Interview

การกลับมาของ Slow Reverse วงอิเล็กทรอนิกชวนฝัน ที่ถึงจะช้า แต่ค่อนข้างชัวร์ในงานชุดที่สอง

Slow Reverse วงดนตรีอิเล็กทรอนิกป๊อป ที่เคยมีอัลบั้มเต็มที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ให้กับวงการดนตรีนอกกระแสไทยเมื่อหลายปีก่อน และทำให้แนวดนตรีแอมเบียนต์เป็นที่นิยมยิ่งขึ้นในช่วงนึง ก่อนจะเงียบหายไปพักใหญ่

ปี 2020 Slow Reverse ปล่อยซิงเกิ้ลแรกในรอบหลายปี All This Time หลังจากที่เราได้ฟังเพลงแล้วก็ต้องติดต่อไปหาพวกเขาทันทีด้วยความดีใจว่า ในที่สุดพวกเขาก็กลับมา

สมาชิก (จากซ้าย)
ออยศรีวรา อารยวงษ์กุล
อุซอุกฤษฏ์ ศิริชนะ
แพงกษวรรณ กังวาลพิวัฒน์

Slow Reverse

ออย: ที่ผ่านมาคือเราไม่ได้หายไปไหนนะ แค่ต่างคนต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเองไป

อุซ: ตั้งแต่ไลฟ์สุดท้ายของเรา น่าจะเป็นงาน Stone Free ปี 2014 เราก็ไม่ได้เล่นที่ไหนอีกเลย ในปีนั้นเราก็แต่งเพลงกันทั้งปี แต่ยังไม่ได้บอกใคร เพลงส่วนใหญ่ขึ้นดราฟต์เสร็จในปีนั้นแหละ แต่ยังไม่ได้อัด ไม่ได้อะเรนจ์อะไร

แล้วช่วงนั้นสมาชิกวงก็เริ่มมีความรับผิดชอบกันมากขึ้น นัดกันยากขึ้น น้องแพงก็ติดเรียน (แพง: ช่วงนั้นย้ายออฟฟิศด้วย) ชีวิตก็จะยุ่งขึ้น ออยก็ไปเล่นเซิร์ฟ (หัวเราะ

จริงๆทั้งปีนั้นเจอหน้ากันน้อยมาก ก็มีนัดประชุมใหญ่กันตอนปลายปี เพื่อจะคุยกันว่าปีหน้า 2015 เราจะอัดเสียงกันจริงจังแล้วนะ ก็ตั้งกรุ๊ปไลน์ขึ้นมา เข้าห้องอัดกัน ตอนนั้นคิดว่า 2 ปีน่าจะเสร็จ ปี 2017 ได้ฟังแน่นอน แต่แล้วมันก็ช้ามาก เพราะเราก็ยังรวมตัวกันได้ยากอยู่ ยังไม่ค่อยว่างกัน แถมที่เราเคยคิดว่าผ่านชุดแรกมาแล้ว ชุดที่สองมันจะง่ายขึ้น ปรากฏว่ายากกว่าเดิมอีก กลายเป็นว่าเราต้องมาคิดว่าทีนี้เราจะไปทิศทางไหนดี

ขั้นตอนการทำงานก็เหมือนชุดแรก คือต้องมาเริ่มคุยวางคอนเซ็ปต์กันก่อน จะมีกี่เพลง แต่ละเพลงทำหน้าที่อะไร เพื่อขึ้นเป็นโครงให้เราเกาะไว้ว่าอันนี้จะเป็นแกนของมัน แล้วเราก็ต้องตัดสินใจว่าอะไรที่เราจะเก็บไว้ อันไหนจะพัฒนาต่อ อะไรที่เราจะทิ้งไป พวกขั้นตอนนี้ก็ใช้เวลาค่อนข้างนานอยู่ แล้วพอเราเริ่มอัดกันจริงๆ มันก็จะมีสิ่งที่เราชอบไม่ชอบ เสียงนี้ไม่ดี ต้องเปลี่ยนเครื่องดนตรี ต้องรื้อ ต้องอัดใหม่ เยอะมาก เราอัดเสียงกันเหนื่อยกว่าชุดแรกด้วยซ้ำ มันก็ทำให้ช้าไปอีก จนพอใกล้ปี 2017 เราก็คิดว่าอยู่กันเงียบ ก่อนดีกว่า อย่าเพิ่งไปบอกใคร (หัวเราะ) ค่อย ทำให้เป็นไปตามธรรมชาติของมัน

แพง: 2017 แพงก็หายด้วยแหละ แพงเรียนโทปีนั้น แล้วก็ทำงานด้วย เวลาว่างก็ยิ่งน้อยลง กว่าจะได้ไปอัดสักเพลงนึงบางทีก็สามเดือน (อุซ: เสาร์ อาทิตย์ น้องแพงแทบจะไม่ว่างเลยด้วยซ้ำ) ชีวิตปกติเราก็เหนื่อยมากแล้ว กว่าจะได้มาทำต่อ ก็คิดอยู่เลยว่าจะโดนเขาไล่ออกจากวงรึเปล่า (หัวเราะ) รู้สึกผิดอยู่

อุซ: เราเคยตั้งเดดไลน์นะ แต่พอเรารู้ว่าทำไม่ได้เราก็ตัดทิ้งเลย ซึ่งจริงๆแล้วไม่ดีหรอก คือตอนนั้นเราคำนวณว่าเพลงนี้น่าจะใช้เวลาอัดเท่าไหร่ ขั้นตอนแต่ละอย่าง แล้วมานั่งดูปฏิทินมันก็ไม่ได้แน่ พอเครียดมาก กลายเป็นช้ากว่าเดิมอีก ก็เลยปล่อยละ เสร็จเมื่อไหร่ก็เสร็จ

หลังจากนั้นมันก็ค่อย โฟลว ดีขึ้น สบายใจขึ้น ไม่ต้องกดดันมาก จริง พาร์ตดนตรีส่วนใหญ่อัดเสร็จตั้งแต่ 2019 ต้น แล้ว เหลือเก็บอัดเสียงร้องให้เสร็จ ก็เพิ่งจะมาอัดเสร็จเมื่อต้นปีนี้เอง มีช่วงปีก่อนหน้านี้เรามักจะได้รับคำแนะนำที่เป็นความหวังดีจากทุกคนว่าออกซิงเกิลก่อนสิเห็นทุกคนชอบออกซิงเกิลกัน ก็ไม่รู้จะตอบยังไงเพราะเราวางแผนเป็นอัลบั้มมาแล้ว เราวางให้ทุกเพลงเชื่อมต่อกันไว้เป็นเรื่องราว มันก็จะยากที่จะทยอยออกทีละซิงเกิลไปเรื่อย ๆ

The Moon Arrives

อุซ: Slow Reverse ไม่เคยมีชื่ออัลบั้มเลย เพราะอัลบั้มแรกก็มีปัญหาเดียวกันนี้แหละ เราคิดชื่อไม่ออก แต่ตอนนั้นไม่เป็นไรเพราะชุดแรกไม่ต้องมีชื่ออัลบั้มก็ได้ (หัวเราะ) เป็น self-titled

ต่อมาโปรเจกต์นี้ เริ่มแรกตั้งชื่อว่า Aurora เราไม่คิดว่าจะใช้เป็นชื่ออัลบั้มหรอก ตั้งให้เพราะ ไว้ก่อน แล้วก็ยังนึกชื่อไม่ออก ปีก่อนเราคิดจะตั้งชื่อว่า Mercury ดูแข็งแรงดี เป็นได้ทั้งชื่อดาว หรือเป็นชื่อธาตุก็ได้ แต่ก็ยังไม่ถูกใจ

สุดท้ายเมื่อต้นปี เราเตรียมเนื้อเพลงจะส่งให้กราฟิกดีไซเนอร์ออกแบบปก เราไปเจอประโยคนึงในเพลง คิดว่าถ้าเราดึงคำนี้ออกมาวางมันก็สวยดี มีความโรแมนติก มีความแข็งแรงของมันเอง แล้วก็แปลเหมือนจะเข้าใจแต่ก็ไม่เข้าใจ มันก็ตรงกับที่พวกเราชอบดี เป็นชื่ออัลบั้มThe Moon Arrives

เวลาทำอัลบั้ม 2 จะยากกว่าชุด 1 เสมอ

เพราะชุดแรกวงจะยังใหม่มาก มีเรื่องอยากพูดถึงเต็มไปหมด?

อุซ: เรามีปัญหากับอัลบั้ม 2 จริง แต่ไม่ใช่ปัญหานี้ เพราะก่อนที่เราจะเริ่มทำอัลบั้ม 2 เรามีเรื่องที่จะหยิบมาพูดแล้ว เพราะเราคิดไว้ตั้งแต่จบอัลบั้มแรก ตอนนี้ปัญหากลายเป็นเรื่องการเลือกซาวด์ กับ arrangement คือที่เหนื่อยคือเหนื่อยตัดสินใจ เราอยากจะทำให้มันออกมาดี ถ้าซาวด์เหมือนเดิม มันก็จะเหมือนเดิม แต่ถ้าถ้าซาวด์ไม่เหมือนเดิม มันก็จะต่างไปเยอะเหมือนกัน ถ้าเราพลิกแนวไปเลยแล้วแฟนเพลงจะยังเข้าใจเราหรือเปล่า หรือเราต้องค่อย พลิก มันมีทางเลือกหลายทาง ก็เลยยากที่เราจะเลือกทางไหนให้เรารู้สึกว่าเราแฮปปี้ แล้วแฟนเพลงก็ยังเข้าใจเราอยู่

ตอนแรกเราจินตนาการว่าชุดนี้จะได้เล่นสดกันสนุกขึ้น เราก็พยายามทำอย่างนั้นนะแต่ก็ไม่รอด ด้วยสิ่งที่เราอยากจะสื่อในอัลบั้มนี้มันเหมาะกับ element ที่เป็นเสียงอิเล็กทรอนิกมากกว่า ก็เลยต้องวางคอนเซ็ปต์ใหม่ มันก็มีสิ่งที่เปลี่ยนไปเยอะเหมือนกันจากอัลบั้มแรก ก็ลุ้นว่าแฟนเพลงจะชอบไหม

ตอนชุดแรกเราเคยบอกว่ามันเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระยะใกล้ ในระยะส่วนตัว อย่างกีตาร์ก็จะหวาน มีไปเรื่อย เยอะ มีตีคอร์ด มีเมโลดี้สวยงาม ซึ่งในชุดใหม่กีตาร์อาจจะหายไปเยอะเหมือนกัน ซิงเกิลแรกที่ออกมาชื่อ All This Time นี่ แฟนเพลงอาจจะยังคุ้นเคยกันอยู่ ยังมีกีตาร์ตอนท้ายเพลง ก็หวังว่าพอเขาฟังทั้งอัลบั้มก็จะยังชอบกันนะ

ส่วนเสียงสังเคราะห์ก็เยอะขึ้น เสียงกลองก็เปลี่ยนไป ธีมโดยรวมมืดลงเยอะเลย เราดำดิ่งละ เล็งไว้ละ (หัวเราะ) ความรู้สึกอัลบั้มนี้เป็นเหมือนความโดดเดี่ยว มองเข้ามาในตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มองเห็นมุมกว้างมากขึ้น เหมือนเราเข้าใจชีวิตมากขึ้นแต่ก็ยังสงสัยในการมีอยู่ของตัวเอง ธีมอัลบั้มนี้คือการเดินทางอันโดดเดี่ยว ที่ไม่มีวันย้อนกลับ เรามีสมาธิมากขึ้น มองตัวเองมากขึ้น คิดถึงสิ่งที่ตัวเองละทิ้งไป แล้วก็ยังมองไปข้างหน้าอยู่ (แพง: เหมือนคุยกับตัวเอง) พอธีมมันมืดลง ความรู้สึกส่วนที่เป็นความหวังก็ดูสว่างขึ้น เหมือนเป็น contrast กัน

ออย: หลัก พี่อุซจะเป็นคนทำเพลง เป็นคนตัดสินใจ

อุซ: การทำงานคือ เราดราฟต์แล้วมาดูกัน สองคนนี้เค้าจะเป็นคนเคลียร์ว่าได้หรือไม่ได้ ชอบหรือไม่ชอบ เหมือนจะเป็นหัวหน้าพี่อีกทีนะ (หัวเราะ) (ออย: เป็นคอมเมนเตเตอร์) เราก็ต้องคอยแก้เนื้อร้องเพื่อให้เขาร้องได้ดีในอารมณ์นั้น ก็ต้องช่วย กันพัฒนา

เหมือนเป็นการวางแผนอัลบั้มที่ใช้ design thinking เรียนออกแบบมาหรือเปล่า

อุซ: เราจบดีไซน์มา เวลาทำงานก็มองแบบนั้นแหละ ตั้งโจทย์ สร้างคอนเซ็ปต์ ทำตามนั้น แล้วก็เป็นกังวลว่าคนใช้งานเค้าจะโอเคไหม (หัวเราะ)

ออย: ออยก็ไม่ได้เป็นดีไซเนอร์ขนาดนั้นนะ แต่จะใช้เซนส์ส่วนนี้เปิดร้าน เป็นแม่ค้า ขายของ เลือกของ แต่งร้านแล้วก็เป็นสายใช้ชีวิต (หัวเราะ)

แพง: แพง สาวออฟฟิศค่ะ เรื่องดีไซน์ก็อาจจะใช้อยู่ในแง่ business เราทำงานด้านมาร์เก็ตติ้ง ยังอยู่กับการดูเรื่องวางแผนโฆษณา ทำยังไงให้ของขายได้

Slow Reverse

การกลับมาครั้งนี้ห่วงไหมว่าจะยังมีคนจำกันได้หรือเปล่า

อุซ: เรามั่นใจมากเลยว่า การกลับมาครั้งนี้ จะไม่มีคนรู้จัก (หัวเราะเรารู้นะว่าถ้าแฟนเพลงได้ข่าว เขาก็คงจะแฮปปี้แหละ แต่เราจะส่งข่าวบอกเขายังไง เมื่อก่อนตอนนั้นยังคุยกันในเฟซบุ๊กอยู่ จนเราหายไปหลายปี อัลกอริธึมมันก็เปลี่ยนไป คิดว่าตอนนี้เราเขียนอะไรในเฟซบุ๊กก็อาจจะมีคนเห็นน้อยลง แล้วยังมีทวิตเตอร์ที่เราสมัครทิ้งไว้เมื่อ 10 ปีก่อน ก็ยังอยู่อย่างนั้นเหมือนเดิม (หัวเราะ) เราเผลอตัดขาดช่องทางติดต่อกับแฟนเพลงโดยไม่ได้ตั้งใจ

แพง: แล้วก็ยังก็มีวงใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอีกเยอะมากด้วยในช่วงที่เราหายไป แต่ก็ยังมีเซอร์ไพรส์นะ อย่างวันที่ไปเอาท์ติ้งออฟฟิศ มีคนเป็นร้อย แล้วมีคนถามมาว่าอยู่ Slow Reverse ใช่มั้ย ก็ดีใจว่า รู้จักด้วยเหรอ เขาบอกว่าเขาฟัง Fat Radio มาตั้งนานแล้ว แล้วอีกคนเป็นพี่ฝ่ายไอที รู้ว่าเรามีวง แล้วมีซีดีด้วย เราก็แบบ โหยยย พี่รู้จักด้วยอะ (หัวเราะ)

ความรู้สึกตอนแรกสุดที่ทำวง กับตอนนี้ เป้าหมายการทำเพลงยังเหมือนกันหรือเปล่า

อุซ: ก็ยังคล้าย กันนะ อัลบั้มแรกเราทำเพราะอยากทำ อยากออกเทปมาตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ แล้ว (ออย: พี่อุซอยากออกเทปเพราะชอบฟังเพลง) คือเราเป็นเพื่อนกับพี่ชายของออย ฟังเทปกันมาตั้งแต่ตอนเรียน แล้วออยก็เข้ามาแจม จนพี่ชายออยหายไปไหนแล้วไม่รู้ตอนนี้ (ออย: แต่งงานไปแล้ว) กับออยก็ฟังเพลงมาด้วยกันเนี่ยแหละ

ออย: มันก็จะเป็นเพลงที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก ฟังเพลงแปลก กันมา

อุซ: เรารักในเสียงเพลง เราเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ก็อยากมีผลงานเพลงออกมา เลยทำวงดีกว่า ตอนแรกมีพี่ชายออยด้วยนะ แต่ต้องออกไปเพราะเค้างานเยอะ โกลตอนเริ่มทำอัลบั้มแรกก็เป็นช่วงอายุ 20+ แหละ คืออยากมีอัลบั้ม ประสบความสำเร็จ ติดชาร์ต ได้ไปเล่นทัวร์รอบโลก เป็นโกลยิ่งใหญ่มาก (หัวเราะ) อันนั้นมันก็เป็นความฝันที่ดี

เวลาผ่านไป เราก็มองความเป็นจริงมากขึ้น โกลตอนนี้คือเราก็ยังรักที่จะทำเพลงอยู่แหละ เรารักมันมาก ถึงมันจะเหนื่อยก็เถอะ คือการทำเพลงมันเหมือนเป็นความสุขในความทรมานนะ คล้าย เวลาเราปีนเขา เราชอบปีนเขาแต่มันก็ทำให้เราเมื่อยขา (หัวเราะ) เราก็อยากทำให้มันสำเร็จแหละ มันเหมือนเป็นรางวัลที่เราแฮปปี้ เป็นโกลที่เราเซ็ตไว้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ตั้งเป้าจะไป world tour แล้ว เราเซ็ตแค่ว่า (ออย: มันต้องเสร็จ) ใช่ ไม่ได้คิดไปถึงว่าต้องมีคนฟังเยอะ ด้วย โกลตอนนี้เรียบง่ายมากเลย ถ้าทำเสร็จ ก็จบ ดีใจแล้ว ตอนนี้ก็ถือว่าใกล้สำเร็จแล้ว

เพลงที่ฟังกันมาฟังอะไรบ้าง

ออย: เก่ามากนึกไม่ออกแล้วเนี่ย พวก Chemical Brothers, Daft Punk พวกนี้ ฟังไปเรื่อยแหละ

อุซ: พี่ชายออยมันจะผมยาว พี่ผมหยิก เราจะรู้สึกว่าเป็น Chemical Brothers (หัวเราะ) ก็มี Broadcast

ออย: Cibo Matto ฝั่งญี่ปุ่น Pizzicato Five เป็นความแมสในความไม่แมสอะ เขาก็มีตลาดของเขา

ตอนที่เพลง Moving ออกมา สร้างปรากฏการณ์ให้ซีนดนตรีไทยในช่วงนั้น

อุซ: ตอนนั้นกังวลเหมือนกัน เพราะว่ายุคนั้นไม่ค่อยมีเพลงที่ร้องภาษาอังกฤษ อาจจะมี Cyndi Seui ที่เป็นอิเล็กทรอนิกมีร้องภาษาอังกฤษ แต่วงอื่น ๆ นึกไม่ออกเลย ก็ตกใจเหมือนกันที่เพลงขึ้นชาร์ต Fat Radio ได้

ออย: จำไม่ค่อยได้แล้ว จำได้ว่าสนุก ก็เป็นปกติ เวลาทำอะไรออกมาจะกังวลว่า มันจะโอเคไหม แต่พอคนฟังบอกเพราะดี มีแฟนเพลง ก็แฮปปี้ ตื่นเต้นตกใจนิดหน่อยที่มีคนติดตาม

คิดถึงการเล่นคอนเสิร์ตไหม

ออย: ส่วนตัวเรา ตอนนี้เราไม่ได้คิดเรื่องเล่นสดอะไรเลย เหมือนมีโกลแค่ทำอัลบั้มให้เสร็จ แล้วก็ให้ออกมาดี 

อุซ: ออยเขาจะมาเป็นพัก จะมาบอกว่าอยากเล่นสดจัง‘ ‘อยากร้องเพลงแล้วเดี๋ยวเขาก็จะหายไปทำนู่นทำนี่ (หัวเราะ) จริง ๆ ไม่ได้เล่นสดมานาน แทบจำไม่ได้แล้วว่าความรู้สึกเป็นยังไงนะ ถ้าได้กลับไปเล่นก็คงจะสนุกดี คือก่อนหน้านี้ทุกคนยุ่งมาก ถ้าให้มาเล่นสดคงไม่ไหว ตอนนี้เราสบายขึ้นแล้ว แพงเรียนจบแล้ว ออยก็มีเวลามากขึ้น เล่นสดน่าจะสนุกดีนะ นี่ยังไม่ได้ลองซ้อมกันเลย คือเพลงชุดใหม่ ต้องเซ็ตระบบใหม่หลายอย่าง เริ่มใหม่เยอะเลย

ที่จริงซิงเกิ้ลนี้ (All This Time) จะออกตั้งแต่เมษา ฯ แล้ว แต่พอมี covid-19 เราไม่รู้จักว่ามันคืออะไรเราก็เลยหยุดไว้ก่อน ผ่านมาสักพักก็คิดว่าไม่เป็นไรนะ คือวงเราไม่ซีเรียสเรื่องเล่นสดอยู่แล้ว ถ้าปล่อยเพลงออกมาตอนนี้ให้ฟังกันที่บ้าน ก็น่าจะดี ก็ปล่อยเลยละกัน

แต่ก็แอบกลัวคนติดต่อมาให้เล่นสดเหมือนกัน (หัวเราะ) เพราะจริง ๆ เรายังไม่พร้อม คือเมื่อก่อนพอเราเริ่มโปรโมตปั๊บ จะมาเลย งานต่าง ตอนนี้เรายังไม่กล้าโปรโมตมาก เกรงใจต้องปฏิเสธ เดี๋ยวเขาจะเสียใจ แต่อย่าง Cat Radio นี้เราตกลงไปแล้ว โพสต์ในเฟซบุ๊กไปแล้ว (หัวเราะ) เราก็ต้องพยายามทำให้ได้ ยังไม่รู้เลยว่างาน Cat Expo เดือนพฤศจิกายนเราจะรอดไหม จะซ้อมทันไหม มือกลองตอนนี้ก็ยุ่งมากด้วย ทุกคนในวงก็น่าจะลืมไปหมดแล้วว่าต้องทำอะไรบ้าง (หัวเราะ) สารภาพเลยว่าตอนนี้กีตาร์อัลบั้มแรกจำไม่ได้แล้ว ทุกอย่างต้องกลับไปรื้อฟื้น ถ้าอยากฟังเล่นสดคงต้องรออีกหน่อย

เป็นศิลปินเองด้วย และมีค่ายเพลงเองด้วย ยากไหม

อุซ: ไม่นะครับ เพราะจริง ๆ ค่ายเราไม่ได้แสวงหาผลกำไร เราต่างกับค่ายอื่นตรงที่เราไม่ได้คอยออกไปสเกาต์หาวงใหม่ ๆ แล้วชวนเขามาทำ คือทุกวงที่เราทำให้เป็นเพื่อนเราหมดเลย เขาก็ไม่ได้มีค่าย บางทีเขาอาจจะทุนไม่พอ หรือไม่ถนัดการทำโปรดักชันต่าง ๆ ก็โอเค ก็ทำเพลงมา เดี๋ยวเราทำเรื่องโปรดักชัน การผลิต ทำปกอาร์ตเวิร์ก ส่วนแบ่งอะไรก็ตกลงกัน มันไม่ได้เหมือนเป็นค่ายจริงจัง

ที่ตั้งเป็นชื่อค่ายเพื่อจะได้ดูดีหน่อย ถ้าบอกว่าออกโดยพี่อุซมันก็อาจจะตลก (หัวเราะ) ถ้าบอกว่ามาจาก Colorcode จะดูดีกว่านะ บางทีวงต่างชาติอาจจะคิดว่าเราเป็นค่ายใหญ่ เพราะเวลาเขาเสิร์ช ‘independent record label Bangkok’ เว็บค่ายเราจะขึ้นมาต้น ๆ เลย แล้วเว็บอ่านรู้เรื่องเป็นภาษาอังกฤษ เราก็จะได้เพลงเดโมจากชาวต่างชาติแทบจะทุกเดือน เค้าถามว่าเราสนใจไหม เราก็จะฟังนะ ถ้าไม่ได้ตรงกับแนวเรา เราก็จะแนะนำให้เขาไปทางอื่น แต่ถ้าเราชอบและเรามีทุน เราก็อยากจะทำให้

เช่นวง Wilderness จากสวีเดน เราออกทุนให้สำหรับออกซีดีในไทย แล้วก็ให้คุณโตคิณ กับ Keisuke ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นทำ mv ให้เขา คุยกับวงว่าเราออกทุนผลิตให้นะ ทางวงอยากได้เงินก้อนค่ามาสเตอร์เลยไหม หรือจะรอให้ซีดีขายได้ก่อนแล้วค่อย ให้ ฝั่งนู้นเขาก็สบาย บอกไม่เป็นไร ขายได้เมื่อไหร่ค่อยส่งมา ก็แฮปปี้ทุกฝ่าย อยู่ที่จะดีลกันยังไง ตอนที่เขามาเล่นเมืองไทยเราก็ช่วยดูแลเวลาเขาไปเล่นที่ต่าง Big Mountain อะไรแบบนี้

รู้สึกยังไงกับแวดวงดนตรีไทยในปัจจุบัน

อุซ: ทุกครั้งที่เราเริ่มทำอัลบั้ม เราจะไม่ค่อยได้ฟังอะไรใหม่ ๆ เลย ฟังแต่สิ่งที่มีอยู่ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เรา ส่วนนึงเพราะเรากลัวจะไปได้อิทธิพลมาจากเพลงใหม่ ๆ ซึ่งเราไม่อยากให้มันมาตีกับสิ่งที่เราวางไว้แต่แรก อีกส่วนนึงคือไม่อยากจิตตกนะ ศิลปินที่เขาเซนสิทิฟน่าจะเป็นกันหลายคน คือเวลางานเรายังไม่เสร็จ แล้วเห็นคนอื่นมีงานออกกันเรื่อย เราจะรู้สึกกดดันตัวเอง ก็เลยแทบจะไม่ได้ฟังเพลงใหม่ ๆ ไม่ได้เข้าโลกโซเชียลเลยด้วย

นี่เพิ่งได้มาเล่นเฟซบุ๊กเมื่อเดือนที่แล้ว ก็ยังงงว่า story คืออะไร มีอะไรใหม่ๆเต็มเลย (หัวเราะ) ก็พยายามตามอยู่นะ วงน้อง ที่น่าสนใจมีเยอะ เหมือนช่วงที่ผ่านมาจะมีวงที่ร้องภาษาอังกฤษเยอะขึ้นมาก ก็รู้สึกสบายใจว่าเราไม่ใช่แกะดำกันอีกต่อไปแล้ว แล้วแต่ละวงทำเพลงกันเก่ง ๆ ทั้งนั้นเลย ก็เป็นข้อดีของเทคโนโลยี แต่พอมันง่ายขึ้น ก็ต้องระวังนะ ต้องมีวินัยมากขึ้น ไม่อยากให้กลายเป็นทำเยอะ ๆ ไปก่อน แล้วเดี๋ยวมันต้องดังสักเพลง

แล้วทีนี้การหาเพลงดี จะยากกว่าเดิม มันก็จะเป็นการงมเข็มในมหาสมุทรแล้ว เพราะมันเต็มไปด้วยอะไรก็ไม่รู้ แต่อีกมุมนึง ถ้าทำงานแบบเรา ตั้งใจทำเกินไป ก็จะ 10 ปีแบบนี้แหละ (หัวเราะ) (ออย: ที่เห็นวงใหม่ ๆ ว่าตั้งใจทำก็มีหลายวงนะ) ใช่ ๆ คือไม่อยากให้วงดี ๆ ถูกหลายอย่างมา blend จนแยกยาก

แพง: สมัยก่อนเราสุ่ม เพลงหน่อยก็เจอที่ชอบละ เดี๋ยวนี้ต้องตั้งใจหา

อุซ: สมัยก่อนวงน้อยกว่านี้นะ ปีนึงมีไม่กี่วงเอง เว็บฟังใจตอนนี้เข้าไปดูเราไม่รู้จักแล้ว วงใหม่ๆเพียบ ซึ่งก็ดีนะ ทุกคนมีที่ที่จะ publish งานตัวเอง

Slow Reverse

การที่วงทำเพลงภาษาอังกฤษเยอะขึ้นเป็นข้อดียังไง

ออย: จริงๆสมัยนี้คนไทยก็เริ่มโอเคกับการพูดไทยปนอังกฤษเหมือนกัน เราว่าบางทีเขาอาจจะใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันเยอะขึ้นด้วย มันก็ดีที่ทั้งคนไทย คนต่างชาติได้ฟังรู้เรื่องด้วย

อุซ: ใช่ ต่างชาติก็จะเข้าถึงซีนประเทศเราได้มากขึ้น อย่างอินโดนีเซียเขาทำเพลงอินดี้ภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ 90s แล้ว เก่งมาก จนซีนเค้าใหญ่โตแล้ว เราได้ฟังอินดี้ชาวอินโดมาตั้งแต่มัธยม แล้วก็ฟังรู้เรื่องด้วย แล้วเพลงดีอะ

แพง: เพลงเรามันยากที่จะแต่งเป็นภาษาไทย

อุซ: มันมีเหตุผลดังนี้ครับ (หัวเราะ) เมื่อก่อนเราเคยแต่งเพลงไทยไว้เยอะเหมือนกัน การใช้คำภาษาไทยมันยากนะ สรรพนามต่าง เธอ ฉัน เรา ผม คุณคำพวกนี้มันมีอารมณ์แฝงอยู่ แล้วมันไม่สามารถเป็นคำทั่ว ๆ ไป แบบ I กับ you

คอนเซ็ปต์ของวงเรา เนื้อเพลงค่อนข้างเป็นปลายเปิด คนฟังต้องใช้จินตนาการเข้าไปช่วยเติมด้วย ภาษาอังกฤษมันมีความแกว่งอยู่เยอะ มันทำให้คนตีความได้หลายอย่าง บางคำแปลได้หลายความหมาย บวกกับที่เราฟังเพลงร้องเพลงภาษาอังกฤษเยอะด้วย มันก็เลยคุ้นปากกว่า อย่างออยตอนวัยรุ่น  เขาจะร้อง The Cardigans

ตอนแรกเราก็กลัวว่ามันจะดูไม่งาม คนจะถามว่าทำไมต้องร้องภาษาอังกฤษเราก็คิดว่า ถ้าเรา true to ourselves เนี่ย you know (หัวเราะ) ขอโทษค้าบ (แพง: เนี่ย พูดไทยคำอังกฤษคำ) คืองี้ อีกสาเหตุที่เราแต่งภาษาไทยยากด้วยคือเพราะเมโลดี้ด้วยแหละ คือเรารักเพลงไทยนะ แต่เราชอบเพลงไทยที่วรรณยุกต์ตรง เพลงแกรมมี่ที่ฟังเมื่อก่อนเพราะมาก มันสวยงาม เราชอบคนพูดไทยชัดร’ เรือล’ ลิง พอฟังเพลงไทยที่วรรณยุกต์ไม่ตรงก็เลยขัด ๆ หูหน่อย คือเข้าใจนะ อย่าง R&B เนื้อไทยมันลงยากมาก เราชื่นชมมาก คนที่แต่งเพลงได้ลงวรรณยุกต์เนี่ย เราลองทำเองก็รู้ว่ามันยากจริง เราทำให้เข้ากับแนวเราไม่ได้

เอาจริงทุกวงโดนตำหนิหมดแหละ เราก็มีโดนเหมือนกัน คนที่ไม่เข้าใจเขาก็ไม่เข้าใจหรอก เราอย่าไปติดใจอะไร คอมเมนต์มันต้องมีทั้งดีและไม่ดีอยู่แล้ว ใน YouTube ก็ปกติ มีทั้งคนชอบไม่ชอบ

แพง: เพราะขนาดไหน ดีขนาดไหน ก็ยังมีคน dislike อยู่ดี

อุซ: เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจทำสิ่งที่เราเชื่อ อย่าไปอะไรกับคอมเมนต์ที่พิมพ์เลยครับ

งานเล่นสดเร็ว นี้

อุซ: ที่แรกน่าจะเป็น Cat Expo ถ้าไม่โดนใครชิงไปก่อนนะ (หัวเราะ) จริงๆเราตั้งใจว่าจะจัดปาร์ตี้เปิดอัลบั้มเล็ก น่ารักด้วย พอ covid-19 มาก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้ก็หวังว่าจะได้เจอกันที่ Cat Expo ที่แรกนะ

ฝากอะไรทิ้งท้าย

อุซ: โซเชียลมีเดียต่าง เราจะพยายามอัพเดต แต่ hub ของเราจริง คือ slowreverse.com มีอะไรมาที่นี่ก่อน จะมีเพลง มีวิดิโอ อะไรที่เป็นข่าวใหญ่ เราจะลงที่นี่ไว้ก่อน ส่วนการตลาดที่วงควรทำว่าวันนี้วงทำอะไร กินอะไรอาจจะให้ออยเป็นคนคอยอัพ (หัวเราะ)

เราทำเรื่องพวกนี้ไม่ค่อยเป็นนะ เราไปอ่าน music marketing ยุคนี้ต้อง connect แฟนเพลง โชว์ lifestyle แต่เราไม่รู้จะถ่ายอะไรจริง ๆ อย่างพวกคำแนะนำการทำดนตรีตามเว็บต่าง ก็น่ากังวล เราเข้าใจว่ามันดีแหละ แต่บางคำแนะนำเราคิดว่ามันจะตีกรอบเกินไป เช่น ’10 วิธีแต่งเพลงให้ฮอตฮิต’ ต้องเริ่มเพลงมาด้วยท่อนฮุกขึ้นก่อนเลย คนฟังจะได้ไม่กด skip ใน Spotify คือมันก็มีเหตุผลดีนะ แต่ก็สงสัยว่า มันใช่เหรอ เมื่อก่อนตอนเราหัดเรียนรู้ ก็มีอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้นะ เราเข้า Sound on Sound ไปดาวน์โหลดคอนเทนต์ที่เขาสอนทำเพลง สอนมิกซ์เพลง แบบเป็นทฤษฎี เป็นเรื่องเป็นราว แต่ทุกวันนี้พอเจอการสอนที่ฉาบฉวยก็กลัวว่าวงรุ่นใหม่จะเป็นยังไง เช่นถ้าเขามีคำถามว่า มิกซ์เพลงยังไง แล้วไปเจอคำตอบที่ตีกรอบ (แพง: บางทีมาเป็นสเต็ปเลย) มันเกินไปหน่อย ไม่อยากให้ไปปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ คือถ้าเราเป็นเด็กตอนนี้อาจจะจบแค่นั้น ไม่ไปหาอ่านต่อ ความรู้จริง ๆ อาจจะอยู่หน้า 10 ของ Google

แพง: มันก็อาจจะมีเวลาของมันนะ ตอนนี้ให้เขาลองทำตาม 10 steps ตรงนั้นไปก่อน แล้วเขาจะเข้าใจเอง

อุซ: แต่ถ้าเขาปล่อยเพลงออกมาเลย ตอนที่มันยังไม่ดี มันก็จะเสียชื่อเขาเองนะ (แพง: ให้มีภูมิคุ้มกันก่อน) ก็เป็นอีกยุคนึงนะที่เรารู้สึกว่าเราแก่ลงเรื่อย (หัวเราะ)

ขอบคุณสถานที่ Vintage Agent

อ่านต่อ

‘ถึงจะไม่ทำเงิน แต่ Dub หล่อเลี้ยงจิตใจ’ ฟังเหตุผลที่ แก๊ป T-Bone ยังไม่หยุดทำ GA-PI ในงาน จับหูชนปาก 8

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้