Feature News News

The Sound of Architecture เมื่อเรารับรู้ตัวตนของสถาปัตยกรรมได้ด้วยการฟัง

  • Writer: Montipa Virojpan

Music is liquid architecture;  Architecture is frozen music.”

― Johann Wolfgang von Goethe

มีคนเคยบอกว่าอันที่จริงแล้วดนตรีกับสถาปัตยกรรมมีความคล้ายคลึงกันอยู่ แม้รูปแบบที่ถูกแสดงออกมาจะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อย่างดนตรี เราจะรับรู้การมีอยู่ของมันได้ก็ด้วยการฟัง ส่วนงานสถาปัตยกรรมก็เป็นสิ่งที่มองเห็นได้หรือสามารถมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพได้โดยตรง ซึ่งในความแตกต่างของสองสิ่งนี้ก็มีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ คือจุดเริ่มต้นมักจะมาจากการคิดเชิงโครงสร้าง ดนตรีจำเป็นต้องมีการคิดทำนอง เนื้อร้อง จังหวะ ส่วนงานสถาปัตยกรรมก็ต้องมีการออกแบบ การคำนวน และการเลือกใช้วัสดุ ก่อนที่จะออกมาเป็นงานที่สมบูรณ์อย่างที่เราเห็นหรือได้ฟังกัน

vlcsnap-2017-09-11-10h49m57s166

หรือถ้าให้มองลึกไปกว่านั้น ดนตรีและสถาปัตยกรรมกลับมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ ลวดลาย เฉดสี หรือแสงเงา เทียบได้กับ mood and tone หรือมิติของดนตรีที่บรรเลงออกมา และใช้สื่อสารในสิ่งเดียวกันได้ อย่างอาคารที่ตกแต่งออกมาแบบ industrial loft ให้ความรู้สึกดิบ แข็งกร้าว เปิดเผยตรงไปตรงมา เหมือนกับดนตรีพังก์ที่สื่อสารแบบไม่ซับซ้อน เรียบง่าย เน้นความกระชับและชัดเจน ทั้งการเรียบเรียงดนตรีและเนื้อร้อง

แล้วเราเคยลองคิดเล่น ไหมว่าสถาปัตยกรรมอาจจะมีเสียงของมันเอง แล้วจะเป็นยังไงถ้าเราสัมผัสตัวตนของสถาปัตยกรรมนั้นได้ด้วยการฟังไม่ใช่แค่การดู

vlcsnap-2017-09-11-10h50m10s25

ซึ่งในความคิดเล่น ของเรากลับมีคนคิดจริง ด้วยการ decode โครงสร้างสถาปัตยกรรมอย่าง พื้นผิวอาคาร (façade) ลวดลาย (pattern) และวัสดุ (material) ออกมาเป็นองค์ประกอบเสียง อย่างไม้ กระจก ปูน หรือ เหล็ก ก็จะมีเสียงเฉพาะของตัวเอง ส่วนจังหวะในเพลงจะเกิดขึ้นจากลวดลายอาคารหรือการเรียงตัวของฟาซาด ทั้งหมดจะถูกนำมาเขียนโค้ดให้กลายเป็นกราฟฟิกอย่างง่าย และถูกแปลงให้กลายเป็นเสียง ก่อนจะนำไปเรียบเรียงให้เกิดเป็นเพลง

vlcsnap-2017-09-15-09h43m56s221

เราไปแอบรู้มาว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบเสียงสำหรับตึกรามบ้านช่องพวกนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ตั้ม Monotone นั่นเอง

“ตั้งแต่ได้รับโจทย์มาก็คิดว่า โอ้ ใช้เลย อยากเชื่อมสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน คือการดีไซน์ architecture กับการคิดเพลงเพลงนึง มันมีคอนเซปต์อะไรบางอย่างที่สอดคล้องเข้ากันอยู่ การที่เรารับรู้ rhythm ของเสา กับจังหวะกลองที่เกิดขึ้น เวลาเราได้ยิน มันคือสิ่งเดียวกัน ที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่บีบเราเข้าสู่ทางแคบ แล้วไปเปิดโล่ง มันก็เหมือนการที่เรามิกซ์เพลงเพลงนึงที่บีบมาก แล้วก็ไปผ่อนคลาย มันคือการเรียบเรียง melody element ต่าง ที่เป็นเรื่องของ architecture ทั้งหมด ที่ยากก็คือเราจะถอดรหัสยังไง”

showcase_perspective-machine_jpeg-not-for-commercial-used

ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังสร้างเครื่องเล่นแผ่นเสียงขึ้นมาสำหรับเล่นเพลงจากสถาปัตยกรรมนั้นโดยเฉพาะ โดยจะอ่านกราฟฟิกที่ได้และแปลงเป็นเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียงน้ีเล่นได้จริง และสามารถเปลี่ยนแผ่นเพื่อเล่นเพลงที่แตกต่างกันได้ โดยทีมงานทดลองกระบวนการนี้กับ 5 โครงการของ Noble และผลที่ได้คือแต่ละโครงการจะมีแผ่นเสียงที่มี pattern แตกต่างกันไปตามโครงสร้างการออกแบบที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง

building-ploenchit

“ตัวสถาปัตยกรรมจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของเสียงและวิธีที่จะครีเอทออกมาเป็นซาวด์ ตัวเนื้อเสียงนี่ก็ออกมาจากตัวโครงการเอง เราเข้าไปบันทึกเสียงด้วยวิธีต่าง พอเก็บข้อมูลที่เป็นเสียงมาได้ เราก็เอามาผ่านกระบวนการ sound synthesis เราเอากราฟฟิกที่ได้มาลองวางให้เกิดเป็นเสียง ให้แทนด้วยสีดำ สีเทา สีขาว สีดำคือความดัง 100% สีเทาจะเฟดลงมา คือ 50% ส่วนสีขาวคือ 0% ไม่มีเสียง มันจะมีความซับซ้อนและยากอยู่ แม้เราจะกำหนดให้ทุกเพลงมีความยาว 1 นาที แต่การเรียบเรียงของมันที่ถอดออกมาจะเป็นตัวกำหนดจังหวะที่เกิดขึ้นในเพลง สมมติเราแบ่ง 1 นาทีมี 64 บีท (ห้อง) เราต้องทดลองเอากราฟฟิกแต่ละอันเข้าและออก หรือเอามาซ้อนกัน ต้องทำให้มันเกิดความสมูธ หรือฮาร์โมนีที่มันเข้ากัน และสื่อออกมาตามคอนเซปต์ของแต่ละโครงการได้จริง

vlcsnap-2017-09-11-10h58m54s185

“ซึ่งการที่เราจะทำแต่ละเพลงสอดคล้องกับแต่ละโครงการก็ต้องเข้าใจก่อนว่าแต่ละโครงการมีเอกลักษณ์หรือคาแร็กเตอร์ยังไง อย่างโครงการ Noble เพลินจิต มีความเป็น modern living อาคารสูง สวยงาม เราจะสะท้อนออกมาด้วยการใช้ซาวด์แบบ futuristic หรือมีจังหวะที่ซับซ้อนมากขึ้น ก็ต้องลองทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้ได้สิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และดีที่สุด

ถ้าใครอยากรู้ว่าสถาปัตยกรรมแต่ละโครงการมีเสียงของตัวเองเป็นแบบไหน และอยากลองเล่นเจ้าเครื่องนี้ของจริง ไปเจอกันที่งาน Noble the Sound of Architecture ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 21-24 กันยายนนี้ ชั้น 1 สยามพารากอน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้