Bonus Track คืออะไร? ทำไมต้องมี? แล้วอะไรคือ Japanese Bonus Track?

Article Story

ทำไมในอัลบั้มต้องมี Bonus Track?

ในหลาย ๆ ครั้งเมื่อเราหยิบซีดีอัลบั้มเดียวกันที่ผลิตคนละประเทศ ก็อาจเกิดความแปลกใจว่า ทำไมถึงมีจำนวนเพลงไม่เท่ากัน แล้วเจ้า Bonus Track ที่ห้อยต่อท้ายนี่มาจากไหน?​ ตามเรามาค้นหาคำตอบกัน

Bonus Track คืออะไร

ก่อนอื่นต้องเล่าก่อนว่าโบนัส แทร็คคือเพลงแถมที่เพิ่มมาจากความยาวของอัลบั้มปกติ เช่นอัลบั้มในตำนานอย่าง My Chemical RomanceThe Black Parade ปกติก็จะมี 13 เพลง (บวก Hidden Track แต่เราไม่ได้พูดถึงในบทความนี้) ถ้าหากซื้ออัลบั้มนี้แบบ ‘Japanese Bonus Track’ ก็จะได้เพลง Heaven Help Us มาด้วย หรืออย่างอัลบั้ม The KillersHot Fuss ที่ปกติมี 11 เพลง ถ้าเป็นเวอร์ชั่นที่มีโบนัส แทร็คก็จะได้ยินเพลง Glamorous Indie Rock & Roll เป็นเพลงที่ 12

Bonus Track อัลบั้ม The All-American Rejects - When The World Comes Down
Bonus Track ในอัลบั้ม The All-American Rejects – When The World Comes Down

ทำไมถึงต้องมี Bonus Track

โบนัส แทร็ค เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคเทปคาสเซ็ตต์รุ่งเรือง เนื่องจากเดิมไวนิลส่วนมากจะจุเพลงได้ประมาณหน้าละ 22 นาที แต่ถ้าเป็นคาสเซ็ตต์จะจุได้ถึงหน้าละ 30-45 นาที ทำให้ค่ายเพลงสามารถใส่เพลงลงไปในอัลบั้มได้มากขึ้น จึงเกิดการใส่โบนัส แทร็คเพิ่มขึ้นเพื่อให้แฟน ๆ ยอมซื้อทั้งสองฟอร์แมต แต่ในบางครั้งโบนัส แทร็คก็ถูกใส่เข้าไปเพื่อทำให้ Side A และ Side B ของคาสเซ็ตต์มีความยาวใกล้เคียงเท่ากันเฉย ๆ โดยพอโลกเดินทางมาถึงยุคซีดีก็ยังมีโบนัส แทร็คอยู่ โดยใช้ล่อให้คนซื้อหลาย ๆ เวอร์ชั่น และในยุคดาวน์โหลดยิ่งจำเป็นใหญ่ เพราะการมีโบนัส แทร็คจะเพิ่มความ exclusive บิลด์ให้คนซื้อไฟล์เต็มอัลบั้ม แทนที่จะเลือกซื้อทีละเพลงหรือสตรีมเอา

ซึ่งเจ้าโบนัส แทร็คนี่ก็มีการถกเถียงอย่างมากในกลุ่มมิตรสหายแฟนเพลงต่าง ๆ แต่ส่วนมากก็ลงความเห็นไปในเชิงเรื่องการตลาดเพื่อให้คนซื้ออัลบั้มเยอะขึ้น โดยประเทศที่มักจะมีโบนัส แทร็คในแทบทุกอัลบั้มก็คือญี่ปุ่น ซึ่งใช้วิธีเพิ่มโบนัส แทร็ค รวมถึงเปลี่ยนปกและเพิ่มเนื้อเพลงแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อให้คนซื้ออัลบั้มที่ผลิตในญี่ปุ่นเองมากกว่าแผ่นอิมพอร์ต จนทำให้กลายเป็นเรื่องปกติที่คนยอมควักเงินราคาแพงกว่าเท่าตัวซื้ออัลบั้มที่ผลิตในญี่ปุ่น นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้วงการดนตรีญี่ปุ่นยังคงมั่นคงถึงทุกวันนี้ ซึ่งความตลกคืออัลบั้มของวงตะวันตกเอง ยังมีการอิมพอร์ตจากญี่ปุ่นกลับไปขายที่ประเทศแม่ของวงเหล่านั้น ด้วยจำนวนโบนัส แทร็คที่เยอะกว่า

ในหลาย ๆ ครั้งโบนัส แทร็คก็เป็นเพลงที่มีคุณค่ากับการฟังและเก็บสะสมเพราะเป็นเพลงที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่อาจไม่ตรงกับมู้ดของอัลบั้มนั้น ๆ จนต้องโดนเขี่ยออก หรือไม่ก็เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับอัลบั้ม Remastered ที่นำอัลบั้มยุคไวนิล ยุคเทป มาปัดฝุ่นแล้วจำหน่ายใหม่อีกครั้ง แต่ในหลาย ๆ ครั้งโบนัส แทร็คเป็นเพียงการเอาเพลงคัฟเวอร์ เพลงเดโม่ที่ยังไม่ค่อยเรียบร้อย อย่างอัลบั้ม The All-American RejectsWhen The World Comes Down ที่แนบเดโม่มาด้วย 6 เพลง หรือบางทีก็เป็นเวอร์ชั่นรีมิกซ์มาใส่ในอัลบั้ม อย่าง Fall Out BoyFrom Under the Cork Tree ไม่ก็เป็นแทร็คไลฟ์ หรือคลิปวิดีโอแสดงสด ซึ่งถ้าพูดเรื่องความคุ้มค่า หลาย ๆ คนที่ไม่ได้โบนัส แทร็คก็อาจเหมือนเสียเปรียบ อย่างอัลบั้มหนึ่งมี 10 เพลง คนที่ได้โบนัส แทร็คได้ 12 เพลงจากศิลปิน แต่กลายเป็นว่าชาวโลกที่สามอย่างเราจะได้แค่ 10 เพลงเท่านั้น

แล้วทุกคนคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องโบนัส แทร็ค? ชอบวิธีการตลาดแบบนี้ไหม?​ มีโบนัสแทร็ค เพลงไหนเจ๋ง ๆ ที่อยากแนะนำให้เราฟังไหม? มาคุยกัน

อ่านต่อ

หรือนี่จะเป็นจุดจบของซีดี?

Rewind Forward กรอกลับหลังไปข้างหน้า’ …เมื่อเทปคาสเซ็ตกลับมาเป็นวัตถุแห่งกระแสอีกครั้ง

ไวนิล 101: รวมศัพท์ฉบับคนหัดสะสมแผ่นเสียง อ่านปุ๊บเปย์ได้เลย

Listening Bars เทรนด์ใหม่ของคนที่อยากจิบเหล้าเคล้าดนตรี (แบบจริงจัง)

 

อ้างอิง
What’s the point of bonustracks? The Function Why are some songs labeled “Bonustrack” on albums? I can understand if it’s a cover, but they aren’t always. Why does almost every album have an extended edition for the Japanese market? Why are bonustracks so common in japanese versions? Why are Japanese CDs so expensive? Because….
Facebook Comments

Next:


Malaivee Swangpol

มิว (เรียกลัยก็ได้)​ โตมาข้าง ๆ วงมอชแต่ตอนนี้ฟังทุกแนว ชอบอ่านหนังสือ ตามหาของกินอร่อย ๆ และตอนนี้ก็คงกำลังวางแผนเที่ยวรอบโลกอยู่