Phum Viphurit

Article Interview

Phum Viphurit เด็กไม่ยอมโตที่ถ่ายทอดเรื่องราว Coming of Age ผ่านบทเพลง

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Chavit Mayot

นาทีนี้คงไม่มีใครฮอตไปกว่าหนุ่มน้อยวัย 22 ปี นาม ภูมิ—วิภูริศ ศิริทิพย์ อีกแล้ว เขาคือนักศึกษาจากสาขาวิชาการผลิตภาพยนตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เพิ่งส่งโปรเจกต์จบไปหมาด ๆ ขณะเดียวกับที่ทั่วโลกให้ความสนใจและจดจำเขาในฐานะศิลปินขวัญใจมหาชนคนใหม่ที่มักไปโผล่อยู่ในแถบ YouTube Suggestion บ่อย ๆ

phum-viphurit-%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a8-fungjaizine-2

อันที่จริงเมื่อสองปีที่แล้ว Fungjaizine เองก็เคยได้พูดคุยกับภูมิในช่วงที่เขาเริ่มเป็นที่รู้จักจากเพลงอัลเทอร์เนทิฟโฟล์กภาษาอังกฤษ ซึ่งดึงความสนใจจากเราผู้ไม่ค่อยได้เห็นเพลงสไตล์นี้ในแวดวงเพลงไทยสมัยนั้นสักเท่าไหร่ ก่อนที่จะปล่อย Manchild อัลบั้มเต็มชุดแรกออกมา อ่านเพิ่มเติมที่ ช่วยกันสานฝันของ ภูมิ วิภูริศ ให้เป็นจริง กับ Debut Album แรกในชีวิตของเขา แล้วจะพบว่าเด็กหนุ่มในวันนั้นเติบโตจนกลามเป็น Phum Viphurit ในทุกวันนี้ยังไงบ้าง

เรียกตัวเองว่าเป็นศิลปิน หรือนักแต่งเพลง

รู้สึกว่าเราเป็นคนทำคอนเทนต์ของตัวเอง ก็เรียกว่าเป็น singer-songwriter ก็ได้ครับ แค่ไม่เคยเขียนเพลงเต็ม ให้คนอื่น แต่เคยรับฟรีแลนซ์ทำเพลงประกอบหนัง โฆษณา ใครสนใจหรือมีอะไรมาให้ทำภูมิก็ทำครับ (หัวเราะ)

ระหว่างการทำเพลงของตัวเองกับเพลง commercial แบบไหนยากกว่ากัน

Commercial ยากกว่าครับ เพราะเพลงตัวเองทำตามใจ ตามความรู้สึกตัวเอง อิสระมีเยอะมากจะทำอะไรก็ได้ แต่เวลาเราทำ score มันต้องมีโจทย์มา เพลงมันต้องลิงก์กับภาพที่คนอื่นจะเซ็ตมาแล้ว แล้วเราก็เป็น supporting role มากกว่า

Lover Boy และทิศทางของอัลบั้มใหม่

ชุดก่อนเราจะเล่าแบบ inside-out เหมือนเราจะเอาเรื่องส่วนตัวมาเล่า แต่ชุดนี้เราได้ไปเปิดหูเปิดตา ไปเที่ยว ไปเจออะไรมาเยอะขึ้น โตขึ้น อันนี้ก็เลยจะเป็น outside-in มากกว่าเพราะเราไปเอาแรงบันดาลใจข้างนอกมาเล่าผ่านเราอีกที ก็เป็นเรื่องเล่าว่าเราไปเจออะไรมาบ้าง ตอนนั้นเป็นช่วงที่เซ็งมาก ค่อนข้างดาร์กครับ ก็เลยตัดสินใจไปซื้อตั๋วรถไฟนั่งไปเชียงใหม่คนเดียว แล้วหายไปประมาณสิบกว่าวัน เป็นครั้งแรกที่ภูมิทำแบบนี้ แบบภูมิไปละนะ บายไม่รอให้ใครบอกอะไร เหมือนเราอยากลองทำอะไรใหม่ ก็ได้ไปเจออะไรใหม่ จากตรงนั้นการมองโลกรอบข้างเปลี่ยน การมองดนตรีของเราก็เปลี่ยนไปด้วยเหมือนกัน

phum-viphurit-%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a8-fungjaizine-5

การเปลี่ยนทิศทางเพลงทำให้คนจับต้องได้มากขึ้น

จริง ก็ไม่รู้เหมือนกัน ตลอดเวลาที่ทำเพลงมาเราก็ไม่ได้คำนึงว่าตอนนี้คนอินกับอะไร ต้อง lo-fi หรือเปล่า คือเราก็แค่อินกับสิ่งที่เราชอบมาตลอด อาจจะเป็นไปได้ว่าเทรนด์โฟล์กไม่ได้บูมแบบสมัยก่อน แล้ว Long Gone ได้รับการตอบรับดีเพราะมันเป็นดนตรีแนวที่ทั่วโลกกำลังอินอยู่ ซึ่งเราก็รู้สึกว่าโชคดีที่มาทำสิ่งนั้นในช่วงนี้พอดี จังหวะดี มาแบบมั่ว แต่ก็ไปได้เรื่อย (หัวเราะ)

ชุดนี้จะมีศิลปินรับเชิญด้วยไหม อย่างชุดที่แล้วมี Jenny & the Scallywags มาร่วมงานด้วย

ชุดนี้ก็พยายามจะมีครับ อยากจะเปลี่ยนมาเป็นแนวโปรดิวเซอร์มากขึ้น อาจจะเล่นดนตรีอย่างเดียวแล้วเป็นเสียงของศิลปินคนอื่น ไม่มีเสียงภูมิร้องเลย มีเล็งศิลปินในไทยและต่างประเทศด้วย ยังบอกไม่ได้เพราะยังไม่มีใครคอนเฟิร์ม (หัวเราะ) ขออุบไว้ก่อนครับ

ยังมี Jason Mraz เป็นไอดอลอยู่หรือเปล่า

ยังเป็นไอดอลอยู่ครับ อันนี้ไม่ค่อยได้บอกใคร คือภูมิซื้อกีตาร์โปร่งครั้งแรกเพราะตอนนั้นภูมิไปเมเจอร์รัชโยธิน เดินผ่านร้านแมงป่องแล้วเขาเปิดคอนเสิร์ต Jason Mraz Live in Chicago โห เป็นดีวีดีคอนเสิร์ตอันแรกที่เราซื้อมาดู แต่ช่วงหลัง ไม่ค่อยได้ฟังเขาแล้ว แค่ถ้าให้พูดถึงไอดอล ยังไง Jason Mraz ก็เป็นคนแรกที่สปาร์คเรา ส่วนศิลปินที่ทำให้เราเปลี่ยนทิศทางของเพลงไปในตอนนี้ก็มีหลายคนครับ เหมือนเราฟังดนตรีนอกกระแสมากขึ้น หมายถึงว่าปกติเราฟังอินดี้ร็อก อัลเทอร์เนทิฟร็อก ไม่ได้หลุดแนวขนาดนั้น แต่ตอนนี้เรามาฟัง experimental หรืออิเล็กทรอนิกมากขึ้น ก็เลยออกมาเป็นเราในทุกวันนี้

phum-viphurit-%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a8-fungjaizine-6

มิวสิกวิดิโอ Lover Boy ก็ได้ จีน คำขวัญ ผู้กำกับหน้าใหม่มาแรง มากำกับให้

รู้จักกับพี่จีนมานานแล้ว แม่ภูมิกับแม่พี่จีนเป็นเพื่อนกัน แล้วพอพี่จีนเริ่มทำงานกำกับเราก็ติดตามเขามาตลอด แล้วก็คุยกันว่าเราอยากจะร่วมงานกันนะ พอเวลามันลงตัวก็เลยได้ทำงานด้วยกัน ผมแค่ทำเพลงเสร็จแล้วก็แบบเราเชื่อพี่จีน จะให้ภูมิทำไรทำหมดแล้วเราก็ไปพัทยากัน (หัวเราะ) เขาเป็นคนที่เล่าเรื่องเก่งมาก เทสต์อะไรต่าง เขาก็ดีมาก ดีใจที่ได้ร่วมงานกันครับ

ภูมิเองก็เรียนทำภาพยนตร์มา คิดว่าจะทำให้งานเพลงของตัวเองบ้างไหม

คิดอยู่ครับว่าชุดนี้จะมีกำกับเองบ้าง เราทำงานกับค่ายดนตรีที่ไม่ได้มีต้นทุนสูงก็อยากจะใช้วิชาที่เราเรียนมาในการทำงาน อย่างเพลง Long Gone นี่ผมก็ทำกับพี่อ๊อฟ (อนุชา โอเจริญ co-founder Rats Records) สองคน เราเป็นคนที่ชอบมิวสิกวิดิโอที่เป็นแนว visualizing อยู่แล้ว ภูมิเคยทำโปรเจกต์ส่งอาจารย์ประมาณปีสองเป็นวิชา cinematography ใช้โลเคชันเดียวกัน แต่ไม่ได้ใช้เพลงนี้ พอจะปล่อยเพลง Long Gone ภูมิก็มาคุยกับพี่อ๊อฟว่าจะทำ mv แบบไหนกันดี ก็เสนอว่าลองเอาโปรเจกต์นั้นมาดัดแปลงดูไหม เขาก็บอก เออเนอะ การทำ visualizing อะไรที่เป็น singular object มันก็แปลกดี ยังไม่ค่อยมีคนทำ ก็หา reference ดู แล้วไปเจอเพลงของทาทา ยัง มอส ปฏิภาณ ยุคนั้นน่ะครับ แล้วเราเห็นว่ามันมีอะไรบางอย่าง เป็น kitsch aesthetic มาก ก็ชอบเลยลองเอามาเป็น reference ของ Long Gone แล้วไปถ่ายกันวันเดียวแบบกองโจร (หัวเราะ)

ทำไมถึงเลือกเรียนภาพยนตร์

ภูมิชอบดูหนังตั้งแต่เด็ก แล้วก็ฟังดนตรีเยอะ แต่พอจะเข้ามหาลัยก็ต้องเลือกระหว่างดนตรีกับหนัง สุดท้ายก็เลือกหนัง เพราะรู้สึกว่าหนังมันได้เข้าใจผู้คน ได้เรื่องจิตวิทยา มันเป็น power of storytelly ซึ่งมันสำคัญในการทำเพลงหรือสื่อสารผ่านดนตรี คือมุมมองดนตรีของคนมันก็อิสระประมาณนึง ถ้าเราไปเรียนตามตำราเราก็อาจจะไม่สนุกกับมัน พอเราเล่นเองแล้วมันฟรีมาก มีความสุขกับมันมาก ก็อยากจะให้มันเป็นอย่างนั้นต่อไป

Phum Viphurit

การเล่าเรื่องในเพลงของภูมิก็มีความเป็นหนังอยู่

คงมีส่วนครับ เราก็มาจากแบ็คกราวด์ของโฟล์ก ส่วนใหญ่จะให้เนื้อหามันมีความขัดแย้งกันอยู่ จะไม่ค่อยเล่าอะไรตรง เหมือนส่วนนึงเขียนมาอย่างนี้ แต่อีกส่วนนึงเขียนให้เรื่องมันกลายเป็นอีกแบบ มันได้ถึงเรื่องจิตวิทยาของการนำเสนอผ่านเพลงของเรา

ชอบดูหนังแนวไหน

ขอบหนังครอบครัวครับ จริง พวก family film ที่เป็น dark humour นี่ชอบมาก ‘Little Miss Sunshine’, ‘The Descendent’ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน ชอบผู้กำกับ Wes Anderson กับ Charlie Kaufman ที่ทำเรื่อง ‘Anomalisa’, ‘Eternal Sunshine of the Spotless Mind’ ถ้าดาร์ก ไปเลยก็ชอบ Darren Aronofsky กำกับเรื่อง ‘The Wrestler’, ‘Requiem for a Dream’

ถ้าทำหนังของตัวเองขึ้นมาจะทำเป็นแนวไหน

เพิ่งทำไปล่าสุดเป็นหนังธีสิสครับ ก็เป็นหนังครอบครัว ดาร์กคอเมดี้

ถนัดเล่าเรื่องสุขหรือเรื่องเศร้ามากกว่ากัน

เรารู้สึกว่าเราเล่าเรื่องเศร้าได้ดีกว่าเรื่องที่มีความสุข ไม่ใช่ว่าเป็นซึมเศร้าหรืออะไร แต่เหมือนว่าเราค่อนข้างขี้กังวล แล้วเวลาเรามีความรู้สึกกับหนังหรือดนตรีที่มันเศร้าจริง เราสามารถเข้าถึงมันได้ อาจจะฟังดูดีพแต่จริง ไม่หรอก แต่ว่าทุกเรื่องก็พยายามจะมองให้เป็นแง่บวกมากกว่า เป็น sunny side of sad เอาไปเป็นชื่อเพลงได้ (หัวเราะ)

แฟนเพลงส่วนใหญ่ของ Phum Viphurit คือใคร

ตอนนี้ส่วนใหญ่ ครึ่งนึงก็คือคนไทย อีกฝั่งนึงเป็น อเมริกา สเปน เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซียก็เริ่มมีเข้ามา

ซึ่งภูมิก็กำลังจะได้ไปเล่นในบางประเทศเหล่านี้

ใช่ครับ คือภูมิได้ไปเล่นในงาน Luc Fest ที่ไต้หวัน ปลายปีที่แล้ว แล้วเราได้เจอคนจัดเฟสติวัลหลายคนมาก แล้วก็ได้ไปคุยกับ Weining Hung ที่เป็น co-founder ของงานนั้น เขาก็มีไอเดียว่าเคยลองทำเอเชียทัวร์ให้ศิลปินคล้าย เรามาก่อน เราก็ติดต่อกับเขามาเรื่อย แพลนกันมานานแล้วครับ จนวันนึงก็เกิดขึ้น แล้วเขาก็กลายเป็น international tour agent ให้เรา

คิดยังไงกับการที่ศิลปินไทยบางคนมองว่า ถ้าไม่ดังในไทยแล้วก็เปลี่ยนไปแต่งเพลงภาษาอังกฤษให้โกอินเตอร์ไปเลยดีกว่า

ภูมิไม่ค่อยมีทางเลือก ที่เราแต่งภาษาอังกฤษเพราะเราแต่งภาษาไทยไม่ได้ แค่นั้น เราไม่ได้พยายามจะแต่งเพื่อให้ทาร์เก็ตเป็นตลาดนอกหรือดูคูล สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้คือต้องเข้าใจว่าจะให้เพลงเราเป็นเพลงที่ขายได้ในเมืองไทยมันก็คงเป็นไปไม่ได้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเยอะขนาดนั้น การที่เราได้ไปเจอตลาดเมืองนอกก่อนเลยมันก็เลยดูเป็นไปได้มากกว่า ตอนนี้โลกอินเทอร์เน็ตมันก็เปิดกว้าง YouTube, Spotify อัลกอริทึ่มมันก็พาเราไปเจอวงที่คล้ายกับที่เราฟัง เราเชื่อว่าทำเพลงที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเล็งว่าทาร์เก็ตจะต้องเป็นที่นั่นที่นี่ ทำออกไปแล้วถ้ามันไปได้ มันก็จะไปของมันเอง

Phum Viphurit

คิดยังไงกับการที่คนไทยยังอินกับเพลงที่ติดหูหรือเนื้อหาโดนใจ จำเป็นไหมว่าเพลงต้องซับซ้อน หรือจริง แล้วดนตรีแค่ทำมาเพื่อให้คนผ่อนคลาย

มันก็แล้วแต่คนฟังนะครับ บางคนเสพดนตรีจริง อินกับโครงสร้างของมันจริง บางคนก็แค่หาฟังตอนนั่งรถไปทำงาน ฟังให้ตัวเองหลับ บางคนฟังเพราะอยากร้องไห้ไปกับเพลง เราว่าเราไปบังคับคนฟังไม่ได้ ยังไงเพลงมันก็ทำมาเพื่อให้คนมีความรู้สึกร่วมกับมัน

กลัวไหมว่าถ้าเราไปอยู่ในตลาดเมนสตรีมแล้วจะเสียแฟนเพลงบางคนที่มีความเชื่อว่า จะไม่เสพเพลงแมส

อันนี้ภูมิไม่เคยคิดเลยนะครับว่าวันนึงภูมิจะกลายเป็นแมสแล้วคนจะเลิกฟัง ก็ถ้าวันนั้นมาถึงก็คงทำอะไรไม่ได้ เพราะ attitude เราก็ยังเหมือนเดิม ทำดนตรีที่ทำให้เรายิ้ม ทำให้เรามีความสุขเหมือนเดิม สุดท้ายแล้วมันก็เป็นตัวเรา ถ้ามันจะดังมาก ขึ้นมา เราก็ไม่รู้จะไปเปลี่ยนตัวเองยังไง ถ้า following มากขึ้นก็ดีใจครับ แต่มั่นใจมากว่าเราไม่เปลี่ยนไปเป็นอีกคนแน่นอน (หัวเราะ)

สิ่งที่ย้อนเวลาไปได้แล้วจะกลับไปทำหรือกลับไปแก้ไข

สิ่งที่ไม่เคยทำก็ อยากย้อนไปตอนเด็ก อยากไปเที่ยวมากขึ้น อยากทำอะไรแบบตอนที่เราไปเชียงใหม่คนเดียว รู้สึกว่าการได้ลองอะไรที่ใหม่จริง มันดีมาก ส่วนสิ่งที่ทำไปแล้วอยากกลับไปแก้ไข ในความเป็น perfectionist ของภูมิคืออยากกลับไปทำอัลบั้ม Manchild ใหม่ เพราะเราไม่เคยพอใจกับเพลงตัวเองเลย ทุกวันนี้ฟังแล้วก็จะคิดว่า อยากทำเพลงนี้ใหม่ว่ะ อะเรนจ์บางเพลง

Phum Viphurit

จริง ตอนเล่นสดก็เอามาอะเรนจ์บ่อยเหมือนกัน

เหมือนเราอยากทำอะไรใหม่ ทุกโชว์ ทุกเพลง ถ้าเราเล่นเพลงตัวเองแบบฟิกซ์ตลอดมันก็น่าเบื่อเหมือนกัน ก็เลยพยายามให้คนฟังได้ refresh เราก็ refresh ตัวเองด้วย

อยากรู้ว่าวัฒนธรรมการดูคอนเสิร์ตเนี่ย ควรจะยืนเต้นหรือนั่งดูมากกว่ากัน

ความจริงภูมิชอบเวลาทุกคนยืน เพราะภูมิสูงมาก แล้วพอเวลาภูมิยืนบนเวทีแต่ทุกคนนั่ง ภูมิก็เหมือนต้องห่อ ตัว (หัวเราะ) มันไม่เห็นใครเลย แต่ถ้าเป็นคอนเสิร์ตแบบมีที่นั่ง เล่นในคาเฟ่ นั่งดูก็คงจะได้ครับ แต่ก็ยังชอบอารมณ์แบบยืนมากกว่า อันนี้ภูมิไม่รู้ว่าเป็นวัฒนธรรมไทยหรือว่าปกติเขานั่งตามคอนเสิร์ตหรือเปล่า แต่คิดว่าถ้ายืนได้ก็ยืนครับเพราะนักดนตรีทุกคนก็ยืนเล่น มายืนด้วยกันจะได้สื่อสารกันในระดับเดียวกัน

รู้สึกยังไงที่ใคร ก็เอ็นดูภูมิเป็นน้องชายของวงการ

ภูมิก็ไม่ทราบนะครับ (หัวเราะ) ก็ขอบคุณที่คนเอ็นดู หรือว่าหมั่นไส้ภูมิน้อย (หัวเราะ) ดีใจครับ เราไม่ได้พยายามวางตัวว่าเราเป็นเด็กหรืออะไร แต่เรารู้ตัวว่าเรามีอะไรที่ต้องเรียนรู้อีกเยอะครับ ผู้ใหญ่พูดอะไรมาเราก็จะได้ซึมซับ

phum viphurit Lover Boy

มีอะไรในวงการเพลงที่ชอบหรืออยากเปลี่ยนไหม

วงการเพลงตอนนี้จริง อยากให้นักดนตรีมีรายได้มากขึ้น ซึ่งหลายคนก็คงจะพูดแบบนี้ เพราะความจริงแล้วรายได้เรามาจาก streaming อย่างเดียว นักดนตรีก็เลยต้องออกทัวร์ ต้องขาย merchandise ซึ่งถ้าในอนาคตมีระบบอัลกอริทึ่ม หรือ user loyalty ทำให้นักดนตรีทุกคนไม่ต้องทำงานหลาย อย่างไปด้วยเล่นดนตรีไปด้วย ซึ่งก็อาจจะดูฝันไปนิด มันคงไม่ได้เกิดขึ้นในเร็ว นี้ แต่ถ้าอนาคตเป็นไปได้ก็จะดีมาก ส่วนสิ่งที่ชอบคือเดี๋ยวนี้เหมือนเราต้องย้อนกลับไปสมัยก่อน แบบศิลปินที่เขาเน้นการเล่นสด เราต้องพิสูจน์ตัวเอง ในเมื่อรายได้เราจะมาจากตรงนี้ เราต้องโฟกัสการเล่นสด โฟกัสเรื่องการสื่อสารกับคนดูจริง ซึ่งมันดี ทำให้เพลงมันจริงมากขึ้น แล้วก็เป็นการสื่อสารสองทางจริง คนดูก็ได้ดูโชว์ที่มีคุณภาพด้วย

อยากทำอะไรที่ไม่เกี่ยวกับเพลงอีก

ไม่อยากจะทิ้งสิ่งที่เราเรียนมา อยากจะทำหนังสั้น กำกับมิวสิกวิดิโอให้คนอื่นด้วย อยากมีธุรกิจของตัวเองในอนาคต ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นอะไร เหมือนเรายังเด็กอยู่ ยังอยากทำหลายอย่างเพื่อให้ได้ประสบการณ์ใหม่

ฝากผลงาน

ซิงเกิ้ลใหม่ Lover Boy เพิ่งออกไป ฟังได้ทุกที่เลย Apple Music, Spotify, Joox, YouTube, ฟังใจ เป็นซิงเกิ้ลแรกจากอัลบั้มชุดที่สองของภูมิที่น่าจะปล่อยช่วงกันยายน กำลังเร่งตัวเองให้มันเสร็จภายในเดือนนั้น ก็รอติดตามด้วย แล้วก็จะมี First Asian Tour คือไปญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ถ้าใครอยู่แถวนั้นในช่วงเมษายน พฤษภาคม ก็ขอชวนไปนะครับ กลัวไม่มีคนไทยแถวนั้นไปดู (หัวเราะ)

อะ ๆ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วถ้ายังไม่หนำใจ ก็ไปดู Fungjai Home Session กันอีกสักที

ติดตามผลงานของ Phum Viphurit ได้ที่ Facebook fanpage และรับฟังเพลงของเขาบนเว็บไซต์ฟังใจได้ ที่นี่

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้