Article Story

7 ปีที่ผ่านมา เทรนด์ดนตรีนอกกระแสของเราเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง

  • Writer: Montipa Virojpan

*บทความนี้ขอหยิบยกมาจากประสบการณ์การวนเวียนอยู่ในแวดวงดนตรีนอกกระแสไทยช่วง 7 ปีที่ผ่านมา*

บนโลกนี้มีแนวเพลงมากมายที่วิ่งผ่านรูหู บ้างก็เป็นดนตรีที่คุ้นเคยอย่างดี บ้างก็แปลกเสียจนงงว่าแบบนี้ก็มีด้วยหรอ ซึ่งมันเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เราไม่หยุดที่จะขุดเพลงเก่า ที่บางทีก็เป็นเพลงใหม่สำหรับเรามาฟังอยู่เสมอ

ถ้าเรานับถอยไปประมาณ 10 ปีที่แล้วเราจะค้นพบกับเพลงร็อกสีสันจัดจ้านแบบดีดดิ้นได้กับ Arctic Monkeys, The Strokes, Two Door Cinema Club ย้อนไปอีกทศวรรษก็จะพบกับบริตป๊อปหรืออัลเทอร์เนทิฟอย่าง Blur, Oasis, Radiohead, The Verve ที่หลายเพลงได้ถูกนำมาใช้หัดเล่นกีตาร์หรือร้องกันจนติดปาก ในยุค 80s ก็อุดมไปด้วยโพสต์พังก์ นิวเวฟ อาร์ตร็อก The Cure, Joy Division, Talking Heads หรือเพลงแดนซ์ที่เป็นผลผลิตตกตะกอนมาจากยุคดิสโก้ ถ้ากลับไปไกลกว่านั้นเราก็จะพบทั้ง ฮิปฮอป พังก์ ฮาร์ดร็อก ร็อกแอนด์โรล โฟล์ก ไซคีเดลิก โซล แจ๊ส บลูส์ ฯลฯ ที่ต่อมาได้กลายเป็นวัตถุดิบต้นขั้วของหลายวงดนตรีในการสร้างสรรค์งานเพลงร่วมสมัย

นั่นคือบริบทของเพลงแต่ละยุคที่ทุกคนพอจะนึกออก แล้วมีใครเคยตั้งข้อสังเกตสำหรับ modern day music เฉพาะแค่ในประเทศไทยบ้างหรือเปล่า กว่าจะมาเป็นยุคที่เต็มไปด้วยวงดรีมป๊อป/ซินธ์ป๊อปมากมายอย่างในทุกวันนี้ (Telex Telexs, Jelly Rocket, Safeplanet, Gym and Swim, Whal & Dolph, etc.) เราจะอาสาพาทุกคนนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปดูว่า ในช่วง 7 ปีก่อนหน้า มีดนตรีแนวไหนครองพื้นที่ในตลาดเพลงนอกกระแสของเราบ้าง

คลิกที่ภาพเพื่อรับฟังเพลงบนเว็บไซต์ฟังใจ

Smallroom — Where We First Met (1999-Present)

ห้องเล็ก ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ในเวิ้งโบราณ เอกมัยซอย 10 แรกเริ่มพวกเขาตั้งใจจะให้เป็นบริษัทผลิตเพลงสำหรับสื่อโฆษณา แต่ไป ๆ มา ๆ ในยุคที่ดนตรีอัลเทอร์เนทิฟกำลังถึงจุดสุกงอมได้ที่ ความคันไม้คันมือและใจรักในเสียงเพลงทำให้พวกเขาชักชวนวงดนตรีเพื่อน ๆ มาร่วมสังกัดและออกเพลงด้วยกัน (สี่เต่าเธอ, บัวหิมะ, Death of a Salesman) จากนั้นพวกเขาเลือกจะทำ compilation รวมศิลปินและกลายมาเป็นอัลบั้ม Smallroom 001 ในตำนานโดยมีเพลงอย่าง แต่งงาน จิตรกรรม หรือ เธอเป็นใคร ที่ทุกคนต้องรู้จักและเคยฟังกันอย่างแน่นอน
maxresdefault
อัลบั้มชุดนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มคนฟังที่กำลังมองหาเพลงทางเลือกให้กับตัวเอง กลิ่นดนตรีของค่ายในช่วงนี้พอจะอธิบายได้ว่าเป็นอิเล็กทรอนิกป๊อป แอมเบียนต์ ที่ผู้ฟังบางคนให้จำกัดความว่าเป็นซาวด์แบบ ‘สมอลรูมยุคแรก’ (Moor, Fashion Show, Penguin Villa, Shakers หรือ Armchair ในภายหลัง) แม้เพลงในชุด Smallroom 001-003 จะเป็นการทดลองให้คนฟังได้รู้จักเพลงแนวใหม่ ๆ แต่ต่อมาทางค่ายก็เริ่มมีธีมมาครอบอัลบั้มรวมเพลงแต่ละชุดให้มีกิมมิกที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อย่าง Smallroom 004 : Viewed & Crub เป็นชุดที่ให้ศิลปินคัฟเวอร์วงยุคอัลเทอร์เนทิฟอย่าง Crub ที่มีเพลงดังในอดีต เช่น ทุกเวลา, อยากจะเข้าใจ, สุขใจ, สปัน ออกมาในแบบของตัวเอง และถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ต่อมาดนตรี Shibuya-kei จากฝั่งญี่ปุ่นก็เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะทั้งใหม่และ catchy มาก ด้วยสำเนียงป๊อปล่องลอย มี element ของแนวดนตรีต่าง ๆ ทั้งแจ๊ส บอสซาโนว่า หรือแม้แต่อิเล็กทรอนิกมินิมัลโผล่มาในเพลงแบบเซอร์ไพรส์คนฟัง (Cyndi Seui, Yuri’s Nomini, Groovy Airline, 15th Scenery, Superbaker) สมอลรูมเองก็ติดใจจะทำอัลบั้มคัฟเวอร์อีกครั้งในชื่อ Smallroom 006 : Flipper’s Player แต่รอบนี้เป็นการทริบิวต์ให้กับวงญี่ปุ่น Flippers Guitar ซึ่งเป็นหนึ่งในวงชิบุย่าเกะ สร้างสีสันให้กับวงการดนตรีไทยเป็นอย่างมาก ชุดเลขสามหลักถูกผลิตออกมาอย่างยาวนานต่อเนื่องจนมาสิ้นสุดในชุดที่ 008 แต่หลังจากชุดนี้แล้วบรรดา compilation ก็ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ใช้ชื่อที่ต่างกันออกไป เน้นการเบิกทางให้ศิลปินรุ่นใหม่ ๆ ได้มาโชว์ของกันมากกว่า (The Starters, Perfume Sound)
5f2cf9ac-2bd3-1288-c42f-53916960137c
สำหรับเราแล้ว การรู้จักชื่อสมอลรูมครั้งแรกน่าจะเป็นช่วงที่ได้ยินเพลงโรคจิต ของ Slur ใน Channel [V] Thailand โดยบังเอิญ แต่การได้มาทำความรู้จักอย่างเป็นจริงเป็นจังน่าจะเป็นตอนที่ได้ยินเพลง ฟ้า ของ Tattoo Colour ถูกเปิดใน Fat Radio ช่วง ม.ปลาย หลังจากนั้นมาก็ทำให้เราเริ่มขุดหาเพลงจากบรรดาศิลปินในค่ายนี้ฟังอยู่ตลอด และต้องบอกเลยว่าอัลบั้ม compilation ที่กล่าวมาด้านบนนี่แหละที่เป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าเพราะทำให้เรารู้ว่ามันยังมีเพลงป๊อป ร็อก อิเล็กทรอนิก หรือแนวเพลงแปลกแต่ดีให้ฟังอยู่มากมาย เพียงแต่เราไม่เคยได้เข้าไปลองสัมผัสมันเลย
วันเวลาผ่านไป จนวาระครบสิบปีของค่าย (ถ้าจำไม่ผิด) ผู้บริหารได้ประกาศจุดยืนครั้งสำคัญที่จะผันตัวให้ค่ายได้กลายเป็น ‘Bangkok Pop Music Label’ ซึ่งทำให้หลายคนรู้สึกว่าภาพลักษณ์ของค่ายเปลี่ยนไปมากพอสมควรจากค่ายเด็กแนวสู่การเป็นค่ายเกือบจะเมนสตรีม (รวมถึงย้ายบ้านมาอยู่ที่ Rain Hill สุขุมวิท 47) แต่เรานับถือการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเพราะมันทำให้พวกเขาอยู่รอดมาได้จนถึงขวบปีที่ 18 ในปีนี้ และยังมีศิลปินจากในอดีตที่ก็ยังผลิตผลงานออกมาให้เราได้ฟังกันเรื่อย ๆ ที่สำคัญคือแม้ทิศทางแนวดนตรีของวงที่มาอยู่ในค่ายนี้จะเปลี่ยนไป (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของยุคสมัยที่ทุกคนเข้าใจได้) พวกเขากลับไม่ปล่อยคุณภาพของดนตรีด้อยลงไปแม้แต่น้อย
ช่วงเวลาคาบเกี่ยวใกล้เคียงกันทั้งก่อนและหลัง เราก็เริ่มได้ยินชื่อของค่าย Bakery (LOVEiS ในภายหลัง), Spicy Disc เข้ามามีบทบาทในกลุ่มดนตรีทางเลือกเช่นเดียวกัน

Panda Records and SO::ON Dry Flower era (1999-2015)

หากเป็นคอเพลงอัลเทอร์เนทิฟก็เห็นจะไม่พ้นได้ฟังเพลงในสายใกล้ กัน ยุคปลาย 90s ถือเป็นช่วงที่มีหลายวงทำเพลงดัดแปลงจากแนวเพลงหลัก (sub-genre) มีความหลากหลายทางพันธุกรรมดนตรีอย่างน่าสนใจ ช่วงนี้เองที่เรารู้สึกว่าแม้กลุ่มคนฟังจะไม่ได้กว้างขวางเทียบเท่าปัจจุบัน แต่ยังมีนักดนตรีสองสามกลุ่มที่คอยซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน ทั้งยังผลิตผลงานแปลกใหม่มาป้อนให้ผู้ฟังได้ลองเสพอยู่เสมอ การก่อร่างสร้างตัวของค่ายเพลงเล็ก ที่ผลักดันคนทำดนตรีที่เชื่ออะไรคล้าย กัน ไม่ว่าจะเป็น Panda Records ที่เกิดขึ้นมาในปี 1999 นำทีมโดย ป๊อก และ จูน Stylish Nonsense กับ จูน Bear Garden มีวงอย่าง Redtwenty, Damnwrong, Buddhist Holiday, Basement Tape เป็นวงในยุคแรก หลังจากนั้นก็มีวงดนตรีอีกมากมายเข้ามาเสริมทัพให้กับค่ายหมีสองสีนี้ได้แผ่อัตลักษณ์อย่างกว้างไกล และค่ายนี้ก็เป็นตัวตั้งตัวตีกลุ่มแรก ที่ริเริ่มทำเทศกาลดนตรีอย่างจริงจัง (นอกเหนือไปจาก Big Mountain) เป็นช่วงเราใกล้ชิดกับเพลงของค่ายนี้มากที่สุด

705256_4425760035380_1010629027_o

Stone Free เทศกาลดนตรีทดลองทั้งในแง่ของวงดนตรีที่มาเล่น และสถานที่จัดซึ่งรายล้อมไปด้วยธรรมชาติ ผู้จัดต้องการทดลองให้เสียงที่เล่นออกมาสะท้อนกับหน้าผา หุบเขา และดูผลลัพธ์ของเสียงที่เกิดขึ้น รวมถึงคนที่มางานก็จะได้สัมผัสประสบการณ์ดนตรีที่แตกต่างไปจากเดิมด้วย ในช่วงนั้นเองที่ความเคลื่อนไหวของ Panda Records รวมถึงวงดนตรีต่าง ในค่ายจากยุคกลาง ทั้ง Chladni Chandi, Abstraction XL, Kinetics, Handicat, Free Typewriter, Summer Dress, Hariguem Zaboy, The Sticky Rice ได้สร้างการสั่นสะเทือนให้วงการเพลงนอกกระแสและนับว่าตอนนี้เองที่เป็นยุคทองของค่ายอยู่ช่วงนึง จนได้จัดงาน ‘มหกรรมดนตรีครบรอบ 16 ปี Panda Records’ ขึ้นที่โรงภาพยนตร์ธนบุรีรามา จรัญสนิทวงศ์ เป็นงานที่ทำเอาแฟนเพลงของค่ายนี้ฟินกันไปนักต่อนักเพราะเขารวมวงตั้งแต่ยุคแรกมาเล่นให้เราฟังสด ๆ กันตรงหน้า แต่หลังจากนั้นก็ยังมีวงรุ่นหลังทั้ง Triggs and the Longest Day, Third Person, Strange Brew ที่ยังสืบสานเจตนารมณ์ และยึดมั่นความเชื่อ ความเป็นตัวของตัวเองในการทำดนตรีเรื่อยมา

ภายหลัง กลุ่มคนที่เป็นเหมือนแขนขาที่ทำให้กิจกรรมต่าง ในค่ายเกิดขึ้นมาได้ ก็เริ่มแตกแขนงไปทำงานสร้างสรรค์ต่าง ทั้ง Come on is Such a Joy เป็นอีเวนต์ดนตรีเล็ก ที่บางครั้งจะได้ดูได้ฟังวงเทพ หาฟังยากจากต่างประเทศ หรือ The World May Never Know ที่ทำวิดิโอ live session ให้ศิลปินได้ไปเล่นดนตรีสดตามที่ต่าง ที่เราไม่คุ้นเคยหรือไม่คิดว่าดนตรีจะไปถึงสถานที่เหล่านั้นได้

เขยิบไปใกล้ กันในปี 2003 ก็มีค่ายเพลงทดลองที่มีตัวตั้งตัวตีคือ Koichi Shimizu เกิดขึ้นมา ชื่อว่า SO::ON Dry Flower อีกค่ายที่ผลิดอกออกผลวงหลากหลายแนวออกมาอย่างไม่ขาดสาย มีตั้งแต่วงอัลเทอร์เนทิฟร็อก แอมเบียนต์ อิเล็กทรอนิก โฟล์ก ที่ต่อมาได้กลายเป็นวงต้นแบบของนักดนตรีในยุคสมัยนี้ทั้ง Goose, ณภัทร สนิทวงศ์ อยุธยา, อัศจรรย์จักรวาล, Talkless, Desktop Error, จีน มหาสมุทร, อธิศว์ ศรสงคราม (อ้วน Armchair), Gad, PLOT, HIGHLAG, Into the Air ชื่อเหล่านี้ถูกยอมรับว่าเป็นวงดนตรีนอกกระแสแถวหน้าทั้งด้านฝีไม้ลายมือ และในแง่ของความนิยมจากกลุ่มแฟนเพลง โดยพวกเขามักถูกจับไปอยู่ในไลน์อัพงานเดียวกันกับค่าย Panda Records หรือร่วมเล่นในเทศกาลดนตรีเดียวกันอยู่เนือง

อีกทั้งค่ายเพลงนี้ยังเป็นโปรโมเตอร์จัดคอนเสิร์ตวงดนตรีคุณภาพที่หาชมยากจากทั่วโลก ทั้ง Mono, Mogwai, Toe, Aspidistrafly, The Observatory มาแสดงที่ประเทศไทย แต่เมื่อประมาณช่วงปลายปี 2016 ทางแฟนเพจ SO::ON Dry Flower ออกมาประกาศว่าทางค่ายจะยุติบทบาทลง สร้างความใจหายให้กับแฟนเพลงที่ติดตามมาตลอด 14 ปี แต่ศิลปินในค่ายหลาย วงยังเดินหน้าผลิตผลงานต่อไปจนถึงปัจจุบัน

Post Rock/ Ambient (2005-2013)

อาจเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่คาบเกี่ยวกับยุคข้างต้น เพราะโทนดนตรีและสีสันต่าง ก็มีความใกล้เคียงกันโดยเน้นหนักไปทางอัลเทอร์เนทิฟร็อก แต่ขณะเดียวกันก็มี sub-genre ที่เรียกว่า ‘post rock เข้ามามีบทบาทและเฟื่องฟูแบบสุด วงดนตรีอย่าง Mogwai, Explosions in the Sky, Sigur Ros และ Mono ถูกยกให้เป็นพระเจ้า และช่วงนี้เองก็เกิดการรวมตัวของคนรักเพลงนอกกระแสมากขึ้นบน social media ก่อตัวเป็น community ต่าง ๆ ทั้งเพจ Alternative Thai ที่ปลุกปั่นวงนอกกระแสหลายวงจนสามารถจัดงานโดยใช้ชื่อ ‘P.A.S.T’ ถึง 5 ครั้ง หรือแม้กระทั่งกรุ๊ป Thai Post-Rock Scenery ที่ถือเป็นจุดก่อกำเนิดแรงบันดาลใจและเป็นช่องทางให้วงนอกกระแสหลายวงได้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังที่มีรสนิยมชื่นชอบเพลงแบบเดียวกัน และได้จัดงาน ‘Thai Post Rock Jam Session & Meeting #1’ ขึ้นมา

Thai Post-Rock Scenery ในปี 2012 ถือว่าเป็นจุดพีคที่สุด เนื่องจากมีคนเริ่มหวนกลับมาฟัง post rock ยุคเก่า ไม่ว่าจะเป็น Forgot Your Case หรือขาใหญ่ Inspirative จนได้ก่อกำเนิดวงใหม่ อย่างเช่น Never Sorry, Withyouathome, Hope the Flowers ซึ่งรายหลังสุดยังคงมีผลงานอย่างต่อเนื่องและได้สร้างชื่อเสียงด้วยการฝากผลงานเป็นหนึ่งในซาวด์แทร็กประกอบภาพยนตร์ ‘Mary is Happy, Mary is Happy’ ของ เต๋อ นวพล และยังเป็นความกระชุ่มกระชวยสำหรับสาวกฝั่ง ambient ที่ติดตามผลงานจากค่าย Final Kids ที่มีวง Away the Ways, Afternoon และโปรเจกต์เดี่ยวของมือกีตาร์ที่ออกมาทำในภายหลังในชื่อ 17SEPTEMBER1981 ที่ยังพอ active อยู่บ้าง

แต่ post rock อีกขานึงที่เน้นไปทางสาย instrumental หรือ math rock ได้ก่อตัวอย่างเงียบ หลังจากความโด่งดังของ Toe จนได้ก่อกำเนิดวงที่โดดเด่นอย่าง Trymyshoes ที่ทิ้งเพลงไว้เป็นตำนาน หรือ Two Million Thanks ที่เริ่มเข้าที่เข้าทางจนไปเข้าตาค่าย SO:ON Dry Flower และ aire ที่สร้างชื่อเสียงอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดงานกันเองที่ Harmonica ไลฟ์เฮาส์ที่เราคิดถึงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งพวกเขามักจะชวนเพื่อน และวงแปลก มาเล่นด้วยเสมอในราคาบัตรเข้างานมิตรภาพสำหรับนักศึกษาและ first jobber (อยู่ที่ 100- 150 บาท เท่านั้น) วงต่าง มากมายล้วนต้องเคยได้เล่นงานเดียวกับ aire มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Kinetics, Low Fat, Wednesday, Neuter Lover ซึ่งแต่ละวงก็ได้ connection ของตัวเองกับคนดูจากการเล่นสดในคืนนั้น จนได้ก้าวต่อไปเวทีที่ใหญ่ยิ่งขึ้น นี่จึงเป็นการพิสูจน์ตัวตนและผลงานของวงตัวเองได้เป็นอย่างดี

ปี 2013 ถือเป็นช่วงความเฟื่องฟูของดนตรีสายบรรเลง และวงนอกกระแสทางเลือกอีกหลาย วง ไม่ว่าจะเป็น เจี่ยป้าบ่อสื่อ, PC0832/676, Ziriphon Fireking, Pray, Follows แต่ก็มีวงเพียงหยิบมือที่รอดเข้าฝั่งและยังคงเป็นที่จดจำอยู่จนถึงทุกวันนี้

Chiang Mai Sound (2008-2014)

ตีตั๋วขึ้นไปที่หัวเมืองตอนเหนือของเรา มีช่วงนึงที่เรียกได้ว่าเป็นยุครุ่งของซีนดนตรีเชียงใหม่ ณ ตอนนั้นมีศิลปินหน้าใหม่มากมายหลากหลายแนวตั้งแต่อัลเทอร์เนทิฟ คันทรี อิเล็กทรอนิก ที่สำคัญคือมีวงป๊อปน้ำดีถือกำเนิดเกิดมาให้เราได้ฟังกันทั้ง H.R.U, Hum, Electric.Neon.Lamp ซึ่งยังคงมีเพลงให้ร้องตามติดปากได้จนถึงทุกวันนี้ และอีกกำลังสำคัญที่เราเชื่อว่ามีส่วนทำให้ซีนดนตรีเชียงใหม่ได้รับความสนใจคงไม่พ้นการรวมตัวของกลุ่ม No Signal Input ในปี 2003 ที่ช่วยกันผลักดันจนวงดนตรีในเชียงใหม่กลายเป็นที่รู้จักทั้งในท้องถิ่น แพร่หลายมาถึงหูคนฟังในกรุงเทพ ฯ และเกิดเป็นกระแส ‘เชียงใหม่ซาวด์’ ทั้ง Derdamissyou, Harmonica Sunrise, Migrate to The Ocean และออก compilation รวมศิลปินหลายต่อหลายรุ่นมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้เราได้รู้จักกับวงอย่าง สภาพสุภาพ, อิธนูและพู่ถุงเท้า, มัชฌิมา, Solitude is Bliss, สหายเขียว, สิริมงคล, The Bandit Boy, Vega ที่ล้วนแต่เป็นวงดนตรีฝีไม้ลายมือจัดจ้าน และมีลายเซ็นโดดเด่นทั้งสิ้น

นอกจากนี้ในเชียงใหม่ยังมีค่าย Summer Disc ที่ส่งผลงานออกมาอย่างไม่ขาดสาย ทั้ง Ziriphon Fireking, Counterclockwise แต่ก็ไม่ได้จำกัดแต่เพียงศิลปินในเชียงใหม่เท่านั้น เพราะมี Medicine Men ที่เป็นวงดนตรีจากกรุงเทพ ฯ อยู่ในสังกัดด้วย
เราเชื่อเหลือเกินว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนดนตรีเชียงใหม่เป็นโมเดลต้นแบบในการขยายตลาดไปสู่คนฟังภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวอยู่ ณ ที่ใดที่นึงอย่างเช่นในกรุงเทพ ฯ เพราะภายหลังในต่างจังหวัดก็เกิด movement ของซีนดนตรีอีสานบ้างแล้วเหมือนกันอย่างในโคราช (1005 Records) ขอนแก่น (KK Underground) หรือมหาสารคาม (ร้านมหานิยม) ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่เหนียวแน่นและน่าสนใจไม่แพ้กัน

แต่ก็มีเรื่องน่าตกใจอยู่อย่างนึงที่เราได้ยินจากปากของนักดนตรีเชียงใหม่เอง พวกเขาเล่าว่าในเชียงใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงเคยชินกับการนั่งชิลในร้านเหล้ามากกว่าเดินเข้าไปดูวงดนตรีท้องถิ่นที่มีอีเวนต์เฉพาะของตัวเอง เงิน 100 บาทสำหรับค่าบัตรถูกมองว่าแพงกว่าค่าเบียร์หนึ่งเหยือก นั่นจึงทำให้อัตราการเติบโตของผู้ฟังในเชียงใหม่ที่สนับสนุนผลงานศิลปินแทบจะหยุดอยู่กับที่ ขณะเดียวกันวงดนตรีหรือศิลปินกลับผลิตผลงานออกมามากขึ้นทุกวัน จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ต้องขยับขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกรุงเทพ ฯ จังหวัดอื่น ๆ แทน

Folk and Acoustic (2012-2015)

การถือกำเนิดของโฟล์กน่าจะมาเป็นอันดับแรก ในมวลหมู่ เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นการถ่ายทอดศิลปะที่เรียบง่าย ปราศจากการปรุงแต่งด้วยเสียงสังเคราะห์ และใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด โฟล์กเคยเป็นแนวดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะแน่นอนว่าใคร ก็สามารถสร้างดนตรีแนวนี้ขึ้นมาได้ด้วยกีตาร์โปร่งตัวเดียว เล่าความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ความเป็นไปของตัวเองหรือสิ่งรอบกายผ่านการเล่นคอร์ดง่าย บางคนอาจจะมีเครื่องเคาะประกอบจังหวะที่ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์แปลงสัญญาณหรือเครื่องขยายเสียงในโชว์นั้น ด้วยซ้ำ ประกอบกับกลุ่มนักดนตรีหลายวงที่รู้สึกเบื่อหน่ายการเล่น full band จึงลดทอนมาเล่นแต่เครื่องอะคูสติก ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกระแสดนตรีและแฟชันที่ออกไปทางโบฮีเมียนหรือฮิปปี้ปลายยุค 60s ต้น 70s ที่เวียนกลับมา ทำให้แนวดนตรีนี้มีคนหันมาให้ความสนใจมากพอสมควร ด้วยความที่กลุ่มคนมีจิตวิญญาณเสรีชอบหยิบยกเพลงเหล่านี้มาบรรเลง หลาย วงได้แรงบันดาลใจมาจากวงดนตรียุคก่อนอย่าง The Beatles, Bob Dylan, Fleetwood Mac, Simon & Garfunkel หรือ The Velvet Underground ที่อาจจะไม่ได้เป็นวงโฟล์กจ๋า ทั้งหมด แถมเราจะได้กลิ่นอายไซคีเดลิกจาง ในเพลงของศิลปินโฟล์กไทยยุคนั้นด้วย

มีเทศกาลดนตรีโฟล์กเกิดขึ้นหลายงานและสร้างปรากฏการณ์ให้ซีนอยู่พักใหญ่ ทั้ง Keep On The Grass, Noise Market, Past.Tell, ฟังใจลอย ซึ่งหลายงานเป็นที่แจ้งเกิดนักดนตรีสายชิลนี้อยู่หลายคน ในช่วงนั้นที่มีวงดนตรีต่างประเทศแนวใกล้เคียงกันนี้เป็นที่นิยมอยู่หลายวง ทั้ง Kings of Convenience, Fleet Foxes, Modest Mouse, Neutral Milk Hotel, The Birds and the Bees, Belle and Sebastian จึงทำให้กระแสของโฟล์ก หรือโฟล์กป๊อปได้รับความนิยมเป็นพิเศษ วงดนตรีไทยทั้ง Selina & Sirinya, จีน มหาสมุทร, อารักษ์ อาภากาศ, รงค์ สุภารัตน์, My Post Life, Into the Air, Youth Brush, Free Typewriter กลับมาได้รับความสนใจ ซึ่งในภายหลังนี้เอง ความนิยมที่ว่าทำให้หลายคนเลือกทำเพลงโฟล์กป๊อปออกมาจนกลายเป็นดีดคอร์ดอะไรก็ได้กับกีตาร์โปร่งจนเกิดการทำซ้ำที่ไม่ค่อยโดดเด่นเท่าใดนัก จึงทำให้แนวดนตรีนี้สำหรับคนรุ่นใหม่ค่อย หายไป และกลายเป็นว่าเรากลับไปฟังงานชุดเก่า มากขึ้นแทน

เว้นแต่ที่โดดเด่นด้วยการดัดแปลงเอาโฟล์กไปผสานกับแนวดนตรีอื่นได้อย่างน่าสนใจ ทั้ง Gardener Twins, ญาณิน, สาว Moonlight Gypsy, เดือน จงมั่นคง, ภูมิ วิภูริศ, West of East, สหายแห่งสายลม หรือ Old Fashioned Kid เป็นต้น

Time to Surf — jangle, dream pop, and lo-fi (2012-present)

ช่วงต่อเนื่องกัน เมื่อแนวดนตรีโฟล์กเริ่มถูกผสานเข้ากับซาวด์ดนตรีร่วมสมัย มีการใส่องค์ประกอบของเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิก เอฟเฟกต์ การออกแบบบรรยากาศและมิติของเสียงที่มีความเชื่อว่า imperfect is perfect การได้รับอิทธิพลจากดนตรียุคก่อนยังคงมีอยู่แต่ถูกจำเพาะเจาะจงแนวดนตรีลงไปกว่าเก่า ด้วยเครื่องมือการอัดที่คุณภาพยังไม่ครบถ้วนเท่าสมัยนี้จึงทำให้เสียงที่บันทึกได้ออกมาไม่ค่อยคมชัด กลายเป็นสเน่ห์ที่ทำให้นักดนตรีเหล่านี้ทดลองทำเพลงแนว lo-fi (low fidelity) กันเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังได้อิทธิพลจากวงดนตรีฝั่ง coastal ที่มักทำเพลงออกมาให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ชายทะเลอย่างที่เรียกกันว่า surf rock/pop ไม่ว่าจะเป็น Beach Fossils, DIIV, Real Estate, Alvvays, Best Coast แห่กันออกมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็ไม่แปลกที่วงดนตรีบ้านเราจะมีเพลงแนวประมาณนี้ออกมา Seal Pillow, Wave and So เป็นวงแรก ที่นำพาแนวเพลงยวบยาบมาให้คนไทยได้รู้จักกัน ซึ่งยุคหลังมาก็มีวงอย่าง New Mandarin, Strange Brew, White Collar, Folk 9 ที่ยังสืบต่อและถ่ายทอดเสน่ห์ของ surf/lo-fi ได้เป็นอย่างดี และยังมีวงอย่าง Safeplanet หรือ Gym and Swim ที่ได้กลิ่นอายเซิร์ฟและอิทธิพลดนตรี tropical มาด้วยเช่นกัน

The Rise of Synth Pop (2014-present)

ขณะที่ดนตรี EDM กำลังเริ่มเข้ามามีบทบาทในซีนปาร์ตี้และไนต์คลับที่บ้านเรา มีวงดนตรีวงหนึ่งเลือกจะปล่อยสามเพลงซินธ์ป๊อปย้อนยุค 80s สวนกระแสโลกแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย พวกเขาพลิกหน้าประวัติศาสตร์วงการเพลงไทยไปโดยฉับพลัน การ comeback หลังอัลบั้มชุดแรกในนาม Polycat จึงถือเป็นการสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับทั้งแฟนเพลงและผู้ฟังใหม่ไปโดยปริยาย เพราะถ้าย้อนกลับไปอีกนิดพวกเขาเคยทำเพลงแนวสกาในชื่อ Skarangers

นอกจากเพลงที่ปล่อยมาทำเราเหวอแล้ว วิดิโอประกอบเพลงก็ถูกทำออกมาเป็นซีรีส์ The Ordinary Love Storyโดยนำฟุตเทจจากภาพยนตร์อันโด่งดังในยุคเดียวกัน (1989) อย่างพริกขี้หนูกับหมูแฮมผลงานสร้างชื่อของ คิงสมจริง ศรีสุภาพ นำแสดงโดย ขจรศักดิ์ รัตนนิสัย และจันทร์จิรา จูแจ้ง มาตีความใหม่ใช้เล่าเรื่องในบทเพลงเป็นสามตอน เรียงลำดับอารมณ์ของความสัมพันธ์แต่ละช่วง เริ่มจาก เพื่อนไม่จริง (การแอบรักคนใกล้ตัวโดยไม่คาดหวังว่าเขาจะต้องรักตอบ) เวลาเธอยิ้ม (ชั่วโมงต้องมนต์ที่เราโดนคนที่ถูกใจสะกดไว้ด้วยเพียงร้อยยิ้มของเธอ ก็ทำให้โลกสวยงามโดยพลัน) และ พบกันใหม่ (เมื่อมนต์แห่งรักพลันสลายไปก็ได้เวลาที่ต้องลาจาก) ทั้งภาพและเพลงถือเป็นงานที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างกลมกล่อมและอิ่มเอมที่สุดชิ้นนึง ปรากฏการณ์นี้จึงทำให้เพลงของ Polycat กลายเป็นที่นิยมทั้งในคลื่นวิทยุ ร้านเหล้า หรือแม้แต่กลุ่มคนฟังดนตรีนอกกระแสก็ไม่ปฏิเสธเพลงของพวกเขา เรียกว่าเป็นงานที่เรียบเรียงออกมาแบบตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย จนท้ายที่สุดก็ส่งอัลบั้มเต็ม 80s Kisses ออกมาตอกย้ำความสำเร็จนี้ได้อย่างงดงาม

หลังจากนั้นมาจึงมีวงดนตรีอีกหลายวงก็ทำแนวเพลงใกล้เคียงกันออกมาไม่ว่าจะเป็น The Dai Dai, Telex Telexs และซีนดนตรีอิเล็กทรอนิกก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งกว่าแต่ก่อนด้วยการที่หลาย คนเริ่มกลับไปฟังวงอย่าง White Light, DCNXTR, Cut The Crab, White Noise, Vivid Dream, The Black Codes และปฏิเสธไม่ได้ที่หลายวงดนตรีเองก็ได้ใส่ element ของซาวด์อิเล็กทรอนิกเข้ามาอย่างเด่นชัดทั้ง Jelly Rocket, 23’O, Monkey Business, Two Pills After Meal, The Toys, Stamp STH, Game of Sounds และอื่น ๆ รวมไปถึงการกลับมาของเพลงสไตล์ 80s city pop หรือ vaporwave อีกด้วย

แต่ถ้าให้พูดถึงซีนดนตรีอิเล็กทรอนิกหรือซินธ์ป๊อป อันที่จริงแล้วก็มีค่ายดนตรีอิเล็กทรอนิกเล็ก ๆ เคลื่อนไหวอยู่เงียบ ๆ และพยายามผลักดันตัวเองอย่างไม่หยุดหย่อนเสมอมา นั่นคือ Comet Records ซึ่งนับว่าเป็นค่ายที่ผลิตเพลงเต้นรำและอิเล็กทรอนิกหลากหลายแนวออกมาได้อย่างแปลกใหม่ น่าสนใจ ตั้งแต่ electro funk, deep house, trip hop, vaporwave, techno หรือแม้แต่ post punk ทุกครั้งที่มีการประกาศศิลปินรายใหม่ของค่ายเราจะตื่นเต้นเสมอว่าเพลงที่ออกมาจะมีโทนแบบไหนกันนะ ลองไปฟังเพลงของพวกเขาเหล่านี้ดู Casinotone, Funky wah wah, Orbital XX, Morg, Naked/Astronaught, Yupadee, Unda, Nodiction และอีกมากมาย)

Age of Diversity (2017-onwards)

ในปีนี้ เราค้นพบว่าในซีนดนตรีมีการเกิดขึ้นของวงดนตรีหน้าใหม่มากมาย ทุกคนมีอิสระและความคิดสร้างสรรค์ในการปลุกปั้นบทเพลงของตัวเองขึ้นมา เราไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าตอนนี้อะไรคือแนวเพลงหลักหรือสีสันของยุคสมัยเพราะการผสมผสานแนวดนตรีอย่างไร้ขอบเขต มีการ revisit เพลงโซลรุ่นคุณยายกลายมาเป็นเพลงป๊อปชวนติดหู (The Parkinson, บีน นภสร) โครงสร้างดนตรีแจ๊สถูกนำมาใช้ในเพลงป๊อป (InDeedWeNeed, นภ พรชำนิ) เพลงร็อกมีแร็ป (Nobuna, Bomb at Track) หรือสายยิบย่อยในอดีตที่อย่าง chill wave, power pop, neo-psychedelia, trip-hop ก็กลับมาโลดแล่นบนเวทีอีกครั้ง (Gorn Clw, Evil Dude, Cloud Behind, Naked Astronaught) หรือแม้แต่แนวทดลองที่จับต้องหรือเรียกขานชื่อแทบไม่ได้ (Plern Pan Perth, ครูเพลง) ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่เราจะได้ค้นพบดนตรีแปลกใหม่ที่อยู่นอกเหนือการรับรู้หรือความทรงจำของเรา มันก็น่าตื่นเต้นดีนะที่จะได้รอดูว่าในอนาคตจะมีใครทำอะไรออกมาอีกบ้าง

 

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้