Feature ลงพื้นที่

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ ลองฟังเพลง มันเป็นใคร เพลงใหม่ล่าสุดของ Polycat

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Son of Jumbo

มันอาจจะไม่ใช่อะไรแปลกใหม่ เพราะเหมือนเอาของเก่ามาทำใหม่ แต่ผมว่าเขามีการใส่ซาวด์ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มันไม่ได้หาฟังได้บ่อย เหมือนกับที่ผมฟังแจ๊สแล้วการร้องเพลงเดียวกัน หลายคนมาร้อง เพลงก็ไม่เหมือนกันแล้ว มันมีความเฉพาะตัวจากการ improvise ของเขา

poly-02poly-01

สมฤดี ชัยสิทธิ์

ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการส่วนงานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ศิลปิน/แนวเพลงที่ชอบ เพลงสบาย ๆ แสตมป์, สิงโต นำโชค, Maroon 5, Taylor Swift

poly-03

“ถ้าสมมติเราไม่ได้เข้าใจภาษา ไม่ได้ดูเนื้อหา ทำนองดูสนุกดี แต่ว่าพอลงไปในเนื้อหาปุ๊บ เหมือนผู้ชายเป็นคนดี แต่ดีไม่สุด คือ ดูแบบมีความประชดประชัน แบบกลับไปรักเขาเถอะ ฉันโอเค คงมีความรู้สึกน้อยใจ ก็แบบว่ารัก มันจะมีช่วงทำนองนึงที่คนร้องมีเสียงที่ดู stress หนัก ซึ่งจุดนั้นทำให้เราคิดว่าเขาไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริง ๆ นี่คือการประชดเบา ๆ”

ถ้าพูดถึงยุค 80s จะนึกถึงอะไร
อาจจะนึกถึงอะไร jazz นิดนึง คงนึกไปถึงสมัยแม่เฮ้ว ๆ ตอนเป็นวัยรุ่น ยุคแฟนฉันหน่อย เหมือนหนัง The Possible แต่ไม่ได้ดูเก่ามาก และไม่ได้ดูใหม่จนเกินไป

คิดว่าเพลงนี้เหมือนแบคทีเรียตัวไหน
นึกถึงตัวคอห่าน (Lacrymaria olor) คือ มันจะดีดดิ้น แบบเป็นหางแกว่งตลอดเวลา เหมือนผู้ชายในเพลงที่ดูเหวี่ยง

poly-04poly-05

วัฒพงษ์ ภิญโญ

ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ศิลปิน/แนวเพลงที่ชอบ Pop rock, Bodyslam, Potato

“ดูเป็นเพลงที่สนุกสนานดี แต่เนื้อหามันดูเศร้านะ ไม่รู้สิ มันเหมือน เกี่ยวกับความรัก แต่มันดูขัดกับจังหวะสนุกสนาน ดูมีความสุขมากกว่าความเศร้านะ”

ถ้าพูดถึงยุค 80s จะนึกถึงอะไร
นึกถึงเพลงยุคเก่า ๆ แล้วก็พวกการแต่งกาย เสื้อผ้าเก่า ๆ สิ่งของเครื่องใช้เก่า ๆ

คิดว่าเพลงนี้เหมือนแบคทีเรียตัวไหน
เหมือนอีโคไล แบคทีเรียที่อยู่ในอุจจาระ เพราะตัวนี้มันถูกค้นพบมานานแล้ว ก็ค่อนข้างเก่า เหมือนเพลงที่ก็เก่า หรืออาจจะมีหน้าตาคล้ายสาหร่าย มันเคลื่อนไหวยุกยิกอยู่ตลอด

poly-06poly-07

ถ้าฟังตอนแรกจะไม่รู้เลยว่านี่เป็นเพลงอกหัก คือ ถ้าจะเปิดบิ๊วให้ยิ่งเศร้านะ เพลงนี้ไม่เวิร์ค ถ้าเปิดเป็นแบคกราวด์จิบเบียร์ ไวน์ ในเลาจน์นี่ได้เลย แต่เพลงนี้ ซาวด์วินเทจ มาสมัยนี้อาจจะมีสิทธิ์เกิดนะ เข้ากับกระแสได้ดีมาก

poly-08

ทัศนันทน์ อติเทพ

ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์
ศิลปิน/แนวเพลงที่ชอบ Classic, orchestra, ชอบฟังเพลงที่พาร์ทดนตรีก่อน, เพลงที่ดนตรีเด่น, Groove Rider, แสตมป์, ชาตรี, Pink Panther

“เป็นเพลงฟังสบาย ๆ ส่วนตัวผมชอบเครื่องทองเหลือง มีเสียงแซ็กโซโฟนผมว่ามันเทพดี มันจะมีท่อนท้าย มีเสียงคอรัสคนที่สองที่สามแทรกมา ก็คิดว่า มันจะเริ่มเยอะไปนิดนึง แต่ก็เป็นสไตล์ของเพลงปัจจุบันที่ก็มาแนวนี้พอสมควร”

ฟังแล้วนึกถึงอะไร
ถ้าเป็นหนังเรื่อง เป็นต่อ ก็เหมือนเป็นฉากในร้านเจ๊มิ้นท์ เป็นร้านอาหารที่มีแสงเขียว แดง  คนเยอะหน่อย กรุงเทพตอนกลางคืน

เหมือนเซลล์ หรือแบคทีเรียตัวไหน
นึกถึงฟองโซดามากกว่า ที่มันอยู่ในแก้วแล้วผุดขึ้นมาจากน้ำ เหมือนเป็นอะไรที่พุ่ง ผุด ออกมาเรื่อย ๆ ออกมาจากเพลง จากที่ใดที่หนึ่ง

พูดถึงยุค 80s จะนึกถึงอะไร 
ผมนึกถึงคนที่ยังมีสังคมอุดมการณ์ หลักการ ชีวิตค่อนข้างจริงจัง อยู่ในระบบระเบียบ แต่โดยรวมผมว่าชีวิตเขาโอเคกว่าชีวิตยุคปัจจุบันที่ดูวุ่นวาย

poly-09

แก่นพงษ์ บุญถาวร

ตำแหน่ง นักศึกษาปริญญาเอก
ศิลปิน/แนวเพลงที่ชอบ Vocal jazz, bigband, Louise Armstrong, Ben Webbster, Ella Fitzgerald, Billy Holliday, Sarah Vaughan, Frank Sinatra

poly-10

“ไม่ค่อยคุ้นเคยกับดนตรี Synth เยอะ แต่ก็พยายามลองฟังนะครับ ผมไม่แน่ใจเรื่องเนื้อเพลง เพราะไม่ได้ฟังเยอะเท่าไหร่ แต่รู้สึกเองนะ ว่านิด ๆ มันจะเป็นเรื่องความรัก ความเสียใจ ช่วงที่มีแซ็กโซโฟนขึ้นมา มันจะไปกับเนื้อเพลงหน่อย จะมีโอ๊เหย่ ๆ มีวู้ว ออกแนวซินธ์ป๊อปที่กึ่ง ปนๆ คล้าย Polycat ด้วยซ้ำ ซึ่งถามว่าอินกับเพลงไหมจะไม่ได้รู้สึกอินมาก แต่เป็นการ arrange ที่น่าสนใจ ผมว่ามันก็ว้าวดี แล้วสนใจว่าเสียงแต่ละอันนี่มันกดยังไง หรือเขาแช่ไว้ รู้สึกว่าเพราะ แต่ไม่ใช่แนวของเราเท่าไหร่ สำหรับ Polycat ผมชอบ 3 ซิงเกิ้ลที่เขาปล่อยมาตอนนั้นมากกว่า เพราะปกติผมฟังแจ๊สเก่า จะไปเจอผมอยู่แถว Saxophone นะ”

ทำไมถึงชอบ 3 ซิงเกิ้ลนั้นของ Polycat
เอาจริงว่าเพลงพบกันใหม่เนี่ย ผมพยายามฟังหลายรอบมากว่าเขาร้องว่าอะไรกันแน่ แต่อย่างแรก เมโลดี้เขาติดหูมาก แล้วผมชอบการปล่อยลมในเสียงร้องของเขา แบบด้วยคำที่บอกว่าเราจะมาพบกันใหม่ ตรง “ใหม่” เนี่ยดีมาก “เหย่” นี่จริง ๆ ตอนแรกผมหงุดหงิด แต่หลังมานี่กลายเป็นผมตลก มันอาจจะไม่ใช่อะไรแปลกใหม่ เพราะเหมือนเอาของเก่ามาทำใหม่ แต่ผมว่าเขามีการใส่ซาวด์ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มันไม่ได้หาฟังได้บ่อย ๆ คือ ก็เหมือนกับที่ผมฟังแจ๊สแล้วการร้องเพลงเดียวกัน หลายคนมาร้อง เพลงก็ไม่เหมือนกันแล้ว มันมีความเฉพาะตัวจากการ improvise ของเขา หรืออย่างการที่ผมมาทำงานวิทยาศาสตร์ งานประดิษฐ์ หรือการทำโปรเจค คือ พวกเราต้องพยายามหากลิ่นใหม่ ๆ taste ใหม่ ๆ ของการวิจัยว่ามันมีอะไรที่เราอยากเล่นบ้างไหม มันเป็นการกระหายสิ่งแปลกใหม่ ซึ่งแปลกมากที่ความแปลกใหม่ตรงนี้มันมีความ classic ของมันอยู่ คือ เรายังใช้ความเป็นฟอร์มหลักการของวิทยาศาสตร์ เป็นระบบที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย ตรงไปตรงมา เหมือนแจ๊สเก่าที่ดูธรรมดา แต่ในนั้นมันมีความ free มี improvise แต่ก็เป็น pattern ที่คุ้นเคย แล้วเวลาทุกคนเล่นเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เล่นคนละแบบ แต่พอมาแจมกันก็จะมีความลงตัวกันอย่างน่าประหลาด เพลงเก่าเล่นใหม่ทุกวันนี้ยังเพราะ ยังติดหู เหมือนวิทยาศาสตร์ เรารู้หลักวิทยาศาสตร์เหมือนกัน แต่ใช้ equipment รู้เทคโนโลยีที่ต่างกัน บางคนทำ image processing ได้ ก็มา collaborate กัน มาช่วย improvise งานทดลองกันให้ได้ผลการทดลองใหม่ งานวิทยาศาสตร์ก็คล้ายเพลงนะ บางการทดลองจะป๊อบ ทำออกมาเหมือนกันเลย เหมือนเพลงที่มา pattern เดียวกันหมด ปรับนั่นนิดนี่หน่อย บางอันก็เฉพาะทางไปเลย ส่วนตัวผมจะชอบอะไรที่มีความสร้างสรรค์ แจ๊สกับวิทยาศาสตร์มัน คือ ของใหม่เสมอ

poly-11

เพลงที่ได้ฟังน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง
มันมีความเป็นงานทดลองทางคณิตศาสตร์นะ งานคอม ซึ่งมันค่อนข้างจะเอาเสียง เอาซินธ์ ที่เหมือนใช้คอมทำ เอาโปรแกรมที่มันมีอยู่มาเรียงใหม่ เหมือนการเล่นกับข้อมูล เอา database มาเล่าใหม่ แต่มันก็เป็นงานที่เจ๋งตรงนั้น

ฟังแล้วเห็นภาพอะไร
ผมจินตนาการเห็นภาพคนเล่นดนตรีมากกว่าที่จะเป็นไปตามเนื้อเพลง เอาจริงก็นึกถึงภาพแสงสี ด้วยความเป็นอิเล็กทรอนิกส์ วิบวับ มันมาจากหลายเสียงที่เข้ามา

poly-12poly-13

แจ๊สเก่าที่ดูธรรมดา แต่ในนั้นมันมีความ free มี improvise แต่ก็เป็น pattern ที่คุ้นเคย แล้วเวลาทุกคนเล่นเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เล่นคนละแบบ แต่พอมาแจมกันก็จะมีความลงตัวกันอย่างน่าประหลาด เพลงเก่าเล่นใหม่ทุกวันนี้ยังเพราะ ยังติดหู เหมือนวิทยาศาสตร์ เรารู้หลักวิทยาศาสตร์เหมือนกัน แต่ใช้ equipment รู้เทคโนโลยีที่ต่างกัน บางคนทำ image processing ได้ ก็มา collaborate กัน มาช่วย improvise งานทดลองกันให้ได้ผลการทดลองใหม่

จิราภรณ์ เหล่าพัฒนวิโรจน์

ตำแหน่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
ศิลปิน/แนวเพลงที่ชอบ เพลงเย็น ๆ ไปถึงเพลงสนุก, เพลงคลาสสิค Norah Jones, Coldplay, Taylor Swift, Jessie J, Nicki Minaj

poly-14

“ตอนแรกที่ฟัง นี่ทำนอง disco ชัด ๆ เพราะมันเป็นแนวที่ไม่ค่อยได้ยินเท่าไหร่ในบ้านเรา ร่วมสมัยนิดนึงนะ ก็เพราะดี ผสมระหว่าง r&b บางทีก็ Michael Jackson ไม่ค่อยฟังแนวนี้ในภาษาไทย ภาพที่เห็นก็คนหัวแอฟโฟร มีดิสโก้บอล เพลงก็สดใสดีนะ”

พูดถึงยุค 80s แล้วนึกถึงอะไร
รู้สึกว่าเป็นยุคที่อบอุ่นดี เพราะยังไม่ค่อยมีเทคโนโลยีอะไรเท่าไหร่ เวลาเขาว่างกันก็จะมาฟังเพลงกัน บางทีก็ไปแดนซ์บ้าง นึกถึง house music ด้วย

ฟังเพลงนี้แล้วคิดว่าถ้าเป็นเซลล์หรือแบคทีเรียแบบไหน
Tetrahymena รูปร่างคล้ายเงาะ เพราะฟังแล้วนึกถึงแอฟโฟรก็เหมือนตัวนี้ แล้วก็เคลื่อนที่ซับซ้อนด้วย

poly-15 poly-16

ดร.ป๋วย อุ่นใจ

ตำแหน่ง  นักวิทยาศาสตร์, อาจารย์มหาวิทยาลัย
ศิลปิน/แนวเพลงที่ชอบ อินดี้, เพลงช้า, บอย โกสิยพงษ์

“เนื้อร้องโอเคนะครับ แต่ใน generation ผมเนี่ย บางเสียงที่โดนบีบ โดนดึงให้เข้ากับทำนอง ฟังแล้วบางทีก็ขัดนิดนึง ทำให้เราไม่ appreciate ไม่ค่อยอินกับเพลงเท่าไหร่นัก ดนตรีก็ strong ไปกว่าเนื้อเพลง มีเสียงเครื่องดนตรีที่แหลมขึ้นมาเลย ไม่ค่อยได้ยินเสียงร้อง กลายเป็นแค่ background ไปเลย แต่เนื้อเพลงก็โอเค เหมือนเพลงอื่น ที่ได้ยินทั่วไปในท้องตลาด แต่ก็ฟังได้เรื่อย ๆ ครับ เริ่มต้นแรก ทำให้นึกถึงเพลงเกาหลีนิดนึงในท่อนแรก แล้วก็ดูไม่เข้ากัน เพราะดนตรีสนุก แต่เนื้อเพลงเศร้า ถ้าฟังตอนแรกจะไม่รู้เลยว่านี่เป็นเพลงอกหัก คือ ถ้าจะเปิดบิ๊วให้ยิ่งเศร้าน่ะ เพลงนี้ไม่เวิร์ค ถ้าเปิดเป็นแบคกราวด์จิบเบียร์ ไวน์ ในเลาจน์นี่ได้เลย แต่เพลงนี้ซาวด์วินเทจ มาสมัยนี้อาจจะมีสิทธิ์เกิดนะ เข้ากับกระแสได้ดีมาก ฟังเพลิน ฟังได้เรื่อย ๆ ส่วนตัวก็ชอบนะ นึกถึงผู้ชายอกหัก นั่งเศร้าตามร้านอาหาร ดูเป็นผู้ชายเสียสละแต่ตัดพ้ออยู่กับตัวเอง ไม่กล้าไปพูดสิ่งที่รู้สึกจริง ๆ กับผู้หญิง”

พูดถึงยุค 80s แล้วนึกถึงอะไร
สมัยนั้นเป็นเพลงแปลงเยอะนะ 70s 80s จะมีเพลงที่ใช้ทำนองแบบเพลงฝรั่งเยอะ แต่การแปลงอาจจะแปลงได้ไม่ค่อย smooth เท่าไหร่ อย่าง Lemon Tree วง Pink Panther เอามาแปลงเป็นเพลง เพื่อวันที่ดี ทำนองเป็นแบบฝรั่ง แต่เนื้อเพลงไม่ค่อยเข้า

เพลงนี้จะเหมือนเซลล์หรือแบคทีเรียตัวไหน
สเปิร์มตัวที่มันไม่โดนผสม ยุ่งเหยิง เยอะ มีคู่แข่งมากมายมหาศาล แต่ไม่สามารถไปสู่เส้นชัยได้ เป็นสเปิร์มที่พ่ายแพ้

poly-17

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้