Article Interview

‘ประเทศกูมี’ Rap Against Dictatorship กลุ่มแร็ปเปอร์ที่ฟาดฟันกับเผด็จการด้วยฮิปฮอป

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Photographer: Chavit Mayot

Rap Against Dictatorship เหล่าแร็ปเปอร์ไทยที่รวมตัวกันเพื่อแสดงพลังผ่านเพลงฮิปฮอป หลายคนคงเห็นตรงกันว่าหนึ่งในเพลงที่ทรงอิทธิพลและสร้างแรงกระเพื่อมต่อสังคมได้อย่างรุนแรงที่สุดในปีที่แล้ว คงหนีไม่พ้น ประเทศกูมี  วิจารณ์ความอยุติธรรมในบ้านเมืองอย่างเผ็ดร้อนด้วยภาษาและการเปรียบเปรยที่เข้าถึงง่าย หยิบเรื่องใกล้ตัวหรือในข่าวมาวิพากษ์ย้ำเตือนถึงความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลให้ทุกคนฟัง แถมมีฉากหลังเป็น 6 ตุลาที่มีภาพสะเทือนใจคนไทยทุกคน กระแสบ้านเมืองยิ่งเป็นใจเมื่อรัฐออกมาเฝ้าระวังเพลงนี้อย่างจริงจัง จนทำให้คนต้องไปหาฟัง ท่ามกลางคอมเมนต์ทั้งดีและร้ายที่ถาโถมในโลกโซเชียล เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าเพลงนี้ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างดีที่สุดแล้ว

ดีใจมากที่ Fungjaizine ได้มีโอกาสคุยกับแร็ปเปอร์ทั้งสามคนอย่าง Liberate P, Hockhacker, K-Aglet ที่กล้าหาญเปิดหน้าต่อสาธารณชนว่าเป็นสมาชิกของกลุ่ม RAD ยืนยันว่าพวกเขาไม่ใช่ activist หรือถูกจ้างมา พวกเขาเป็นแค่แร็ปเปอร์ที่ไม่เอาเผด็จการ ชวนพูดคุยลงลึกถึงความในใจและเบื้องหลังของเพลง ประเทศกูมี กับการเมือง ก่อนเท้าความไปถึงประวัติศาสตร์ฮิปฮอปและวงการเพลงแร็ปในปัจจุบัน

Rap Against Dictatorship

กระแสของ ประเทศกูมี เป็นยังไงบ้าง เหมือนจะเลยจุดพีคมาแล้ว

Liberate P: view ขึ้นเรื่อย ๆ เนอะ

Hockhacker: น่าจะเหลือกลุ่มที่ชอบจริง ๆ แล้วครับ ไม่ได้ตามกระแสอะ ฟังได้เรื่อย ๆ วันหนึ่งเกือบล้านเหมือนกันนะ แล้วช่องทางอื่น ๆ ใน Spotify หรือ ฟังใจ เองก็มียอด เชื่อว่ามันยังมีคนที่ตามฟังในช่องทางที่ตัวเองถนัดอยู่ ผมไปดูอัพเดตฟังใจ, Spotify ก็ยังมีตัวเลขขึ้นเรื่อย ๆ

ตอนที่เราปล่อยเพลง ประเทศกูมี ออกไปแล้ว มันกระทบกับชีวิตส่วนตัวของเราบ้างไหม

Liberate P: มันก็ไม่ค่อยมีเท่าไหร่นะฮะ ก็มีที่ผมต้องแคนเซิลงาน Future Fest ที่ผ่านมา เหมือนกระทบนิดนึง ไม่ได้เงินทำโปรเจกต์นี้แต่ก็ต้องมาเสียค่าจ้างด้วย แต่มันก็ไม่ใช่ผลกระทบต่อชีวิตจริง ๆ จัง ๆ แต่ว่าผลกระทบแบบโดนจับตาอะไรเงี้ย แอบมีระแวงนิดนึง แต่ไม่ถึงมีผลต่อชีวิต ล่าสุดผมไปมหาวิทยาลัย พวกเจ้าหน้าที่คณะขอถ่ายรูป (หัวเราะ)

K-Aglet: ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษนะครับ มีญาติถามไถ่เป็นห่วงแค่นั้น ผมยังเรียนอยู่ด้วยเลยไม่ได้กระทบชีวิตประจำวันเท่าไหร่ (Hockhacker: ที่มหาลัยเพื่อนไม่ถามหรอ) ก็แค่ถาม อาจารย์ยังถามเลย ‘เฮ้ย ประเทศกูมี’ (ทำท่าชี้ ๆ) ขอถ่ายรูปก็มีบ้าง (ยิ้ม)

Hockhacker: ของผมไม่มีผลกระทบอะไร ทำงานอยู่กับ Rap Is Now อยู่แล้ว คนก็รู้จักอยู่แล้ว ไม่ได้ตื่นเต้นอะไร แต่กับญาติ ๆ เพื่อน ๆ ในเฟซบุ๊กก็มีที่เป็นห่วง ๆ ก็มีพี่บางคนที่เขายังไม่พร้อมจะเปิดตัวก็เพราะกลัวจะมีผลเนี่ยแหละ เราก็จะไม่ให้มาออกสื่อเลยครับ

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เพลงมันถึงเป็นไวรัลได้ขนาดนี้

Hockhacker: คืออันนี้มันเป็นจุดประสงค์แรกที่เราคุยกันตั้งแต่แรก ว่าเราต้องการคุยกับคนเมือง ชนชั้นกลางในกรุงเทพ ฯ แต่จริง ๆ ไม่ได้หมายความว่าเราต้องการสื่อสารกับชนชั้นกลางเท่านั้นนะ แต่อยากส่งสารให้ทุกคน แต่นัยสำคัญเราต้องการพุ่งไปที่ชนชั้นกลางมากที่สุด เพราะเค้ามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงประเทศได้จากการเมืองที่มันผ่านมา ทำให้เมื่อเพลงนี้มันปล่อยออกมาแล้วมันทำตรงนี้สำเร็จ ผมว่ามันคือสิ่งที่ทรงพลังที่ทำให้เรารอด จากการถูกคุกคามจากรัฐอะไรแบบนี้ เช่น พี่ติ๊ก เจษฎา บอกกำลังฟังเพลงประเทศกูมีอยู่นะ พี่ฟิล์ม รัฐภูมิ พี่ดี้เอง อย่างพี่ดี้ชัดเจน ที่เค้าเป็นคนละขั้วการเมือง ค่อนข้างไปทางสนับสนุน คสช. ด้วยซ้ำ แต่อย่างน้อยก็ออกมาเมนชันถึงเราในแง่ที่ ปกป้องนิดนึง แค่นี้มันก็ถือว่า เรารอดตัวไปนิดนึงแล้ว ถ้าคนพวกนี้เค้าซัพพอร์ตแปลว่าทางมันค่อนข้างสว่างอยู่

K-Aglet: มันอาจจะเป็นเพราะวิธีการเราด้วย เราเลือกวิธีการที่มัน touch กับ mass media คือตั้งแต่ที่เราไปรีเสิร์ชสิ่งที่อยู่ในสื่อกระแสหลักมาพูด วิธีการมาปล่อย YouTube การปล่อยตามสตรีมมิ่ง เป็นวิธีการของ mass media ที่คนทั่วไปในเมืองเข้าถึงได้ง่าย คนอื่น ๆ อย่างที่เราบอกว่าอยากให้ทุกคนได้ฟัง แต่สเต็ปแรกมันคือคนใช้ออนไลน์ เพราะเราปล่อยในออนไลน์ ก็เลยไปได้ไกล แล้วก็ touch กับกลุ่มกระแสหลักได้เยอะ

แล้วผลลัพธ์มันเป็นไปอย่างที่เราตั้งใจไว้ไหม

Hockhacker: เป็นในแง่ของการถูกพูดถึง เอาไปเล่นในข่าว ในสื่ออยู่หลายวัน อะไรที่มันเป็นสิ่งที่ประเทศไทยมีอย่างล่าสุดแท็กซี่ไล่พิธีกรเกาหลีลงจากรถ ก็ประเทศกูมี กลายเป็นวลีที่มาใช้ได้กับทุกเรื่อง คือสิ่งที่เราอยากให้เกิดแบบนี้ คำนี้มันถึงส่งผล

Liberate P: กลายเป็นคำติดปากไปเลย ทุกวันนี้ก็ยังมีอยู่ มี #ประเทศกูมี พอมีข่าวอะไรมา ที่มันแปลก ๆ แบบสายเคเบิลที่มันรก ๆ อะ #ประเทศกูมี มาละ ขยะคนไทยทิ้งไม่เป็นที่ อะ #ประเทศกูมี มาละ มันฟีเวอร์ไปกระทั่งเพลง เวิร์ดดิ้ง หลาย ๆ อย่าง ซึ่งเราก็คิดว่าอยากให้มันเกิดไวรัลขึ้นมา

Hockhacker: แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจขนาดนี้ เดือนแรกที่ปล่อยคุยกันว่า เดือนนึงขอซักสองสามล้านวิวใน YouTube อะไรงี้ แค่นั้นก็ดีแล้ว นี่คือมันเป็นแบบร้อยเท่าอะ

Liberate P: แต่เราแค่คิดไว้ว่า ถ้ามันเป็นงี้ได้มันก็ดีนะ มันเกิดความคาดหมายไปเยอะ คือเพลงประเทศกูมี ปล่อยไล่กับซ่อนกลิ่น ปาล์มมี่ แรก ๆ เรานำนะ หลัง ๆ ก็ตามกลไกการตลาดแหละ (หัวเราะ) ตีคู่กันมาเลย แต่เราก็ยังภูมิใจว่าเรามียอดไลก์เยอะกว่า (หัวเราะ) คือเราก็ประเมินแหละ ว่ามันไม่ใช่เพลงที่จะไปอยู่ในตลาดได้ขนาดฟังแล้วเพราอะไรขนาดนั้น มันก็เป็นเพลงเสียดสีหน่อย

Hockhacker: หนึ่งล้านไลก์ในแง่การปล่อยเพลงในตลาด แต่จริง ๆ เราก็ไม่ได้หวังจะไปอยู่ในตลาดขนาดนั้นแต่มันก็ทำได้ เพราะเราไม่ได้บิลด์เรื่องยอดออนไลน์ต่าง ๆ

มีความเห็นในทำนองที่ว่าเนื้อเพลงยังไม่คมเท่าไหร่

Hockhacker: ก็ย้อนกลับมาที่เราพยายามจะจับอะไรที่มันเป็นแมส มันเป็นกระแสหลัก ตอนแรกเราก็มีคำที่จะเสียดสี สะท้อนนู่นนี่นั่น สัญลักษณ์มันเข้าใจยาก แล้วมันจะลดเรื่องการเข้าถึงลง เราก็เลยเลือกคำ เลือกอะไรต่าง ๆ จัดวางให้มันฟังง่ายที่สุด ตั้งแต่ดนตรี ตัวบีต อะไรให้มันเป็นฮิปฮอปผสมกีตาร์เข้ามา ให้มันมีความเป็นดนตรีมากกว่าบีตฮิปฮอปที่จะเป็นกลอน เป็นลูป

Liberate P: แต่มันก็เป็นลูปแหละ แค่มันไม่ใช่เสียงสังเคราะห์ทั้งหมด มันเป็นกีตาร์สดร่วมอยู่ด้วย แอบแย้งนิดนึงว่าที่บอกว่าไม่คม จริง ๆ อะ ผมว่าอันนี้ไม่ใช่ว่าคมไม่คม ผมว่าหลายคนที่แต่งอยู่ในเพลงนี้อะ คมนะ แต่แค่ว่า ประเด็นมันสุดได้แค่นี้ ด้วยความพร้อม ด้วยสถานการณ์หลาย ๆ อย่างของประเทศเอง มันสุดได้แค่นี้ มันไม่สามารถลึกได้กว่านี้ (Hockhacker: ตอนแรกเราก็พยายามจะวางว่ามันไปถึงระดับไหนได้ แล้วลิมิตมันอยู่ระดับนี้จริง ๆ) เราก็เลยสรุปว่า คือความคมมันเป็นเหมือนเรื่องรองลงมา เราต้องทำให้คนฟังแล้วคิดถึงภาพรวมให้ได้มากกว่า ไม่ใช่เราไม่เอา คสช. จบที่ คสช. คสช.ออกไป มีเผด็จการใหม่มา มันไม่ใช่นะ เราแค่จะบอกว่า เราตั้งอยู่ในหลักการประชาธิปไตย เราไม่เอาเผด็จการก็คือไม่เอาเผด็จการ ไม่ใช่เราไม่เอา คสช. เท่านั้นเอง

ผ่านกระบวนการคิดมาแล้ว

Hockhacker: ตอนนั้นมันเหมือนห้องที่สัมภาษณ์นี่เลย มีกระดานเลย เราทำเวิร์กช็อป เราเรียกคนในเพลงมานั่งคุยกัน มีคนอื่นด้วย โยนไอเดีย เล่าเท้าความเรื่องการเมือง เรื่องประเด็น อยากเล่าอะไรกัน

Liberate P: ตอนแรกเราก็คุยกันก่อนเลนยว่า เรามีไอเดียการเมืองยังไง กับโปรเจกต์นี้ เราทำอะไรกันอยู่ ที่นี้คนที่เราชวนมาเราก็รู้ว่าเค้าไม่ได้คิดเหมือนกันทุกคน มันมีตั้งแต่ อย่าง K-Aglet ก็ไม่ได้อยู่ในวงสนทนาการเมืองที่คุยกันประจำ คือจริง ๆ มีแค่ในกลุ่ม RAD แค่คนเดียวที่ผมคุยการเมืองกันบ่อย คือทุกคนแยกกันหมด 7 คนเนี่ย แทบไม่เคยได้คุยการเมืองด้วยกันเลย (Hockhacker: แต่เรามองจากเนื้อหาเพลงที่เค้าทำ จากความสนใจที่เค้าฟีดในเฟซบุ๊กบางเรื่อง) แต่แร็ปเปอร์บางคนก็ไม่ได้พูดถึงการเมืองเลย แต่พูดในฐานะที่เค้าทำงานอยู่ เป็นชนชั้นกลางพนักงานออฟฟิศ

RAD ไม่ได้เอาแค่คนที่สนใจการเมืองมาอย่างเดียว แต่เราเอาคนที่มีแนวคิดต่อสังคมหลากหลาย ณ ตอนนั้นมาช่วยกันทำเพลง

Liberate P: ใช่ อย่างท่อนสุดท้าย จริงๆ ผมอยากชูท่อนนี้มากนะ มันเป็นท่อนที่แบบตัวคนร้องเองก็เคยเป็นฝ่ายเชียร์ฝั่งตรงข้ามมาก่อนด้วยซ้ำอะ ไม่เอาช่วงปี 53 ไม่เอาเสื้อแดง ไม่เอาทักษิณอะไรอย่างนี้ (Hockhacker: เชียร์ในเชิงของการซัพพอร์ตเผด็จการด้วยนะ) เรียกว่าตรงข้ามกับแนวความคิดเราเลยอะ แล้วเราชวนมา แต่กลายเป็นว่าเค้าแม่ง แต่งดีมาก ๆ ผมเคยเถียงกับเค้าเรื่องการเมืองด้วยนะ ผมโดนไล่ออกจากเฟสอะ แบบ ‘อันนี้เฟสกูนะ’ เบอร์นั้นเลย แต่พอมาแต่งเพลงนี้แม่ง เค้าสามารถทำได้ดีมาก ๆ จนตกใจ แค่นี้เราก็พอใจในส่วนนึงแล้ว

Hockhacker: ไม่ได้เห็นตรงกัน แต่ก็ทำงานด้วยกันได้ เราก็โอเค ถ้าคนนี้ทำได้ คนฟังก็น่าจะสามารถพร้อมจะรับฟัง

แล้วกับคนนี้ได้กลับไปคุยกันบ้างหรือยัง

Liberate P: ไม่ได้ทะเลาะกันครับ คือตอนนั้นเป็นเรื่องรถไฟความเร็วสูง แล้วคนนี้เค้าไม่เอารถไฟความเร็วสูง เป็นความคิดแบบ moral อะ คือควรพัฒนาจิตใจคนในประเทศก่อน แล้วค่อยมาพัฒนาอะไรแบบนี้ ทีนี้ช่วงนั้นผมเชียร์รถไฟความเร็วสูง แล้วผมฟีดบ่อยมาก จนมีเพื่อนผมไปเห็นโพสต์เขา มาบอกว่า ‘เนี่ยเค้าแซะคุณปะวะ เดี๋ยวผมไปตอบให้’ เพื่อนผมก็ไปตอบว่า ‘ไม่เห็นด้วยครับ’ คนนี้ก็เลยบอกว่า ‘ไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องเม้น’ แบบว่า ‘ออกไปนี่เฟสกู’ ผมก็เลยโทรคุยกันนิดนึงว่าแบบ ไม่ทะเลาะกันเนาะ

ในซีนฮิปฮอป มีคนที่ไม่ชอบเพลงเราไหม

Hockhacker: มี ไม่รู้ว่าอาจจะมีเยอะกว่านี้เห็นชัด ๆ ก็อาจจะมีแค่คนเดียว ที่สนับสนุนแนวคิดเชิงเผด็จการตลอด ถ้าหากเขามาทำให้ประเทศสงบ เราไปทำให้มันปั่นป่วนทำไม ก็มีคนแบบนี้อยู่ แต่ก็ไม่เยอะเพราะส่วนใหญ่เราก็จะเห็นจากคอมเมนต์ จากการซัพพอร์ต ที่เค้าตื่นเต้นกับพวกเรา

Liberate P: ส่วนใหญ่เบอร์ใหญ่ในวงการซัพพอร์ตเรา เค้าไม่ได้ออกตัวแต่มีการหลังไมค์มาว่า โอเคนะ เป็นไงบ้าง บางทีมีพี่เจ้าของค่ายทักมา ยังอยู่ดีใช่มั้ยครับ ผมก็สงสัยแบบ เฮ้ย เหี้ย เค้าสายใครป่าววะ (หัวเราะ) ออกแนวเป็นห่วง เค้าก็จะไม่ได้ฟีดหรือแชร์เพลงแต่จะมีหลังไมค์มา (Hockhacker: แต่คนที่ไม่เห็นด้วยเราก็ไม่ได้ไปต่ออะไรเค้า ก็รู้ว่ามันมีคนที่ไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว) คือเราคิดตั้งแต่แรกแล้วว่า มันมีคนไม่เห็นด้วยแน่นอน คือมันเป็นเรื่องปกติของ YouTube แหละ คือมันไม่ใช่เราไม่ให้ค่าเค้านะ แต่เราก็ฟังที่เค้าพูด แต่บางอย่างบางคนที่แสดงความคิดเห็นมา คือเราไม่สามารถเปลี่ยนเค้าได้แล้ว เราคุยกับคนที่เค้าจูนกับเราได้เท่านั้นเอง ประมาณนั้น

ตอนแรกตำรวจห้ามไม่ให้เราเผยแพร่เพลงนี้ แล้วคิดว่าอะไรทำให้อยู่ดีๆ ก็มากลับลำแบบนี้

Hockhacker: มันเป็นเรื่องของการตรวจสอบอะเนอะ ผมว่ามันเป็นเรื่องของสื่อมวลชน ผมไม่รู้ว่ากระบวนการแรกเค้าต้องพูดอะไร มันมาจากสื่อไปถามก่อนหรือเปล่า เพราะว่าสื่อเอาเรื่องไปถาม แล้วตำรวจถึงต้องไปฟัง ต้องออกข่าว หรือตำรวจฟังเองแล้วเรียกสื่อไปสัมภาษณ์ ซึ่งจริง ๆ ผมยังไม่กล้าชั่งน้ำหนักไปทางฝั่งไหนเลย แต่จากที่คุยมาเยอะ ๆ สุดท้ายเราปรึกษาทนายสิทธิมนุษยชนที่เค้ามาช่วยเรา ซึ่งเค้าก็ยืนยันว่าเนื้อเพลงเราไม่มีผิดแน่ ๆ ซึ่งเราก็มั่นใจตรงนี้ตั้งแต่เริ่มอยู่แล้ว (Liberate P: เราไม่ได้เอ่ยชื่อด้วยซ้ำ) เราตั้งใจในกฎหมายตั้งแต่เริ่ม เราไม่ได้ไปมีอะไรที่มันแตะแล้วผิดกฎหมาย เราก็ตั้งอยู่ในกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งเราก็ปลอดภัยในระดับนึงว่าเราไม่น่าผิดนะ แต่การออกข่าวเพื่อกดดันอะไรงี้ก็เป็นอีกเรื่องนึง ซึ่งตามความคิดผม ยุคปัจจุบันมันยากแล้วนะที่จะห้ามขายแผ่นนั้น แผ่นนี้ ปล่อยลงสตรีมมิ่ง เพราะมันคือสากลแล้วอะ คือแบบโลกสากลที่คุณจะฟังก็ฟัง คุณไม่ฟังก็ไม่ต้องกดฟัง แค่นั้น

Rap Against Dictatorship มีแผนจะต่อยอดเพลงนี้หรือยัง

Hockhacker: ไอ้ตัวต่อยอด มันคือ 8 บาร์ ที่ให้เค้าต่อยอดกันเอง เยอะนะ ไปดูตามในแท็กก็เป็น 100 หลายร้อยอยู่ แต่ผมว่า เราไม่ได้ต่อยอดอะไรอย่างจริงจัง ต้องเล่นอะไรต่อ

Liberate P: คืออย่างที่บอกเพราะคนเอาไปต่อยอดกันแล้ว คือมันเกินที่เราคิดไว้แล้ว บางอย่างเราไม่ได้คิดด้วยซ้ำ แต่พอมีคนมาทำเราก็ เออ มันโอเคนะ มันดี แม้กระทั่งคนเอาเพลงไปแต่งด่าเรากลับแบบนี้ โอเค ก็ทำให้มันมี movement อะ ทำให้คนตื่นตัวออกมาพูดกันมากขึ้น เรื่องอื่น ๆ ก็มีบางอย่างที่เราอยากทำต่อแหละ แต่ก็ต้องพัก

Hockhacker: ผมก็มีความคิดอยากเอาศิลปินอินดี้มาทำเวอร์ชั่นอินดี้ คัฟเวอร์ เอาดีเจ EDM แต่พอกระแสมันมาเยอะแล้วก็ ไม่ต้องแล้วแหละ (Liberate P: ปล่อยให้มันไหลไปเอง) เดี๋ยวว่ากันในแท็กต่อไปแล้วกัน ซึ่งจริง ๆ แผนของเพลงแรก คือเราจะมาจบที่อยากจัดงานคอนเสิร์ตของพวกเราเอง คอนเสิร์ต underground ซักงานนึง แต่มันยังไม่เกิด ก็มีคนมาชวนเราไปเล่นเหมือนกัน ก็เลยยังไม่ได้จัดงานของตัวเอง แต่ก็จะมีไปเล่นกับแวดวง underground ด้วย

ได้เตรียมเขียนเพลงใหม่หรือยัง อีกไม่กี่เดือนก็จะเลือกตั้งแล้ว

Hockhacker: เพลงใหม่มีอยู่แล้ว เป็นแผนที่มีอยู่แล้วช่วงต้นปีนี้ กุมภาอาจจะได้เห็น อาจจะมีการโปรโมต อาจจะเป็นเพลงที่ไม่ได้ไกล ชื่อเพลง Capitalism จะมีโครงเดิมอยู่ เป็นอะคูสติกเวอร์ชัน มีคนเคยฟังแล้ว

Liberate P: เป็นตัวที่ยังไม่มาสเตอร์ แต่ว่าตอนปล่อยจะมีเรียบเรียงใหม่ มีแร็ปเปอร์มาอีกหลายคน แต่ไม่ได้เยอะขนาดเพลงแรก คราวนี้จะเจาะว่าแบบ เป็นเพลงที่อยากเล่า

Hockhacker: หลังจากนั้นเราวางแผนว่าจะปล่อยสามเดือนเพลงนึง อาจจะไม่ได้ล้อกับกระแส เราไม่ใช่เพลงในกระแสอยู่แล้ว เราเป็นเพลงที่แบบพูดถึงโครงสร้างปัญหารวม ๆ ของเผด็จการ เพราะฉะนั้นจะพยายามให้มันออกทุก 3 เดือน อาจจะมีเพลงที่เป็นเดโม่แล้วเอามาทำ อย่างประเทศกูมีที่เป็นเดโม่ 8 บาร์แล้วเอามาทำใหม่ ปีนี้มาเรื่อย ๆ แน่นอน

จุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งสามคนมาสนใจการเมืองคืออะไร

K-Aglet: ครอบครัวฮะ พ่อผมเป็นตำรวจ แกดูสื่อ ดูอะไรประจำ ช่วงเสื้อเหลืองเสื้อแดงเค้าก็ดูข่าวตลอด เค้าก็แอบเชียร์เสื้อแดงอยู่ ผมก็ดู เค้าก็เปิดช่องอะไรของเค้าทุกวัน ผมก็ได้ซึมซับ พอโตมาตอนแรกเป็นเด็กต่างจังหวัด พอได้เข้ามาในเมือง ได้มาเห็นสังคม ผมก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องไกลตัว มันเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา ผมก็สนใจมากขึ้น

Liberate P: ของผมเริ่มจากช่วง ม.ต้น ก็คุยกับเพื่อน มาจากทางบ้านด้วยแหละ พ่อชอบพูดแบบรัฐบาลห่วยอะไรงี้ แบบเวลาเศรษฐกิจไม่ดีก็จะโทษไปที่รัฐบาล ผมก็แบบทำไมคนโต ๆ เค้าต้องโทษรัฐบาล ช่วง ม.ต้น ก็มีการตามประวัติศาสตร์การเมือง เริ่มรู้จัก 14 ตุลา 24 พฤษภาทมิฬ จน ม.ปลาย เริ่มตามหนักขึ้นละ แต่เป็นการตามการเมืองตอนนั้น เช่นแบบมีเหตุการณ์อะไรตอนนั้นบ้าง จน ม.6 เกิดรัฐประหาร 49 ช่วงเนี้ย ตามหนักจนกระทั่งขึ้นมาปี 1 ปี 2 ผมตามมาตลอด กลายเป็นคนเสพการเมืองไปเลย จากเคยมีความคิดฝั่งพรรคการเมืองแบบนี้ ก็เริ่มหลุดจากพรรคการเมือง หลุดจากบุคคล มาเรื่อย ๆ จน เราเริ่มรู้ว่า จริง ๆ แล้ว มันเป็นการต่อสู้ระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการมากกว่า ที่จะเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคนี้กับพรรคนี้ หรือพรรคนี้กับทหาร อะไรแบบนี้

Hockhacker: คล้าย ๆ กันครับ ของผมคือแม่มีหนังสือเกี่ยวกับเหตุการณ์ตุลา ได้ยินได้ฟังมา ซึ่งก็มาจากสิ่งที่แม่เล่า เพราะแม่ผมเรียนตรงสตรีวิทย์ ตรงราชดำเนิน ก็จะมีเรื่องเล่า เหตุการณ์ ที่มันไม่มีในหนังสือปกติเท่าไหร่ เราก็จะได้ยินจากแม่ ส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้เจาะในเรื่องเหตุการณ์การเมืองของพรรคเลย ที่บ้านก็เป็นประมาณแบบ ชนชั้นกลางที่ด่าตามสถานการณ์ อันไหนดีก็จะชม พรรคไหนที่ชอบก็ชอบ แต่ก็ไม่ได้ลงลึกไปถึงโครงสร้าง ประเด็นอื่น ๆ เท่าไหร่ แต่ที่นี้พอเราได้โตขึ้นเรื่อย ๆ ผมได้เห็นรัฐประหารครั้งแรกปี 49 รถถังออกมาแต่คนเอาดอกไม้ไปให้ทหาร คือไรวะ ทำไมรัฐบาลที่ทักษิณไปต่างประเทศแล้วต้องโดนยึดอำนาจ แล้วทหารก็ออกมา เปลี่ยนนายก เราก็งง ทีเนี้ยเราก็เริ่มอ่านมากขึ้นตอนที่เข้ามหาลัย ผมเรียนรัฐศาสตร์ ราม ฯ เล่น ๆ ก่อน แล้วค่อยมาเรียนนิเทศศาสตร์ เลยสนใจรัฐศาสตร์ ก็เลยเรียนเป็นวิชาโทอีกเป็นความรู้ เริ่มตามตอนมหาลัย แต่ว่ามันอินจริง ๆ ตอนเกิดเหตุการณ์กับคนรู้จัก ความไม่แฟร์กับคน อย่างเหตุการณ์ที่อินที่สุดคือเป็นโครงการหนังสั้นของรุ่นน้อง เค้าไปเชิญหนังเรื่อง ‘ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง’ มาฉาย ซึ่งมันคือหนังเกี่ยวกับแผ่นดินกัมพูชากับไทย มันไม่ได้เกี่ยวกับที่เค้าโดน mention แหละ แต่ว่าหนังมันผ่านเซนเซอร์มาแล้ว แต่พอเอามาฉายที่มหาลัย มันกลับมีคนเอาไปแจ้งตำรวจหรือทหาร ไม่รู้อะ แล้วมีคนมามหาลัย มาแจ้งว่าไม่ให้ฉาย เราก็เลย เฮ้ย ขนาดนั้นเลยเหรอ แล้วเราก็เป็นรุ่นพี่ที่รู้จักกับน้องที่ทำงานวันนั้น แล้วโครงการวันนั้นก็โดนยุบก่อนมีงานแค่สองวัน ทั้ง ๆ ที่เค้าจัดงานมาเรียบร้อยแล้ว กำลังจะมีงานแล้ว เริ่มมาอินจริง คือปี 3-4 แล้ว ตอนจะจบมหาลัยแล้ว หลังจากนั้นก็เลยตามการเมืองมาเรื่อย ๆ

Rap Against Dictatorship ได้ไปเคลื่อนไหวอะไรทางการเมืองกันบ้างไหม

Liberate P: ผมไม่เคยเลย ไม่เคยไปม็อบเลย แต่เคยไปม็อบ กปปส. ที่ศูนย์ราชการ คือมันใกล้ห้องผม ก็เลยลองไปดู อยากรู้ว่าบรรยากาศมันเป็นยังไง เพราะเราไม่เคยไปเข้าร่วมเลยแม้แต่นิดเดียว เลยลองเข้าไปดู แค่นั้นเลย

K-Aglet: ไม่เคยเลย

Hockhacker: ผมก็ไม่เคยเลย แต่ว่าเคยไปเขื่อนกับอาจารย์ศศิน (Liberate P: นี่ก็การเมืองนะ (หัวเราะ)) แม่ผมก็ไปเดิน ผมไปรอแม่ ไปอยู่ในที่ ๆ เค้าพูดกัน เคยไปนิด ๆ หน่อย ๆ อย่างจุดเทียนรำลึก อะไรแบบนี้ แต่ว่าไม่ได้เคยไปเคลื่อนไหวขณะที่เป็นม็อบการเมือง ที่เป็นเสื้อเหลืองเสื้อแดง ไม่เคย (Liberate P: ผมไปเป่านะ ซื้อนกหวีดเลย ซื้อของปลอมด้วย (หัวเราะ) ผมมีรูปด้วยแต่รูปหายไปไหนไม่รู้) ผมรู้ไม่ละเอียดอะไรเลย ว่ามีม็อบอะไรบ้าง จะสนใจแค่เคลื่อนไหวของกลุ่ม สายสิ่งแวดล้อมอะไรงี้ เราก็ไปรับจากตรงนั้นมา

แล้วจริง ๆ การทำเพลงเพื่อวิพากษ์สังคม มันยากไหม แล้วเราต้องเริ่มยังไง

Liberate P: มันเริ่มจากตัวเราก่อนนี่แหละ แร็ป มันคือสิ่งที่เราอยากพูด พอเราสนใจในสิ่งไหนก็พูดออกมาเป็นแร็ป  ซึ่งจริง ๆ มันไม่ใช่ข้อจำกัดซะทีเดียวว่าคือแนวเพลงการเมือง มันคือเพลงแร็ปที่เนื้อหามันเป็นการวิพากษ์การเมืองเท่านั้นเอง คือถ้าเป็นคนที่ไม่ได้สนใจการเมืองแล้วมาพูดการเมือง มันยากแน่ (K-Aglet: ไม่รู้จะไปเริ่มตรงไหนอะ ต้องไปหา ต้องไปดู) มันจะมีพวกเด็ก ๆ ใหม่ ๆ ไม่รู้ล่ะ ดิสไว้ก่อน Rap is Now ขอตั้งโจทย์มาแล้วก็ด่า มันก็เป็นจุดเริ่มต้นจุดนึง ก็คือ ผมว่ามันไม่มีความยากเหมือนเพลงทั่วไป เพราะเพลงแร็ปมันก็แต่งแล้วก็พูดเข้าไปเลย เหมือนเป็นการฟรีสไตล์

Hockhacker: แต่เพราะไม่เพราะอีกเรื่องนึงนะ (Liberate P: เห็นแอบใส่ไปในรายการ The Rapper ด้วย เรื่องการเมืองอะ คุณอะ) ก็ (หัวเราะ) มันก็ซึมลึก

K-Aglet: ผมว่าคนที่คิดเรื่องนี้ ซึมซาบเพลงเหล่านั้นเยอะ ๆ มันจะมีเรื่องวิพากษ์อยู่แล้ว มันจะอยากพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากพูดออกไป ในเนื้อเพลง แล้วมันก็ไม่จำกัด เนื้อหา จริง ๆ แล้ว เราพูดได้ทุกเรื่อง เพียงแต่อารมณ์ ณ ตอนนั้นเราจะพูดอะไรออกไป สิ่งที่เราเจอ อย่างตอนนั้นโจทย์ในรายการ The Rapper เป็นเพลง ภูมิแพ้กรุงเทพ ฯ พูดกรุงเทพ ฯ ในมุมมองที่เราเจอ ซึ่งมันก็มีเรื่องการเมืองเข้ามานิดหน่อย ซึ่งก็เป็นสภาพสังคมที่เราเจอมา เราก็เลยพูดไปในเพลงแค่นั้นเอง

Liberate P: อย่างบางคนที่เค้าทำเพลงเนื้อหาอื่น บางทีพอมันเป็นฟรีสไตล์มันแอบแทรกเนื้อหาการเมืองเข้ามานิดนึงมันก็มี บางคนเค้าไม่ได้พูดการเมืองทั้งเพลง เช่นแบบ 32 บาร์ เค้าอาจจะใส่การเมืองมาสองบาร์ อะไรอย่างนี้ ที่เหลือก็พูดจิปาถะ พูดไปเรื่อย คือมันค่อนข้างฟรีเวิร์ส พูดอะไรก็ได้

แต่อย่างน้อยก็ให้ลองทำออกมาดูก่อน

Liberate P: จริง ๆ ผมอะเริ่มจากการวิพากษ์อย่างอื่นด้วยซ้ำ ไม่ได้แต่งเพลงแร็ปมาวิพากษ์ บางทีเราวิพากษ์ตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว เถียงอาจารย์อะไรอย่างนี้ เรารู้สึกว่ามันไม่แฟร์กับนักศึกษาก็พูด ตั้งคำถามกับอาจารย์ ‘อาจารย์ครับ ตรงนี้มันน่าจะมีจุดอ่อน’ จริง ๆ ผมว่ามันคือสิ่งที่ควรทำ ควรมีคำถาม ทำไมเราต้องโดนสั่ง ทำไมเราต้องไปเข้ารับน้อง รุ่นพี่มาสั่งให้เราหมอบ แล้วเวลาบอกว่าใครไม่รับก็ออกไป พอออกก็เรียกกูกลับมาอีก มันควรมีคำถามว่ามึงทำอะไรกันอยู่

K-Aglet: ถ้าคนที่จะทำเพลงวิพากษ์การเมือง แต่ตัวเองที่จะพูด ยังไม่ใช่คนที่แบบ เริ่มวิพากษ์สิ่งรอบตัวได้ แล้วมาพูดการเมือง พูดเพลงการเมือง มันก็เหมือนเพลงการเมืองแบบเชื่อง ๆ คือพูดการเมืองแบบ แบบที่เค้าอัดเข้ามาตามสื่ออะไรให้เรา มันไม่ใช่การวิพากษ์ผ่านเพลง มันเป็นการพูดสิ่งที่เค้าใส่เข้ามาให้เรา พอมันมีข่าวเรื่องนึง มันก็จะแบบ ด่าแต่เรื่องนี้แหละ เอ้ย มึงโกง จะมีแค่เรื่องเดียว มันถูกเป็นเครื่องมือ มากกว่าเพลงที่ออกมาวิพากษ์

เพลงแร็ปวิพากษ์ที่ดี ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

Hockhacker: การตั้งคำถาม คือต้องตั้งคำถามกับทุกอย่างให้ได้ ทั้งสิ่งที่เราเชียร์ และสิ่งที่เราไม่เอาอะไรงี้ ต้องบอกข้อดีข้อเสียของทั้งสองฝ่ายได้ อันนี้คือการวิพากษ์ที่ดี แล้วควรจะต่อยอดให้มันเป็น ภาพรวมของโครงสร้างเพื่อแก้ไข ไม่ใช่ด่ากลับไปแค่นั้นจบ มันต้องไม่ใช่แบบนั้น มันต้องทำให้คนที่มาฟังต่อยอดได้ด้วย ไม่ใช่ฟังแล้วสะใจแล้วจบแบบไม่มีอะไรต่อ ก็จะเป็นอีกอัน แต่อันนี้เป็นแง่ของการวิพากษ์แบบ วิพากษ์นะ แต่ในเพลงมันดีไม่ดี มันตัดสินไม่ได้หรอก ทั้งดนตรี เนื้อหา จังหวะ เมโลดี้ มันไปเข้าคนฟังแค่ไหน อย่างที่บอกเราไม่ได้คิดว่าเพลงเรามันจะพุ่งอะไรขนาดนั้น

ในสายตาเรา ชนชั้นกลางตอนนี้ มองข้ามหรือไม่ใส่ใจกับอะไรมากพอ อาจจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ หรือว่าเรื่องอนาคต สิทธิ

Liberate P: อันนี้ผมเคยคุยกับคนที่เป็นชนชั้นกลางคนนึงนะ ผมจำมาเลย เค้าพูดประมาณว่าไอ้เรื่องจำนำข้าว มันเป็นการเอื้อต่อชนชั้นล่าง รากหญ้า แล้วกูเป็นชนชั้นกลาง กูไม่ได้อะไร คือการพูดแบบแฟร์ ๆ หมายถึงผมเห็นด้วยกับเค้านะ คือมันไม่ควรมีนโยบายอะไรที่เอื้อต่อคนเฉพาะกลุ่มมากเกินไป คือมันจะซัพพอร์ตได้แต่มันก็ต้องร่วมกันทุกกลุ่ม ซึ่งอันนี้ผมว่าเป็นการสะท้อนความคิดของชนชั้นกลางจริง ๆ อะ ว่าเค้าก็เหมือนกับไม่เคยถูกโอ๋เหมือนกันนะ คือประเทศเราโอ๋คนจนเยอะ

Hockhacker: ก็จริง ๆ มันก็พิสูจน์จากนโยบายรัฐบาลที่เราพยามจะยื้อคนจน นโยบายนู่นนี่ ซึ่งมันก็ดีในการลดนู่นนี่นั่น แต่มันก็สุดเกิน ไม่เห็นใจอีกฝั่ง ก็เป็นเหมือนกัน อย่างตอนนี้เป็นการแจกเงินคนจน อัดฉีด ซึ่งถามว่าถ้าเข้าข่ายคนจนทีนี้ก็จนกันหมดเลย ทำให้คนที่ไม่ได้จนจริง ๆ แต่ เฮ้ย มันได้ ก็เป็นหนทางในการหากินของเค้าไปอีก

Liberate P: แต่มะกี้ ที่ถามว่า แล้วเค้าลืมคิดอะไรไปหรือเปล่า ผมว่าเค้าลืมตรงนี้แหละ ลืมว่า พอมันมีรัฐบาลอีกชุดนึงทำขึ้นมา เค้าไม่ด่า ใช่มั้ย แต่เค้าด่ารัฐบาลที่เค้าด่า ที่เค้าเสียเปรียบ เค้าไม่ได้ใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับทุกรัฐบาล พอมันกลายเป็นรัฐบาลที่ตัวเองเชียร์กลายเป็นว่าเค้าไม่ด่า ผมว่าอันเนี้ยค่อนข้างไม่แฟร์

Hockhacker: ผมรู้สึกว่า ชนชั้นกลาง… คือจริง ๆ ผมไม่อยากแยกชนชั้นอะไรงี้หรอก แต่ว่ามันมีจริง ๆ มันมีบทบาททางการเมือง ใครที่เอาใจสื่อ คนในออนไลน์จำนวนมากได้ คนที่มีปากมีเสียงอะไรอย่างนี้ แล้วการรวมกลุ่มของม็อบที่จัดตั้งจากชนชั้นกลาง มันมีพลัง ทั้ง ๆ ที่จำนวนจริง ๆ มันน้อยกว่าคนต่างจังหวัดหรืออะไรแบบนี้อยู่แล้ว ซึ่งจริง ๆ ชนชั้นกลางคือคนต่างจังหวัดที่เข้ามาอยู่กรุงเทพ ฯ นี่แหละ แต่ว่ามันมีอำนาจความเป็นแบบคนเมือง พูดอะไรทีนึงต้องโอ๋ แต่การโอ๋เหมือนเป็นเครื่องมืออะ แบบว่า เฮ้ย มันมาทิศทางนี้ ต้องเอาใจนิดนึง สุดท้ายแล้ว เค้าอาจจะไม่ได้อะไร อย่างที่ Liberate P บอก แต่พอเค้าต้องการจำนวนในการเลือกตั้ง เค้าก็ต้องไปโอ๋กลุ่มคนที่จำนวนเยอะกว่าอยู่ดี คือกลายเป็นเครื่องมือในการเลือกตั้ง

Liberate P: คือมีสถิติล่าสุดนะ ก่อนหน้านี้เราเคยคิดว่าเสียงข้างมากเป็นเสียงของคนต่างจังหวัด พวกรากหญ้า เลือกเสื้อแดง พรรคเพื่อไทย อะไรแบบนี้ใช่มั้ย แต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดสมัยยิ่งลักษณ์ ถ้าวัดกันที่เขตจริง ๆ ถ้านับคะแนนเสียงจริง ๆ สมมติว่ามี 5 เขต เขตที่ 1 ชนะกันที่ 40 สมมติว่า เพื่อไทย ชนะประชาธิปัตย์ 53 ต่อ 49 อะไรแบบนี้ คือสูสีมาก ๆ แต่พอมันแพ้รวมกันแล้ว ชนะรวมกัน ๆ กลายเป็นว่าเพื่อไทยชนะ ได้สส. 100 ประชาธิปัตย์ได้ 60 อะไรแบบนี้ มันเลยดูว่ามันห่างกัน แต่ถ้าดูที่จริง ๆ มันสูสีกันมาก ตอนนั้นอะ ถ้าคนชนชั้นกลางทั่วไปยอมรับกติกา ให้หมดวาระ บางทีเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อไทยอาจจะแพ้ก็ได้ โดยที่ไม่ต้องรัฐประหาร (Hockhacker: มันอยู่ที่ความสูสีของกลุ่มด้วย) เพราะตอนนั้นความนิยมมันของเพื่อไทยก็ลดลงมากด้วย หลังจากที่ออกนิรโทษกรรม ลดฮวบเลย โดนทั้งฝ่ายเดียวกันด่า ชนชั้นกลางก็แบนไปเลยเงี้ย ทางฝ่ายเสื้อแดงเองก็แบน ไม่เห็นด้วย ค่านิยมลดลงเยอะมาก (K-Aglet: นี่จำแม่นมากเลย) ผมตามไง คือมันมีสถิติที่เค้ารื้อมาคุยกันว่า เพราะเหตุนี้ เราถึงต้องใส่ใจกับชนชั้นกลางมากขึ้น ว่าจริง ๆ แล้ว คะแนนเลือกตั้งมันไม่ได้ต่างกันแบบแดงทั้งแผ่นดินอย่างที่เค้าพาดหัว มันเป็นวาทกรรมที่สู้กันด้วยลมปากในทางการเมือง แต่ว่าช่วงหลังมาเนี่ย มันไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว คือคนที่ไม่ได้เลือกทักษิณ เพื่อไทย นี่เยอะมาก ๆ คือมันห่างกันครึ่ง ๆ แล้วอะ คือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 53 ต่อ 48 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่อนข้างเป็นตัวเลขที่แบบ สูสี ถ้านับเป็นจำนวนคน เพราเหตุนี้ มันเป็นข้อมูลนึง ที่ทำให้ผมเริ่มมีไอเดียว่าแบบ เออว่ะ เราควรจะคุยกับชนชั้นกลางมากขึ้น (Hockhacker: คุยกับคนกระแสหลักมากขึ้น)  ว่า จริง ๆ แล้วประเทศมันมีปัญหาอะไร คือมันเป็นเรื่องสำคัญที่แบบทำให้ต่อยอดขึ้นมาจนเกิดเป็นโปรเจกต์แรกขึ้นมา คืออันนี้ผมก็ไม่ได้เคลมว่าผมเป็นคนคิดเองนะ มันก็ข้อมูลจากพวกนักวิชาการนี่แหละ ที่เค้าชี้ว่าประเทศปัญหาเกิดมันจากอะไร นักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยเค้าก็พยายามชี้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร ทำอะไรยังไงเพื่อให้ประเทศมันหลุดจากสภาวะที่ขัดแย้งแบบนี้ ก่อนที่จะเขียนเนื้อเพลง ว่าเราต้องแต่งประเด็นมา หาใจความมันว่าเราจะคุยกับใครเป็นหลัก แต่เราก็ไม่ได้บอกว่าเราทิ้งชนชั้นทำงานหรือรากหญ้า แต่แมสเสจที่เราจะเลือกใช้ในเพลงกับหน้าที่มันจริง ๆ แล้วจะทำหน้าที่อะไร จริง ๆ เราไม่เคยพูดในการสัมภาษณ์อื่นเลยเนอะ เพราะก่อนหน้านี้มันเป็นช่วงที่ต้องเซฟนิดนึงอะ แต่มันเป็นการยืนยันว่า อันเนี้ย เราหลุดจากพรรคการเมืองแล้ว คือเราไม่ได้มานั่งแบบ กูเชียร์เพื่อไทย อะไรแบบนั้นน่ะ แต่เราเชียร์ประชาธิปไตยมากกว่าอะ เราไม่ได้มีพรรคการเมืองในใจ

คือไม่ได้มีนัยแฝงอะไร

Liberate P: ใช่ คือทุกคนมันมีพรรคการเมืองในใจแหละ ว่าชอบพรรคไหน นู่นนี่นั่น แต่สุดท้ายแล้ว พรรคการเมืองมันอยู่ภายใต้หลักการที่เรายึดอีกที ว่าเราต้องการประชาธิปไตยเท่านั้นเอง แค่พรรคไหนเห็นด้วยกับประชาธิปไตยเราก็ weight แยกออกมาต่างหากเลยว่า เราอยู่ในโซนนี้ เท่านั้นเอง

ในเพลงต่อ ๆ ไป Rap Against Dictatorship อาจจะเลือกแมสเสจอื่นอะไรแบบนี้

Hockhacker: ใช่ คือมันเป็นเพลงที่ฟัง อย่างที่บอกตัวเพลงมันฟังง่าย แล้วเราก็อยากให้มันฟังง่ายได้ทุกคน เปิดในบ้าน ในรถ ซึ่งตอนนี้มันก็ถูกเอาไว้เปิดในร้านเหล้า มันคือเพลงที่ฟังได้โดยที่ คุณอาจจะไม่ได้คิดลึกขนาดประเด็นนู่นนี่นั่นหรอก แต่ว่าฟังเอามัน มันก็ฟังได้ นั่นก็กลุ่มนึง เราก็ทำได้ตรงนั้นด้วย แต่ว่าคนที่ฟังแล้วเอาต่อยอดอย่างที่มันเกิดงานเสวนาเกิดขึ้น ตอนนี้เราโดนนักศึกษามาขอทำธีสิสหลายมหาลัยมาก มีอาจารย์เอาไปทำในวิชาเรียน ซึ่งอันนี้คือผลดีที่เกิดขึ้นที่เราชอบมาก ๆ ว่าในหน่วยการศึกษามีการเอาไปพูดกันต่อกับเพลงแค่เพลงเดียว คืออันนี้เป็นสิ่งที่ผมแฮปปี้ที่สุดเลยคือการเอาไปพูดถึงในวงการการศึกษา

ประเทศกูมี อะไรอีกที่ยังไม่ได้ใส่ไว้ในเพลง

Liberate P: เยอะครับ เยอะ เยอะ

K-Aglet: มีแทบทุกอย่างอะพี่

Hockhacker: เอาที่ผมเขียนไว้เองนะ ที่ไม่ได้ใส่ในเพลง ผมเขียนไว้เยอะมาก แต่ว่ามันค่อนข้างจะยิบย่อย มันควรจะไปอยู่ในเพลงแยกไปอีก ผมเขียนเรื่องขนส่งมวลชน เรื่องความเท่าเทียมของสาธารณประโยชน์ ทางเท้า อะไรเงี้ย การจราจร ทั้งในเมือง ต่างจังหวัด ผมอินกับเรื่องพวกนี้ แล้วก็พวกเรื่องการศึกษาที่ต้องแข่งกันเรียนในเมือง ในขณะที่โอกาสมันไม่เท่ากัน ประมาณนี้ ที่ผมอยากจะพูดเพิ่มเข้าไปอีก

อย่างเรื่องการศึกษาอยากให้ Rap Against Dictatorship ทำเพลงแยกมากเลย

Hockhacker: จริง ๆ มันมีคนทำนะ (Liberate P: ผมว่าจริง ๆ อย่างที่บอกแหละ ขึ้นอยู่กับใครสนใจเรื่องไหนมากกว่ากัน ซึ่งในตัวประเทศกูมี มันก็อย่างเงี้ย ใครอยากพูดอะไรก็พูด) คือตอนนี้ประเทศกูมีมันเป็นภาพรวม แต่สมมติเราหยิบแค่การศึกษาเรื่องเดียวไปยัดลงในบาร์นึงมันก็จะแปลกกับภาพรวมเพลงอะไรแบบนี้ ซึ่งมันก็มีคนที่ทำตรงนั้นอยู่ เราก็พยายามช่วยกันคนอื่น ๆ ที่พูดเรื่องการวิพากษ์ด้วย อย่าง Chitswift ก็เป็นคนนึงที่ชัดเจน

K-Aglet: เอาจริงผมก็พูดไปเยอะแล้วในนั้น แต่สิ่งที่ผมไม่ได้พูด มันเป็นเรื่องใกล้ตัว คล้าย ๆ พี่ฮอคเลย ผมจะเจอปัญหาพวกนี้เยอะมากในการเดินทาง โดยเฉพาะในกรุงเทพ ฯ ประเทศเรามีจริง ๆ มีรถติดตลอดเวลา ทางเท้าไม่สามารถเดินได้มีแต่รถวิ่ง มันใกล้ตัวมากแล้วเจอบ่อยมาก ๆ จริง ๆ

Liberate P: ผมขอยกตัวอย่าง ผมเรียนถาปัตย์ มันมีเรื่องที่ไม่เคยถูกพัฒนาผังเมืองให้ถูกต้องไปตามสิ่งที่มันควรจะเป็นเลยอะ มันกลายเป็นผังเมืองแบบมั่ว ๆ มันเลยทำให้เกิดปัญหายิบย่อย รถติด แผงลอย นู่นนั่นตามมาหมด คืออันนี้มันกลายเป็นภาพรวมของทุกอย่างอีกที ในความเป็นเมือง มันคือประเทศกูมี

แต่ละคนอยู่ในซีนฮิปฮอป กันมานาน เราเห็นพลวัตอะไรในซีนฮิปฮอปตอนนี้บ้าง

Hockhacker: คือเมื่อก่อนมันเป็นคอมมิวนิตี้เว็บบอร์ดอะฮะ เหมือนเป็นแค่แบบ ทำเพลงแลกเปลี่ยนกันฟัง เรื่องผลประโยชน์ทางเงิน ค่าจ้าง ค่าตัวน้อยมากเลยนะ คนไปเล่นฟรี ต้องจ่ายตังเต็มที่ 500 / 1,000 คือค่ารถเท่านั้นอะ จนช่วงตั้งแต่มี Rap is Now ครั้งที่ 2 เนี่ย ทุกอย่างเปลี่ยนเลย เริ่มมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเยอะมาก ผมไม่ได้หมายถึงเรื่องที่ไม่ดีนะ หมายถึงว่ารายได้ อะไรแบบนั้น แล้วการทะเลาะกันก็จริงจังขึ้น

Liberate P: ซึ่งเมื่อก่อนเป็นการทะเลาะด่าทอกันในเว็บบอร์ด เหมือนคนเกรียนด่ากัน แค่นั้นจบ อารมณ์ดีก็มาคุยกันต่อ แต่ตอนหลังมันเป็นเรื่องทะเลาะกันเรื่องเม็ดเงิน ชื่อเสียง การเมือง คือไอ้ตรงนี้ผมว่าเป็นการสะท้อนว่า มันไม่ใช่แค่เด็กทำแล้วอะ มันเป็นคนโตทำ เพราะไอ้เด็กตอนนั้นน่ะก็คือคนโตตอนนี้ ที่แบบเริ่มมีศักยภาพในการทำอะไรให้มันจริงจังขึ้น มากขึ้นเรื่อย ๆ ผมเลยมองว่า แร็ปในช่วงสิบสองสิบสามปีที่ผ่านมา ผมว่ามันต่างกันมากเลยนะ จากตอนช่วงปี 2007 ตอนนั้นเค้าเรียกกันว่ายุคทอง มีงานหน้า MBK คือตอนนั้นสยามสมัยมีน้ำพุ มีแต่คนแต่งฮิปฮอปจริง ๆ มีแบ่งแก๊งด้วยนะ แต่งแดงแต่งน้ำเงิน มีหมด ตอนนั้นคัลเจอร์อเมริกามีไร ไทยมีหมด รวมไว้ที่สยาม จตุจักรเป็นพวก mexican โกนหัว ใส่แว่น มันเป็นจริงจังเลยนะ เป็นแบบแฟชันด้วย แต่มันก็จะมีความเป็นเด็กอยู่ จนตอนหลังมันกลายเป็นธุรกิจหนึ่งโตขึ้นมาก แล้วสามารถหารายได้จากตรงนี้ได้ด้วยซ้ำ จากที่เมื่อก่อนมันเสียเงินไปกับค่าออพชันอย่างเดียว โดยที่ขอเงินจากพ่อแม่ หรืองานที่ทำอยู่ มันต่างกันเยอะมาก มันเปลี่ยนไปคนละเรื่องเลย

K-Aglet: แต่ก่อนผมเป็นเด็กที่ศึกษาดู ยุคก่อนเป็นอย่างที่ Liberate P บอก เราไม่สามารถไปแร็ปแล้วได้ตังค์ ต้องเสียตังค์ด้วย ควักเงินตัวเองเพื่อไปแร็ปให้คนอื่นเห็นหน้าอะไรอย่างนี้ แล้วแบบ การปล่อยเพลง ไม่มีฐานแฟนคลับอะไรแบบนี้ คือพอมันมีฐานแฟนคลับเข้ามา การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมันก็มีมากขึ้นด้วย อย่างแนวเพลงของผมคนอาจจะมองว่าไอ้พวกนี้มันแกนนำ old school ทั้งที่ผมก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นผู้นำอะไรอย่างนั้น แค่ชอบแนวเพลงนี้แล้วทำแนวเพลงนี้เท่านั้นเอง แต่คนก็ไปแบ่งฝักแบ่งฝ่าย พวกนี้นะแนวเพลงขั้วตรงข้ามกับแนวนั้นแนวนี้ ซึ่งผมรู้สึกว่ามันมีสีสันเยอะกว่าเมื่อก่อนมาก ๆ คือมันก็เป็นผลดีที่พวกเราจะหาผลประโยชน์ หากำไร

Hockhacker: จริง ๆ มันคือเรื่องการเอาแค่ความชอบมาเป็นอาชีพ ผมก็ทำงานประจำเพราะแร็ปนี่แหละ จากที่มันโตขึ้น ก็ทำอย่างอื่นแล้วมาช่วย Rap is Now จนมันเกิดธุรกิจริงจังขึ้นมาจากที่มันมีแร็ปเปอร์มีแฟนคลับซึ่งความยากของมันคือ จะดีลกับเพื่อนพ้องที่เป็นศิลปินยังไงกับดีลกับคนดูยังไงให้เค้ายังซัพพอร์ตเราอยู่ เนี่ยมันคือความยาก วงการมันโตขึ้นอย่างจริงจัง ยิ่งพอมี The Rapper มี Show Me The Money มันถูกเอาไปออกทีวี เป็นช่องทางพาแร็ปเปอร์ไทยไปสู่ระดับโลกได้แล้วจริง ๆ มันทำให้ฝันของเด็กที่ทำใหม่ ๆ มันต่างกับยุค Liberate P เลยอะ ทำเพราะชอบทำ ยุคนี้แม่งตั้งด้วยว่า กูต้องดัง กูจะเป็นแร็ปเปอร์ได้เงิน จุดมันเปลี่ยนไปเลย

K-Aglet: เป้าหมายการทำเพลงมันต่างไปเลย อย่างพวกผม Liberate P อาจจะเริ่มเพราะความชอบจริง ๆ ฟังต่างประเทศมาแล้วชอบ แต่เด็กยุคนี้ โห แร็ปเปอร์คนนี้แม่งรวย คนนี้แม่งเท่ เป็นอย่างงี้ ต้องเป็นให้ได้ เด็กอย่าง Diamond อะไรอย่างนี้ 15-16 มีตังค์ มีงานจ้าง งานโชว์ เด็กที่เริ่มใหม่ ๆ แม้แต่คนที่โตกว่าแล้วเพิ่งเริ่ม มันก็ตั้งอย่างนั้นเลย attitude มันเปลี่ยน จุดเริ่มต้นมันเปลี่ยน กระบวนการที่จะไปถึงจุดนั้นมันเป็นยังไง คือถ้าเค้ารีบไปเลยมันก็หายไป แต่ถ้าเค้าศึกษาคือรุ่นใหม่ ๆ เค้าไม่ค่อยศึกษา เทคโนโลยี อย่างยุคเว็บบอร์ดปัจจุบันมันรวมในเฟสบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ทุกอย่างมันทำให้ยกระดับ แล้วก็เร็ว มันมาเร็วไปเร็ว

Liberate P: เคยเล่นเว็บบอร์ดยุคนึงมั้ยฮะที่มันเป็นเว็บบอร์ดซื้อขายอะไรอย่างนี้ เวลาเรากด F5 รีเฟรช มันก็จะมีของเก่าค้างอยู่ มันก็จะมีของใหม่ เราก็รู้ความเคลื่อนไหวตลอดใช่มั้ยว่ามีอะไรใหม่มาบ้าง เมื่อก่อนเวลาเค้าลงเพลงมันก็จะฟีลนั้นอะ คือเราจะได้ฟังได้ทุกเพลง แล้วก็ไล่ฟังพวก Thaitanium อะไรอย่างนี้ คือเราสามารถหาฟังได้ครบ แต่ยุคนี้ฟังไม่ครบแล้ว คือยุคนี้มันเยอะมาก คือมันไม่รู้จักกันเลย (K-Aglet: คือแต่ก่อน ใครปล่อยเพลงเราจะรู้ตลอด เพลงใหม่มาอีกแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่รู้แล้ว) มันเยอะมาก เยอะแบบเยอะจริง ๆ เยอะมาก ๆ ด้วยความที่มันง่ายในการทำอะ ลงบีต โหลดมา จบ มันง่ายไปหมดเลย กลายเป็นว่ามันแข่งขันสูง แต่ยิ่งมีการแข่งขันมันยิ่งแข็งแรง คนที่อยู่รอดได้ก็คือคนที่แข็งแรงในวงการ อันนี้พูดในแง่อุตสาหกรรม ในวงการ ตอนนี้ต้องพร้อมจริง ๆ ตามตลอดใน What Drops มีใครปล่อยอะไรมั้ย แต่เมื่อก่อนคือเข้าไปในเว็บบอร์ดที่เดียวจบเลย Audioroom

Hockhacker: เทคโนโลยีเมื่อก่อนมันคือ ลงคลิปไป จะเห็นเลย แต่เดี๋ยวนี้คือลงในช่องตัวเอง ต้องทำยังไงให้คนตาม ต้องเปลี่ยนวิธีการ ต้องมานั่งโปรโมท หาแชร์ ฝากเพื่อนแชร์อะไรอย่างนี้ เมื่อก่อนจะรู้จักกันแม่งยากกว่าเดี๋ยวเนี้ย

Liberate P: เมื่อก่อนตอนปี 2007 พวกเด็กแร็ป ทำเพลงลง Soundclick แล้วก็โหลดบีทจากในนั้น ทำเพลงลงในนี้ จนกระทั่งปี 2007-2008 เนี่ย มันเริ่มมีคนอิมพอร์ต YouTube มาละ อัพเพลงขึ้น แปะลิงก์ลงในนี้ มันก็ยังไม่ฮิตนะ จนปีปะมาณ 2009 YouTube ฮิตมาก แล้วก็ระบาดแบบ พุ่งเลย

Hockhacker: เทคโนโลยีอะ ทำให้เพลงเปลี่ยน วิธีการการทำเพลงเปลี่ยน 

อย่างฝั่งแร็ปเปอร์อย่างนี้ เหมือนพอมีรุ่นใหญ่กรุยทาง มันก็จะพอเห็นว่ามันทำเป็นอาชีพได้

Liberate P: ยุคนั้นไม่เห็นเลยว่ามันทำเป็นอาชีพได้ ช่วงปี 2009 มันเงียบไปเลย ฮิปฮอปตายไปเลย

Hockhacker: ซักระยะนึงกว่าจะเข้าใจจากพี่กอล์ฟ F.Hero คือไปฟีตเพลงเยอะมาก ๆ เพราะว่ามันไม่มีคนที่จะขึ้นมาถึงระดับนั้นได้จริง ๆ มันมีแต่ Joey Boy, Buddha Bless, Thaitanium, Dajim คือมันมีแค่นั้นเลย แต่ตอนนี้งอกมาเต็มไปหมดแล้วอะ มันสอดคล้องกับทางต่างประเทศด้วย มันตายไปพร้อมต่างประเทศ พอต่างประเทศตาย ของไทยก็ตายหนักเลย ด้วยความที่ฮิปฮอปมันเพิ่งออกมาช่วง 2005 มาบูมสุด ๆ 2007 งานแฟตเริ่มมีโชว์เพลงแร็ป underground ช่วงนั้นทุกคนก็ไม่คิดว่าปี 2013 มันจะกลับมาอีกครั้ง ไอ้ช่วงนั้นหายไปเลยนะ ฮิปฮอปมันใหม่กว่าร็อก คือร็อกมันมีคนโต ๆ ขึ้นมาแล้ว แต่ฮิปฮอปช่วงนั้นมีแต่เด็ก เด็กแบบ 15-18 คนที่ 19-20 น้อย คือไปร็อกหมด ไปพังก์ ไปอีโม มันมีกระแสอีโมด้วยช่วงนั้นอะ ช่วง 2008-2009 เกือบครึ่งของเด็กแร็ปที่เป็นวัยรุ่น ไปอีโมหมดเลย ไว้ผมยาว เจาะหู เจาะปาก ช่วงนั้นมันเปลี่ยนวัฒนธรรมของเด็กกรุงเทพ ฯ แล้วก็ มันกลายเป็นว่ากรุงเทพ ฯ เงียบ กลับมาอีกที 2009-2010 มันไประบาดต่างจังหวัดแทน ขอนแก่น อีสาน เชียงใหม่ ช่วงนั้นก็กลับมาที่กรุงเทพ ฯ อีกทีนึง เพราะมี Rap is Now, Knock ‘Em Out แล้ว Rap is Now ก็เริ่มจัดคอมมิวนิตี้ในกรุงเทพ ฯ มันก็เลยกลับเข้ามาในกรุงเทพ ฯ อีกทีนึง กลายเป็นเข้ามาบูมในกรุงเทพ ฯ แล้วพอความออฟไลน์มันหายไปตามการเวลา ความออนไลน์มาเต็มรูปแบบไปเลย ตามเทคโนโลยี คือมาพร้อมกระแสโลก เอาง่าย ๆ เหมือนกับเพลงฮิตของโลกมันหายไป ในไทยมันก็เงียบ ถ้าของโลกมันมา ของไทยก็กลับมาช่วงปี 2012 พวก Wiz Khalifa, A$AP, Rocky เริ่มเข้ามาละ ช่วงปี 2012 ละ พอช่วงปีก่อน 2012 ไปเพลงร็อก เริ่มมาพร้อม EDM มาใกล้กัน ตีคู่มาเลย จนตอนนี้ EDM ร่วงไปละ แร็ปยังพุ่งไปเรื่อย ๆ

K-Aglet: มันเป็นกระแสโลกฮิปฮอปด้วย ประเทศเราด้วย

Liberate P: ปี 2010-2011 EDM เริ่มมาแล้ว มันยังไม่มีคำว่า EDM เป็นคำว่าเฮาส์พวก David Guetta อะไรอย่างนี้ Deadmau5

Hockhacker: มันมีฮิปฮอปไปฟีต เพลงตี๊ด ๆ

Liberate P: ยุคนั้นพวกเฮาส์แบบ Deadmau5 มันมาก่อน เริ่มมีจัดปาร์ตี้ในไทย เริ่มมีละ แต่ยังไม่ใช่เป็นเทศกาลแบบปัจจุบัน มีแค่คนเดียวมา พอผ่านไปยุคนึงช่วง 2012 พอ A$AP มาเนี่ย ทุกอย่างเปลี่ยน มันมาด้วยความใหม่ ความสะอึก โฟลวใหม่ เป็นต้นทางให้ต่อยอดแนวดนตรีเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ มาเป็นแบบ Tyga ตามมาติด ๆ อะไรเงี้ย ใครหลุดวงโคจรก็คือตามไม่ทันแล้วอะ ทั้งต่างประเทศทั้งไทย คือเป็นโรคเดียวกันเลย ถ้าไม่ได้ตามเทรนด์ไว้ จะหลุดไปเลย (K-Aglet: ต่อให้กลับมาแร็ปยังไงก็ไม่รุ่ง) ผมไม่ได้หมายความว่าทำแนวเพลงต่างจากแมสนะ ผมหมายถึงว่า ต่อให้เป็น old school อะ มันก็เป็น old school ที่มันเทรนด์กับปัจจุบันอะ มันไม่ใช่เทรนด์ยุคเก่าอะ มันถูกพัฒนาไปเรื่อย ๆ มันไม่หยุดนิ่ง ตัว old school เองก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกันกับ new school

Hockhacker: เปลี่ยนตามโลก คือถ้าหลุดตรงนี้ไป หลายคนกลับตามไม่ทันแล้ว สากลเองก็ตามไม่ทัน

K-Aglet: ของไทยเองเห็นได้ชัดเลย แร็ปเปอร์เก่า ๆ รุ่น Liberate P จะหายไปเยอะมาก

Liberate P: มีพยายามจะกลับมาบ้าง บางคน แต่มันมาแบบ ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ในวงการแต่ก็ไม่ได้ขึ้นมาขนาดจะเป็นอาชีพได้ หรือไม่ก็มาพร้อมอีโก้ความเป็นรุ่นเก่า อะไรอย่างนี้ ก็ตายไปพร้อมกับโลก

Hockhacker: แต่มีสิ่งหนึ่งที่มันยังไม่ตามเทรนด์โลกอย่างนึงคือ คอนเสิร์ตฮิปฮอปในไทยอะ มันยังไม่สามารถดึงคนได้ เพลงมันฮิตแค่ไหนก็ตามอะ แต่ว่าผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของ ตัวเงินค่าบัตร กับคนปัจจุบันที่มันจะจ่ายเงินตรงนั้นอะ คือฮิปฮอปมันมาดังกับกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเด็ก เค้าอาจจะไม่ได้มี budget ในการซื้อบัตรขนาดนั้น

Liberate P: อันนี้เท้าความกลับไปปีเก่า ๆ ช่วงปี 2007-2009 ยังเอาศิลปินพวกนี้มาได้มากกว่านะ เช่น Jay-Z, Snoop Dog, 50 Cent คือเบอร์ท็อป ๆ ในยุคนั้นมาหมดแล้ว

Hockhacker: แต่อย่างปัจจุบันอะ เราเอาเครดิตอะไรมาเงี้ย ก็ไม่ได้ ล่าสุดที่รอดคือ The Weeknd แต่มันไม่ใช่แร็ปเปอร์แบบสายแร็ป คือสายร้องอะรอด แต่ถ้าอย่าง Travis Scott เงี้ย ค่าบัตรเท่าไหร่ ค่าตัวเท่าไหร่ มหาศาล

Liberate P: เหมือนคนฟังแร็ปสากลน้อยลง ฟังแร็ปไทยมากขึ้น คนฟังเยอะนะ แต่มันไม่ใช่คนที่พร้อมจะจ่ายค่าบัตร อย่างงานอินดี้เอง 2,500 ก็คือแพงระดับนึง แต่ว่าถ้าจะเอาตัวดังฮิปฮอปมา ขึ้นต่ำคือ 2,500 แล้วนั่งไกลเลยอะ ไกลมาก บัตรที่จะดูดี ๆ คือ 4,000 อัพ แล้วให้แบบ คนจ่าย 4,000 อัพแต่ละงานมันก็ยาก คือปีนึงมีงานนึงก็โหดอยู่อะ โห จริง ๆ ก็แอบลุ้นอยากให้มันดีขึ้นนะซีนคอนเสิร์ตฮิปฮอปอะไรอย่างนี้ แต่ตอนนี้ก็เอารุ่นเก่ากลับมา ขายคนที่พอมีกำลังซื้อ ในฮอลที่ไม่ได้จุคนเยอะอะไรอย่างนี้ แต่ถ้าจะเอาระดับโลกอย่าง Travis Scott, Kendrik Lamar ยากมาก ที่จะมา

Hockhacker: ถ้า Kendrick Lamar มาบัตรแม่งต้องสตาร์ทแบบ 4,000 อะไรอย่างนี้

ในซีนฮิปฮอปไทยมีแบ่งแยกกันเป็นแก๊งรึเปล่า

K-Aglet: ก็ไม่ได้มีขนาดนั้นนะ เอาจริง ๆ มันน้อยแบบที่จะอยู่กินด้วยกัน ส่วนมากจะเป็นแบบอารมณ์เด็กเรียนพิเศษ ก็รวมเพื่อน แล้วก็แอดไลน์รวมกลุ่มกันในเฟซบุ๊ก คือแบบมีงานทีนึงค่อยเจอกัน อัดเพลงค่อยเจอกัน แต่มันก็ไม่ได้แบบ นอนกินด้วยกันเหมือนแก๊งจริง ๆ อย่างของฝรั่งบ้านแก๊ง ซึ่งพวกนี้มันจะมีเรื่องอบายมุขมาเกี่ยวแหละ มียา กัญชา ของไทยก็มี บางแก๊งที่ผมรู้ เค้ารวมตัวกันจริง ๆ แต่ว่ามันน้อย ถ้าไม่ได้เรียนก็คือไม่ได้เรียนไปเลย แล้วใช้ชีวิตด้วยกัน หารายได้ด้วยกัน กับอีกอันคือเด็กมหาลัยที่อยู่หอด้วยกัน ตั้งแก๊งฮิปฮอปกัน

Liberate P: ผมนึกออกเรื่องนึงละ คือตอนนั้นอะ ช่วงปี 2007 มันเป็นเด็กเรียนพิเศษนี่แหละ เรียนพิเศษสยาม พวกนี้จะมีแก๊งลุกคนรวย คนกรุงเทพคือพวกนี้จะมีเงินจ่าย ขอพ่อแม่ซื้อออพชั่น มาดูคอนเสิร์ตอะไรอย่างนี้ แต่ผมว่ายุคนี้ คนเหล่านี้ ไปตามเกาหลีหมด แล้วคนที่ตามแร็ปจริง ๆ มันไม่ใช่กลุ่มแบบนั้นที่มีเงิน (Hockhacker: เอาจริง ๆ เนื้อหาเพลงแร็ปเจาะกลุ่มตลาดล่าง มันเข้าถึงได้ง่าย) คืออย่างแร็ปที่หนัก ๆ ให้คนฟังยาก ๆ คือคนฟังก็ยิ่งน้อย ในยุคที่มันทำเงินได้แล้วเราก็ไม่ยากให้มันทำเงินได้น้อย ต้องทำอะไรที่แบบมีคนฟัง แต่มันก็ยังมีนะคนที่ทำตามอุดมการณ์ที่แบบ ยึดว่าเราต้องทำสิ่งที่เราชอบอยู่ แต่คนที่ดังหรืออยู่ในกระแสเค้าก็ต้องแบบเลี้ยงชีพเพราะฉะนั้นเค้าก็ต้องทำสิ่งที่มันดึงคนฟัง

Hockhacker: ส่วนเรื่องที่บอกว่าเด็กมีเงินมารวมกันจริง ๆ ซึ่งปัจจุบันมันก็ยังเป็นนะ งานฮิปฮอปอะ แม่งก็เจอกันน่ะแหละ รวมตัวกัน จับกลุ่ม ฐานะใกล้เคียง แต่งตัวแนวใกล้เคียง อย่างเด็กแก๊งบีบอยก็จะไปจับกลุ่มกันทำเพลงแร็ปด้วยกัน แยกไปตามฐานะ ร่างกาย บุคลิก ท่าทาง ของแต่ละคน

Liberate P: อย่างพารากอนจัดงาน Singha Battle of the Year 2008 TWOPEE ไปแข่ง ชั้นโรงหนัง เมื่อก่อนเป็นฮอลล์แสดง มีทุก element ไม่มีกราฟฟิตี้แต่มี DJ มีประกวดสแครชชิ่ง มีประกวด rap battle, mc battle, b boy สามอย่าง นั่นคือจุดสูงสุด ตอนนี้ไม่มีเลยนะ งานแบบนั้น

Hockhacker: ตอนนี้ใกล้เคียงสุดน่าจะ Never Say Cutz ที่มีแข่งบาส มีแข่ง performance battle ของศิลปิน มีวงไปเล่น แต่ก็เป็นฐานของ Never Say Cutz อย่างงาน K Battle ที่รวม element ฮิปฮอปจริง ๆ ก็ยังไม่ได้ความนิยมแบบนั้น

K-Aglet: การโปรโมตด้วย

Liberate P: มาบุญครองเมื่อก่อนนี้จัดทุกปี สยามฮิปฮอป แล้วก็จะมีเวทีทุกปี หน้ามาบุญครอง เด็กแร็ปมานั่งมั่วสุมกันดูคอนเสิร์ต เวลามี Singha Battle of the Year ก็จะแบบ เต็มเลยนะ เต็มเลย ส่วนใหญ่เป็นคนในกรุงเทพ ฯ อะ

บรรยากาศนั้นจะเอากลับมาได้ไหม

Hockhacker: ทุกวันนี้มันผ่านมาเยอะแล้ว มันไม่ใช่กลับไม่ได้

Liberate P: คือมันมีนะ มันเกิดขึ้นแล้วแหละ คนแนวอื่นมาฟัง มาดูศิลปิน แต่ผมว่ามันอยู่กับ mass media แบบหนัก ๆ ไปเลย แล้วในขณะที่ฮิปฮอป old school หรือสาย lyrical ที่เขียนเนื้อเพลงหนัก ๆ มันกลับมีคนฟังน้อย เอาง่าย ๆ กลุ่ม RAD จัดงานยังคิดอยู่เลยจะมีคนซื้อเหรอวะ หรืออย่างงานที่เราไปจอยล่าสุด The Title ที่เค้าเป็นสายฮิปฮอปกับเมทัลอะไรอย่างนี้ บัตรก็ไม่ได้วิ่งขนาดเป็นกระแส ทั้ง ๆ ที่เพลงเราก็ดัง ผมว่าคนไทยเพิ่งเริ่มตื่นเต้นกับฮิปฮอปอีกครั้งนึงอะ มันยังไม่ได้เข้ามาอินกับสายเนื้อหา ยังเป็นความเทรนด์อยู่  (Liberate P: ผมว่ามันมีช่วงนึงที่ มันพุ่งจริง ๆ คือช่วง Rap is Now จัดงานดาดฟ้าฟอร์จูน รอบชิง) อันนั้นเป็นช่วงที่จุดกระแสเลยอะ คือ Rap is Now 2 เป็นกระแสจริง ๆ ผมไม่เคยเห็นคนดูแร็ปเยอะขนาดนี้ 4,600 คน ขายบัตรไป บ้ามาก เอา TWOPEE ไปเล่น ตั้งแต่ยังเป็น underground แล้วก็เอา อพาร์ตเมนต์คุณป้า ไปเล่น แล้วคนก็ยืนดูกัน เอนจอย เป็นซีนที่สุดแล้ว Rap is Now ก็ยังอยากกลับไปจุดนั้น ยังไปไม่ถึงจริง ๆ ตอนนั้นเป็นช่วงกระแสที่พุ่งมาก แร็ปเปอร์ก็อยู่รอดหลายคนเลย จุดที่เปลี่ยนชีวิต Maiyararp, Nil-LhoHitz, Repaze, Darkface แม่งคือแบบ สี่คนสุดท้ายคนรู้จักหมดเลยอะ

ต่างชาติเค้าก็ทำฮิปฮอปการเมืองเป็นเรื่องปกติ แล้วในบ้านเรา นอกจากเทรนด์หรือการแต่งตัวแล้ว ธรรมชาติของซีนฮิปฮอปเราอยู่ได้ด้วยอะไร

K-Aglet: ส่วนตัวผมมันอยู่ได้เพราะว่าเรายังเห็นว่าวงการมันยังมีความเคลื่อนไหว สำหรับผมนะ คนทำเพลงหรือคนเสพฮิปฮอปมาตั้งแต่เด็ก มันยังมีอะไรให้ติดตาม ไทยและต่างประเทศ มันเป็นความชอบตั้งแต่เด็ก จะไปทำอย่างอื่นมันก็ไม่คือแล้ว ร้องเพลงลูกทุ่ง ก็ไม่ใช่สายแล้ว เราก็เลยต้องทำมันต่อไป

Hockhacker: ถ้าพูดถึงซีน อย่าง ประเทศกูมี เป็นการจุดกระแสฮิปฮอปขึ้นมา Liberate P ทำมาก่อนแหละ แต่พอมันเป็นคนเดียวมันก็แค่กลุ่มเล็ก ๆ แต่พอมันมี RAD มี ประเทศกูมี ขึ้นมา เราก็เลยมองจุดนี้ว่า เราเป็น hub ให้สายวิพากษ์วิจารณ์ เราอยากช่วยในการโปรโมต ให้มันมีกลุ่มขึ้นมา อย่างปีที่แล้วมีซีนบนทีวีละ จากรายการบนทีวี ก่อนหน้านี้มีซีนแบทเทิ้ลจาก Rap is Now มันต้องมาด้วยกันทุกซีนเพื่อให้มันแข็งแรง ไม่งั้นมันก็จะมาเป็นกระแสนี่แหละ สามปีแล้วเดี๋ยวปีหน้ามันจะหายไปมั้ย แต่พอมันมีซีนนี้ ปี 2018 มีซีนการเมืองละ เราก็ต้องดูว่า 2019 จะมีซีนอะไร ของฮิปฮอปเข้ามาอีก มันอาจจะเป็นซีนคอนเสิร์ตวงนอกก็ได้ ที่คนพร้อมจะดูแล้ว ถ้ามันมีได้จริง ๆ ผมก็พร้อมจะทำให้ อย่างน้อยมันต่อยอดอายุความแข็งแรงของเทรนด์ฮิปฮอปไปได้อีกหลายปีอะ

Liberate P: ผมแอบเสียดายนะ ตอนช่วงที่ประเทศกูมีมันแรง ๆ อะ ถ้ามันไม่มีการขู่จากภาครัฐว่าจะจับหรือเป็นเพลงที่ผิดกฎหมาย ถ้าช่วงนั้นไม่มีเรื่องว่าจะจับ คอนเสิร์ตอะไรแบบนี้ ผมแม่งโคตรพลังเลยนะ แอบเสียดายเหมือนกัน เอาจริง ๆ แล้วผมว่าการเบรกกระแสมันทำให้คนระแวง อันนี้ไม่เคยพูด คือมันมีคนติดต่อเรานะว่าไปเล่นมั้ย แต่ความเสี่ยงตอนนั้นในแง่ของการโดนอุ้ม แล้วมันไม่ใช่ร้านในกรุงเทพ ฯ ที่มันแบบรู้จักกัน คือร้านต่างจังหวัดเลย เค้าโทรผ่านโบรคเกอร์มา สายฮิปฮอปนี่แหละ เฮ้ย น้อง ไปเล่นมั้ย ภูเก็ต คือเราก็ เชี่ยเอ้ย เอางั้นเลยเหรอพี่ ขนาด พี่ปู พงษ์สิทธิ์ ยังโดนเอาปืนจ่อหัวมาแล้วอะ (หัวเราะ) เราพยายามคิดซีนที่จะเกิดขึ้นในร้านคือคนแม่งเมา ๆ แล้วพอวงเราขึ้น แบบ ‘ประเทศเหี้ยนี้มีอะไร’ แล้วถ้าเกิดแบบ เมา ๆ ขว้างขวด ขว้างอะไรขึ้นมา เราทำยังไงอะ แล้วถ้าไม่ใช่ขวด เป็นปืน แล้วคนเมา ถ้าเค้ามาเพื่อเมาเหล้า เค้าไม่ได้มาเพื่อแบบ จะมาเอนจอยเพลง แล้วเพลงเราไม่ใช่เพลงร้านเหล้า เป็นเพลงปลุกอารมณ์ แล้วถ้าเค้าไม่เอาด้วย ทำไงวะ ไม่ได้มีการ์ด ไม่ได้มีอะไร เราไม่ได้เป็นค่ายเพลงที่แบบมีคนมาดู เราไม่พร้อมเป็นพวก Bob Marley

Hockhacker: แล้วเราพูดกันเล่น ๆ แล้วสมมติมีคนที่ไม่ได้อินการเมืองแบบเรา เค้าไปกินเหล้า แล้วเค้าหงุดหงิดขึ้นมาแล้วเค้าเสือกมีอาวุธ แล้วเค้าขว้างขวด เอาแก้วแตกขว้างเรา ตะโกนด่าก็เสียแล้ว ‘ควยไร ไอ้เหี้ย!’ เราไม่พร้อมขนาดนั้น เราก็เสียดายที่ไม่ได้เล่นในช่วงที่มันเป็นกระแสแต่ว่าด้วยความปลอดภัยของชีวิต เราก็เลยยอมรับมัน ซึ่งตอนนี้ก็มีแต่งานที่จัดโดยคนที่เป็นฮิปฮอปด้วยกัน คนที่เป็นเพื่อนกัน เอาไลน์อัพที่เป็นฮิปฮอปด้วยกันเยอะ ๆ เพื่อความปลอดภัยของเรา อย่างน้อย ๆ คนมางานเพื่อมาดูศิลปิน ไม่ได้มาเพื่อมาเมา แล้วเราไปเล่นในร้านแล้วต้องรับความเสี่ยงเรื่องอารมณ์คนอะไรแบบนี้ คืออย่างน้อย ๆ ไลน์อัพอีเว้นต์ฮิปฮอป เค้ามาเค้ารู้อยู่แล้วว่าพวกเราเล่น แน่ ๆ แต่ก็พูดเหมือนมีงานเยอะเนอะ (หัวเราะ)

การออกมาเบรกแล้วมันเป็นข่าว กลายเป็นว่ามันยิ่งทำให้คนอยากมาฟังเพลงมากขึ้น คือกลายเป็นว่าอย่างที่บ้านผมไม่เคยฟังฮิปฮอป ก็ยังรู้จัก ประเทศกูมี ถ้ามันไม่ออกข่าวจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไหม

Liberate P: มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ไอ้แง่เสียที่ผมพูดก็คือ เรื่องที่ทำให้เกิดความคลุมเครือกว่า สรุปแล้วไอ้พวกนี่แม่ง ยังไงวะ

Hockhacker: ทุกวันนี้แม่งยังมีคนคิดว่าเราอะ เป็นพวกกลุ่มจัดตั้งด้วยนะ ไปแอบได้ยินมาจากพวกคนแก่ ๆ ถามมาทางเพื่อนอะไรอย่างนี้

K-Aglet: พ่อแม่เพื่อนผมว่าอย่างนั้นหมดทุกคนเลย เพลงพวกนี้อะ อะไรเงี้ย

Hockhacker: คือคนพวกนี้เค้าผ่านเหตุการณ์การเมืองมาหลายครั้ง มันคงมีอย่างนี้มา มีกลุ่มเคลื่อนไหวก็ต้องมีกลุ่มอยู่เบื้องหลัง

Liberate P: มันคือวาทกรรมที่สร้างโดยรัฐแหละ คือเมื่อไหร่ที่มีคนมาต่อต้านรัฐ ต้องมีทักษิณแน่นอน มีกลุ่มเสื้อแดง มีคนให้เงิน

แล้วตกลงได้ท่อน้ำเลี้ยงจากทักษิณจริง ๆ หรือเปล่า

Hockhacker: ไม่ได้ครับ (หัวเราะ) ตอนเนี้ย ยังไม่ได้ตังค์จากเพลงนี้เลย เพราะว่าช่องทางหลักเราคือออนไลน์ สตรีมมิ่ง

Liberate P: ถ้าผมได้นะ เพลงแรกที่ผมจะทำ ผมจะทำแบบมีสาวเลย รวย ๆ ใส่สร้อย ปาร์ตี้ ผมทำแน่ ผมบอกเลย (หัวเราะ) อย่างตอนที่ไปออกรายการแฉแล้วมดดำพูดขึ้นมาว่า ‘จริงป่าวที่ได้คนละสองล้านอะไรอย่างนี้’ ถ้าได้จริง ๆ นะสองล้านอะ ผมมาแน่ (หัวเราะ) ผมยอมเช่ารถโง่ ๆ สาวเต็มรถอะ มาแน่จริง ๆ ผมใฝ่ฝันแต่เด็กจริง ๆ นะว่าต้องมี (หัวเราะ) แต่ว่าต้องเป็นเงินของเราจริง ๆ อะ ไม่ใช่การเซ็ตขึ้นมาอะ

Hockhacker: อย่างตอนนี้มันก็มีแบบ online steaming YouTube พาร์ตเนอร์ แต่มันยังไม่ถึงรอบที่จะผ่านเกณฑ์ได้เงิน คือเราก็ยังไม่ได้เงิน ตอนนี้ แต่เราก็พยายามบิวต์ให้คนไปโหลดเพลง ไปฟังใน YouTube โดยไม่ต้องข้ามโฆษณา ให้ดูโฆษณาให้จบอะไรอย่างนี้ (หัวเราะ)

Liberate P: ซึ่งจริง ๆ มันก็เป็นวิธีการที่แร็ปเปอร์ในยุคปัจจุบัน อยู่ได้ด้วย YouTube ก็มีนะ คือเป็นลักษณะ YouTuber เค้าไม่ต้องไปรับงานโชว์ด้วยซ้ำอะ แต่เค้าปล่อยเพลง มีโฆษณาขึ้น แล้วเค้าไม่ต้องมีค่าย ไม่ต้องมีกระบวนการอะไรมากมาย เค้าก็อยู่ได้ แต่ว่าอันนั้นมันคือตัวคนเดียวไง พวกเราเป็นกลุ่ม อย่างน้อย ๆ ให้มันมีค่าเหนื่อยคืนมาก็ยังดี ก็พอใจแล้วแหละ แต่ทุกคนยังมีงานประจำ มีโปรเจกต์ของตัวเอง

ไม่แน่ปีนี้ พอปล่อยเพลงใหม่ RAD อาจจะโตขึ้น

Hockhacker: ใช่ คือผมว่ามันจะยั่งยืนในแง่ของเพลง ก็ต่อเมื่อคนฟังเอาด้วย แล้วก็สังคมเปิดรับมากขึ้น (Liberate P: สื่อสำคัญมาก) สมมติเราทำไปแล้วคนไม่ฟัง เราก็ทำให้แง่ของความชอบ การอยากเล่า แต่ตอนนี้ คนเอาไปพูดต่อ มีการตั้งคำถามต่อไป มีการคุยต่อ นั่นคือการเสริมให้มีการวิพากษ์กันมากขึ้นในสังคมด้วย มันก็จะเสริมให้ศิลปินกล้าทำแบบนี้มากขึ้นด้วย

Liberate P: แล้วมันก็จะกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่อะไรอย่างนี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติ ความรุนแรงมันก็จะดูลดลง เราก็ไม่ใช่กลุ่มโจมตีผิดกฎหมายอะไรอย่างนี้ ช่วงที่ผ่านมา มันทำให้รู้เลยว่าแบบสื่อมีผลมาก คือสื่อนี่แบบตัวเสี้ยมเลย (หัวเราะ)

Hockhacker: คือยิ่งไปห้ามอะ มันก็ยิ่งดูน่ากลัว เราพูดให้มันเป็นเรื่องปกติอะ มันก็คือเรื่องที่เราต้องพูดกันอยู่แล้ว เราควรจะพูดกันในสังคม ผมแยกเป็นสามแบบเลยนะ สื่อที่แอบเชียร์เรา ในความรู้สึกนะ แอบซัพพอร์ตเรา กับสื่อที่แอบไม่ชอบเรา กับสื่อที่จะขายข่าวเฉย ๆ ประมาณนี้ แต่จริง ๆ เราก็พร้อมจะตอบทุกคนแหละ แต่ว่าขอแค่อยู่ในพื้นที่ของเรานะ ถ้าเค้าถามอะไรแรง ๆ มาก ๆ เราก็จะแบบ พี่ผมขอไม่ตอบอะไรอย่างนี้ ซึ่งมันก็มีความเสี่ยง แต่เค้าก็จะเข้าใจว่า โอเค ทุกอย่างมันมีเหตุผลทางกฎหมายได้ เกิดเราพูดอะไรไปแล้วเค้าไปออกข่าวอย่างดีแล้วเราต้องมานั่งเหนื่อยเรื่องทนาย เรื่องกฎหมาย อะไรอย่างนี้ เรื่องตำรวจ เราก็เลยเลือกที่จะตอบแค่ในปริมาณที่เราตอบให้ข้อมูลได้

คิดว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้เด็กยุคนี้หันมาฟังฮิปฮอปมากขึ้น

Liberate P: กระแสโลกนี่แหละ แล้วก็กระแสในประเทศด้วยแหละ พอมันเริ่มเป็นกระแส ใครก็ฟัง แล้วทีนี้ ใครจะแยกสายไปฟังอะไรยังไงก็แล้วแต่ละ

Liberate P: คือมันก็มาจากความเป็นกระแสโลก แล้วก็กระแสในประเทศด้วยแหละ พอมันเริ่มเป็นกระแส ใครก็ฟัง แล้วทีนี้ ใครจะแยกสายไปฟังอะไรยังไงก็แล้วแต่ละ เทรนด์โลกมันยังอยู่ มันก็เลยยังอยู่ได้ แต่ถ้าเทรนด์โลกไป เทรนด์ไทยก็ไม่แข็งอย่างนี้ กระแสอาจจะตกไปเหมือนเดิม

เราเป็นแร็ปเปอร์กันมานาน แล้วเรามองหาอะไรในตัวแร็ปเปอร์หน้าใหม่ ๆ บ้าง

Liberate P: ผมว่าหน้าใหม่ควรมาพร้อมของใหม่อะ คือถ้าหน้าใหม่มาพร้อมของซ้ำ ๆ มันก็ไม่ใช่หน้าใหม่อะ มันก็เหมือนแบบ ผลิตซ้ำอะ ผมว่าอันนี้สำคัญ มันควรมีความหลากหลายทางแนวเพลงเยอะขึ้น เนื้อหาที่มันแตกต่าง

Hockhacker: จริง ๆ มันก็ยากนะ ยุคนี้มาทีเป็นหลายร้อยคน ก็อยู่ที่แต่ละคนแล้วว่าเค้าจะตามหาอะไรที่เป็นตัวเค้ามากที่สุด (Liberate P: ถ้าพูดเท่ ๆ ก็อยู่ที่อุดมการณ์คน ๆ นั้นแล้วอะ เค้าอินในวงการ ในความ unique แค่ไหน) จริง ๆ มันก็มีเคสของการผลิตซ้ำ แต่ประสบความสำเร็จนะ ในแง่ของเค้าทำตามสไตล์ที่เป็นกระแสฮิตน่ะแหละ แต่มันมีลุคบางอย่างที่ทำให้คนไปฟังเค้าด้วยเหมือนกัน ซึ่ง มันก็คล้าย ๆ กับส่วนแบ่งตลาดอะ ทำคล้าย ๆ คนนี้แต่ว่ามีนำ้เสียงที่ต่างกันไป แล้วคนก็แบ่งมาฟังอะไรอย่างนี้ ส่วนคนที่จะเกิดใหม่จริง ๆ มันก็ต้องมีความยูนีคของมตัวเองในการเป็นแร็ปเปอร์

อยากให้อธิบายวัฒนธรรมการแร็ปดิสให้ฟังหน่อย ว่ามันคืออะไร อะไรเข้าข่ายบ้าง อย่างเพลง ประเทศกูมี ถือว่าแร็ปดิสรัฐบาลหรือเปล่า

Liberate P: ผมว่า ถ้าเป็นเมนชันในแง่ของการไม่เห็นด้วย ผมว่ามันก็คือการดิสนะ แต่มันไม่ใช่ถึงขั้นแบบท้าตีด้วยเพลงอะไรอย่างนั้น แต่มันก็เป็นการโจมตีด้วยเพลงนิดนึง ซึ่งประเทศกูมีก็เป็นเพลงดิสหนึ่งเพลง แต่ไม่ใช่เพลงดิสที่ เหมือนแบบ ‘ไอ้เหี้ย ควยไรอะ’ (K-Aglet: มันไม่ใช่ท้าตี อะไรอย่างนี้ ส่วนใหญ่เพลงดิสมันมีหน้าที่เอาไว้ท้าตีคน) เพลงแบบนี้ส่วนใหญ่มันจะท้าตี ถ้าไม่ใช่ดิสแก๊งแก๊งเดียวก็เป็นคน ๆ นั้นอะ ออกรายละเอียดของคน ๆ นั้นไปอย่างชัดเจน

K-Aglet: อย่างประเทศกูมี มันก็เป็นเพลงดิสอย่างนึง มันคือเพลงดิสหนึ่งเพลง แต่มันไม่ใช่เพลงดิสอย่างเดียวอะ

Liberate P: มันเป็นเพลงวิพากษ์สังคม (Hockhacker: มัน represent มุมหนึ่งของประเทศไทย มันมีหลายเนื้อหา) คือถ้ามันเป็นแค่เพลงดิสอะ มันจะกลายเป็นว่า แค่เราด่าคนนึง

เหมือนท้าตีคน ๆ หนึ่งให้รู้ว่ากูจะหาเรื่องมึง

K-Aglet: แบบมาด่าอย่างเดียวเลย

Hockhacker: แต่ถ้าเราตั้งแง่ว่าเราจะทำดิสอะ ผลลัพธ์มันจะไม่ใช่แบบนี้ มันจะกลายเป็นเพลงที่ปลุกระดมคนแค่กลุ่มเดียวแล้วเราก็จโดนคนอื่นด่ามากกว่านี้ด้วย ถ้าเกิดเราตั้งเป็นเพลงดิส แต่เราจะพยามเล่าเรื่อง พยายามจะ represent ว่าเรามีเนื้อหาประมาณนึง

Liberate P: จริง ๆ มันไปทาง represent มากกว่า แต่เป็น represent ความเนกาทีฟ

K-Aglet: เรื่องแย่ ๆ ออกมา

Hockhacker: เป็นเพลง critical ที่ว่า วิพากษ์ เหมือนมีคนถามเหมือนกันว่างั้นคือเพลงดิสหรือเปล่า

Liberate P: มันไม่เชิงดิสซะทีเดียว มันเหมือน represent ซะมากกว่า มันคือการ represent ของเสีย

แล้วอย่างวัฒนธรรมการแร็ปดิสมันโอเคในบ้านเราจริง ๆ หรือเปล่า

Liberate P: โอเคนะ ผมว่าโอเค

Hockhacker: ที่ Rap is Now อยู่ได้ก็เพราะการแร็ปดิสนี่แหละ (หัวเราะ) ถ้ามันไม่โอเคก็คงอยู่ได้

เหมือนอย่าง Rap is Now เนี่ย เราก็จะรู้ว่ามันคือการแข่งขันอะ แต่แล้วถ้าอยู่ดี ๆ เราทำเพลงด่าล่ะ

Hockhacker: จริง ๆ เดี๋ยวนี้ มันน้อยลงนะ มันจะเปลี่ยนวิธีการไปบ้าน อย่างดราม่าระหว่างระดับเซเล็บที่เป็นคู่แฟนเก่ากัน มันโดนกระแสในออนไลน์เยอะประมาณนึง ที่ฝั่งผู้ชายทำวิดีโอล้อซีนใน mv ของแฟนเก่าเค้า ก็เป็นการดิสในเชิง mv แล้วเนื้อหาก็นิดนึง แต่ก็ไม่ใช่การดิสแบบ มึง มันเหี้ย แต่มันก็เป็นเพลงรัก แต่ก็เป็นการหักลบกัน เพลงล้อ อะไรประมาณนี้

Liberate P: อันนี้ผมว่าหายไปพร้อมกับกระแสโลก คือตอนนั้นเพลงนั้นพวกเพลงดิสมันมาจากพวก West coast, East coast

K-Aglet: อย่าง Tupac กับ Biggie ทะเลาะกัน ก็มีเพลง

Liberate P: มันจะเขียนเลย ว่า This track dis Tupac อะไรอย่างนี้ ดิส Biggie ดิส Eazy-E อะไรอย่างนี้ มันเริ่มมาจากวัฒนธรรมนี้ คือเพลงดิสสมัยก่อน มันเหมือนการส่งจดหมายบออะ ว่า ‘ไอ้เหี้ย กูจะยิงมึงนะ’ คือมันยิงจริง ๆ นะ ตอนนั้นอะ เพราะมันมีความเป็นแก๊งสูงอะ สมมติบอกในเพลงว่า ‘ถ้ากูเจอมึงเมื่อไหร่กูกระทืบมึงแน่’ เงี้ย ถ้ามันเจอจริงมันก็กระทืบตามเพลงเลย แต่ตอนหลังมันถูกพัฒนามาเป็นแนวเพลงนึง แต่เมื่อก่อนแนวเพลงดิส มันคือการดิสจริง ๆ อะ ก็กลายเป็น rap battle ขึ้นมา

Hockhacker: มันจะมีอย่าง เคสล่าสุดของต่างประเทศนะ ที่ Eminem กับ MGK (Machine Gun Kelly) ที่แบบ eminem ใส่เข้าไปใส่อัลบั้มตัวเอง แล้ว MGK ก็มาตอบกลับอะไรอย่างนี้ แล้วคนก็อินกันอยู่พักนึง สุดท้ายแม่งมาเฉลยว่าโปรดิวเซอร์แม่งคือคนเดียวกัน อะไรอย่างนี้ คือมันมีคนเบื้องหลังคนเดียวกันอะ

Liberate P: คืออันนี้เหมือนเป็นคัลเจอร์ที่หายไปของเมกาเหมือนกันที่เพลงดิสมันไม่ได้ถูกใช้กันมานานแล้ว แล้วถูกกลับมาใช้ประปราย อย่าง Drake ด่า Lil Wayne แล้วก็ด่ากันไปมา

K-Aglet: ตอนนี้รู้สึกกว่ากระแสดิสแร็ปมันกลับมาอีก อย่าง Joyner Lucas แม่งก็เอา

Liberate P: คือมันกลับมาช่วงตอนที่ Eminem ปล่อยอัลบั้ม คือมันเหมือนเป็นการสร้างกระแสแหละ แต่ผมว่ามัน ไม่ได้อินดิสเหมือนสมัยก่อน

Hockhacker: ของไทยเองมันก็แทบจะหายไปเลยนะ คือดิสมันต้องมีชื่อ มันต้องมีคำที่บอกว่าเป็นคนนั้น มันต้องหักกันอะ แต่เดี๋ยวนี้มันกลายเป็นว่า ดิสลอย ๆ ไม่ระบุ (FJZ: แซะ ๆ) (หัวเราะ) พูดลอย ๆ

K-Aglet: คือแร็ปดิสไทยพี่นึกถึงใครเอานี่ดีกว่า ผมก็นึกถึงแทร็คเดียว คู่เดียวอะ (หัวเราะ) ผมนึกถึงคู่นั่นของไทย

Liberate P: คือ P9D กับ Illslick อันนั้นชัดเจน มันสุดในยุค ชัดเจนคือสองคน

การทำ disstrack สมัยนี้กลายเป็นเรื่องของมาร์เก็ตติ้งไปแล้วหรือเปล่า

Liberate P: ใช่ผมว่ายุคสมัยมันทำให้เป็นอย่างนี้

K-Aglet: ผมว่ามันสอดคล้องกับบ้าน เรา ผมยกตัวอย่างกรณีเสี่ยโป้เลย ท้าต่อยเนี่ย คือบ้านเราชอบอะไรอย่างนี้อยู่แล้ว ฉาวโฉ่เพื่อได้งานอะ แล้วที่เหี้ยคือ เสี่ยโภชจ้างด่านะ แบบ ผมไปจ้างเสี่ยโป้ท้าต่อยผม ผมดังเลยนะ จากที่ผมไม่มีชื่อเงี่ย มันคือการจ้างจริงนะ เพราะผมมองว่ามันคือธุรกิจอย่างนึงไปแล้วอะ

Hockhacker: ประเทศไทยมันก็พร้อมจะดูอะไรพวกนี้นะ ที่แบบ ท้า ๆ กัน มันสนุก ไม่งั้นพวกรายการคุยข่าวเค้าจะอยู่ได้เหรอ มันเหมือนเป็นสิ่งบันเทิงอย่างนึง แต่แค่แบบ แตกต่าง ในเพลงแร็ปมันอาจจะยังไม่ถึงระดับนั้นอะ ที่แร็ปเปอร์ด่ากันแล้วต้องถูกเชิญไปออกทีวีอะไรอย่างเนี้ย

Liberate P: อันเนี้ยผมว่าเป็นที่ Rap is Now รณรงค์ว่าเป็นแร็ปเปอร์ด่าเสร็จ กลายเป็นว่า ด่าเสร็จมันไม่มีเรื่องต่อยกัน พอมันไม่มีดราม่า มันนิ่ง ถ้า Rap is Bow ดันให้แบบว่า ด่ากันทะเลาะกันจริง ผมว่าแม่งจะมันเลย (K-Aglet: เหมือนรายการเกาหลีอะ อันนั้นแม่งเสี้ยมจริง) ผมว่าอันนี้มันจะทำให้มันเรียลขึ้น จากแบบ ไอ้เหี้ยด่ากันแทบตาย สุดท้ายกอดเฉย อันนี้ผมแอบไม่เห็นด้วย สายเดือด คืออย่างรอบที่ NAMEMT เจอกับ AUTTA แล้วที่กองเชียร์ตะโกนด่า AUTTA ผมว่ามันคือความเรียลของจริงอะ คือแบบ (Hockhacker: ที่จริงมันต้องเป็นแบบนี้แหละ) ใช่ มันแบบ ถ้าเคยดู 8 Miles อย่างเนี้ย ผมเข้าใจว่ามันเป็นหนังนะ แต่ผมว่าความเป็นสันดานคน ที่แบบ กูเชียร์ไอ้เหี้ยเนี่ย มันเหมือนเชียร์บอลอะ ไอ้สัส ไอ้เหี้ย เย็ดแม่ มึงแม่งโกง ผมว่ามันควรมีอย่างนี้ พอมันมีอย่างนี้ปุ๊บ มันเป็นธรรมชาติ แล้วมันทำให้คนแม่งดราม่า มันก่อหวอดเป็นกลุ่มเป็นแก๊งขึ้นมา

K-Aglet: เกมมันจะมันขึ้น มันจะมีกิลด์วอร์ขึ้นมา (หัวเราะ)

Hockhacker: แต่ว่าจริง ๆ อะ มันมีพวกนี้เกิดขึ้นตาม battle ของเด็กใหม่ ๆ นะ ก็คือเราอะ จะเห็นจากพวกฟีดเฟสบุ๊ก เวลาน้องคนนี้แม่งไปแข่งมาแล้วจบปั๊บแล้วแม่งชอบบ่น แบบ กองเชียร์พวกมึง! อะไรอย่างนี้ ในรายการต่างจังหวัด แต่กับ Rap is Now ทำไม่ได้หรอก เพราะเราเป็นรายการที่ขายบัตรให้คนมาดูจริงจังอะไรอย่างนี้

Liberate P: แล้วอีกอย่างคือมันถูกปูภาพว่าแบบ เป็นรายการอยู่บนหิ้งอะ มันเลยทำให้แบบ คนไม้กล้าจะแบบบ อะไรอย่างนี้ แต่ว่าในช่วงของ NAMEMT ผมว่ามันเป็นเรื่องของเป็นกลุ่มใหม่เข้ามา แต่ผมชอบนะ มันก็เหมือน คนตะโกนเชียร์แข่งบอลอะ ใช่มะ มันก็เหมือนแบบ อัลตร้าเมืองทอง อัลตร้าท่าเรือ อะไรอย่างนี้ มันแบบ มันคือความสะใจในการเชียร์ ผมว่าถ้ามันมีอะไรอย่างนี้เกิดขึ้นได้ แร็ปมันก็จะพัฒนาไปอีก พอมันเกิดความรุนแรงขึ้น แต่มันไม่มีการกระทบกระทั่งกันเนี่ย มันสามารถ สมมติว่ามีการต่อยกันก็จริง อย่างแก๊งเมกาจากเคยยิงกันแทบตาย สุดท้ายแม่งกลายเป็นธุรกิจไปเลย ทุกวันนี้เลิกยิงกันแล้ว (Hockhacker: แม่งสู้กันด้วยธุรกิจไง คือคนพวกนี้ทำเพลงยังไงก็ไม่ดัง เพราะโดนกระแสของอีกฝั่งนึงกลบ อะไรอย่างนี้) คือสุดท้ายแล้วมันพัฒนาไปในสูตรที่เกิดสันติภาพ เกิดคลิปจับมือกัน west side รวมตัวกัน กลายเป็นกลุ่มเพลงนึงขึ้นมาอะไรอย่างนี้ จริง ๆ วงการลูกทุ่งก็เป็นอย่างนี้ บ้านเรา ผมเคยตามวงการลูกทุ่งตอนที่ สายัณห์ สัญญา ออกรายการทไวไลท์โชว์ ประมาณนี้ เค้าเล่าให้ฟัง ว่าสมัยก่อนวงการลูกทุ่ง แบบ west side เลยนะ คือสมมติว่าคุณเป็นนักร้องลูกทุ่ง คุณจัดเวทีที่นี่ ผมแม่งตามไปยิงถึงเวทีเลยนะ ไอ้เนี่ย พี่ชายสุเทพ ศรีใส อะ สังข์ทอง ศรีใส เป็นแบบ เติร์กเลยนะ เป็นนักร้องลูกทุ่งสายยิงเลยนะ ที่ไปยิงกัน จนเหมือนกับ เค้าก็เป็นชาวบ้านร้องเพลง ดังขึ้นมา อย่างที่สุรพลโดนยิงไง มันมาจากความเติร์กของวงการลูกทุ่งนี่แหละ (Hockhacker: แต่ของฮิปฮอปไทยมันไม่เคยมีนะ แบบในวงการ) ผมว่ามันด้วยความที่แบบ ประเทศไทยช่วงนั้นคนมันโตเร็ว อย่าง 14 ตุลา 17-18 ก็มาประท้วงกันแล้ว ชุมนุมกันแล้ว การหาอาวุธปืนมันง่าย แล้วความเป็นอันธพาลมันก็ยังมีอยู่

Hockhacker: เดี๋ยวนี้วัฒนธรรมแบบนั้นแม่งหายไปละ

K-Aglet: การตั้งแก๊งเด็ก ๆ รู้สึกว่าไม่ค่อยมีละ

Liberate P: ผมเคยตามวงการลูกทุ่งไทยมันเหมือน ฮิปฮอปเมืองนอกจริง ๆ นั้น คือเค้าตีกันจริง ๆ แล้วก็ มันมาหมดยุคตอนช่วง ชาย เมืองสิงห์ คือชาย เมืองสิงห์ เป็นเหมือนวงลูกทุ่งวงแรกที่เอาแดนเซอร์ขึ้นมาเต้นโป๊ ๆ แล้วกลายเป็นว่า ลูกทุ่งบันเทิง มันถึงมีไง แบบเพลงฟังก์ไทย ไทยโซล ทำ disstrack ก็มี ลูกทุ่งเหน็บกันก็มี เมื่อก่อนมันคือคัลเจอร์ฮิปฮอปเลย (Hockhacker: คือเพื่อนผมทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเพลง เค้าตามประวัติศาสตร์ไป ตามไปตามมามาจบที่ลูกทุ่งไทย มันคือเรียลฮิปฮอป) คือมีตีกัน ด่ากัน ยิงกันจริง ๆ แล้วพอรวยก็ Pimp อะ สาวเพียบ เป็นงั้นเลย (Hockhacker: แล้วเดี๋ยวนี้เต้นแบบปาร์ตี้) มันคือเพลงลูกผู้ชายอะ เพลงแบบ คนแบบ คนไม่มีอะไรแล้วมารวย วงการตลกก็แบบนี้ ตลกไทยดูในภาพทีวีดูแบบ ปัญญาอ่อน แต่ชีวิตแม่งเก๋าสัส นักเลงไปเลย คือพอรวยปุ๊บก็แบบ Eazy-E อะ แบบตีกะหรี่แหลกราญ เที่ยวผู้หญิง ผมว่ามันเป็นสันดานคน พอมีเงินก็ต้องใช้ แบบนั้นอะ ฮิปฮอปก็คือแบบนั้นเหมือนกัน

K-Aglet: แบบยิ่งมีก็ยิ่งโชว์

Liberate P: ลูกทุ่งก็เหมือนกัน มาจากต่างจังหวัด เข้าเมือง หาค่ายเพลง

Hockhacker: มันคือเพลงของคนรากหญ้าอะ ฮิปฮอปมันก็เกิดจากแบบนั้นอะ

ถ้าให้คนแร็ปดิสกันจริงจัง มันจะเกิดอะไรขึ้น

Liberate P: มีแน่นอน (K-Aglet: ต้องหาการ์ดมาอยู่บนเวที (หัวเราะ)) ทีเนี้ยแม่งจะมีการแบ่งเป็นฝ่ายแล้วอะ คือตอนนี้ เพราะว่าความ respect ความ แคมเปญ respect ทำให้ทุกอย่างกระจุกไปอยู่ที่ Rap is Now มันไม่กระจายไปเหมือนระดับภูมิภาค

Hockhacker: ฟีฟ่าเตะบอลเค้ายังมีเลย (หัวเราะ) เค้ายัง respect กันเลย (Liberate P: เค้าเข้าจริงมั้ย เข้าบอลเนี่ย (หัวเราะ)) เข้าจริง เข้าจริงเจ็บจริง

K-Aglet: ขาหงขาหักเลย (หัวเราะ) กองเชียร์ก็ด่าจริง

Liberate P: ใครปาข่งปาขวด มันควรเป็นเงั้นเว้ยจริงๆ ส่วนเรื่องการตีกัน เป็นเรื่องของบุคคลละ ไม่เกี่ยวกับผู้จัด แต่มันควรปล่อยให้มันเป็นธรรมชาติ

Hockhacker: จริง ๆ มันจะมี ซีนที่บนเวทีจับมือกันก็จริง แต่จบออกมาก็ไม่ได้ซี้กันนะ ไม่ได้คุยกันเลยก็มี ไม่รู้ว่าเป็นเพราะ battle หรือเปล่า (Liberate P: ซีซั่น 5) ไม่จัดแล้ว (หัวเราะ) (Liberate P: ถ้ายุแบบนี้ ด่ากัน ไม่จบในเกมได้ แม่งก็จะมันกว่านี้ แล้วแม่งก็จะเละเทะ (หัวเราะ) พอมันเละเทะ คนมันจะเรียนรู้เอง) เละไปแล้ว (หัวเราะ) ไม่เชื่อผม ไม่จัดแล้ว Rap is Now (หัวเราะ) พักก่อน ทำอย่างอื่นก่อน (Liberate P: แร็ปเสร็จ ออกมาตีกันข้างหน้า 8 Miles เหี้ย ๆ ผมบอกเลย (หัวเราะ)) ไม่จัดแล้ว คนจัด คนดู รวยหมดแล้ว (หัวเราะ)

มันจะดิบมาก น่ากลัวมาก

Liberate P: ผมว่ามันจะเป็นแค่ช่วงนึงแหละ แล้วพอช่วงนึง พอคนมันตีกันเยอะ ๆ มันก็จะอยู่ตัว (Hockhacker: แม่งเหมือนการเมืองไทยนะ ตีกันไปแล้ว ฆ่ากันไปแล้ว) สุดท้ายนะ ผมว่าคนไม่อยากออกไปตีกันแล้วอะ (หัวเราะ) เรื่องความเป็นมนุษย์ไง แต่พออย่างนี้ ผมอะ จะยกตัวอย่าง Rap is Now คือมันเหมือนการเมืองไทยนิดนึง คือมันมีการห้ามก่อนที่จะตีกัน มันเหมือนช่วงทำรัฐประหารอะ มันเหมือนช่วง Rap is Now เข้ามาทำรัฐประหาร บอกว่า อย่าตีกันเลย เข้ามารักกันดีกว่า (Hockhacker: เล่นกติกาผม!) ทีนี้เวลามันประคองไปมันก็ประคองไปแบบ กระท่อนกระแท่นอะ ไอ้เหี้ยเอ้ย กูกเกลียดแต่กูก็ไม่กล้าด่าว่า อยากหักว่ะ มีนู่นนี่นั่น มันก็เหมือนการเมืองไทยแหละ มันคือการเมืองที่อั้น ๆ อะ

Hockhacker: แต่อย่างในเฟซบุ๊กของแร็ปเปอร์ แม่งก็มีแซะกันเรื่อย ๆ นะ เราก็ไปส่องแม่งก็แบบแซะไปแซะมา แต่ก็มันจะไม่ใช่คนที่อยู่ใน loop งานเดียวกันไง คือคนที่ทำงานด้วยกันผมว่ามันไม่กล้าไปโพสต์หรอก แล้วแบบไปขัดกับอีกฝั่งนึง

Liberate P: อย่างผมก็สายแซะมาก่อน เหน็บแนม แอบด่า ตอนหลังก็รู้สึกได้ พอโต ก็รู้สึกว่า ด่าไปทำไมวะ ก็เลิกทำไปเอง มันเป็นยุค ๆ นึง รุ่นนึง พอโตมามันก็เปลี่ยน Snoop Dog อย่างเงี้ย ไปตีกับใครมันก็ไม่ใช่แล้ว แต่ยุคนึงมันก็เคยเป็นกุ๊ยมาก่อน (K-Aglet: ตัวจวกเลย (หัวเราะ)) เราไม่ได้สนับสนุนให้คนตีกัน แต่เราก็ไม่ได้สนับสนุนให้คนรักกันเหมือนกัน เวลา rap is now ใส่พวกคำเตือน ‘รายการนี้มีคำหยาบ’ หรือว่า ‘เป็นเกมกีฬา’ มันจะจริงขึ้น เพราะเราไม่ต้องไปสร้างแคมเปญให้รักกันอะ ทีนี้เราใส่ไปเลยว่า ใช้วิจารณญาณในการชม มันจะจริงขึ้น เพราะต้องใช้จริง ๆ ไม่ใช้ก็ หัวร้อนอะ

K-Aglet: ทำเหมือนรายการคุยข่าวที่บอกตอนแรกอะ ที่ทำให้มันตีกันจนได้อะ (หัวเราะ)

ผู้ใหญ่บางคนก็ยังมองว่าแร็ปเป็นเรื่องของวัยรุ่น ทีนี้เราคิดว่าจะทำยังไงให้มันเข้าถึงทุกคนได้

Hockhacker: มันเข้าถึงแล้วนะ The Rapper นี่ก็ชัดเจน

Liberate P: จริง ๆ ไม่ได้อยากจะยกตัวเองหรอกแต่ว่าประเทศกูมีนี่แหละ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด The Rapper ในแง่ของรายการทีวีนี่ชัดเจนเลย แล้วในคอนเสิร์ตเค้ามีคนตั้งแต่เด็กยันผู้ใหญ่

K-Aglet: หลายระดับ หลายชนชั้น เข้าใจแร็ปมากขึ้น

Hockhacker: เค้าไม่ได้ไปจับเรื่องของ ต้องฟังเร็วหรืออะไรแล้ว คือเค้าพยายามย่อยข้อมูลให้มันฟังง่าย ฟังได้ทุกคน ที่นี้บางคนอาจจะฟังไม่ได้ทัน แต่มันก็มันไปกับเพลงได้ด้วยท่อนฮุค ด้วยดนตรี อย่างประเทศกูมี บางคนเค้าตามไม่ทัน อย่างท่อน Liberate P ที่เร็ว ๆ ไม่มี subtitle คนก็จะขอ subtitle หน่อย อยากร้องตาม อะไรอย่างนี้ เราก็ไม่ใส่นะภาษาไทย เราก็ใส่แต่ภาษาอื่น เพราะมันฟัง แต่มันก็มีคำที่เค้าร้องตามได้ คำว่า ประเทศกูมี ประเทศกูมี สองคำแค่นี้ทำให้คนเข้าถึงกับมัน (FJZ: มีฮุคให้เค้าจำ) ใช่ ๆ

Liberate P: ตอนนี้ ผมกำลังรอ Nick Karoke อะ ผมว่ามีประเทศกูมีแน่ ๆ (หัวเราะ) 2019 เนี่ย ร้านคาราโอเกะ (หัวเราะ)

K-Aglet: ซาวด์มันจะเป็นยังไง ตึ่งดังดึ๊ง งี้อ่อ (หัวเราะ) คีย์บอร์ดมา

ไปดูตรงเซ็นจูรี่ก่อนมั้ยฮะ ตามตู้ ไปไล่หยอดเหรียญแล้วกดดู (หัวเราะ)

Hockhacker: จริง ๆ ผมอยากทำเองด้วย ทำลงช่องตัวเอง (หัวเราะ) (Liberate P: แต่ที่แน่ ๆ ถ้าแผ่นแวมไพร์ยังมีอยู่ ผมว่าแผ่นแวมไพร์ประจำเดือนหรือสัปดาห์ ผมว่าเราติดไปหลายเดือนอะ (หัวเราะ)) คือถ้ามีร้านเหล้ากล้าเปิดมันก็ทำให้เข้าถึงคนได้เยอะแล้วแหละ แค่กลัวว่าคนที่มาฟัง คือร้านเหล้าเปิด แล้วเค้าไม่ได้กลัวว่าคนที่มาจะไม่ชอบเพลงเค้า แสดงว่ามันเข้าถึงคนระดับนั้นแล้ว คนทั่วไป คือจริง ๆ มันมี #ประเทศกูมี ในไอจี มันก็มีคนฟังในรถ รถติด ถ่ายรถติดแล้ว #ประเทศกูมี ลองไปตามจะเห็นว่าคนมันทั่วถึง เจออะไรแปลก ๆ เค้าก็ใส่ #ประเทศกูมี แล้วเค้าก็เปิดเพลง ใส่เพลงประกอบเข้ามา

Liberate P: ก็เข้าถึงในอีกแบบนึง แต่ว่าทีนี้ มันก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าเพลงต่อ ๆ ไปของเราจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า เพราะมันก็ไม่ได้การันตีว่าเพลงแร็ปทุกเพลงจะเป็นกระแส หรือว่าติดเทรนด์ทุกเพลง แม้แต่คนดั ๆ เองก็ตาม คนอาจจะฟังเพลงนี้เยอะ แต่เพลงต่อไปอาจจะไม่ถึงก็ได้ มันยังไม่แข็งแรงขนาดนี้ขนาดการันตีด้วยซ้ำ ในยุคนี้อะนะ

Rap Against Dictatorship

แล้วถ้า Rap Against Dictatorship เป็นพรรคการเมือง อยากเสนอนโยบายอะไรบ้าง

Liberate P: ผมว่ามันก็อยู่ที่คนแต่ละคนละแหละ อย่างผมอินเรื่องสิทธิขึ้นพื้นฐาน คือประชาธิปไตย ผมว่า อันนี้คือตัวผมเองนะ หมายถึงว่าส่วนตัวผมเองในฐานะที่อยู่ใน RAD ด้วย ผมก็คงเสนอไม่ต่างจากพวกพรรคการเมืองที่เค้าไม่เอาทหารอะ

Hockhacker: คือเราไม่เอาเผด็จการแล้ว ตามชื่อเรา

Liberate P: มันเป็นแค่ ตวามคิดเห็นที่มันตรงกันอะ แต่เราไม่ได้หมายความเราเห็นด้วยทุกนโยบาย อย่างนี้นะ แต่ว่าเรามีแค่แนวร่วมตรงกันว่า เราไม่เอาแผด็จการ แค่นี้เอง

Hockhacker: จริง ๆ อย่างใน RAD เวลาออกไอเดียอะไรมา ต้องคุยกันให้ครบทั้งหมดว่าในกลุ่ม founder หลัก ว่าเอาแบบนี้มั้ย ถ้าไม่เอาก็คือตัดออก มีเหตุผลอะไรที่จะเอา มีเหตุผลอะไรที่จะไม่เอา ข้อดีข้อเสีย มีพี่คนนึงในทีม เค้าจะทำหน้าที่ คอยให้ข้อดีข้อเสียเลย สมมติเราโยนเรื่องนี้เข้าไป ผมซัพพอร์ต แต่ Liberate P บอก ไม่แน่ใจ เค้าจะแตกให้ จะมีหน้าที่บอกว่า ดีอย่างนี้ เสียอย่างนี้ จะลอง weight กันดู แล้วดูว่ากล้าเบนไปทางนั้นหรือเปล่า ซึ่งสุดท้ายถ้าผมไม่ซัพพอร์ต แต่ทุกคนบอกว่าซัพพอร์ต ผมก็เอา โอเค มีเหตุผลรองรับแล้ว

Liberate P: ซึ่งมันก็เป็นวิธีที่ทำให้เรามีส่วนร่วมทางการตัดสินใจ เหมือนรายการแฉ ตอนแรกผมไม่ค่อยอยากออก ซึ่งทุกรายการที่เข้าทีมมาอะ ผมจะเป็นคนกรองแล้วโยนเข้าทีมว่า รายการนี้เอามั้ย ๆ แต่ Hockhacker เสนอว่า น่าจะแย่ เพราะรายการมันชื่อรายการแฉไง แต่ผมเสนอว่า เราควรปลีกออกจากสื่อที่เป็นการเมืองบ้าง แล้วเข้ามาสู่อะไรที่เป็นบันเทิงบ้าง เพื่อลดบาทบาทตรงนั้นลง แล้วเป็นการสรุปกัน ก็สรุปว่า ไป มันก็ไม่ได้เห็นตรงกันทั้งหมด

ประชาธิปไตยเต็มใบมาก ๆ

Hockhacker: เราคุยกันให้จบแหละ แต่มันก็ไม่ได้เต็มใบอะไรขนาดนั้น มันแค่ 4-5 คน มันเป็นแค่กลุ่มเล็ก ๆ มันก็คุยกันง่าย แต่พอมันเป็นการเมืองจริง ๆ คนเยอะ ๆ อะ มันยิ่งต้องคุยกัน ยิ่งไปปิดไม่ให้คุยมันยิ่งไม่เกิดข้อสรุปอะ เหมือนเราจำลองประชาธิปไตยแค่ในกลุ่มเราให้ได้อะ ประเทศมันก็ต้องได้อะ ผมว่ามันไม่ยากหรอก แล้วก็ต้องยอมให้คนพูดอะ ให้คนคุยกัน

Liberate P: มันต้องใช้เวลา ในประเทศไทยมันรีบ รีบที่จะได้ข้อสรุป จริง ๆ ผมว่าการเถียงมันคือ movement อย่างนึงที่มันควรเกิดขึ้นก่อนทำอะ แต่ว่า พวกวาทกรรมแบบ ดีแต่พูด ผมว่าอย่างนี้ไม่ควรพูด มันเป็นวาทกรรมที่แบบ ทำให้คนแบบ ทำ อะ แต่ไม่คุยกันก่อน

Hockhacker: เอาจริงในวงการแร็ปก็เป็น มี motto แอนตี้พวกนักวิจารณ์อะไรแบบนี้ ในมีหลายคนที่แบบ ด่านักวิจารณ์ ซึ่งการวิจารณ์แม่งเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่งั้นศิลปินจะพัฒนาตัวเอง หรือรู้ได้ยังไง หรือรู้ได้ยังไงว่านักวิจารณ์คิดยังไง นักวิจารณ์อาจะจเป็นหน้าใหม่ แต่เค้าก็คือคนนึงที่กล้าวิจารณ์ออกมา ประเทศไทยก็ควรอย่างงั้นอะ ควรรับ

Liberate P: นักวิจารณ์ของประเทศไทยก็คือนักวิชาการแหละ คือคนที่ทำวิจัย ทำพวกนี้มาอยู่แล้ว (Hockhacker: ที่โดนด่ากันเยอะ ๆ อะ (หัวเราะ)) นักวิชาชอบโดนด่าว่า ‘ก็ดีแต่นั่งน่าจออะ’ (หัวเราะ) เค้าเป็นนักวิชาการอะ เค้าไม่ใช่ activist อะ เค้าก็ต้องนั่งหน้าจอใชมั้ยล่ะ (Hockhacker: เค้าก็ต้องมีหนังสือ ข้อมูลมาพูด อะไรอย่างนี้) พวก activist อะ ก็ต้อไปต่อยอดจากพวกนักวิชาการ เพื่อทำต่อไป เหมือนอย่างที่ RAD ทำอย่างนี้ (Hockhaker: ที่เราไม่ออกตัวเคลื่อนไหวก็เพราะว่าเราไม่ใช่ activist เหมือนกัน เราเป็นแร็ปเปอร์) แต่ว่า เราก็มียุทธศาสตร์ที่ได้เราได้ไอเดียมาจากนักวิชาการอีกทีนึงเหมือกนั นเราตามนักวิชาการอีกทีนึงเหมือนกัน ถ้าประเทศเป็นอย่างนี้ เราควรแก้ไขยังไง เราควรทำยังไง มันก็ต่อยอดมาจากเค้าแล้วทำในวิธีที่ถนัดก็เท่านั้นเอง

Hockhacker: อย่างผมอย่างนี้ ผมต่อยอดมาจากค่ายเพลง มาทำ Rap is Now อย่างงี้ ผมมาทำโปรเจคนี้ มันก็เลยรู้เลยว่าเวลาแร็ปมันมีแบบนี้นะ ค่ายเพลงเค้าทำแบบนี้นะ มันก็เลยมากรองแล้วมาเลือกใช้กับโปรเจค ซึ่งจริง ๆ ก็มาจากหน้าที่ของแต่ละคนแหละ เราก็เอาสิ่งที่เค้าทำมาแล้ว มาหาข้อมูลสรุปอีกทีนึง

ถ้าจะให้ประเทศรอด ทุกคนต้องมานั่งคุยกันเพื่อให้มันมีทางออกที่ดีที่สุด

Liberate P: คือการคุยกันเราไม่ต้องไปหาข้อมูลเองด้วยซ้ำ ข้อมูลแม่งมีคนผลิตมาอยู่แล้ว มันมีคนผลิตข้อมูลมาเรื่อย ๆ เราแค่เอาข้อมูลเหล่านั้นมาคุยกันเท่านั้นเอง มันง่ายมากเลยนะในการคุย จะเริ่มทำบางอย่างที่มันต้องหาข้อมูล แต่คนมักจะไม่คุย เหมือนทำรัฐประหาร ไม่อยากคุย ลุยเลย ง่ายดี เร็วดี จบ เริ่มใหม่ แล้วสุดท้ายมันก็อย่างนี้ คาราคาซัง ตัวอย่างเหมือนสภาอย่างนี้ คนมักจะด่าสภาตีกันต่อยกัน ผมมองว่ามันเป็นเรื่องปกติมากเลยนะ คนคุยกันแล้วมันเถียงกัน มันไม่ได้ข้อสรุป มันก็เลยต้องเดือด

Hockhacker: จริง ๆ ต่อยกันตีกัน ต่างประเทศแม่งเยอะนะ พวกญี่ปุ่นอะไรงี้ หนักด้วยนะ เต็มที่มันอาจจะเป็นการลุกขึ้นมาด่ากัน ที่แบบนอกเกม แต่พอใช้ความรุนแรงมันก็เป็นเรื่องของความรุนแรงอะ

Liberate P: เกาหลีเงี้ย มันเป็นจุดเริ่มต้นของการคุยกันทั้งนั้นอะ พอมันต่อยกันแล้วไม่ได้อะไร สุดท้ายมันก็ต้องกลับมาคุยกันอยู่ดีอะ พอคุยกันมันก็เริ่มได้ข้อสรุปเแล้ว มันเหมือนแค่สตอรี่นึงอะ แค่นี้ มันจบเลย มันเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วอะ ไอ้การต่อยกันตีกัน ไม่ได้หมายความว่าเห็นด้วยนะ มันก็ควรประณามแหละ คือมันไม่ควรมานั่งต่อยตีกันในสภาอะ มันเป็นที่ที่ควรใช้เหตุผลอะ ก็ประณามเป็นเรื่อง ๆ ไป แต่ไม่ใช่มาบอกว่าสภาแม่งห่วยแตกทั้งหมด มันไม่ใช่ว่าพอแม่งตีกันปุ๊บ ไม่ควรมีสภา (Hockhaker: เดี๋ยวนี้ไม่ตีกันแล้ว เดี๋ยวนี้เค้าหลับ (หัวเราะ) ผมมองถึงพวกนี้ด้วยแหละ พวกหลับ พวกไม่ฟัง อะไรงี้ มันควรประณาม ควรด่า ใช่ แต่มันไม่ควรไปบอกว่า ไม่ควรมี

ฝากอะไรถึงแร็ปเปอร์หน้าใหม่ ในฐานะแร็ปเปอร์รุ่นเก๋าทั้งสามคน

K-Aglet: ผมอยากใหุ้ทกคนตั้งใจกับสิ่งที่ตัวเองทำเท่านั้นแหละครับผม เพราะว่ามันมีเยอะขึ้น เยอะขึ้น ซึ่งสตูดิโอเยอะขึ้น ทำอะไรง่ายขึ้น พอมันง่าย การที่จะลงมือไปศึกษาให้มันลึกขึ้น มันก็ขี้เกียจแล้ว เราศึกษาดี ๆ แล้วเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ แล้วค่อยทำมันอย่างดีที่สุด แค่นั้นแหละฮะ

Liberate P: ผมอยากให้ input ดี ๆ หมายถึงว่า ให้หาข้อมูล reference ที่มันสร้างรรค์สิ่งใหม่ได้ แล้วพอเราสร้างผลงานออกมา มันก็จะเป็นไปตามที่เรารีเสิร์ชมา ตามที่เรามีกระบวนการคิดมาว่าเราอยากทำอะไร พอมันชัดเจน รับเข้ามาชัดเจน พอมันปล่อยออกมา มันก็จะชัดเจนในแนวทางเรา

Hockhaker: ผมว่ามันต้องมาจากการตั้งคำถาม ก่อนที่จะหาอะไร ถ้าเราตั้งคำถาม เด็กรุ่นใหม่ต้องตั้งคำถาม สมมติเด็กรุ่นใหม่ ๆ ถาม ทำยังไงถึงจะดังแบบพี่เค้าวะ ทำยังไงถึงมีคนฟังหมื่นวิว แสนวิว ถ้าตั้งคำถาม เดี๋ยวมันจะต้องไปหาคำตอบ แล้วพอมันหาคำตอบ พอมันมีกระบวนการนั้น เดี๋ยวมันต้องเจอ คือพอมีคนทักมาถามผม ผมก็ตอบ แต่เราอาจจะไม่ได้บอกทั้งหมด เราอาจจะบอกวิธีการบางอย่าง มึงพิมพ์คำนี้ลงไปในกูเกิ้ล เพียบเลย เค้าก็บอก จริงเหรอพี่ เราก็ให้คำตอบเท่าที่เราให้ได้ไป ซึ่งบางคนไม่ได้ตั้งคำถามไง มันบ่น มันด่า ลงเฟซบุ๊ก แล้วก็ออกแนว loser น้อยใจ แบบไอ้เชี่ยทำมาแล้วไม่สำเร็จซักที เพราะว่ามึงไม่มีจุดนั้นไง จุดเดียวเลย บางทีเราเห็นนะแต่ไม่รู้จะบอกยังไง แต่จริง ๆ มันมีแค่จุด ๆ นึงที่เค้าลืมมองตัวเอง เรียกว่าตั้งคำถามกับตัวเองไปว่าพลาดอะไรไปหรือเปล่า เริ่มจากการตั้งคำถาม แล้วก็คิดต่อไปเรื่อย ๆ ยังไงมันก็เชื่อมโยงได้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ควรทำมันคืออะไร

เวลา rap battle จะมีช่วงแถม ช่วยแถมอะไรให้ประเทศไทยนิดนึง

K-Aglet: ปีหน้าเจอกัน ไอ้สัตว์ (หัวเราะ)

ติดตามพวกเขาได้ที่เพจ RapAgainstDictatorship

สมาชิกวง Rap Against Dictatorship

 

อ่านเพิ่มเติม

จากแร็ปสู่เมทัล ‘ประเทศกูมี’ จาก Uppercut

Rap Against Dictatorship บินลัดฟ้าไปรับรางวัลแห่งสันติภาพถึงประเทศนอร์เวย์

250 สอพลอ – RAP AGAINST DICTATORSHIP ฟังกันอีกทีให้รู้ว่า ประเทศกูมี

 

Facebook Comments

Next:


Peerapong Kaewthae

แม็ค เป็นคนชอบฟังเพลงเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และก็ชอบแนะนำวงดนตรีหรือเพลงใหม่ ๆ ให้คนอื่นรู้จักผ่านตัวอักษรตลอดเวลา