหลือสามคนแต่ตอนนั้นเราทำอัลบั้มเรียบร้อยละ หลังจากนั้นก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คนที่เข้ามาใหม่ในวงเราตอนเล่นทัวร์เป็นมือคีย์บอร์ด ทีนี้ก็เลยเกิดงานใหม่ ขึ้นมา เพลงที่ทำก็ต้องเปลี่ยนไป ถ้าเราจะไปทำอะไรแบบเดิม โดยไม่ใส่สีสันอะไรใหม่ เข้าไปมันก็จะไม่ถูกซะทีเดียว (ฟุ้ง: เหมือนเราดู Coldplay จุดเริ่มต้นก็เป็นบริตร็อก กีตาร์แบนด์ แล้วพอเขาเปลี่ยนมาเล่นคีย์บอร์ด) เราก็รู้สึกว่าวงเราก็เป็นแบบนั้นได้ อย่างเพลงล่าสุด ไม่เกี่ยวเลย ก็จะได้ยินเยอะ เลยว่าปกติจะเล่นอีกลักษณะนึง (ฟุ้ง: คอนเซ็ปต์อัลบั้มนี้คือให้กีตาร์เป็นเพอร์คัสชัน) มีสีสันมากขึ้น มีลูกเล่นที่ไม่ต้องเล่นเยอะ แต่เราจะได้ยินกีตาร์ที่ถูกที่ถูกเวลาทุกช่วง แล้วก็จะมีความหลากหลาย อย่างเพลงแรกจะเป็นแบบนึง เพลงสองจะมีความดิสโก้เข้ามา เพลงสามที่แพลนไว้ก็จะมีความซินธ์กว่านี้อีก ซินธ์จ๋าแบบไม่เคยทำเลย

ฟุ้ง: คนอื่นอาจจะมองว่าเฮ้ยเขาก็เคยทำกันแล้ว แต่เราได้ร่วมงานกับคนที่เป็นพ่อของวงการเพลงไทยที่ทำแนวนี้มา คือ Funky Wah Wah ผมฟังเขาตั้งแต่เด็ก เพลงซินธ์ป๊อปใหม่ ที่คุณฟังอะ Funky Wah Wah ทำมาก่อนหมดแล้ว เราก็รู้สึกว่าอยากร่วมงานกับปรมาจารย์ที่จะให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ว่านี่คือตัวจริงนะ

ดิว: คือเพลงในอัลบั้มนี้จะถูกสร้างออกมาก่อนแล้ว เหมือนเรากางกระดานแล้วเลือกว่าคนไหนเหมาะสมกับงานอันไหน อย่างงานเขียนเนื้อ ฟุ้งอาจจะมีคอนเซ็ปต์มาแล้วคิดว่าจะให้งานนี้กับใคร มันก็เลยเป็นเหมือนการได้ทดลองอะไรใหม่ ได้ทำงานกับคนใหม่ มากยิ่งขึ้น หรือว่าได้ทำงานกับคนที่เราอยากจะร่วมงาน

ฟุ้ง: อย่างชุดนี้ผมก็เป็นโปรดิวเซอร์ การทำเพลงที่ผ่านมา กับลุลาเงี้ย คอนเซ็ปต์มันจะถูกว่า 1 2 3 4 5 6 7 8 เพลงนี้เป็นงี้ ๆๆๆ มันจะต่างกับบางวงที่เลือกทำทีละซิงเกิ้ล ซิงเกิ้ลน่ะมักจะทำยังไงก็ได้ให้ฮิต แต่ลืมไปว่าถ้าเอาเพลงพวกนี้มาใส่ในอัลบั้ม มันจะจำเจ แต่ของ Better Weather เนี่ย เราวางคอนเซ็ปต์ไว้ว่ามันเป็นอัลบั้ม ฟังก์ชันมันก็จะถูกกางออกมา เราก็มองว่าเพลงนี้ใครต้องทำอะไร หรืออย่างการเขียนเนื้อร้องก็ได้รัฐ Tattoo Colour มาช่วย แต่ผมว่าแก่นของวงมันอยู่ที่เมโลดี้ ถ้ารัฐแต่งเนื้อและเมโลดี้ยังไงก็เป็นรัฐ แต่เมโลดี้คือผมทำ วงทำ แล้วเนื้อเนี่ยผมก็ทำไปให้ก่อนระดับนึง ผมรู้สึกว่ามันถูกต้องแล้วที่การเขียนมันต้องเป็น signature ของคนเขียน และผมอยากได้ความเป็นรัฐกับความเป็นวงเรามา merge กัน เพราะชุดนี้เราอยากเลือกใช้คนที่รู้จักมาตั้งนาน อยากร่วมงานมานานแล้ว เช่นคุณมอง Better Weather เป็นยังไง ผมแต่งไปให้ก็ลองถอดรหัสมา คุณตีความให้หน่อย กับบิว Lemon Soup มาร่วมงานกันได้เพราะช่วยกันทำวง The Caption ที่ผมทำอยู่เหมือนกัน เขาก็จะรับหน้าที่โปรดิวซ์ไปในทีมของ Welfare 6 แล้วจริง ๆ ผมกับบิวเนี่ยทำเพลงโฆษณาด้วยกัน กับรัฐทำลุลาด้วยกันหนึ่งเพลง ปกติเราจะไม่ให้คนนอกมาแต่ง แต่ว่าชุดนี้รู้สึกว่าการที่ได้สีสันจากเพื่อนในวงการนี้เป็นเรื่องที่ดี จะได้เห็นว่ามุมมองการเล่าเรื่องของวงตอนแรกเป็นแบบนี้ แต่พอให้อีกคนนึงมาเล่าก็จะเป็นแบบนี้ ไขก๊อกนิดเดียว เฮ้ย! แม่งดีเลย อย่างเพลง ไม่เกี่ยวเลย ตอนแรกแต่งมาเป็นเพลงให้กำลังใจ ซึ่งเราก็มองคุณดิวเป็นคนร้องเป็นหลัก ด้วยคาแร็กเตอร์ของดิวคนอาจจะไม่เชื่อว่าให้กำลังใจ คอนเซ็ปต์แบบพี่ตูนอะ (ดิว: ให้กำลังใจแล้วได้อะไรจากมัน ก็ไม่น่าได้ เลยเปลี่ยนดีกว่า กลายเป็น loser หน่อยน่าจะเข้ามากกว่า) ก็นั่งคุยกับรัฐ ตอนนั้นอัดลุลาอยู่ ก็บอกว่ามีคอนเซ็ปต์ บิวเอาไปเพลงนึง รัฐเอาไปเพลงนึง ผมก็ไกด์ไลน์ให้แต่งมาจากเนื้อท่อนฮุคก่อน รัฐก็ทำมาถามว่าเอาแบบนี้ไหม เสร็จก็ทำงานต่อได้เลย

เพลงนี้เป็นภาคต่อของ ทำไมต้องทำให้มีน้ำตา ทำไมถึงทำภาคต่อกับเพลงจากคนละอัลบั้ม

ดิว: จริง เพลงภาคต่อนี่เราทำตั้งแต่ ยังไม่รู้ กับ แค่เท่านั้น แล้วนะ ก็คือภาคต่อคนละอัลบั้มเหมือนกัน อันนี้ก็อาจจะเป็นภาคต่อในลักษณะที่คนอื่นไม่ค่อยทำกัน แต่พวกเราเคยทำละ ก็เลยทำอีก

ฟุ้ง: เลยเอาเนื้อจากอันเก่ามาใส่ มันก็เป็นความบังเอิญแหละครับ ตอนนั่งแต่งเสร็จ เฮ้ย! ตรงนี้มันได้ดี ลงคำดี

เรื่องราวในอัลบั้มเกาะกลุ่มเป็นธีมเดียวกันด้วยไหม

ดิว: พวกเรื่องก็ใช้วิธีเดียวกันว่าเราเล่าเรื่องอะไรไปแล้วบ้าง และเรื่องไหนเรายังไม่เคยเล่าบ้าง

ฟุ้ง: อันนี้ก็จะเป็นประมาณว่า ทำไมต้องต้องไปเสียใจเรื่องของคนนั้น มันไม่ได้เกี่ยวกับเรา อีกเพลงก็จะเป็นเพลงชวนเธอมาเที่ยว ฉันก็รู้ว่าเธอคิดแบบนี้ อีกเพลงก็เหมือนประมาณ อย่ามาพูดแบบนี้นะ ไม่ต้องมาขอคืนดี ฉันลืมไปหมดแล้ว

ดิว: มันอาจจะไม่ได้มีความเชื่อมโยงกันซักเท่าไหร่ คือมันต้องมีบางมุมในความสัมพันธ์ที่เรายังไม่เคยเล่า เราอยากนำเสนอตรงนั้น ถ้าไปพูดเรื่องให้กำลังใจอาจจะยังอยู่ในวัยที่ยังไม่มีคนเชื่อเท่าไหร่ ถ้าทำในมุมความรักน่าจะมีคนเชื่อมากกว่า (ฟุ้ง: แต่มันจะไม่มีความรักแบบอกหักแล้วฟูมฟายเท่าไหร่ แต่งจากชายวัย 30 กว่า ๆ) ก็ดูจะเข้าใจเหตุผลมากขึ้นว่า ที่เราร้องไห้ หรือที่เราเป็นแบบนี้เพราะอะไร มันมีเหตุและผลเป็นแบบนี้ สมมติเรามีความผิดอะไรสักอย่าง เราจะไม่โทษฟ้าโทษดินละ เราจะโทษสิ่งที่เคยทำมา ประมาณว่าสัจธรรมมากขึ้น เข้าวัดมากขึ้น (หัวเราะ)

ฟุ้ง: เรื่องราวในอัลบั้มจะแต่งจากเรื่องคุณแจ๊ค เรื่องคุณดิว เรื่องผมไม่ค่อยมี (ดิว: ออกตัวก่อนเลย)

จะมีทั้งหมดกี่เพลง ทำไปถึงไหนแล้ว

ดิว: ตอนที่แพลนไว้ในอัลบั้มน่าจะมี 10 เพลง คร่าว นะครับ

ฟุ้ง: แต่เพลงที่มีเนื้อครบหมดแล้วมี 9 เพลง อีกเพลงยังขาดความสมบูรณ์ ยังอยู่ในหัวผมอยู่ ผมมีเดดไลน์ สมมติว่าอัลบั้มวางมีนา มาสเตอร์มันต้องส่งปั๊มเสร็จอะไรไม่เกินมกรา ผมมีเวลาช่วงนี้ในการทัวร์คอนเสิร์ต ผมอยากรู้ว่าถึงจุดนั้น input ผมจะเป็นยังไง แล้วผมจะเขียนเพลงนี้ออกมาแบบไหน เป็นเพลงปิดท้ายอัลบั้ม

ระหว่างนี้จะเอาเพลงใหม่ไปเล่นก่อนไหม

ดิว: ไม่ครับ เราแพลนว่าปีนี้จะปล่อยอีกเพลงต่อจาก ไม่เกี่ยวเลย ชื่อเพลงว่า เดา แล้วก็ต้นปีน่าจะมีอีกเพลงนึง แล้วเดือนสามก็จะมีคอนเสิร์ต เป็นเหมือนปาร์ตี้ขายอัลบั้มด้วย (ฟุ้ง: ว่าจะจองที่ราชมัง ไว้) ตรงห้องพักนักกีฬา

รู้สึกยังไงกับการที่อัลบั้มแรกประสบความสำเร็จมาก  เพราะหลายเพลงเป็นที่รู้จัก ตอนทำอัลบั้มสองเครียดไหมว่าจะต้องปัง หรือแม้แต่ทำอัลบั้มล่าสุดนี่ก็ตาม

ดิว: ตอนทำอัลบั้มที่สองจะมีคนถามคำถามนี้บ่อยมากว่ากดดันรึเปล่า เครียดไหม เป็นอัลบั้มซินโดรมรึเปล่า ส่วนตัวผมเนี่ย มีความกังวลน้อยนะ แต่ว่าอยากจะทำเพลงให้ตัวเองชอบให้มากที่สุดก่อน แล้วผลลัพธ์จะเป็นยังไงเราไม่สามารถตัดสินแทนคนฟังได้อยู่แล้ว ยังไงก็แล้วแต่ งานที่ออกจากพวกเราต้องเป็นงานที่เราชอบก่อน เพลงล่าสุดผมก็ชอบมัน แต่ก็อยากให้คนอื่นชอบด้วย แค่สุดท้ายก็เป็นสิทธิของเขา ตอนนี้ feedback ใน YouTube ก็ไม่ได้ทะลุล้านวิวแบบวงอื่น (ฟุ้ง: แต่เรื่องวิวไม่ได้สำคัญ ตอนนี้นะ) แต่ feedback แฟนเพลงเนี่ย เราไม่ได้ปล่อยเพลงไปตั้งสามปีแล้วกลับมาถือว่าดี เพราะมีแฟนเพลงเก่า แล้วก็แฟนเพลงรุ่นใหม่ที่เรามีโอกาสไปดูตอนเราทัวร์โรงเรียนก่อนหน้านี้ ก็ยังมีคนรอและมีคนชอบ คนแชร์ เพราะว่าวันที่เราปล่อยเพลง เราปล่อยเป็นสตรีมมิงก่อน แล้วก็อีกอาทิตย์กว่า สองอาทิตย์เราค่อยปล่อย mv อาจจะมีคนฟังเลือกที่จะฟังสตรีมมิงแล้วอาจจะยังไม่ได้กรี๊ดกร๊าดกับ mv เท่าไหร่ (ฟุ้ง: แต่กระแสก่อนปล่อย mv วีคสุดท้ายถือว่าดีนะครับ) เราพยายามทำการบ้านกับทางค่ายว่าอยากให้มีการ remind ว่า เฮ้ย กูยังมีชีวิตอยู่นะ ก็หาอีเวนต์ให้แฟนเพลงได้มีโอกาสกลับมาฟังเพลงเรามากขึ้น ไปเชียร์เราตามคอนเสิร์ตมากขึ้น ซึ่งหลังจากปล่อยเพลงประมาณอาทิตย์นึง เราไปเล่นที่ The Street ก็จัดกิจกรรมให้เขามาร่วมถ่าย mv สำหรับ fan version คนก็ให้ความสนใจเยอะครับ คือเราให้เขาเขียนความรู้สึกต่อวงว่าเป็นยังไง พอไปอ่านก็เห็นว่าเออมันก็ยังมีคนที่รอเราอยู่นะ ก็ถือว่ากระแสตอบรับสำหรับวงเราในความคิดของพวกเราถือว่าดี พอใจ แต่ก็ยังอยากพอใจมากกว่านี้อีกนะ ก็พยายามสร้างความเคลื่อนไหวในโซเชียลให้มากขึ้นด้วย

ฟุ้ง: เหมือน 3-5 ปีเนี่ยวงการเพลงก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย แค่เราหายไปสามปีก็กลายเป็นวงใหม่ไปแล้ว คนที่ฟังเพลงใหม่ อาจจะไม่รู้จัก แต่เราก็จะได้แฟนเพลงเก่าที่โตไปทำงานเป็นเจ้าของกิจการ เป็นแม่ของลูก (ดิว: เป็นอดีตภรรยาแล้วก็มีแล้วนะ แบบแต่งงานแล้ว เลิกกันแล้วด้วย ครบเลย) สมมติอัลบั้มแรกปล่อยเมื่อ 8 ปีก่อน คนเรียน .3 ตอนนี้ก็น่าจะทำงานแล้ว

ดิว: อย่างวันที่เราไปเล่น The Street อะ เราก็เริ่มเช็กแล้วว่า เขาบอกว่า ‘เนี่ย หนูฟังเพลงพี่มาตอนนั้นหนูอยู่ .2′ แล้วตอนนี้ล่ะ ‘ปี 4 แล้วค่ะ’ อะไรประมาณนั้น ก็ดี มันเหมือนโตมาด้วยกัน มันเหมือนทำให้พวกเราเองที่ถามว่าทำไมเราไม่ปล่อยเพลงซักที เราอะอยากปล่อยมาก แต่ด้วยอะไรหลาย อย่าง ด้วยภาระหน้าที่ของแต่ละคน ตัวเพลงที่อาจจะยังไม่ถูกใจค่าย หรืออะไรก็แล้วแต่ มันทำให้การปล่อยเพลงมันช้าไป แต่สำหรับพวกเรามันไม่สายไปที่จะได้ทำความรู้จักกันใหม่อีกที

จริง ทุกคนไม่ได้หายไปไหน

ดิว: ใช่ครับ อย่างฟุ้งเนี่ย จะเห็นเขาบ่อยสุด ทำเบื้องหลัง แจ็คเล่นให้ Room 39 ยังเห็นหน้าค่าตากันอยู่ แต่คนรอฟังเพลงใหม่

ฟุ้ง: นี่ก็ทำเพลงมาตลอดนะ ไม่ได้หยุดพัก ชุดนี้ถ้าเอารวม ก็น่าจะมี 20 เพลงได้ คัดทิ้งเยอะมาก แต่เดี๋ยวจะเอากลับมาใช้แน่นอน ยังไม่รู้เอามาใช้ตอนไหน บางทีเพลงมันก็เหมือนนมอะ จะมีความหมดอายุตอนนั้น พอแต่งตอนนั้นได้แล้วค่ายไม่เอา ผ่านมาเรื่อย พอถึงปีหน้า ดนตรีแบบนี้เหมาะกับยุคนี้พอดี น่าจะเอากลับมาใช้ได้ ซึ่งน่าจะมีหลายเพลงอยู่ ตอนนั้นทำบางทีมันก็ล้ำกว่าตอนนี้ บางทีคิดนอกกรอบมากไปหน่อย ไม่มีใครกล้าขนาดนั้น

ตลอดเวลาเกือบสิบปี วิธีการทำงานเปลี่ยนไปยังไง การมองอะไรเปลี่ยนไปหรือเปล่า

ฟุ้ง: พาร์ตการทำงานก็ไม่ค่อยเปลี่ยนเพราะเราก็ทำกันสามคนหลัก อยู่แล้ว (ดิว: ฟุ้งเขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างเพลงอยู่แล้ว ผมอาจจะช่วยในเรื่องทำนอง เมโลดี้ เขียนเนื้อด้วยกันบ้าง) อาจจะเปลี่ยนกันในชุดนี้ที่เราแต่ก่อนจะมีพี่โตน โซฟา ที่ช่วยดูเรื่องเนื้อ เหมือนคอยตรวจ คอย brainstorm เนื้อกัน ตอนนี้ท่านไปบวชอยู่ แล้วเราก็ต้องหาที่ปรึกษา ก็ได้บิว รัฐ มา บางทีการทำงานแล้วให้เพื่อนหรือคนอื่นช่วยดูมันจะได้เห็นอีกมุมมอง ถ้าจบไปเองก็จะรู้สึกว่าการเล่าเรื่องมันส่วนตัวไปหรือเปล่า ผมชอบให้คนมาวิจารณ์ แบบ เฮ้ย ช่วยฟังหน่อย

ดิว: ส่วนการมองอะไรต่าง เปลี่ยนไปเลย การเข้าถึงเพลง การเสพเพลง ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดตามยุคสมัย ตามเทคโนโลยี merchandise ของศิลปินกลายเป็นเสื้อผ้า กลายเป็นของที่ระลึกอื่น มากกว่าซีดีแล้ว รวมถึงแนวเพลงต่าง ที่ในบ้านเรา สื่อหลักเขาหยิบขึ้นมาปุ๊บก็กลายเป็นเมสตรีม เหมือน The Rapper เงี้ย ใครที่เป็นแร็ปเปอร์ก็มีคนชอบเยอะ เด็กสมัยนี้เขาก็อาจจะถูกผูกกับสื่อหลักว่า ‘I want to be a rapper’ บางทีก็ต้องทำใจและทำความเข้าใจกับมัน แต่ด้วยตัวเราเองก็ต้องไม่ลืมตัวตนว่าเราเป็นยังไง โตมาแบบไหน จะให้เราไปเป็นแร็ปเปอร์ก็คงจะไม่ได้ เราก็ต้องทำสิ่งที่เราสามารถทำได้ดีที่สุด คือการเล่าเรื่องในแบบที่เราเป็น

ตอนนี้คนก็เลิกเถียงกันเรื่องแมสกับอินดี้ไปแล้วนะ

ดิว: เราไม่ได้ติดเรื่องแมสหรืออินดี้อะไรนะ เราว่าทุกคนมันสามารถเป็นแมสได้แม้ว่าคุณทำอินดี้ คุณทำเพลงที่บ้านในห้องของคุณเอง แล้วคุณ on air ใน YouTube ทั่วโลก คุณก็เป็นแมสได้ เราก็ไม่ได้ยี้แมส เพราะเราก็รู้ว่าอยู่ position ไหน เขาก็ทำหน้าที่ของเขา เราก็ทำหน้าที่ของเรา

ฟุ้ง: น่าจะอยู่ที่คนฟังมากกว่า คนฟังเยอะก็ถือว่าเป็นแมส สมัยก่อนเบเกอรี่คนก็คิดว่าเป็นอินดี้ แต่สมัยนี้เป็นแมสแล้วเพราะคนฟังตั้งแต่ตอนนั้นมันมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น Silly Fools เขาก็ทำอินดี้ แต่พอเพลงมันทัชคนหมู่มากจากอินดี้ก็กลายเป็นแมส

เคยไปแจมกับ ปอย Portrait ใน Boxx Session เป็นไงบ้าง

ฟุ้ง: ตอนนั้นพี่ปอยเพิ่งปล่อยเพลง เจ็บจนไม่เข้าใจ ก็เลยต้องใช้เพลงนั้น แต่จริง แล้วผมชอบนะ ผมก็เลยจับถอดเสื้อผ้าใหม่แล้วเอาชุดของพวกเราไปใส่ให้ ก็ถือว่าจริง แล้วเพลงนั้นคือ direction ของชุดใหม่ของเราแล้ว วิธีการเล่นกีตาร์ การทำเพลง หรือว่ามีซินธิไซเซอร์ เพลงนั้นคือเหมือนบอกว่าวงนี้กลายเป็นแบบนี้แล้วนะ

ถ้าไม่ใช้เพลงนั้นจะทำเพลงอะไร

ดิว: ตอนนั้นด้วยความที่เรายังไม่ได้ฟังนั้น เขาเพิ่งปล่อย มันก็มีเพลงเก่าที่ขึ้นมาในหัว อย่าง ขอดาว

ฟุ้ง: แต่เขาก็อยากโปรโมตเพลงใหม่

ตอนงานที่ The Street เห็นว่ามีฝรั่งมาขอถ่ายรูปด้วย

ดิว: โห ฝรั่งคนนั้นเขาเป็นแฟนเพลงตั้งแต่อัลบั้มแรกแล้วครับ (ฟุ้ง: รู้จักกันมานาน คุณแมต) เขาเคยไปงาน Fat แล้วเขาคือคนที่สูงที่สุดในงานนั้น เขาเหมือนแอนดรูว บิกส์ เลย

ฟุ้งเมื่อก่อนเขาจะอินบอกซ์มา เราอยากคุยภาษาอังกฤษกับเขา เขาก็อยากคุยภาษาไทย เขานี่พิมพ์ไทยมาเลยนะ คุณแมตนี่ชอบฟังเพลงไทย เป็นแฟนคลับ Bodyslam, Jetset’er ก็มีช่วงนึงที่เขาหายไป นี่ก็เป็นการเจอเขาครั้งแรกในรอบหลายปีเลย ก็มาคุยกัน (ดิว: เขาบอกว่าเขาไม่ได้หายไป คุณน่ะหายไป (หัวเราะ)) เขาชอบเอาเพลงเยอรมันมาให้ผมฟัง หรือเพลงอินดี้สมัยก่อนที่เขาฟัง เขาไปไรต์ซีดีมาให้ ในรถผมมีหลายแผ่นมาก

ดิว: คุณแมตจะได้คุยกับฟุ้งบ่อยที่สุด แต่ว่าเวลาโชว์ก็จะได้เจอกันบ้าง แต่ว่าถ้าเรามีงานอย่างเฟสติวัลเขาก็จะไม่ค่อยพลาด งาน Cat เขาชอบไปดู ไปเสพอยู่แล้วแหละ แต่พอเป็น Better Weather เขาก็อาจจะถูกจับตาบ้าง แบบเป็นฝรั่งมาดูด้วย เขาก็เขิน อาย เวลามาคุยกับเรา

ฟุ้ง: ผมเคยเห็นเขานะในงาน Fat ครั้งแรก ก็นึกว่ามาดูเฉย แต่พอเราไปเล่นก็เห็นเขามาดูอีก ก็เริ่มอยากรู้แล้วว่าเขาเป็นใครวะ เขาเป็นแฟนเพลงที่ตามหลายวง แล้วก็มีวงที่ชอบ หนึ่งในนั้นก็เป็นวงเรา

มีตลาดเมืองนอกที่อยากให้วงไปเล่นไหม

ดิว: ไม่มีครับ ส่วนมากเป็นนักศึกษาไทยมากกว่า แต่ก็อยากไปนะ

ฟุ้ง: อาจจะเป็นที่คอนเน็กชันนะ อย่าง พี่ปูม Parinam เขาอาจจะมีคอนเน็กชันกับคนไต้หวัน พี่ออฟ Rats Records ไรเงี้ย เคยนั่งคุยกัน อาจจะมีเอเจนต์คนเกาหลี น้องภูมิ วิภูริศ ก็ได้ไปทัวร์ คนนี้เขาก็เป็นคนหางานให้ จริง แล้วเราไปเล่นฟรีก็ได้นะ เปิดประสบการณ์ อย่างวง Moving and Cut ที่ซี้กัน ส่วนมากคนญี่ปุ่นเขาจะจับกลุ่มวงอินดี้ที่ไม่มีค่ายไปเพราะดีลง่าย (ดิว: เขาอาจจะมีความกังวลถ้าจะต้องผ่านค่าย business talk จะคนละแบบละ) ถ้าเห็นว่าเป็นวงแมส หรือวงใหญ่เนี่ย หรือมีค่ายอาจจะไม่อยากคุยกับเรา อย่างที่ญี่ปุ่น ผมเคยถามหยางนะว่าไปเล่นได้ไง เขาบอกว่างงเหมือนกัน อยู่ ก็ติดต่อมา เขาอาจจะเสิร์ชจากวงอินดี้ที่มีแฟนเบสแบบนี้ ก็ดีนะครับ น่ารักดี Moving and Cut ก็ไม่มีเพลงภาษาอังกฤษ แต่ไปเล่นก็ได้ปแฟนคลับที่นู่นมา สนุก จริง เราก็อาจจะมีเพลงภาษาอังกฤษนะ เพราะเวลาเราทำเพลงเราคิดจากเมโลดี้ภาษาอังกฤษก่อนบางที

คนชอบบอกว่าเพลง Better Weather ฟังแล้วผ่อนคลาย อากาศดี ตามชื่อวง ตอนนี้คิดว่าเพลงของวงเป็นอากาศแบบไหน

แจ๊ค: จริง ผมว่ามันก็อากาศดี ไม่ได้ร้อนมาก หนาวมาก ยังอยู่กลาง อยู่ที่ว่าเขาฟังเรา เวลานั้นแล้วรู้สึกยังไงกับเพลงของเรา

ดิว: ก็ต้องขอบคุณแฟนเพลงนะครับที่เอาเราไปผูกกับสภาพอากาศ บวกกับชื่อวงด้วยเลยรู้สึกว่าเหมาะกับอันนั้น อันนี้ กลายเป็นว่าเพลงนี้เหมาะกับอากาศแบบนี้ มันจะทำให้เขาคิดถึงเราทุก ช่วงเวลา มันดีนะครับ

ฝากผลงาน

ดิว: ช่วงนี้เป็นการทัวร์สื่อ โปรโมตเพลง หลังจากนี้จะมีแคมปัสทัวร์ตามมหาลัยต่าง แล้วก็ทางค่ายกำลังคิดอีเวนต์ให้ผูกกับวงในค่ายอย่าง electric.neon.lamp น่าจะไปทัวร์จัดรูทที่อีสาน หรือเหนือ

ฟุ้ง: อีกอันที่ผมชอบมาก ตอนเด็ก ๆ ผมอยากให้มีแบบนี้มากเลย คือการจะให้น้อง โรงเรียนส่งรีเควสมาในวิชาแนะแนว แล้วเราจะไปตามห้องเรียน

ดิว: อันนี้เป็นโปรเจกต์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็คือถ้าอยากให้พวกเราไปพูดให้วิทยาทาน ให้ความรู้บ้าง น่าจะมีโมเมนต์นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ทัวร์สื่อเสร็จแล้ว ยังไงสามารถอินบอกซ์มาได้เลย ทั้งงานด้วย เพราะว่าบางทีคนที่ฟังเพลงหรือว่าลูกค้าอะไรต่าง อาจจะอยากติดต่อกับศิลปินโดยตรงก็สามารถติดต่อได้เลย

ฟุ้ง: ไม่จำเป็นต้องผ่านค่ายครับ คุยกันตรง มีบัดเจตเท่าไหร่ เพราะว่าวงดนตรีอะ ถ้าทำเพลงแล้วไม่ได้ออกไปเล่นมันก็รู้สึกว่ายังไม่ถึงคนฟัง บางทีคนบอกว่าวงเราเป็นป๊อปใส น่ารัก แต่อาจจะยังไม่เคยดูโขว์ โชว์อาจจะสนุกก็ได้นะ เราก็อยากจะออกไปให้เห็น เรื่องเงิน… (ดิว: จำเป็นไหมครับ) จำเป็น แต่ก็อาจจะไม่ได้จำเป็นเสมอไป

ดิว: เอาแค่ดูแลค่าใช้จ่ายของทีมงานได้ ไม่ต้องเข้าเนื้อศิลปินก็โอเคแล้ว มันก็เหมือนการสร้างแฟนเพลง ให้ใจเขาเขาก็ให้ใจเรา

เห็นว่าจะไปแนะแนวน้อง เมื่อก่อนเขาจะให้อาชีพแบบหมอ ครู อะไรไปพูด แล้วอันนี้จะเป็นนักดนตรีไปพูด คุณคิดว่านักดนตรีเป็นอาชีพหาเลี้ยงตัวได้แล้วจริง หรือยัง

ฟุ้ง: อาจจะไม่ได้พูดเรื่องอาชีพอย่างเดียว อย่างคุณแจ๊คเนี่ย เมื่อก่อนเขาเรียนเก่งมาก เขาสอบโควตา มช. ติด เด็กเรียนอะ ตอนนั้นคุณอ่านหนังสือยังไงถึงสอบได้ แล้วพอเข้าปี 1 ทำไมชีวิตคุณแหลกเหลว จบช้า ได้หมด เป็นประสบการณ์ ไกด์ชีวิต

ดิว: นักดนตรีจะเป็นอาชีพได้ไหม ผมว่าได้ มันไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินอย่างเดียว พาร์ตดนตรีมันมีเป็นร้อยเลยอะ เป็นโปรดิวเซอร์ ไม่ต้องเล่นด้นตรีเก่งแต่เล่นเป็น ก็เป็นคนเขียนเพลงก็ได้ เป็น aranger เป็น announcer มันมีหลากหลาย โปรแกรมเมอร์ รายได้ดีนะ แต่ถ้าผมไปแนะแนว ผมจะบอกว่าทำอะไรก็ทำเถอะ อันนี้เป็นงานอดิเรกก็ได้ไง ก็ขอให้สุด กับมันแค่นั้นแหละ

ฟุ้ง: สิ่งหนึ่งที่ผมจะแนะนำให้น้อง คือคนเรามันต้องทำหลายอย่าง มันไม่สามารถทำอย่างเดียวแล้วประสบความสำเร็จได้แน่นอน ชีวิตคนเรามันก็เหมือนนายพรานอะ มันมีหอกหลายหอก อันแรกขว้างไปไม่โดนมันก็มีหอกสอง หอกสาม มันต้องโดนสักอัน ถ้าไม่โดนนะก็วิ่งไปเก็บมาใส่หลังแล้วค่อยขว้างใหม่ วันนึงมันก็ต้องโดนอะ อย่างวง Getsunova เมื่อก่อนก็รู้จักกัน กว่าจะได้ทำเพลง มีปีนึงตอนอยู่ Big Mountain ผมเคยถามน้องไปป์อยู่เลย วันนั้นเขายังไม่ปล่อยเพลง ไกลแค่ไหนคือใกล้ เลย เป็นสิบปีแล้ว พอปล่อยก็ดังพลุแดก เราก็เหมือนกัน ยังไม่มีใครรู้ครับ ทำต่อไป

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้