Article Guru

Madchester Sound ขุมทรัพย์แห่งแมนเชสเตอร์ที่ไม่ได้มีแค่ Oasis

  • Writer: Montipa Virojpan

พอพูดถึงแมนเชสเตอร์ สิ่งแรก ที่นึกถึงคงไม่พ้นทีมฟุตบอล Manchester United หรือ Manchester City ถ้าเป็นวงดนตรีก็คงคิดถึง Joy Division ไม่ก็ Oasis แต่จริง แล้วเมืองทางตอนเหนือของเกาะอังกฤษมีวัฒนธรรมสำคัญอีกอย่างถือกำเนิดขึ้น และเป็นอิทธิพลให้กับวงดนตรียุคปัจจุบันมากมาย สิ่งนั้นเรียกว่า ‘Madchester’ 

(กดฟังเพลงเพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่าน)

ต้องเล่าย้อนไปถึงต้นตอของทุกสิ่งอย่าง ก่อนที่จะมาเป็นซีนที่เราว่าในย่อหน้าแรก เมื่อปี 1967 มีปรากฏการณ์ Summer of Love เกิดขึ้นครั้งแรกที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาที่ทุกคนโหยหาความสุขและความสงบจากการสู้รบในสงครามเวียดนามที่มีมาอย่างยาวนาน พวกเขาเลือกการหลบหนีจากโลกจริงด้วยการใช้กัญชาหรือยาเสพติดพวก LSD และมีดนตรีถูกผนวกรวมเข้าไปในไลฟ์สไตล์นั้นอย่างแยกไม่ออก

20 ปีต่อมาวัยรุ่นหลาย คนในอังกฤษก็ทำให้ปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง ด้วยความที่เศรษฐกิจและการเมืองยุคนายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher ทำให้เกิดคนว่างงานจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองที่ดูทึบไปด้วยสิ่งก่อสร้างสูงตระหง่าน และบรรยากาศทึมเทาของอังกฤษที่น่าอึดอัด ความตึงเครียดของสภาพสังคมและความเดือดดาลของผู้คนทำให้พวกเขาต้องการปลดแอก สร้างความบันเทิง และระเบิดความคิดสร้างสรรค์ ในปลายยุค 80s จึงได้เกิดเป็น ‘Second Summer of Love’ แบบในซานฟรานซิสโกในที่สุด โดยเมื่อยุคสมัยและบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้พวกวัยรุ่นเลือกใช้เพลงเฮาส์ที่กำลังเป็นที่นิยมในฝั่งยุโรป (แม้แต่รถเมล์ก็เปิดเพลงเฮาส์) มาเปิดในปาร์ตี้ไก่โห่ที่เกิดขึ้นมากมายแทนที่จะเป็นเพลงร็อกแอนโรล แต่หลาย ที่ได้ดึงเอาบรรยากาศแบบในยุคสมัยนั้นกลับมา โดยใช้ acid ให้เกิดภาพและสีสันเหนือจินตนาการ ไปจนถึงใช้ ecstasy (E, MDMA) เป็นตัวช่วยให้เต้นได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อเร่งความสนุกในปาร์ตี้ rave เพื่อให้หลงลืมความน่าหน่ายของโลกนี้ไป

จนปี 1982 ไนต์คลับที่ชื่อ The Haçienda ของค่ายเพลง Factory ซึ่งเป็นต้นสังกัดของวง New Order ก็เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก พวกเขาใช้เงินจำนวนหนึ่งจากยอดขายซีดีมาบริหารสถานที่แห่งนี้ แม้ในช่วงแรก จะขาดทุนมหาศาลเพราะเก็บค่าเข้าในราคาที่ถูกแสนถูก และคนพากันใช้ MDMA มากกว่าจะซื้อเหล้าเบียร์ตามปกติ แต่ด้วยความนิยมที่บอกกันปากต่อปาก การมีวงดัง ๆ มาเล่น (Madonna, The Smiths) โดยเฉพาะกับปี 1988-1989 ที่ดนตรีเทคโน และ acid house ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้ The Haçienda ทำกำไรแก้เกมได้ในภายหลัง ก็ต้องยกเครดิตให้ที่นี่เป็นคลับแรก ในเมืองแมนเชสเตอร์ที่สนับสนุนดีเจและวงดนตรีที่เล่นแนวเฮาส์ อิเล็กทรอนิก ดิสโก้ ฮิปฮอป และอินดี้ร็อกเป็นหลัก รวมถึงออก compilation EP ให้กับวงที่มาเล่นที่คลับนี้ด้วย จากนั้นวัฒนธรรมก็เริ่มแพร่กระจายไปยังไนต์คลับอื่น ทั่วตอนเหนือของอังกฤษ แต่น่าเสียดายที่สุดท้ายคลับก็ยื้อมาได้จนถึงปี 1997 เท่านั้น

จากอิทธิพลของดนตรีในคลับทำให้วงดนตรีหลายวงได้สร้างสรรค์ให้ไลน์เบสมีกลิ่นอายของฮิปฮอปโอลสคูล และกลองมีส่วนผสมของดนตรีป๊อปยุค 60s และไซคีเดเลีย ซึ่งบางคนเชื่อว่าเป็นแนวดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากภาพหลอนที่เกิดขึ้นเมื่อใช้สารเสพติด กีตาร์เสียงใสกับวิธีการเล่นที่ไม่ยึดกับขนมเพลงร็อกเดิม ๆ ท่อนกรูฟชวนโยกและไดนามิกที่ไม่นิ่งเฉยของเพลง จนกลายทุกอย่างผันเปลี่ยนและมาผสมรวมกันเป็นซาวด์แบบ ‘Madchester’ ที่เป็นเหมือนการเติมเต็มช่องว่างระหว่างวงดนตรีร็อกปลายยุค 80s อย่าง The Smiths และ New Order กับ acid house หรือเทคโนที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น

ไม่นาน Factory Records ก็เซ็นสัญญากับวง Happy Mondays (1980) (ชื่อวงนี่กะตั้งใจล้อเพลง Blue Monday ของเพื่อนร่วมค่าย New Order รึเปล่านะ) และปล่อย EP ชื่อ Madchester Rave On ออกมาจนกลายเป็นเพลงชาติของวัยรุ่นยุคนั้น และ term ของ ‘Madchester’ ก็เริ่มถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยความที่นอกจากจะมีเอเลเมนต์ของร็อกแบนด์มัน ก็ยังใช้เต้นยุกยิกในปาร์ตี้ได้ด้วย จากนั้นก็มีวง James ที่โผล่มาเงียบ ๆ พร้อมเพลงดัง Come Home

และที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือวงที่มีโลโก้เป็นเลม่อนถูกฝานให้เห็นด้านในที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของ Madchester นั่นคือ The Stone Roses ที่รวมเอาฟังก์ ไซคีเดลิก และเฮาส์ มารวมกันจนเกิดเป็นแนวดนตรี ‘baggy’ และส่งเพลงให้ I Wanna Be Adored ดังเป็นพลุแตก เพลง Sally Cinnamon ก็เป็นเพลงที่มีอิทธิพลโดยตรงกับ Noel Gallagher แห่ง Oasis โดยก่อนหน้านี้เขาเคยเป็น roadie ของ Inspiral Carpets หนึ่งในวง Madchester มาก่อน ทางฝั่ง Liam Gallagher เองก็บอกว่าไลฟ์ของ The Stone Roses เป็นโชว์แรกในชีวิตที่ ได้ดู ซึ่งนั่นเป็นแรงบันดาลใจทำให้เขาอยากเป็นศิลปินในเวลาต่อมา และเพลงเหล่านี้ก็ยังทำให้ Pulp ถือกำเนิดขึ้น รวมถึงส่งผลให้ให้เกิดแนวดนตรีใหม่ ๆ มากมายทั้งดรีมป๊อปฟุ้งฝัน ไปจนถึงชูเกซซาวด์แตกพร่า อื้ออึง

จากนั้นวง The Charlatans กับเพลง The Only One I Know ก็เหมือนเป็นตัวช่วยตบให้ซาวด์ของ Madchester จับต้องได้และเข้าทางมากขึ้น แล้วยังมีวงอิเล็กทรอนิก 808 State, A Guy Called Gerald วงที่ได้อิทธิพลจากฮิปฮอป The Ruthless Rap Assassins, MC Tunes และ หรือเบสหนึบหนับกับกลองเท่ แบบ The Mock Turtles, New Fast Automatic Daffodils, Northside, The High, Paris Angels และ Candy Flip ที่ผุดตามกันมาเรื่อย  ทำให้ภาพของซีนชัดเจนและกลายเป็นเทรนด์ในที่สุด

จากความนิยมแค่ในแมนเชสเตอร์ วัฒนธรรมดนตรีนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว ในเมืองอื่น ก็มีวงที่ได้อิทธิพลจากที่นี่และเริ่มทำเพลงสไตล์นี้ออกมามากมายทั้ง Flowered Up (แคมเดน), The Farm (ลิเวอร์พูล), The Soup Dragons (สก็อตแลนด์) หรือแม้แต่ Blur ก็หันมาทำ baggy อยู่ช่วงนึงเหมือนกันกับเพลง There’s No Other Way แต่ในช่วงหลัง หลายวงก็เริ่มมองหาซาวด์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองให้หนีห่างจาก baggy มากขึ้นเรื่อย สำหรับในประเทศไทยก็มีวงดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวดนตรีนี้ทั้ง Crub หรือ พราว ซึ่งก็เป็นวงที่อยู่ในยุคไล่เลี่ยกัน

อันที่จริงแล้วคำว่า ‘baggy’ ก็เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในเชิงแฟชันที่ได้รับอิทธิพลมาอีกทอดจากเหล่าคนในแวดวง Madchester ข้อสันนิษฐานหนึ่งอาจเป็นการสะท้อนความ ‘loose’ หรือหลวม สบาย ในซาวด์ดนตรีไซคีเดลิก บีตนวยนาดหนึบหนับ คือเราจะเห็นว่าเสื้อมัดย้อมสีสดใส รูปหน้ายิ้ม เครื่องหมายสันติภาพ กลายมาเป็นแฟชันอีกครั้งเหมือน Summer of Love ครั้งแรก (จะเรียกว่ายุคนี้เป็น 60~70s revival ก็ไม่ผิดนัก) ส่วนสิ่งที่เพิ่มมาเป็นอัตลักษณ์ร่วมก็น่าจะเป็นผมทรงกะลาครอบ (bowlcut) เสื้อแขนยาว หรือเสื้อยืดตัวโคร่ง กางเกงกีฬาขายาวตัวใหญ่ ยีนส์ขาบาน หมวกตกปลา (bucket hat) เหตุผลก็ไม่มีอะไรมากแค่ให้ใส่ไปเต้นในปาร์ตี้ที่แอบจัดในโกดังร้อน (ส่วนใหญ่จะผิดกฎหมาย) เพราะจะได้รับมือกับการเสียเหงื่อได้แบบไม่ต้องห่วงสวยห่วงหล่อ

กับอีกทฤษฎีนึงคือเชื่อว่าพวกเขาแต่งตัวแบบไม่แคร์โลกหรือคิดว่าจะต้องเท่เพื่อต่อต้านพวกนักเลงหัวโจก หรือคนคลั่งบอลที่ยกพวกตีกัน (scally กับ casual) ซึ่งพวกนี้จะชอบใส่ streetwear ของดีไซเนอร์ไม่ก็ชุดกีฬาแบรนด์ดัง แต่ไป มา อิทธิพลของชาว baggy กลับส่งไปถึงแบรนด์ Joe Bloggs ยิ่งขาบานขาใหญ่เท่าไหร่ได้ยิ่งดี Raf Simons ที่ออกคอลเล็กชันฮู้ดดี้หลวม ออกมา เสื้อโปโล Ralph Lauren ก็ต้องตัวใหญ่ ทีเชิ้ตตัวโคร่ง เสื้อสีเจ็บ ลาย paisley ต้องมา

Don’t need no skintights in my wardrobe today, it’s gotta be a loose fit…

แม้ในเวลาต่อมากระแส Madchester sound หรือ baggy จะไม่ซู่ซ่าแบบในช่วงกลาง 80s ต้น 90s เพราะการเกิดขึ้นของแนวดนตรีใหม่ และพัฒนาการของดนตรีแนวย่อยอื่น ไม่ว่าจะเป็น brit pop, shoegazer หรือ grunge ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นจนแซงหน้า รวมไปถึงการปราบปรามยาเสพติดช่วงกลางปี 90s ทำให้ปาร์ตี้ rave สุดเหวี่ยงห่างหายและหลาย วงก็เริ่มหายหน้าหายตาไป (เสียดายมาก กับ World of Twist หรือ The Real People) แต่กับบางวงก็ยังมีผลงานออกมาเรื่อย ทั้ง The Charlatans ที่มีอัลบั้มต่อเนื่อง 13 ชุด (งานล่าสุด Different Days ออกมาเมื่อปี 2017) James ก็ยังอยู่ แต่ช่วงหลังไม่ใช่ baggy แล้ว หรือ Happy Mondays และ Black Grape ที่มาปรากฏตัวอีกครั้งตอนปี 2012 เช่นกันกับ The Stone Roses ที่กลับมาในปีเดียวกัน แต่ออกซิงเกิ้ลแรกในรอบ 20 ปี Beautiful Things เมื่อปี 2016 (แต่ Ian Brown นักร้องนำก็มีงานเดี่ยวของเขาอยู่เรื่อย เหมือนกันนะ)

นอกจากนี้วงรุ่นใหม่ ทั้ง Kasabian, Jagwar Ma, Superfood และผลงานช่วงหลัง ของวงไทยทั้ง SLUR กับ The Whitest Crow ก็มีผลงานที่เป็น baggy revival อยู่เหมือนกัน ยิ่งตอนนี้ก็ได้ข่าวว่า Darren Partington แห่ง 808 State กลับมาทำวงชื่อ Big Unit ร่วมกับคนในซีน Madchester ทั้ง roadie ซาวด์เอนจิเนียร์ ดีเจ ที่ทุกคนเคยใช้ดนตรี baggy หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ ทำให้มั่นใจได้ว่าเพลงที่ออกมาจะยังเป็นส่วนผสมของร็อกและ acid house แบบงานก่อน ๆ ที่พวกเขาเคยทำ (แถมฮิปฮอปอีกนิดหน่อย) หรือว่านี่จะเป็นสัญญาณของการกลับมาของแนวดนตรีนี้กันนะ เพราะขนาดแฟชันยังวนกลับมาได้ นับประสาอะไรกับดนตรีที่เรารักกันล่ะ 😉

อ่านต่อ

2019: การกลับมาของ Drum n Bass ดนตรีอิเล็กทรอนิกจากยุค 90s
Trip Hop ประวัติอย่างย่อของดนตรีดำมืดอันน่าหลงใหลจากเมือง Bristol
ประวัติศาสตร์อีโมฉบับกะทัดรัด ย้อนดู 4 ยุคทอง ตั้งแต่เกิดจนฟื้นคืนชีพอีกครั้ง
คำว่า Rock คงยังไม่พอ : ที่มาที่ไป และเนื้อในของความเป็น Post Rock ฉบับเข้าใจง่าย
Psychedelic Rock 101 : ประวัติศาสตร์อย่างย่นย่อของไซคีเดลิกร็อก

อ้างอิง
Loose Fit: Why Madchester Fasion was Actually Totally Incredible
20th Anniversay of the Second Summer of Love — Madchester and the Baggy Explosion
The Manchester Era
AV Club
Hooligans and Hedonists: Meet the Band Trying to Bring Madchester Back
HEAD BACK TO THE 90S RAVE SCENE WITH THESE AMAZING PHOTOS FROM THE HAÇIENDA
Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้