Feature News News

Rockademy Diary 002 ครูมิก Abuse the Youth

Mick – Abuse the Youth
ประกาย วรนิสรากุล

img_7388

อยู่ที่นี่เราเจอกับเด็กหลายรุ่น มีทั้งเด็กวัยรุ่นที่ตั้งใจมาเพื่อเล่นดนตรี อาจจะมีแนวทางที่ตัวเองชอบอยู่แล้ว ไปจนถึงเด็กรุ่นประถมที่เพิ่งจับเครื่องดนตรีครั้งแรกในชีวิตที่พ่อแม่ต้องการให้มาทำความคุ้นเคย ทุกประเภทก็มีความยากง่ายในการสอนต่างกันไป แต่ความท้าทายคือ จะทำยังไงที่จะดึงเขามาให้โฟกัสกับเราหรือสื่อสารกับเรา

ซึ่ง ‘ความชอบ’ น่าจะเป็นสิ่งเชื่อมโยงที่ลงตัวที่สุด

กับเด็กเล็กผมมักจะเริ่มคลาสด้วยการชวนคุยอะไรที่อาจจะไม่เกี่ยวกับดนตรีเลยเพื่อดึงความสนใจเขาไว้ก่อน แล้วค่อยหาทางตะล่อมเข้ามาหาเครื่องดนตรี บางครั้งเราก็จบคลาสโดยไม่ได้จับกีตาร์เลย บางครั้งก็ทำให้เขาสามารถเล่นท่อนในเพลง theme ของ Jaws ได้ ขอแค่ให้เค้ารู้สึกว่า “มันจะไม่น่าเบื่อสำหรับครั้งต่อไปนะ” ของแบบนี้มันต้องใช้เวลา

img_7326

เด็กโตแล้วบางคนเขียนเพลงของตัวเองแล้ว (บางเพลงเขียนได้ดีกว่าผมด้วย) เราก็จะคอยแนะนำเค้าในสิ่งที่เค้าจะต้องเจอในขั้นต่อ ๆ ไปดีกว่า เช่น ขั้นตอนการบันทึกเสียง ไปจนถึงการทำวงดนตรี เอาจริง ๆ มันแทบไม่มีทฤษฎีดนตรีอยู่ในนั้นเลยนะ แต่มันเป็นพาร์ตใหญ่ ๆ ที่ทุกคนต้องเจอแน่ ๆ ในการมีวงดนตรีของตัวเอง เรื่องการหาสมาชิก การทำงานร่วมกันใช้ชีวิตร่วมกัน เรื่องดรามาบ้าบอปัญญาอ่อนอะไรทั้งหลาย มันเป็นสิ่งที่เราเจอมาซึ่งคงจะดีถ้าเราได้แชร์ให้เค้าได้รู้ เพราะคิดว่าที่อื่นคงไม่มีใครคุยเรื่องแบบนี้กับเขา

img_7337

ในขณะที่เด็กเล็กบางคนมีมุมมองการแต่งเพลงที่ร้ายกาจ มีอยู่ครั้งหนึ่งในคอร์สวงดนตรี อยู่ดี ๆ มือกลองเด็กอายุ 10 ปีก็ร้องท่อนนึงขึ้นมาซึ่งเค้าแต่งเองเล่น ๆ กับเพื่อนที่โรงเรียน มันฟังดูเป็นเรื่องปัญญาอ่อนแต่เรารู้สึกว่ามันเจ๋งมากนะ เพราะเราเองในขณะนี้ไม่มีทางคิดอะไรแบบนั้นออกมาได้แล้ว เราก็เอาท่อนนั้นมาแล้วช่วยให้เค้าแต่งต่อจนจบเป็นหนึ่งเพลง ตอนนั้นเด็กคนอื่น ๆ บางคนไม่ชอบ บอกว่ามันไร้สาระ (ก็ว่ากันเองประสาเด็กอะนะ) น้องคนที่แต่งมันก็เสียเซลฟ์เหมือนกัน เราก็พยายามบอกมันให้เข้าใจว่าเพลงระดับตำนานในโลกนี้หลายเพลงแม่งก็ไร้สาระ ให้ทำแบบนี้ต่อไปแหละดีแล้ว อย่าหยุดนะ

Facebook Comments

Next: