Travis McCready กับความพยายามจะจัดคอนเสิร์ตครั้งแรก หลังเกิดโรคระบาด

Article Story

Travis McCready กับความพยายามจะจัดคอนเสิร์ตครั้งแรก หลังเกิดโรคระบาด

หลังจากที่เราต้องปรับตัวเพื่ออยู่กับโควิดมาหลายเดือนแล้ว ก็ยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่างานคอนเสิร์ตหลังเกิดโรคระบาดจะเป็นยังไง เราจะได้เบียดกันหน้าเวทีอีกครั้งเมื่อไหร่

หลังจากที่ใคร ๆ เริ่มทดลองงานออนไลน์กันมากขึ้น หลายคนก็คงรู้สึกว่าประสบการณ์มันไม่เต็มร้อยเท่าไหร่ แต่เพื่อให้โรคระบาดซาลงจนหมดไปได้ social distancing ก็สำคัญ แต่ในรัฐอาร์คันซอกลับมีข่าวใหญ่ที่เรียกร้องความสนใจจากคนทั่วโลกได้ เมื่อเวนิวคอนเสิร์ตของเมืองอย่าง Temple Live กำลังจะจัดไลฟ์คอนเสิร์ตของ Travis McCready ขึ้นมาจริง ๆ (พอย้ำว่าคอนเสิร์ตจริงก็รู้สึกแปลกอยู่เหมือนกัน) นักร้องนำสายคันทรีร็อกจากวง Bishop Gunn ก็ตื่นเต้นมากที่จะได้เล่นดนตรีอีกครั้ง เขารู้สึกว่าโลกตัดขาดเขากับแฟนเพลงนานเกินไปแล้ว

โดยเวนิวจะหั่นความจุจากเต็มที่พันกว่าคนลงและขายบัตรเพียง 200 กว่าที่นั่งเท่านั้น โดยชูนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘fan pods’ หรือกล่องที่ตั้งห่างกัน 6 ฟุต ตามมาตรฐานของคำสั่งของผู้ว่าเรื่องการสร้างระยะห่างเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และยังขอความร่วมมือให้ใส่หน้ากาก แถมมีการเช็กอุณหภูมิก่อนเข้างาน และจำกัดการเข้าห้องน้ำได้แค่ครั้งละ 10 คนเท่านั้น

 

View this post on Instagram

 

UPDATE: Tickets will go on-sale Monday, April 27th at 10am. 🚨JUST ANNOUNCED🚨 An Intimate Solo Acoustic Performance With Travis McCready of Bishop Gunn May 15th. Please see our COVID19 Operating Protocol that we will be following to ensure a safe experience at our venue. “Music gives a soul to the universe, wings to the mind, flight to the imagination and life to everything.”. ― Plato. The beginning of music is believed to originate with the beginning of creation itself. The first instrument can be traced back to 43,000 years ago, the first song to 4000 years ago. Even Plato, one of the greatest minds in history speaks to the importance of music. What do we learn from these simple facts? Hopefully we learn that people are designed to seek solace in this form of art. Pioneers such as Handel, Mozart, and Bach paved the early paths in the world of music. Beethoven found such value in music that he continued to compose after the loss of his hearing. We continue to seek music, perhaps even more fervently in the darkest times. For the lover of arts, music becomes the spark in life. Can you think of a movie without a soundtrack? With advances in technology, music has become so accessible that its become an important part in the lives of the vast majority of the population. Music is not only a luxury, but a necessity to many. Developments in the medical field such as music therapy show significant ties between music and the mental health of the population. Music is beyond enjoyment, it is what drives many of us and binds us to each other. The comradery created by live music specifically is unlike any other experience. That feeling you get when a band takes the stage, you feel the beat in your chest, and the bass shakes your entire being. The next thing we do however, may be the most spectacular part of the live experience. Once we’ve enjoyed the sight of the band taking the stage, we look to those around us, even just to share a glance, a smile. For a few brief moments, we are all united by love of an artist. These are the moments that bring us to life. And we won’t have that life taken from us. Music is all around us, music is essential

A post shared by Temple Live (@templelive) on

คอนเสิร์ตนี้จะกลายเป็นคอนเสิร์ตแรกที่จะจัดขึ้นในอเมริกาหลังเกิดโรคระบาดขึ้น แต่มีความเสี่ยงว่าอาจจะล่มได้ เพราะว่าผู้ว่ากำลังจะผ่านกฎใหม่ในวันที่ 18 พฤษภาคม ให้งานมหรสพในร่มต้องจำกัดคนเข้าร่วมได้แค่ 50 คนเท่านั้น แม้จะประกาศหลังจากวันงานไปแล้ว 3 วัน แต่ผู้ว่าก็ยังกังวลว่างานนี้อาจมีความเสี่ยงได้

การพยายามจัดคอนเสิร์ตช่วงนี้ไม่ได้แค่วัดใจว่าคนจะอยากดูคอนเสิร์ตมากแค่ไหน แต่มันวัดกึ๋นของฝ่ายรัฐบาลในการบริหารจัดการบ้านเมืองในยามลำบากแบบนี้ด้วย ทางผู้ว่าให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เขาชื่นชมในตัวเจ้าของเวนิวมาก ที่ตระเตรียมวิธีป้องกันผู้ร่วมงานอย่างเต็มที่ด้วยมาตรการที่ได้มาตรฐาน แต่ยังไงมันก็ยังฝ่าฝืนกฎกระชับพื้นที่เสี่ยงอยู่ดี

โดยผู้จัดยกเรื่องโบสถ์มาโจมตีภาครัฐ ในเมื่อไวรัสสามารถติดต่อได้โดยไม่สนศาสนาหรือสีผิว ทำไมถึงอนุญาตให้คนไปโบสถ์ได้ แต่อนุญาตให้จัดคอนเสิร์ตไม่ได้ ทำให้เป็นประเด็นเผ็ดร้อนบนโลกโซเชียลเลยทีเดียว

แม้การจัดคอนเสิร์ตได้จะไม่ได้การันตีว่าพฤติกรรมคนฟังจะกลับมาเหมือนเดิมด้วยก็ตาม เพราะทุกคนก็ยังระวังตัวกันเหมือนเดิม แถมเวนิวที่เล็กเกินไปก็ยิ่งเสี่ยงด้วย แต่เจ้าของเวนิวก็บอกว่า คอนเสิร์ตนี้ก็กำลังจะ sold out แล้ว และถ้าไปด้วยดีเขาจะจัดงานต่อเรื่อย ๆ แม้มันจะทำให้ศิลปินและแฟนรู้สึกแปลก ๆ ไปบ้าง แต่มันก็ยังดีกว่าตอนนี้ที่จัดงานอะไรไม่ได้เลย

ฝั่งผู้ว่าก็ยังไม่ได้ออกมาสั่งยกเลิกหรืออะไร วันศุกร์นี้เราอาจจะได้เป็นพยานในบรรทัดหนึ่งของประวัติศาสตร์ดนตรีก็ได้ ว่าไลฟ์คอนเสิร์ตก็เปลี่ยนไปจากเดิมมากแค่ไหนในยุคที่มีโรคระบาด

หลาย ๆ เมืองในอเมริกาอย่างรัฐมิสซูรีก็เริ่มผ่อนปรนงานรื่นเริงมากขึ้น แต่ก็ยังมีไกด์ไลน์ที่เข้มข้นอยู่เพื่อไม่ให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม ซึ่งเจ้าของเวนิวหรือเจ้าของสถานที่จัดคอนเสิร์ตต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไลฟ์คอนเสิร์ตคือทางรอดเดียวของพวกเขา ซึ่งบางที่มีงานกว่า 750 งานตลอดทั้งปี ตั้งแต่งานแต่งไปจนถึงคอนเสิร์ตหรือเฟสติวัล แต่โรคระบาดทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก

โดยที่ความช่วยเหลือจากรัฐก็ไม่ได้ครอบคลุมคนเหล่านี้มากพอด้วย นโยบาย Paycheck Protection Program หรือ ‘สินเชื่อเพื่อหล่อเลี้ยงธุรกิจจากภาครัฐ’ ก็ไม่ได้ตอบโจทย์พวกเขา ในเมื่อพวกเขาไม่มีทางรู้เลยว่าจะกลับไปจัดคอนเสิร์ตกันได้อีกเมื่อไหร่

ในอเมริกา ภาครัฐก็พูดเหมือนกันว่าคอนเสิร์ตจะอยู่ในกลุ่มความบันเทิงท้ายสุดที่จะได้ปลดล็อก จนกว่าจะมีใครผลิตวัคซีนได้ ไลฟ์คอนเสิร์ตอาจจัดไม่ได้ไปจนถึงปีหน้าเลยทีเดียว ทำให้พวกเขาต้องหาวิธีใช้พื้นที่เวนิวให้เกิดประโยชน์ที่สุด ในยามที่ความบันเทิงแบบเดิม ๆ อาจอันตรายเกินไป

แต่เจ้าของเวนิวทั้งหลายก็ยังพยายามคิดบวกให้มากที่สุดเมื่อได้คุยกับสื่อ แม้การดูคอนเสิร์ตผ่านคอมพิวเตอร์หรือมือถืออยู่บ้านอาจไม่ถึงใจ แต่บางคนก็ยังพร้อมจะจ่ายเงินเพื่อดู ใครหลายคนยังเคยจ่ายเงินเยอะมากเพื่อให้ได้ไปดูวงที่เราชอบทุกที่บนโลก ทำไมเขาจะยอมเสียเงินนิดหน่อยเพื่อฟังเพลงดี ๆ ยังไงเพลงก็ยังนำความสุขมาสู่กลางใจทุกคนได้ตลอดเวลา

อย่างที่เคยบอกว่า การที่ศิลปินเล่นดนตรีไม่ได้ ไม่ได้เจ็บกันแค่ไม่กี่คนในวง แต่ยังมีคนตัวเล็กตัวน้อยในอุตสาหกรรมอีกมากมายทั้งซาวด์เอนจิเนียร์ คนออกแบบเวที คนออกแบบแแสง หรือกราฟิกบนเวที รวมไปถึงค่ายเพลงและคนดูแลศิลปินอีกมากมาย เจ้าของเวนิวก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องการความช่วยเหลือเหมือนกัน หวังว่าเหตุการณ์นี้จะทำให้รัฐบาลบ้านเราได้เฉลียวใจ ตระหนัก และหันมาให้ความสำคัญกับซีนดนตรีไทยมากขึ้น

อ้างอิง
mic.com
pitchfork.com
nytimes.com
stereogum.com

Facebook Comments

Next:


Peerapong Kaewthae

แม็ค เป็นคนชอบฟังเพลงเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และก็ชอบแนะนำวงดนตรีหรือเพลงใหม่ ๆ ให้คนอื่นรู้จักผ่านตัวอักษรตลอดเวลา