Quick Read ตาดูหูฟัง

Billy Elliot หนังเต้นรำจุดไฟฝัน สะท้อนหยาดเหงื่อและน้ำตาของผู้ใช้แรงงาน

  • Writer: Montipa Virojpan

คนที่เคยดูหรือได้ยินหนังเรื่องนี้มาบ้าง อาจจะรู้จัก Billy Elliot ในฐานะหนังเต้นรำ coming of age สร้างแรงบันดาลใจ แต่สำหรับเรา เนื้อเรื่องรองของหนังสะท้อนแรงกดทับของสังคมที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวได้อย่างลึกซึ้งสะเทือนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราค้นพบว่าวันที่ได้ดูหนังเรื่องนี้คือวันที่ 1 พฤษภาคม หรือ May Day วันแรงงานสากลพอดิบพอดี

*เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์*

ปี 1984 มีเหตุการณ์ประท้วงครั้งใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งในประวัติศาสตร์อังกฤษ มากาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษฝ่ายอนุรักษ์นิยมพยายามจะปิดเหมืองถ่านหินหลายแห่งเพื่อสร้างดุลการค้าที่เหมาะสม และสนับสนุนการใช้พลังงานก๊าซแทน แต่เหมืองถ่านหินสร้างพลังงานที่ใช้กันทั่วเกาะอังกฤษเป็นหลักมาอย่างยาวนาน ถ้าปิดเหมือง ทั้งประเทศก็จะไม่มีพลังงานใช้ และต้องมีคนตกงานอีกเป็นจำนวนมาก สมาพันธ์แรงงานเหมืองจึงไม่นิ่งเฉย รณรงค์ให้คนงานออกมาประท้วงหยุดงาน แต่ก็มีกลุ่มที่ไม่ยอมหยุดงานหรือย้ายไปทำงานในเหมืองที่ขุดได้ลึกกว่า ทำรายได้ได้มากกว่าเพื่อจะอยู่รอด ทำให้คนกลุ่มนี้ถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ

บิลลี่ คือเด็กอายุ 11 ที่อยู่ในครอบครัวของคนงานเหมืองในเดอร์แฮม เมืองทางตอนเหนือของอังกฤษ เขาต้องประสบกับความตึงเครียดจากทั้งการประท้วงหยุดงานของพ่อและพี่ชาย รวมถึงการคาดหวังของพ่อที่อยากให้เขาเติบโตมาเป็นชายชาตรี บิลลี่ถูกบังคับให้ฝึกชกมวย กีฬาที่ดูมาดแมนในสายตาของพ่อ แต่ไป มา เขากลับสนใจคลาสเต้นบัลเล่ต์ในโรงยิมข้าง กันมากกว่า 

Billy Elliot เหมือนจะเป็นหนังที่พูดถึงแต่เรื่องเพศ สมัยก่อนเขาจำกัดกันแค่ว่าการจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงควรแสดงออกยังไง ต้องมีกิจกรรมอะไรบ้างถึงจะเรียกว่าเหมาะกับเพศตัวเอง และไม่ยอมรับเกย์อย่างชัดเจน (ในเรื่อง โรงยิมที่บิลลี่เข้าไปซ้อมมวยถึงกับมีชื่อบอกเฉพาะเลยว่าเป็น ‘Everington Boys’ Club’) ทำให้เด็กบางคนที่ไม่ได้มีความสนใจตามค่านิยมเริ่มสำรวจตัวเองว่านี่กูเป็นป่าววะแล้วคนที่เป็นก็ไม่สามารถแสดงออกให้คนที่บ้านรู้ได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็ empowing ให้เราเป็นตัวของตัวเอง อยากจะเป็นไรก็เป็น ค่อนข้างสร้างความเข้าใจเรื่องเพศเป็นของไหลและ coming out ไม่ผิดอะไร หรือแม้แต่เรื่องอารมณ์ทางเพศแบบวัยรุ่น ก็พูดออกมาอย่างโจ่งแจ้ง แต่ไม่แรง คือสไตล์เด็กฮอร์โมนพุ่งพล่านขี้สงสัยจริง

ส่วนอีกประเด็นคือเขาเอาประวัติศาสตร์มาโยง เรื่องสวัสดิภาพแรงงานกับสภาพสังคมที่ทำให้เกิดข้อจำกัดต่าง รวมถึงส่งผลต่อวิธีคิดของคน อันนี้ดูแล้วจุกมาก ตั้งแต่ฉากที่เด็กตัวเล็ก ต้องเดินไปในเมืองที่มีตำรวจสลายม็อบยืนเรียงกัน ความรุนแรงเป็นเรื่องชินตา หรือมีฉากนึงที่บิลลี่ถามพ่อว่าไม่เคยไปลอนดอนหรอ พ่อตอบมาว่าทำไมต้องอยากไปลอนดอนด้วย ลอนดอนไม่มีเหมืองอันนี้มันสะท้อนอะไรหลายอย่างมาก 

Billy: So, what’s it like, like?
Dad: What’s what like?
Billy: London.
Dad: I don’t know, son. I never made it past Durham.
Billy: Have you never been?
Dad: Why would I want to go to London?
Billy: It’s the capital city!
Dad: Well, there are no mines in London.
Billy: Jesus Christ, is that all you think about?”

เราเคยสัมภาษณ์ศิลปินท่านหนึ่งที่พูดเรื่องความคิดของคนต่างจังหวัดในสมัยก่อนที่อาจจะไม่ได้รับการศึกษาเท่าสมัยนี้ เขาปลูกฝังต่อ กันมาว่าถ้าอยากมีเงินก็ต้องทำงานให้หนัก ถ้าอยากได้เงินเยอะขึ้นก็เข้าไปกรุงเทพ ไม่ต้องไปเรียนหรอก แต่ใน Billy Elliot คือการที่มีวิชาชีพเพียงอย่างเดียว เรียนไม่สูง เป็นข้อจำกัดให้พ่อของเขาไม่มีความจำเป็นจะต้องไปลอนดอน ที่แม้เป็นเมืองหลวงก็ไม่รู้จะไปทำอะไร อยู่บ้านเหมือนเดิมยังมีงานให้ทำ ยังได้เงิน แต่ในเรื่องคือการประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องความชอบธรรมจากรัฐบาล แต่วันนึงเขาก็เห็นว่าลูกกำลังจะได้รับโอกาสที่ดี แต่โอกาสอันนั้นก็ต้องแลกมาด้วยการลงทุน ความย้อนแย้งนี้ทำให้เขาต้องยอมโดนเหมารวมว่าเป็นพวกทรยศ กลับเข้าไปในระบบเพื่อหาเงินมาต่อความฝันให้ลูกชาย

ถ้าดู ไปแล้วจะเจอกับการคลี่คลายปมของเรื่องที่อาจจะดูไม่เมคเซนส์นิดนึง อย่างทีแรกครอบครัวบิลลี่ดูจะโหดร้ายกับเขาแล้วตอนหลังก็มาดีแบบพลิกฝ่ามือ มานั่งคิดดูมันก็เข้าใจได้ที่ตัวละครรายรอบเขาประสบกับความล้มเหลวไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สุดท้ายเราก็พบว่าคนเหล่านี้ไม่ได้มีทางเลือกอะไรมากนักหรอก ความเครียดหรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักก็ทำให้เกิดการแสดงออกแบบนั้นที่เขาก็ไม่ได้ตั้งใจ แต่มันก็เป็นเหมือนผลกระทบจากคนนึงต่อไปอีกคนนึงได้ด้วย อย่างที่เราเห็นจากพ่อไปลูก จากพี่ไปน้อง จากนักเรียนที่โดนกดดันก็ระเบิดใส่คนรอบ  อย่างที่บอกว่าเป็นหนังฟีลกู๊ดที่ทำให้รู้สึกรวดร้าวได้ในเวลาเดียวกัน เพราะปฏิกิริยาช่วงหลังของคนในบ้านต่อเรื่องต่าง ๆ มีความเจ็บปวดขึ้นเรื่อย ๆ  การปรากฏตัวของแม่บิลลี่ที่จากไปแล้ว แต่เธอเป็นที่ยึดเหนี่ยวเดียวของเขาในวันที่สับสน การที่อยู่ ๆ พ่อก็ร้องไห้ขึ้นมาในวันคริสต์มาส วันที่ทุกคนเข้าใจร่วมกันว่าเป็นวันครอบครัวแต่ครอบครัวของเขาไม่มีความสุขเลย แต่สุดท้ายทุกคนก็พยายามหาวิธีแก้ไขทำให้บ้านกลับมาเป็นบ้านอีกครั้ง

นอกจากจะได้ดูการเต้นเพื่อพิสูจน์ตัวเองกับครอบครัวของบิลลี่ หนังให้เขาได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกผ่านการเต้น มีฉากนึงที่ดูแล้วรู้สึกว่าเขาจะระเบิดอยู่แล้ว แต่แทนที่จะตะโกนออกมาแบบเด็กเกรี้ยวกราดก็เอาไปใส่ในสเต็ปแล้วกระโดดโลดเต้นแบบพุ่งพล่านไปรอบเมือง เท่จัดเลย แล้วเมืองเดอร์แฮมก็สวยมาก ด้วย (หลาย ซีนสังเกตว่าเขาเอาการเต้นแบบอื่น ๆ ทั้ง charleston, lindy hop, tap dancing มาใส่ผสมในบัลเล่ต์ด้วย) Jamie Bell ที่รับบทบิลลี่เอาเข้าจริงเล่นดีมาก อย่างแรกคือเต้นดี ในที่นี้คือเต้นไม่เป๊ะ แต่สื่ออารมณ์เก่งมาก พลังพุ่งพล่านโคตร ๆ คือชอบความเป็นเด็กกำลังโตเกรี้ยวกราด ๆ แล้วฉากที่เขาได้เปิดใจพูดสิ่งที่เขารู้สึกอันนั้นได้ใจเราไปเลย ขอเสียน้ำตาให้  แล้วเพลงที่ใช้ในเรื่องนี้ก็ดี ทั้งนั้น โดยเฉพาะกับแฟน ของวง T. Rex ต้องถูกใจแน่นอน มีทั้ง Cosmic Dancer, Get It On, I Love to Boogie, Children of the Revolution, Ride a White Swan The Style Council เพลง Walls Come Tumbling Down! กับ Shout to the Top หรือเพลงชาติอย่าง The JamTown Called Malice, The ClashLondon Calling ที่พออินโทรขึ้นมาทุกคนต้องนึกออกและขยับเท้าตามแน่นอน 

Billy Elliot

หนังก็ได้ใส่ซิมโบลิกเข้าไปเยอะเหมือนกัน อย่างการเต้นไปจนสุดถนนในเมืองแล้วเจอกับทางตัน มันคือความฝันของเขาที่ถูกชะงักเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนและไม่มีใครเข้าใจ เพลงบัลเล่ต์เรื่อง ‘Swan Lake’ บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของบิลลี่ในบางช่วง ภาพคนงานเหมืองอัดกันอยู่ในลิฟต์ที่ความปลอดภัยต่ำ ค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงสู่เหมืองลึกมืดมิด ดูอับจนไร้ทางเลือก หรือโรงยิมโล่ง ๆ ที่ตอนนี้คลาสเลิกแล้วเหลือแต่ครูยืนอยู่กลางห้องอย่างโดดเดี่ยว เหมือนการที่ชีวิตใหม่กำลังจะได้ออกไปโบยบิน บางทีมันได้ทิ้งคนหลาย  คนไว้ข้างหลังด้วยหรือเปล่า

ใครที่ยังไม่เคยดูเราอยากให้ลองดู แค่เห็นตัวละครเด็กในเรื่องก็มีความสุขแล้ว พอดูจบก็ได้อะไรกลับมามากมายจริง ๆ ยกให้ Billy Elliot ขึ้นหิ้งหนังโปรดของเราอีกเรื่องไปเลย

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้