Article Interview

RAZE งานอิเล็กทรอนิกหนักหน่วงจากการร่วมมือของ Koichi Shimizu และ Marmosets

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Chavit Mayot

ต้นเดือนหน้า กรุงเทพ กำลังจะมีงานอิเล็กทรอนิกที่หนักหน่วงแบบที่เราอาจจะไม่เคยได้ฟังที่ไหนมาก่อน และนี่เป็นโอกาสดีที่เราอยากชวนคุณมาร่วมงาน RAZE ปาร์ตี้ที่เกิดจากการร่วมมือของ Marmosets ดีเจและโปรดิวเซอร์ที่คร่ำหวอดในซีนปาร์ตี้ไทย และ Koichi Shimizu อดีตผู้บริหารค่ายดนตรีนอกกระแส SO::ON Dryflower ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นศิลปินสาย industrial techno เต็มตัว สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะมางานนี้ดีหรือเปล่า เราก็ขอชวนมาอ่านบทสัมภาษณ์ของผู้ก่อตั้งทั้งสองคนนี้ก่อนเลย

ที่มาที่ไปของการจัดงาน RAZE

โคอิชิ: มันเป็นแนวดนตรีที่เราชอบในปัจจุบันน่ะ เรียกว่าเป็น techno แล้วมีความ industrial ค่อนข้างเป็นดนตรีที่แรง  พอดีเราไปดูปาร์ตี้พวกนี้ที่เมืองนอก เราก็ได้แรงบันดาลใจจากพวกเขา ยิ่งงานที่โซล เกาหลีใต้ เราไปเล่น แล้ว vibe มันดีมาก ก็รู้สึกว่าอยากจัดที่ไทยด้วย ชื่อ Constant Value เป็น collective underground ของเขาที่ทำมาอยู่แค่ 2 ปี แต่เขาก็เอาแนวนี้มาสร้างกระแสในเกาหลีได้ดีมาก เพิ่งเกิดแล้วก็กำลังมาแรงด้วย  พอได้คุยกับปอนด์แล้วเราชอบเหมือนกัน

แม้แต่ในไทยเองจริง แล้วซีนเทคโนตอนนี้ก็กำลังมา รู้สึกว่าไม่ได้เงียบแบบเมื่อก่อนแล้ว

โคอิชิ: ใช่ เราก็รู้สึกว่าเด็กเริ่มสนใจด้านอิเล็กทรอนิกมากขึ้น

ปอนด์กับโคอิชิมาเจอกันได้ยังไง

ปอนด์: ผมกับพี่โครู้จักกันมาได้ 3-4 ปีแล้วครับ แต่ว่าตอนนั้นก็ไม่ได้ร่วมงานกันเป็นโปรโมเตอร์ คือผมชอบเพลงพี่โคแล้วก็เคยดูพี่โคเล่น live ผมจัดงาน Tempo ก็จะชวนพี่โคมาเล่นบ่อย มันเริ่มจากปีที่แล้วผมอยากลองเล่นโมดูลาร์เลยให้พี่โคสอน ก็คุยกันมาเรื่อย ครับ แล้วเมื่อต้นปีนี้ก็คุยกับพี่โคว่าอยากจัดงาน industrial หนัก  เห็นซีนนี้อยู่ที่เบอร์ลินมันก็มีเยอะ ก็เลยอยากทำเหมือนกัน มันต่างจากดนตรีเทคโนทั่วไป สำหรับผมนะ ถ้าเป็นดนตรีร็อกก็คือเป็นเดธเมทัล มันจะเป็นอีกคาแร็กเตอร์นึง ถ้าเทคโนก็จะเริ่มเห็นมา 3-4 ปีแล้วในเมืองไทย แต่อย่าง industrial techno มันยังไม่ได้มีชัดเจน ผมก็เลยคุยกับพี่โคว่าที่อยากตั้งใจทำคืออยากให้มันมีเป็นปกติในกรุงเทพ ซักที เหมือนเป็นอีกทางเลือกนึงที่คนอยากฟังดนตรีหนักมาก จะเป็นซีนนี้นะ

ก่อนที่จะมีคนมางาน อยากให้ช่วยอธิบายว่า industrail techno ต่างจากเทคโนและอิเล็กทรอนิกทั่วไปยังไง

โคอิชิ: จริง น่าจะรู้ว่าแต่ก่อนผมทำค่ายอินดี้ (SO::ON Dryflower) แล้วผมก็ทำอิเล็กทรอนิกมานานเหมือนกัน แต่ผมก็ชอบร็อกด้วย บางที industrial จริง ต้นกำเนิดมันมาจากร็อก แล้วมันจะมีอะไรต่างจาก club music อยู่ attitude ของมันก็จะค่อนข้างสำคัญ มันจะมีความพังก์อยู่สูง ก็อยากให้น้อง ที่สนใจด้านนี้ หรือแม้ว่าจะชอบร็อกหรืออินดี้ก็อยากให้ลองมาดู จะได้มาเข้าใจ มากกว่าไปคลับปกติ มันจะมีทั้งดีเจ แล้วก็มีเล่นสด

ปอนด์: มีเรื่อง sound design, rave culture ผสมอยู่ในนั้น เพลงมีความหนักกว่า ดิบกว่า

ถ้าให้เริ่มฟัง ควรฟังดีเจหรือโปรดิวเซอร์คนไหนดี

โคอิชิ: เยอะเลยนะ (หัวเราะ) ไปลองฟังงานคนที่จะมาดีกว่า ชื่อ Ansome เขาเป็นเด็กอังกฤษ ช่วงนี้มาแรงมาก ดนตรีเขาก็มีความ industrial สูง แล้วก็เล่นสดได้ดีมาก แล้วก็ไป Spotify เอาต่อไปเรื่อย ได้ (หัวเราะ)

ปอนด์: แล้วก็จะมีเพชร DuckUnit (PSRWPมาช่วยเรื่อง art work ในงานนี้ มีวิชวลนิดหน่อยด้วย สำหรับงานนี้งานแรก แต่เพชรเขาก็มาเริ่มเล่นไลฟ์เหมือนกัน

โคอิชิ: มาเป็น artist คนนึงในงานนี้ จะเน้นเรื่องเพลงมากกว่า อยากให้คนดูได้ฟังเสียงมากกว่าดูสีของภาพ

บางคนจะคิดว่างานพวกนี้ต้องมี visual lighting เพื่อให้บรรยากาศดูอิ่มกว่า จริง มันมีความจำเป็นไหม

โคอิชิ: มันแล้วแต่ศิลปินนะครับว่าอยากจะนำเสนออะไร แต่สำหรับเราก็อยากนำเสนอ pure sound บางทีเราก็อยากจะใช้ไฟน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปอนด์ตอนนี้ใช้ชื่อดีเจว่า Marmosets แต่ก่อนหน้านี้ชื่อ Kingkong คือทำไมต้องมีสองชื่อ เปิดเพลงคนละแนวหรอ

ปอนด์: ไม่ได้ใช้ชื่อ Kingkong าซักพักแล้วครับตั้งแต่เริ่มทำ Marmosets เพราะว่ามันมีช่วงที่เล่นที่ Dark Bar บ่อย คนจะรู้จัก Kingkong ที่เล่น drum n bass มันมีอยู่ช่วงนึงที่ซีน dnb มันเงียบหายไป แล้วผมก็เริ่มเล่นพวกปาร์ตี้ต่าง ที่เป็นแนวอื่นเยอะขึ้น ทีนี้เพื่อน ที่ชอบ dnb มาดูมันก็จะมาขอ dnb แล้วคนฝั่งที่ฟัง house techno เขาก็อยากจะฟังแบบนั้น ผมก็เลยคิดว่าต้องแยกชื่อ อีกอย่างนึงตอนที่เล่น Marmosets ผมก็เริ่มจากเล่น live ด้วยครับ เป็น hardware, drum machine กับ synthesizer ตัวนึงก่อน เริ่มเป็น dj set หลัง มาก็มีทั้งไลฟ์ ทั้งดีเจเซ็ตไปด้วยกันครับ ทีนี้ก็ ช่วง 2-3 ปีที่เห็นก็จะเป็น Marmosets ซะส่วนใหญ่ ตอนนี้เล่นประจำที่ BEAM เดือนละครั้งครับ แล้วก็ส่วนใหญ่จะเป็นปาร์ตี้ตัวเอง ชื่อแล้วแต่ว่าไปเล่นร้านไหน จัดกันเองกับเพื่อน ที่เล่นระหว่างเฮาส์กับเทคโน

กระแส drum n bass เริ่มซาไปตอนไหน

ปอนด์: อันนี้ก็ไม่แน่ใจครับ แต่ที่ต่างประเทศก็เป็นเหมือนกัน อย่างสมัยก่อนที่ฮ่องกง ที่จีน จะบูมมาก ตอนนี้ไม่ค่อยมีเลยครับ แม้แต่เจ้าของประเทศต้นตำรับก็ยังเหมือนเล่นได้แต่ในประเทศตัวเองแล้ว คือที่อังกฤษ

โคอิชิ: ผมว่าจริง มันก็ไม่ได้หายนะ แค่พัฒนาไปแนวอื่น ตอนนี้อาจจะไปทาง dubstep มากขึ้น แต่วิญญาณของ dnb ก็ยังอยู่ แค่เปลี่ยนสไตล์นิดนึง

ปอนด์: ช่วงนึงมันก็กลายเป็น dubstep ช่วงนี้มันก็จะแตกออกไปหลายแนวเหมือนกัน แต่ที่ผมหมายถึงมันหายไปหมายถึงซีน คนฟังในไทย พอมันเริ่มจากยุค 90s ปลาย พอมาปี 2000 ต้น นี่เป็นยุครุ่งเรืองเลย ผมจำได้ว่าเล่น dnb ที่นี่ได้เดือนละครั้ง พอประมาณสัก 2008-2010 คนก็เริ่มหายไป ก็จะเหลือเล่นกันเองอยู่ไม่กี่คนครับ

เรื่องพวกนี้จำเป็นต้องให้ความรู้คนฟังไหม เพราะคนไทยส่วนใหญ่จริง ก็ยังไม่เก็ตอิเล็กทรอนิกหรือเทคโน

โคอิชิ: ผมไม่ค่อยอยากใช้คำว่า educate เท่าไหร่เพราะดนตรีมันก็แค่ให้เรารู้สึกกับมัน อยู่ตรงนั้นแล้วรู้สึกดีหรือไม่ดี สิ่งที่เราทำได้คือให้โอกาสคนได้มีประสบการณ์ร่วมกับมัน ถ้าชอบไม่ชอบก็ขึ้นอยู่กับทุกคนแล้ว แต่ถ้ามีอะไรที่เรารักจริง เราก็อยากนำเสนอไป

งานนี้คงไม่ยากเกินไปที่จะฟังใช่ไหม

โคอิชิ: ก็คงจะมีความตกใจสูง (หัวเราะ)

ปอนด์: มันก็คงหนักแหละครับ แต่ดนตรีชนิดนี้คือ มันต้องออกมาเจอเองในคลับ มันฟังอยู่บ้าน เวลาเราฟังอยู่บ้านเราไม่อินหรอก นึกถึงตอนเด็ก ที่มาเที่ยวอิเล็กทรอนิกปาร์ตี้ครั้งแรก มันเหมือนเป็นแบบ vibe มันต้องใช่ก่อน ถ้า vibe มันใช่ คนมันสนุก ผมก็แค่คลิกเดียวเลย ก็เปลี่ยนมาชอบได้แล้ว บางครั้งตอนเด็ก ผมจำได้ว่าไปเที่ยงฟังปาร์ตี้งานอย่างนี้ครั้งแรก อย่างไป Home Bass คือเพลง drum n bass ฟังอยู่บ้านมันก็ไม่ได้ชอบมาก คือตอนเด็กเลยผมหัดฟังนิด หน่อย แต่พอไปเที่ยวงานพวกนี้ปั๊บ คนเต้นกันทั้งงาน แล้วมันก็ทำให้เรารู้สึกชอบตรงนั้นขึ้นมา ผมเลยรู้สึกว่า ดนตรีหลาย ชนิดเลยครับ พอมันไปเจอ vibe ที่ถูกต้องมันถึงจะดึงคาแร็กเตอร์ตรงนั้นออกมา ยิ่งเป็นเพลงที่หนัก เป็นเพลงที่ปาร์ตี้หรือจำเป็นต้องใช้สถานการณ์ตรงนั้นมาสนุก บางทีนั่งฟังอยู่คนเดียวที่บ้านมันก็เหงา ก็อาจจะไม่ได้อินก็ได้ ถึงอยากจะให้ลองดู ผมก็ไม่ได้คิดว่าจะทำแค่ครั้งเดียว อยากทำสม่ำเสมอให้รู้ว่าซีนนี้ในกรุงเทพ มันมีแล้วนะ วันนึงคนก็จะเริ่มฟังเอง เดือนละครั้งไม่รู้ทำกันไหวรึเปล่าอาจจะสองเดือนครั้ง

โคอิชิ: น้อง ที่ชอบดนตรีร็อกหนัก พวกเมทัล อยากให้เขามาดู อาจจะชอบก็ได้ เพราะมันก็มีความใกล้เคียงกันอยู่ พวก attitude ของ expression น่ะครับ

มีที่รองรับแนวดนตรีแบบนี้เพียงพอหรือยังในกรุงเทพ

โคอิชิ: ตอนนี้ผมว่ามี คลับในประเทศไทยกว้างขึ้นเยอะ

อะไรทำให้โคอิชิเปลี่ยนมาทำแนวนี้

โคอิชิ: มันก็ค่อย เปลี่ยนมา ตอนทำอยู่ค่าย SO::ON ตอนนั้นเราทำหน้าที่คนละแบบ เราเป็นเจ้าของค่ายกับโปรดิวเซอร์มากกว่า เราค่อนข้างทิ้งดนตรีของตัวเอง จริง ก่อนผมมาเมืองไทย ตอนอยู่ญี่ปุ่นผมก็ทำแนวดนตรีแบบนี้ (เทคโน) มานาน ซึ่งผมก็ต้องตัดทิ้งเพราะตั้งใจทำค่าย แต่สุดท้ายผมก็เลือกมาสายนี้ ก็เลยเลือกตัดค่ายทิ้ง (หัวเราะ) ตอนนี้ผมอยากตั้งใจทำงานของตัวเอง เหมือนจะกลับมาเล่นแบบนี้อีกครั้งนึงมากกว่า

ตอนที่เลิกทำค่ายนี่ทำให้แฟนเพลงอกหักหลายคนเลยนะ

โคอิชิ: จะให้กลับไปทำก็ได้นะ (หัวเราะ) แต่อาจจะไม่ได้ทำรูปแบบเดิม ชื่ออาจจะไม่เหมือนเดิมแต่ก็เนาะ เราก็ยังเล่นดนตรีอยู่ ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตครับ แต่ช่วงนี้เราตั้งใจกับงานของตัวเองมากกว่า

อยากเห็นอะไรในวงการอิเล็กทรอนิกไทยอีก

ปอนด์: จริง ตอนนี้มันก็เริ่มดีขึ้นนะครับสำหรับที่ผมรู้สึก เรื่องของสถานที่ที่มันเอื้อต่อดนตรีแบบนี้ มีแต่เรื่องเวลาปิด เรื่องการเมืองทั้งหลาย โอกาสเรายังน้อยกว่าต่างประเทศ เราต้องปิดเร็ว ถ้าเกิดเป็นที่อื่น เขาก็ให้อิสระกว่านี้ นี่ถ้าเรามีคอนเสิร์ตใหญ่ ไปจัดก็ต้องปิดเที่ยงคืน สไตล์คลับอันเดอร์กราวด์ของผมก็ยังดึงได้ถึงตีสอง ปาร์ตี้ในต่างประเทศก็ได้นานกว่านี้ ตีสี่ หกโมงเช้า ซึ่งสำหรับผมว่ามันทำให้เวลาเล่นแต่ละคืนมันยาวขึ้น พอมันยาวขึ้นคนเที่ยวก็อยู่ได้นานขึ้น คนเล่นงานนึงก็จะมีหลายคน ได้เล่นนานขึ้นก็ได้ฝึกฝนตัวเอง ผมก็ไม่รู้ว่าจริง มันเป็นปัญหารึเปล่า (โคอิชิ: ปัญหารัฐบาลมากกว่า) เราก็อยู่ตรงนี้มาตั้งแต่เรียนจบแล้ว จบมาผมก็ไม่ได้ทำงานประจำ ก็เป็นดีเจโปรดิวเซอร์อยู่อย่างนี้ ก็รู้สึกว่าวันนึงอยากจะมีปาร์ตี้ที่จัดแล้วลาก ไปถึงเช้าได้บ้าง แต่อันนี้ก็พยายามจะจัดให้นานกว่างานอื่น ในคลับปกติสี่ทุ่มเริ่ม อันนี้จะสามทุ่มเริ่ม คงเลตได้นิดหน่อยไปตีสองครึ่ง ตีสาม น่าจะ 5-6 ชั่วโมง

อยากให้ subculture นี้ขึ้นมาเป็น mainstream หรือเปล่า

โคอิชิ: ไม่หรอกครับ mainstream ก็ควรจะเป็น mainstream แบบนี้ต่อไป (หัวเราะ) ผมรู้สึกว่ามันมีคนฟังเยอะขึ้น แต่แนวนี้จะขึ้นเป็น mainstream ได้ไหม มันก็ไม่ใช่ ดนตรีที่เรานำเสนอมันมีความประชดบางอย่าง (หัวเราะ)

ปอนด์: จริง มันก็อยู่ซ่อน ของมันอย่างนี้ดีอยู่แล้วครับ ดนตรีแบบนี้ แต่ถ้ามีเด็กมาฟังเยอะ มันก็สนุก ไม่ได้ปิด ไม่ได้รู้สึกว่าต้องทำตัวอินดี้อะไร มันก็มีวิธีอยู่ของมัน

สุดท้าย ชวนกันมางานหน่อย

โคอิชิ: อันนี้คือครั้งแรก และเราก็ตั้งใจที่สุดเลย อยากให้มาลองฟังดู มามีความรู้สึกบางอย่าง งานมันมีคำว่า heavy แต่ไม่อยากให้เข้าใจผิดว่ามันหนักจนฟังไม่ได้ มันเป็นความหนักแน่นและมีคุณภาพของมัน ไม่ใช่แค่หนวกหู ถ้าอยากได้ความหนักแน่น ผมว่างานนี้ไม่แพ้ใคร

ปอนด์: ดนตรีบางชนิดมันต้องออกมาฟังที่งานมัน ไม่ใช่ฟัง Soundcloud หรือ Spotify ได้ บางทีเราฟังหูฟังมันก็จะรู้สึกอย่างนึง แต่อันนี้มันจะมาอยู่ตรงข้างหน้า กับคน 40-50 คน แล้วเสียงเบสมันกระแทกเข้ามา มันจะได้อีกความรู้สึกนึง แล้วอันนี้ก็ตามชื่อครับ heavy electronic experience เราเล่าถึงโจทย์ของดนตรีหนัก ล้วน หลายคนที่คิดว่าทำไมช่วงนี้มีแต่ดนตรีเบา เห็นน้องหลายคนก็อยากออกมาเที่ยวงานหนัก แบบนี้ อย่างงานนี้ได้ทั้งสายอิเล็กทรอนิกและสายร็อกเลย ก็อยากชวน ถ้าใครได้อ่านบทความนี้ก็อยากให้ลองดูครับ ถือเป็นโอกาสของเราที่จะได้มาเจอกัน

RAZE | Heavy Electronics Experience w/ Ansome and more.

— Line Up —
ANSOME [S.L.A.M.,Mord Recs, – UK] – Dj set
KOICHI SHIMIZU – live
MARMOSETS
PSRWP – live
WINKIEB

Music : Industrial Techno / Noise / Dark / Experimental / Hard Techno
Date : Friday 6th July 2018
Start 9pm
Venue : Safe Room – Silom Soi 8
Ticket : goo.gl/dJrKFb

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้