Interview

‘ผลไม้’ (Fruit) โดย Napat Snidvongs อัลบั้มที่เป็นบันทึกความทรงจำในเมืองใหญ่

ปี 2007 อัลบั้ม ผลไม้ หรือ Fruits งานของ Napat Snidvongs ศิลปินโฟล์ก อะคูสติก แอมเบียนต์ จาก SO::ON Dry Flower ได้ปรากฏสู่สาธรณชนเป็นครั้งแรก ‘เวลานั้น’ เราถือว่าหลายเพลงใน ผลไม้ เป็นเพลงที่พูดแทนชีวิตของเราและเพื่อน ๆ ที่ชอบแบ่งเพลงกันฟังได้เป็นอย่างดี และคาดว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเช่นเดียวกัน เลยทำให้เพลงของเขาถูกนำไปใช้ประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง

จนกระทั่งปี 2017 ในวาระครบ 10 ปีของอัลบั้ม ผลไม้  จึงถูกนำมา remastered และมีคอนเสิร์ตเล็ก ๆ เกิดขึ้นที่ร้านน้อง ท่าพระจันทร์ โดยมีแฟนเพลงมารอต้อนรับศิลปินคนโปรดกันอย่างอบอุ่น (ตามดูบรรยากาศงาน Napat Snidvongs : 10 Years Anniversary with Fruit Party มนต์ขลังผลไม้ ได้ ที่นี่)

‘เวลานี้’ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย เราได้ทักทายไปยัง พลัม—ณภัทร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ที่ใช้ชีวิตอยู่ในอีกซีกโลก เพื่อย้อนดูความทรงจำในวันวาน และ ‘ความรู้สึก’ ณ ขณะที่เขาได้สร้างสรรค์อัลบั้ม ผลไม้ ขึ้นมา รวมถึงถามไถ่ความเป็นไปในปัจจุบันขณะของเขาด้วย

ชีวิตในนิวยอร์ก

ตอนแรกมาเรียนหนังสือ ระหว่างนั้นก็ทำงานร้านอาหารไปด้วย ช่วงนั้นเศรษฐกิจไม่ค่อยดี พอเรียนจบก็รับทำฟรีแลนซ์ อัดเสียงในกองถ่ายหนัง ส่วนใหญ่ก็เป็นกองถ่ายนักเรียน พอทำไปเรื่อย ก็เริ่มมีออฟฟิศเขาจ้างไปทำ QC โฆษณา ไป มา ก็ได้ทำประจำ ตอนนี้เป็นพนักงานออฟฟิศ ทำงานเกี่ยวกับโฆษณา

ได้ยินมาว่าศิลปิน ผู้กำกับ ช่างภาพ ที่เป็นคนไทยในนิวยอร์ก มักจะรู้จักกัน

สังคมมันค่อนข้างเล็ก ส่วนมากก็เคยเห็นกัน บางทีก็เห็นกันผ่าน บ้าง ไม่สนิท มันก็แล้วแต่กลุ่มนะ บางทีก็ไปเจอที่กองถ่ายหนังเหมือนกัน คิดว่าที่คนไทยได้เจอกันเพราะมีน้องผู้หญิงคนนึงเขาไปทำโปรดักชันเฮาส์เลย เก่งมาก แล้วเขาจะทำงานแบบ low budget ให้เด็กนักเรียนไทยไปทำบ้าง สนุกดี แต่เวลาขออนุญาตไปถ่ายทำในสถานที่ต่าง ๆ ก็ค่อนข้างลำบาก พวกนั้นก็ดูเครียด กัน อย่างผู้กำกับไทยเวลาเขามาที่นี่ก็ไม่ค่อยเข้าใจ อยากเอานู่น เอานี่ โปรดิวเซอร์ก็เหนื่อย ต้องใช้มารยาเยอะมาก (หัวเราะ)

พลัมไม่ได้จบด้านภาพยนตร์ แต่อะไรทำให้มาคลุกคลีกับกองถ่ายหนัง

เราเรียนเกี่ยวกับสื่อ แล้วที่เข้าไปเรียนมันเหมือนไม่มีคนทำซาวด์ พอดีพี่อัดเสียงเป็นอยู่แล้ว ก็มีคนบอกว่าไหนมาถือไมค์หน่อยซิ’ ทำเรื่องแรกเสร็จก็ไปทำเรื่องอื่น ต่อ มีเรื่องนึง ทำหนังไอ้บาส (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ) ชื่อ ‘The Misbehavior’ หนังสั้นต้นเรื่องก่อนที่จะมาเป็น ‘Countdown’ มันไปถ่ายแล้วทำเครื่องอัดเสียงที่เช่ามาตก พี่เลยเอาเครื่องอัดเสียงอันนี้ไปรับงานต่อ (หัวเราะ)

ชีวิตวนเวียนอยู่กับหนัง เคยมีสักครั้งไหมที่หนังส่งผลกับเพลงของพลัม

ตอนเด็ก ก็ฟังซาวด์แทร็คหนังเยอะเหมือนกัน ตั้งแต่เริ่มเขียนเพลงก็เคยดูเรื่อง ‘Boys on the Side’ ที่ Whoopi Goldberg เล่นกับ Drew Barrymore มันจะมีตอนจบของหนัง Whoopi เขาจะร้องเพลง You Got it แล้วเขาร้องเพลงไม่เก่ง แต่มันอารมณ์ได้มาก ตอนดูก็รู้สึกตกใจ แล้วเราก็คิดว่า ร้องเพลงมันไม่ต้องร้องให้ได้แบบ The Star ก็ได้นี่หว่า ถ้าเขาร้องเพี้ยน แต่มันมีความรู้สึก และสื่อถึงคนได้ก็พอ

แล้วก็มีเพลงนี้ใน ‘Jerry Maguire’ Bob DylanShelter from the Storm ( Alternate Version )

กับเพลงจบ อิคคิวซัง

Napat Snidvongs แทบจะเป็นศิลปินที่ทำโฟล์กคนเดียวใน SO::ON Dry Flower ณ เวลานั้น

เรารู้จักพวกก้อง Goose อ้วน (อธิศว์ ศรสงคราม/ Armchair) แล้วก็ชวน ๆ กันเข้ามา เหมือนพี่โคอิชิ (Koichi Shimizu) เขาไม่ได้เป็นคนจะมาควานหาวงอะไรมากมายสมัยนั้น พี่โคอิชิเขาไม่ได้จำกัดนะว่าเป็นค่ายเพลงอะไร เขาก็ชอบหลายแบบ แล้วแต่ว่าเขาเห็นอะไรน่าสนใจในวง ยุคนั้นโฟล์กก็ยังมีน้อยอยู่ มีแรก ๆ ที่เริ่มเลยก็ จีน มหาสมุทร, Selina & Sirinya 

ตอนนั้นรุ่นพวกพี่ ก้อง อ้วน ฟัง Moderndog กันมา ชุด Love Me, Love My Life เนี่ย เขาทำเพลงเหมือนย่อย Radiohead มาผสมกับความเป็นไทย พวก SO::ON ก็เลยเอา Love Me, Love My Life มาขยาย คือเป็นเพลงไทยที่ abstract แทบไม่มีเพลงไทยทำตามตาม tradition ของอัลบั้มนั้นเลย พวก โยคีเพลย์บอย ชุดแรก ๆ หรือ Joey Boy มันมีสิ่งที่คนกลุ่มนึงรู้สึกว่า เฮ้ย อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเพลงไทย

เติบโตเป็น ผลไม้ ที่สุกงอม

พี่ว่าดนตรีในอัลบั้ม ผลไม้ เนี่ยมันคือการชนกันระหว่างเด็กที่โตมากับเพลงไทยปลาย 80s – 90s เช่น เฉลียง, Moderndog, Joey Boy กับการค้นพบเพลงอินดี้สมัยนั้นของพี่ก็วงพวก Belle & Sebastian, Kings of Convenience, Mogwai, Sparklehorse 

สมัยก่อนเพลงหาฟังยาก ตอนเริ่มฟังเพลงต้องไปที่จตุจักร แล้วพี่นอร์ Sonny and Nor เขาจะมีร้านขายซีดี ร้านเขาเป็นแผ่นที่ไม่มีลิขสิทธิ์ที่เมืองไทย ไม่มีใครนำเข้ามา ก็จะเป็นวงเล็ก แล้วพวกนักฟังเพลงเขาก็จะไปซื้อซีดีกัน สมัยนั้นอินเทอร์เน็ตยังไม่ค่อยดีเลย 

แล้วมันก็เป็นยุคแรกท่ีเริ่มมีการดาวน์โหลดเพลง เพื่อนเอาเพลงแปลก มาแบ่งกันฟัง เด็ก ยุคนั้นก็อยากทำเพลงเนื้อภาษาไทยแต่มีดนตรีเหมือนกับวงที่ชอบ ทำให้เกิดอัลบั้มอินดี้สมัยนั้นขึ้นมาหลาย อัลบั้ม ผลไม้ ก็เป็นหนึ่งในนั้น แล้วพี่เองก็ชอบเพลงพวก Dinosaur Jr., Red House Painters 

ส่วนเนื้อหา คือเราเพิ่งเริ่มทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศ ได้เงินเดือนหมื่นห้า ทำงานโฆษณาก็ต้องไปเจอลูกค้า ตอนเด็ก ก็จะไม่ค่อยพอใจ เราเลยอยากทำอะไรที่มันเป็นนามธรรมมากกว่าขายของ อยากเขียนอะไรที่เป็น abstract เลยได้แรงบันดาลใจของ Moderndog 3 อัลบั้มแรก ที่จับอารมณ์ของคนในเมืองมาเขียน

ที่มาของชื่อ ผลไม้ คือเราอยากหาอะไรที่มันมีความหวาน กินได้ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นของที่อยู่ในป่า มันมีทั้งความน่ากลัว ลึกลับ และมุมที่เป็นมิตรด้วย มันจับความรู้สึกที่น่าสนใจของเพลงในอัลบั้มตรงนั้นไว้

คิดว่าวิธีการเขียนเพลงสมัยก่อน กับปัจจุบันต่างกันยังไง

แค่รู้สึกว่าเด็ก รุ่นใหม่เล่นดนตรีเก่งกันเท่านั้นเอง แต่รู้สึกแปลกใจมากกว่าคือเด็ก เขียนเพลงภาษาอังกฤษกันเยอะขึ้น ไม่ค่อยเขียนเพลงไทย แต่ก็ทำได้ดีด้วย บางครั้งฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันเป็นมุมมองของคนไทย แต่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ มันเลยกลายเป็นว่าสิ่งที่เราไม่ได้สนใจหรือไม่ได้ชอบมากในทีแรกไม่ใช่ไม่ดี

แล้วทำไมไปรู้จักก้องกับอ้วนได้

พี่ชายของอ้วนเรียนมหาลัยเดียวกับพี่ แล้วเราจะได้ยินชื่อเขาว่าเป็นกีตาร์เนิร์ด ซ่อมกีตาร์เก่ง แล้วเขาก็ชวนไปเที่ยวบ้าน ก็เลยเจออ้วน ซึ่งบ้านอ้วนกับพี่อ้วน ก็คือชั้นบนของร้านก้อง (อ่านต่อ ก้อง Goose — เพราะชีวิตไม่ง่าย เลยอยากให้ Kǔ Bar เป็นอะไรที่เรียบง่ายที่สุด)

คิดว่า SO::ON Dry Flower นำเสนออะไรให้ซีนดนตรีไทยบ้าง

เวลามองกลับไปมันก็เป็นซาวด์ของยุคสมัย SO::ON, Panda Records มันก็เป็นกลุ่มคนคล้าย กัน สมัยนี้ก็มีค่ายใหม่ อย่าง Rats Records เงี้ย ไม่รู้ว่าได้เปลี่ยนอะไรหรือเปล่า แต่ก็ทำ ไปเพราะสนุกแหละ 

ตอนที่ไม่มี SO::ON Dry Flower แล้ว รู้สึกเสียดายไหม

ก็ไม่ได้เสียดายนะ เพราะทุกคนก็ติดต่อกันอยู่ มันก็เป็นเพื่อนกันน่ะแหละ เลยไม่ได้รู้สึกโรแมนติก อาจจะเป็นเพราะโตขึ้นทุกคนก็มีครอบครัว แต่ตอนเด็ก เราก็เข้าใจนะ เวลาคิดว่าทำไมพี่คนนั้นไม่ออกอัลบั้มซักทีวะ’ (หัวเราะ) พี่โคอิชิก็บอกว่าไม่ได้ปิดซะทีเดียว เดี๋ยวจะเปิดใหม่ก็คงจะบอก

เรารู้สึกว่าทุกคนโตขึ้นแล้วเขาก็ไปทำงานของตัวเอง เหมือนเขาโชว์ให้น้อง ได้เห็นว่าทำเพลงมันไม่ต้องทำเหมือนเป็นงานประจำอะ คือพอพวกก้อง อ้วน โตไปมันก็หาอาชีพอย่างอื่นทำ แล้วการเป็นศิลปินมันก็เป็นเวลาที่เราเอามาทำเป็นงานอดิเรกได้ ไม่ต้องให้มันมาเลี้ยงเป็นอาชีพ หรือเป็นร็อกสตาร์ เราก็จะไม่เครียดมากนักกับตรงนี้ อย่างพวก Desktop Error มันก็ทำงานอื่น เม้งก็ไปเล่นโฆษณา เห็นก็น่ารักดี เป็นอีก option ให้คนเลือก บางทีเราก็ไม่ต้องไปทัวร์ทุกอาทิตย์

เดี๋ยวนี้ฟังเพลงอะไร

แล้วแต่เลย เดี๋ยวนี้ใหม่ ที่ฟังแล้วชอบก็ Phoebe Bridgers เหมือนพอมันมี Spotify แล้วการฟังเราเปลี่ยนไปเลย มีอะไรขึ้นมาใน YouTube เราฟังแล้วชอบก็มี บางทีก็ไปฟังเพลงเก่า ที่ตอนเด็ก ฟังแล้วไม่ชอบ พออายุมากขึ้นมาฟังเราก็พบมุมใหม่ ของมัน อารมณ์แบบตอนที่พี่เด็ก ๆ พวกพี่ป๊อดเขาก็จะแนะนำอัลบั้มที่เขาชอบ ที่เขาอิน อัสนีวสันต์ อะไรพวกนี้ แล้วเวลาพี่ฟังพี่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน (หัวเราะ) คงเป็นเรื่องยุคสมัยแหละนะ

Track by track

แสงจันทร์ feat. Atit Sornsongkram

อัลบั้มนี้ทำประมาณ 2-3 สัปดาห์ก็เสร็จแล้ว แล้ววิธีทำสมัยนั้นไม่มีใครมีอุปกรณ์อัดเสียง ก็ได้ความอุปการคุณจากครอบครัวศรสงคราม ก็คือพี่ชายอ้วน กับอ้วนเนี่ยแหละ (หัวเราะ) เขาให้ไปค้างที่บ้าน ก่อนหน้านั้นทำเพลง เวลานี้ ไปก่อนตอนต้นปี เพราะมันจะไปอยู่ในอัลบั้ม Ghosted Note ของ SO::ON Dry Flower พอมาปลายปีก็ตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อ ก็มีเวลาประมาณ 6 เดือนว่าจะทำอัลบั้ม พี่โคอิชิก็บอกว่าให้ทำให้เสร็จก่อนงานแฟต ก็เลยไปขอความช่วยเหลือพวกอ้วน ไปนอนค้างบ้านมัน อัดเสียงกันอยู่ตรงนั้นแหละ แล้วบ้านอ้วนจะเป็นเหมือนที่ hangout ของเพื่อน ถ้าอ้วนหรือใครไม่ได้มีเรียน มันแวะเข้ามาแล้วมีท่อนนี้มันร้องได้พอดี ก็ให้มันมาร้อง

ตอนนั้นที่เขียน มันมีวงที่ชื่อ A Camp มีเพลงชื่อ Song For the Leftovers พวก Channel [V] ชอบเปิดบ่อย ตอนเขียนออกมาไม่ค่อยเหมือนหรอก แต่มันมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ เป็นคืนที่สงบ อยู่เงียบ เวลาปีใหม่เราไม่ได้ออกไปไหน

ฝน

เป็นเพลงแรกที่เขียนในชีวิต แต่เขียนแล้วมันไม่มีเนื้อ พอถึงเวลาทำอัลบั้มนี้เลยหยิบเนื้อขึ้นมาแต่ง เคยเห็นเวลาผู้หญิงฝนตกแล้วผมกระเซิง ไหม เราก็พูดประมาณว่าเวลาฝนตกมันทำให้เห็นความจริงในความสวยงามของผู้หญิงอะ คือมันก็ไม่ได้ดีหรือไม่ได้แย่ แค่ทำให้เห็นอีกมุมฝนพรำทำให้ได้เห็นความเป็นจริง’ 

เพื่อน

สมัยก่อนเวลาทำอัลบั้มมันก็ต้องคิดเป็นภาพรวม บางทีหลาย ๆ วงก็ใส่เพลงที่มันไม่เพราะเข้าไป เพื่อเบรกมู้ดเพลงที่มันไม่ได้มีเมโลดี้มาก เราก็คิดว่าถ้าเกิดในอัลบั้มมีแต่เพลงโฟล์กก็จะเลี่ยน เลยให้มีเพลงกีตาร์ดัง ขึ้นมาให้ตัดความเลี่ยน แต่เนื้อเพลงนี่ไม่แน่ใจเลยว่าเกี่ยวกับอะไร abstract มั่วไปเรื่อย มีอย่างเดียวที่นึกถึงคือ ’20th Century Boys’ (หัวเราะ)

ผลไม้

สมัยเด็ก พี่ชอบฟังเพลงของวงเฉลียง มันจะมีเพลงชื่อว่า โลกยังสวยอยู่ เนื้อเพลงจะพูดถึงเกสรดอกไม้ ‘ลมพาเกสรปลิวว่อน อีกไม่นานเกิดดอกไม้ชื่นชม’ ตอนจบของเพลงจะพูดว่าถ้ายังมองเห็นความงดงามของโลกอยู่ เดี๋ยวฝนตกก็จะมีต้นไม้ขึ้นมาใหม่’ ลองไปหาฟังดู พี่จิก (ประภาสชลศรานนท์ ร่วมด้วย เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ และ ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์) เขียนเนื้อได้ master มาก ตอนที่เพลง ผลไม้ ได้เป็นเพลงโฆษณา แล้วพี่จิกแชร์เพลงนี้ โคตรดีใจเลย พี่เขาคงไม่รู้หรอกว่าเราเป็นใคร แต่เรารู้สึกว่าเพลงมันได้ย้อนกลับไปที่แรงบันดาลใจที่เราเอาของเขามา

เวลานี้

ก่อนหน้านี้ SO::ON Dry Flower เคยมีอัลบั้มศิลปินอิเล็กทรอนิกจ๋า ฟังยากในสมัยนั้น มีศิลปินไทยที่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแล้วพวก CliquetpaR แบบ Aphex Twins เลยยังไม่ค่อยมีคนซื้อเท่าไหร่ เขาก็กะจะทำอันนี้ (Ghosted Note) เป็นภาคต่อ แล้วดันบังเอิญว่ามันมีคนพวกอ้วน พวก Goose ทำเพลงป๊อปมาผสมกับ experimental หน่อย พี่โคอิชิเลยสนใจ เอาวงพวกนี้ มีพี่ Space Bucha สมัยก่อนเมืองไทยน่าตื่นเต้นตรงนี้ เวลาเราเจอคนแบบเฮ้ย มีแบบนี้ด้วยหรอวะ’ เราจะทึ่งมาก

พอเขาบอกจะทำ compilation มีวันนึงพี่ไปเดินอยู่สยาม แล้วเจอ นิ้ม Goose รู้สึกวันนั้นเป็นวันหลังปีใหม่วันนึง วันที่ 2 มกรา แล้วนิ้มชวน บอกว่าว่าง ไปอัดเพลงไหม ก็เลยไปบ้านนิ้ม อัดตรงนั้นเลย แล้วพี่โคอิชิตามมาตอนเย็น เขาก็บอก ตรงนี้ยังไม่พอ เล่นเปียโนเพิ่มซิ พี่ก็ไปเล่น ไหนร้องคอรัสเพิ่มหน่อย ก็เพิ่มอะไรไปเรื่อย เขาบอกอะไรก็ไปทำตามเขา คืนนั้นเสร็จก็ออกมาเป็นเพลงนี้เลย

เนื้อหาในเพลงตอนนั้น ก็คือทำงานออฟฟิศ กลับมาบ้านก็หัดแต่งเพลง แล้วมันก็มีอารมณ์เหนื่อย นึกถึงตอนที่ยืนอยู่ใต้ทางด่วนแถวอนุสาวรีย์ชัย บรรยากาศมันประหลาดมาก เสียงในเมืองมันเวิ้งว้าง มันมีความรู้สึกของกรุงเทพ ฯ ของเด็กจบใหม่อยู่ในนั้น

ระหว่างทาง

ทุกอย่างมันออกมาจากอารมณ์เดียวกัน ชีวิตคนในเมือง อยากพักผ่อน อยากไปที่ที่มันสงบ แล้วตอนที่อัดมีเสียงบรรยากาศ เราอัดจากชั้นบนตึกแถว ด้านล่างมีคลอง ตรงบ้านก้อง จะมีเสียงคนขายก๋วยเตี๋ยวเขาล้างจาน อันนั้นก็เป็นส่วนนึงที่บอกว่าเวลาฟังเพลงแล้วนึกถึงพวกป้า ที่เขาทำมาหากินกันอยู่ใต้ตึก แล้วก็มีเสียงโมบายแขวน ด้วย

เหตุผล

เกี่ยวกับเพื่อนเรา เวลาคนเราได้มาเจอกันควรจะทำดีต่อกันไว้ และควรจะดีใจที่เราได้เจอกันวันนี้ ใครจะรู้ว่าพรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น เหมือนเนื้อเพลงฝนตก ก็อย่าเพิ่งไปบ่น มันอาจจะให้ความชุ่มฉ่ำกับเรา’ อะไรก็ว่าไป

กว่าจะมีอัลบั้มสองที่เป็น Self Titled ก็เกือบสิบปี

ตอนนั้นมาที่นิวยอร์กก็ชีวิตลำบากด้วยแหละ กว่าจะตั้งตัว มีคอมพิวเตอร์ไว้อัดเพลง (หัวเราะ) ก็ใช้เวลาหลายปีอยู่ พอมีเวลาว่างก็ทำสนุก

ตอนที่เพลงของพลัมได้ไปอยู่ในหนังเรื่อง ‘Hi-So’

เราไม่รู้จักกันกับผู้กำกับ (อาทิตย์ อัสสรัตน์) มาก่อน แต่ถ้าจำไม่ผิด เต๋อ (นวพล ธำรงค์รัตนฤทธิ์) เป็นคนตัด trailer ของ ‘Hi-So’ เต๋อจะเป็นคล้าย แฟน SO::ON Dry Flower รุ่นแรก เป็นผู้ผลักดันค่าย (หัวเราะ) เขาเอาไปใช้ใน trailer เฉย ไม่ได้อยู่ในหนัง แต่หลังจากนั้นคนก็ไปหาฟังกัน แต่ส่วนมากก็มีเด็ก ตามมาจากฟรีแลนซ์’ แหละ พี่ก็เลยไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันว่าแฟนเพลงเราเป็นคนประมาณไหน

กำลังทำอัลบั้ม 3 อยู่

จริง มีเขียนเพลงอยู่บ้าง แต่ไม่ได้รีบอะไร เสร็จเมื่อไหร่ก็เสร็จ ไม่เป็นไร พี่ เจ Penguin Villa เขาใช้เวลาทำอัลบั้มชุดที่ 2 กี่ปีนะ …14 ปี พี่ก็มีพี่เจเป็นตัวอย่าง (หัวเราะ) Yellow Fang ก็ยังไม่ได้ทำอัลบั้มใหม่ใช่ไหม เฮ้ย ทำอัลบั้มสองมันยากนะเว้ย! ชุดแรกมันเหมือนเก็บของมาเยอะ ปล่อยง่าย ชุดสองของมันเริ่มจะหมดละ

คนอาจไม่ค่อยรู้ว่าเวลาว่างของพลัมคือชอบดูรายการผี พวก Paranormal Witness

เฮ้ยรายการนั้นมันเก่าแล้ว (หัวเราะ) ตอนนี้มี ‘ช่องส่องผี’ แล้ว บ้านพี่โตมา คุณอาก็ชอบเรื่องพวกเนี้ย เข้าป่า เจอค่าง เหมือนอ่านนิยายพวก ‘ล่องไพร’เพชรพระอุมา’ ตอนเด็ก พี่ก็ชอบอ่านชีวิตพระป่า ที่เข้าไปธุดงค์อะ หรือ ‘อาจารย์ยอด’ ใน YouTube ไปหาฟังดู เขาจะเล่าเรื่องประหลาด ผี กระสือ เมืองลับแล สุดยอด แนะนำ

สถานการณ์ที่นิวยอร์กตอนนี้เป็นยังไงบ้าง

ที่ทำงานเขาให้ทำงานที่บ้าน เลยไม่ได้เข้าไปในเมือง ก็เห็นเขาชุมนุมกันก็รู้สึกว่าวันนี้ไม่ค่อยมีอะไรรุนแรงแล้วนะ ตอนวันเสาร์ค่อนข้างหนัก การประท้วงที่นี่มันใหญ่มาก เท่าที่เห็นตอนนี้บานปลายไปเป็นเรื่องการระบายความเครียด และโกรธแค้นกับสิ่งของและคนรอบข้างมากกว่า อย่างการ shame คนที่ไม่ได้ออกมาโพสต์เรื่อง BlackLivesMatter

เรื่องสีผิวเป็นเรื่องซับซ้อนของอเมริกา การที่คนตื่นตัวเป็นเรื่องที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงน่าจะเกิดจากประชาชนใส่ใจที่จะร่วมกัน เสียสละเวลา ความรู้ ความสามารถ มาช่วยกันพัฒนาสังคมรอบ ข้างในระยะยาวด้วย

จะกลับไทยเมื่อไหร่

อาจจะปลายปีนี้นะ

ฝากถึงแฟนเพลง

ฝากขอบคุณน้อง ทุกคนที่เอาเพลงของ Napat Snidvongs ไปทำธีสิสด้วยนะครับ ถ้าเกิดส่งมาพี่ก็พยายามดู รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักร้องเรียนจบ ได้ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ (หัวเราะ) ใครอยากได้เพลงก็เอาไปใช้เลย ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไร ไม่ต้องเขียนมาขอด้วย ถ้าทำธีสิสอะไรพวกนี้

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้