Feature News Hot and Trending News

ค้นพบโลกใบใหม่ในปาร์ตี้ดนตรีอิเล็กทรอนิกกว่า 10 ชั่วโมง MELA Clubnacht

  • Writer: Montipa Virojpan

องค์ประกอบของมนุษย์ประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจ การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์เกิดจากการทำงานร่วมกันของทั้งสองส่วน และสามารถเติมพลังให้กันและกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อหลอมหลอมร่างกายและจิตใจเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความหลากหลายของชีวิตมากมายนับไม่ถ้วน จากคำกล่าวที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมเมื่อมนุษย์ต้องมาอยู่ร่วมกัน จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ต่าง เพื่อให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้

การเต้นรำ เป็นการแสดงทางอารมณ์ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการเฉลิมฉลองให้กับชีวิต เมื่อมีหลายชีวิตมาเต้นรำร่วมกัน ก็จะก่อให้เกิดพลังงานที่ทำให้บรรยากาศรอบข้างนั้นเหมือนอยู่ในมนต์สะกด

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พวกเราเชื่อในการสร้างพลังงานเหล่านั้นให้เกิดขึ้นบนฟลอร์เต้นรำ รู้สึกเป็นเกียรติและมีความสุขทุกครั้งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองชีวิตของทุกคน การนำเสนอเพลงเหล่านี้ จะไม่มีทางสมบูรณ์ได้ หากขาดการเต้นรำที่อยู่ตรงหน้า มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งบนฟลอร์ และเดินทางดำดิ่งสู่ห้วงลึกของจิตใจไปพร้อม กัน

เราอาจจะได้อ่านคำอธิบายคอนเซปต์คร่าว ของงาน MELA Clubnacht กันมาแล้วจาก event page ในเฟซบุ๊ก ซึ่งก็อาจทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าปาร์ตี้นี้จะต่างจากงานอิเล็กทรอนิกอื่น ยังไง กลุ่ม MELA ที่เราได้ยินชื่อบ่อย ในช่วงสามสี่ปีให้หลังทำอะไรมาบ้าง และอะไรทำให้พวกเขาเชื่อมั่นในการเติมพลังจากการหลอมรวมกันระหว่างร่างกาย จิตใจ เสียงเพลง และการเต้นรำที่ทำให้พวกเขาไม่หยุดสร้างซีนนี้มาตลอด 5 ปี ที่ผ่านมา

MELA — melanism (n.) a development of the dark-colored pigment melanin in the skin or its appendages and is the opposite of albinism

ขอแนะนำให้รู้จักกับ MELA กลุ่มผู้รักในเสียงดนตรีและศิลปะที่ต้องการนำเสนอทั้งสองสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่ามีจุดกับเนิดร่วมกัน นั่นคือสมองส่วนที่ขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ อันทำให้มนุษย์ได้รู้จักความสุนทรีย์ในชีวิต ในระยะแรก พวกเขาจัดปาร์ตี้พร้อมกับมีการแสดงงานศิลปะไปพร้อมกัน และบ่อยครั้งก็ให้สื่อประเภทอื่น มาจัดแสดงร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดจากผู้สร้างสรรค์ของแต่ละวงการ

ชื่อของ MELA มาจากคำว่า ‘melanism’ ที่หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่เกิดการกลายของเม็ดสีจนผิวทั้งหมดเป็นสีดำ ด้วยความแตกต่างทางกายภาพทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกมองว่าผิดแผกไปจากธรรมชาติ แต่ในเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ ถ้ามองเข้าไปดี จะเห็นเหลือบหลากสี ไม่ได้ดำอย่างที่ตาเห็น ซึ่งพวกเขาก็ได้ใช้คำดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวเองที่เหมือนเป็นชนกลุ่มน้อยในซีนอยู่กลาย เพราะเพลงที่พวกเขาเปิดยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนำเสนอศิลปินที่มีคุณภาพ มีความน่าสนใจแต่อาจจะยังไม่มีคนเห็น หรือยังไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง

ดนตรีอิเล็กทรอนิกจำพวกเทคโน ดีพเฮาส์ หรือ subgenre ที่ดูฟังยาก  ทำให้เกิดคำถามมากมายตามมาจากผู้ที่ได้รับฟังว่าจะเต้นกับเพลงพวกนี้ยังไงในระยะแรกอาจมีคนคิดว่า เพราะคนฟังไม่มีความรู้ หรือไม่เข้าใจในธรรมชาติของเพลงลักษณะนี้ แต่อันที่จริงแล้วพวกเขาฟังออก เพียงแต่ว่าศิลปินมีการออกแบบการนำเสนอที่ดีพอที่จะทำให้คนฟังค่อย เรียนรู้ไปพร้อม กันหรือยัง

ตั้งแต่นั้นมาก็เลิกเล่นยัดเยียดสิ่งที่จะนำเสนออย่างเดียว เรียนรู้วิธีเล่าเรื่องใหม่ เพราะเล่นแบบเดียวอย่างเดียวไปทั้งเซ็ตไม่ได้ดีที่สุด งานไหนสถานที่แปลก ก็ยิ่งท้าทาย เจอคนฟังหน้าใหม่ เขาไม่ได้ฟังไม่ออก แต่บางทีเขาไม่รู้จะตอบสนองยังไงมากกว่า เราก็ต้องให้ความเคารพคนฟังทุกคน เพราะสมองประสาทสัมผัสรับรู้เท่ากันหมด ต่างกันที่ประสบการณ์ ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เราก็ไม่รู้หรอกว่าที่เล่น ไปมันทำให้เป็นกระแสขึ้นมาหรือเปล่า แต่ก็ดีใจมากที่เห็นคนไทยมาเต้นด้วยกัน” กร วรศะริน มือเบสวง Fwends หรือ Kova O’ Sarin หนึ่งในดีเจที่ร่วมแสดงในงานนี้เล่า

MELA Clubnacht นี้เองจึงจะเป็นงานที่เฉลิมฉลอง 5 ปีแห่งความสุนทรีย์ในชีวิตอันเกิดจากประสาทสัมผัสทุกส่วนที่หลอมรวมเป็นหนึ่ง เป็นงานที่พวกเขาอยากให้คนที่มาได้ประสบการณ์คลับที่สมบูรณ์ที่สุด เหตุผลที่ลากยาวตั้งแต่ช่วงบ่ายจนถึงดึกเป็นเพราะว่าดนตรีเหล่านี้ต้องใช้เวลาซึมซับ แค่เวลาผับเปิดสี่ทุ่ม จบตีสอง คงไม่เพียงพอนักที่จะได้ร่วมเรียนรู้เนื้อแท้ของดนตรีเต้นรำ เป็นเหตุผลที่เรามักจะเห็นเทศกาลดนตรีอิเล็กทรอนิกที่จัดกันทั้งคืนและมีผู้เข้าร่วมงานตลอดทั้งวันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

“ปกติคนจะมากันจริง ตอนสี่ทุ่ม แล้วเพลงจะเริ่มเปลี่ยนแนวตอนตีสองตีสาม ซึ่งช่วงที่เปลี่ยนแนวนี่ฟินมาก ในมุมมองคนที่เล่นคือเวลาเปลี่ยนให้ดีพมาก ตอนดึก บรรยากาศโคตรมหัศจรรย์ เหมือนล่องแก่งแบบหฤโหดแล้วมาเจอน้ำนิ่ง สำหรับคนเต้นคือมันจะเริ่มเหนื่อยหรือเริ่มเอียนแล้ว แต่พอถึงช่วงเวลานั้นปุ๊บ เจอจังหวะที่เปลี่ยนไป เจอกรูฟใหม่ เขาก็คล้อยขยับตามไปได้  ซึ่งมันมีบางที่ที่ก็เริ่มตั้งแต่เที่ยงไปจบอีกวันสองวันตอนสิบโมง เหมือนพอเข้าไปแล้วก็ลืมวันลืมคืนเลย เราก็จะเป็นคล้าย แบบนั้นแหละ แต่มันเปิดถึงเช้าไม่ได้ (หัวเราะ) ส่วนจะออกมาเป็นยังไงอันนี้ต้องลองดู

ส่วนบรรดาดีเจที่จะมาร่วมสร้างประสบการณ์คลับมิวสิกใหม่ ให้กับทุกคนในงานนี้ได้แก่

Elaheh หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Unst  และ Collect / Save ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต้องการจะผลักดันซีนบ้านเราให้ดีขึ้นไปเรื่อย Elaheh ได้รับการยอมรับจากศิลปินและโปรโมเตอร์มากมาย หลายเชื้อชาติ ด้วย selection ที่มีเอกลักษณ์ แฝงด้วย ความสนุกสนาน มีสีสัน กล่มกล่อมเข้ากับจังหวะที่หนักแน่น

Fishmonger ดีเจดูโอ้จากภูเก็ตที่ผู้ฟังรอคอยการเปิดเพลงของเขาด้วยไวนิลเซ็ต แม้หนนี้เขาอาจจะไม่ได้พกติดตัวมาด้วยแต่เตรียมซึมซับดนตรีเฮาส์ดิบ ดีพเทคโน และมินิมัลที่ค่อนข้างดำมืด สะกดให้คุณดำดิ่งอยู่กับสเต็ปลึกลับนั้นตลอดทั้งเซ็ต

Jakkawan เด็กหนุ่มจากระยอง ที่อยู่ในโปรเจกต์ Youngjamena กำลังปลุกไฟให้กับหนุ่มสาวที่สนใจดนตรีเต้นรำ Jakkawan ได้พยายามเป็นอย่างมากในการนำพาตัวเองและทัศนคติจากบ้านเกิดมาถ่ายทอดสู่ผู้ฟังในกรุงเทพ ทุก เดือน selection ของเขาจึงเต็มไปด้วยเรื่องราวของการเดินทางที่สุขุม แสดงถึงความมั่นคงในทุกย่างก้า

Krit Morton หนึ่งในผู้ริเริ่มกลุ่ม MELA ด้วยสไตล์การเล่าเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้เซ็ตเพลงของเขาเต็มไปด้วยอารมณ์ ทำให้ผู้ฟังเหมือนโดนสะกดจิตไปโดยไม่รู้ตัว บางคนก็บอกเขาคือ ดีพเฮาส์ เทคเฮาส์ หรือเทคโน แต่จริง ๆ แล้วเพลงที่ถูกคัดสรรมามันคือตัวแทนความรู้สึกของเขาที่มีทุกอย่างผสมอยู่ในนั้น เขาเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลดนตรี Tempology , Wonderfruit และ Sunn Stage ในงาน Mystic Festival

Kova O’ Sarin อีกผู้ริเริ่มกลุ่ม MELA ผู้มีความจริงจังในการผลักดันคลับมิวสิกให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพลงที่เขาเลือกโดดเด่นในสไตล์มินิมัลเฮาส์และเทคโนที่คัดสรรมาอย่างดี ไปจนถึงบีตและเมโลดี้ที่นำเสนออารมณ์ที่หลากหลาย เขาเคยเล่นเปิดให้กับศิลปินดังอย่าง The Prodigy เมื่อวงมาเปิดการแสดงที่ประเทศไทย ไปจนถึงเป็นส่วนหนึ่งของอิเล็กทรอนิกเฟสติวัลระดับประเทศ ทั้ง Wonderfruit และ Tempo Live

Jirus สมาชิกใหม่จากกลุ่ม MELA ที่ดนตรี dub ได้พาเขาเข้าสู่ดนตรีเต้นรำ เพลง บรรยากาศจากเทศกาลดนตรี และคลับไนต์ คอยสร้างแรงบันดาลใจให้เขาได้ทำความเข้าใจในแนวเพลงต่าง ๆ และเริ่มศึกษาศิลปะการเปิดเพลงเพื่อส่งต่อประสบการณ์และความรู้สึกที่ได้รับจากวัฒนธรรมดนตรีเต้นรำสู่คนรุ่นเดียวกัน

Munta Morton ผลผลิตจากบ้าน Morton ที่รักและชอบเพลงเต้นรำเช่นกัน แต่มีทัศนคติและสไตล์ในการเล่าเรื่องที่แตกต่าง จังหวะที่หนักแน่นและสนุกสนานคือสิ่งที่เขาโปรดปราน รวมถึงซาวด์เพลงเต้นรำตามท้องถิ่นประเทศต่าง ที่เร้าใจ

นอกจากบรรดาดีเจภายในงานนี้แล้ว จะมีการแสดง visual lighting จากสองศิลปินที่น่าจับตามอง

S C R V I D ได้ร่วมก่อตั้ง Youngjamena ขึ้นเมื่อราว  หนึ่งปีที่ผ่านมา หลาย คนได้เห็นผลงานของเขาอย่างชัดเจนผ่านงานวิชวลโชว์อย่าง ‘Keep Your Lights On#2’ รูปทรงที่ถูกตัดทอน กึ่งนามธรรม และสีสันฉูดฉาด คือสิ่งที่เขารัก การถูหรือขูดขีด และภาพเคลื่อนไหวคือคำจำกัดความง่าย ให้กับผลงานของเขา  S C R V I D พยายามที่จะสอดแทรกทั้งสองสิ่งเข้าไปในงานให้ทุกคนได้ซึมซับบรรยากาศประกอบกับเสียงดนตรี 

Zih Siou หนุ่มชาวไต้หวัน ที่มีคอนเซปต์อาร์ตและวิชวลเป็นอาวุธ เขาเริ่มหลงใหลในงานวิชวลและดนตรีเทคโน รวมไปถึงผู้คนและค่ำคืนในกรุงเทพ จึงต้องย้ายตัวเองมาพำนักที่นี่ ครั้งหนึ่งเขาได้เริ่มโปรเจกต์งานวิชวลให้เข้ากับคอนเซปต์อาร์ตในกรุงเทพ ที่น่าสนใจกับ Sirasith Visual ภายในชื่อ ‘Daz Gaz’

แล้วมาเจอกันที่ MELA Clubnacht วันที่ 30 มิถุนายนนี้ บ่ายสามถึงตีสอง ที่ De Commune อาคาร Liberty Plaza ทองหล่อ ซื้อบัตรได้ที่ Ticketmelon

 

Pre-sale 300 THB
At Door 400 THB
After 9PM 500 THB

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้