Spider-Man: Into the Spider-Verse

Quick Read ตาดูหูฟัง

Spider-Man: Into the Spider-Verse อัดแน่นด้วยเพลงฮิปฮอป ดูจบปุ๊บต้องหาฟังปั๊บ

  • Writer: Montipa Virojpan

หลังจากที่ได้รางวัลภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยมจาก Golden Globe 2019 ไปเมื่อต้นปี เราก็เพิ่งจะมีโอกาสได้ไปพิสูจน์ว่า Spider-Man: Into the Spider-Verse ดีงามคู่ควรกับรางวัลหรือไม่ และเราก็ได้รับประสบการณ์เหนือความคาดหมายหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเพลงฮิปฮอปที่ถูกบรรเลงคลอไปตลอดทั้งเรื่อง

อย่างที่รู้ กันว่าตัวละครทั้งฝั่ง DC Comics และ Marvel เพียงหนึ่งตัว สามารถแตกแยกย่อยจักรวาลได้อีกนับสิบตามยุคสมัยของผู้วาดที่สร้างสรรค์เรื่องราวให้ตัวละครตัวนั้น แตกต่างกันออกไป ตรงนี้เองเลยทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ Spider Man: Into the Spider-Verse มีไอเดียว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าโยงเอาสไปดี้จากหลาย ภาค ที่เป็นตัวละครคนละตัว คนละเพศ คนละเชื้อชาติ คนละวัย แถมมีความสามารถพิเศษที่ไม่เหมือนกัน มารวมตัวกันในภาคนี้ แค่คิดตามก็สนุกแล้ว

และในภาคนี้ ตัวเอกของเรื่องก็ไม่ใช่ตาปีเตอร์ พาร์กเกอร์ แบบที่เราคุ้นเคยกัน เพราะเขาให้หนุ่มน้อยจากบรูคลินอย่าง ไมลส์ โมราเลส มาเป็นสไปเดอร์แมนคนล่าสุด และเพราะเป็นไมลส์เลยทำให้สีสันของสไปเดอร์แมนภาคนี้มีความน่าสนใจและมีความเฉพาะตัวมาก จากที่ทั้งเรื่องอัดแน่นไปด้วยบรรยากาศของนิวยอร์กอันแสนคุ้นเคยเพราะมีปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง แต่ที่แปลกใหม่น่าจะเป็นการโฟกัสไปที่วัฒนธรรมฮิปฮอปมากเป็นพิเศษ

ในบรรดาการ์ตูนหรือหนังซูเปอร์ฮีโร่ เราจะไม่ค่อยได้ยินซาวด์แทร็คเป็นเพลงฮิปฮอปกันซักเท่าไหร่ แต่ Spider Man: Into the Spider-Verse จัดให้เราแบบเต็มอิ่มจุใจทั้งเรื่อง ถึงขนาดว่าคนดูจบแล้วต้องมาหาเพลงฟัง (ก็ต้องขอบคุณทาง Sony Pictures ที่ใจดีปล่อยให้ฟังเพลิน ครบทุกเพลง) ดูเหมือนว่า Marvel จะเล็งเห็นว่าซาวด์แทร็คก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่เพิ่มช่องทางทางธุรกิจให้กับหนังได้ตั้งแต่เรื่อง ‘Guardians of the Galaxy’ แล้วก็ใช้ไม้ตายนี้มากขึ้นเรื่อย ทว่าในมิติของการใช้เพลงในสไปเดอร์แมนภาคนี้ สำหรับเรามันเป็นอะไรมากกว่าแค่การเอาเพลงมาประกอบให้เท่ หรือเอามาให้ร้องติดปากในตอนที่หนังจบไปแล้วเท่านั้น หลาย เพลงถึงกับเขียนขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กับหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยด้วยซ้ำ

หลาย ฉากของหนังได้พาเราไปดูชีวิตประจำวันของตัวละคร ไม่ใช่การทำความรู้จักแบบผิวเผินแต่ลงลึกไปถึงขั้นวัฒนธรรมที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันดึงความ Newyorker ออกมาได้สมจริง ไมลส์เป็นเด็กอเมริกันที่เป็นลูกครึ่งแอฟริกันละติน ที่รู้ก็เพราะเขาให้ตัวละครแม่พูดภาษาสเปนสลับกับภาษาอังกฤษตลอดทั้งเรื่อง แล้วบ้านของเขาอยู่ในย่านบรูคลินซึ่งเป็นโซนที่ชนชั้นกลางขึ้นไปจะอยู่อาศัยกัน อีกทั้งย่านนี้มีชื่อด้านความรุ่มรวยในศิลปะ วัฒนธรรม และความบันเทิงทางเลือก เรามักจะได้ยินว่าวงดนตรี โปรดิวเซอร์ หรือศิลปินหลาย คนมาจากที่นี่ เพราะพวกเขามองว่าบรูคลินเป็น creative hub ที่สามารถถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์และแสดงออกทางตัวตนได้อย่างอิสระ รวมถึงมีพื้นที่ให้คนเข้ามาซัพพอร์ตและมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาได้ ในเรื่องนี้เราก็จะได้เห็นไมลส์ทำงานศิลปะของเขาทั้งการทำสติ๊กเกอร์บอม พ่นกราฟฟิตี และมีเพลงฮิปฮอป r&b หรือ urban music แนวอื่น เป็นเพลงที่เขาชอบ ทั้งเพลงของ Vince Staples, Post Malone, Nicki Minaj, Jaden Smith, Lil Wayne ซึ่งทุกเพลงก็ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นเพลงที่เด็กวัยรุ่นยุคใหม่จะชอบกัน และทำนองของเพลงก็ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ของแต่ละฉาก และบางเพลงก็มีเนื้อเพลงที่ช่วยเล่าเรื่องในซีนนั้นได้อย่างสมบูรณ์ เรานี่ถึงกับดูไปโยกหัวไปด้วยซ้ำ

อีกสิ่งที่โดดเด่นของภาคนี้คือสามารถดึงเอาจุดเด่นของความเป็นหนังสือการ์ตูนมานำเสนอได้ครบถ้วน ตั้งแต่แก๊กของคอมิกแต่ละยุค แต่ละสัญชาติ รวมถึงการดีไซน์สไตล์ภาพที่ใช้เป็นแบบกึ่ง 3D การลงสีแบบแมตและเพิ่ม texture ของสกรีนโทนให้เรารู้สึกเหมือนกำลังดูภาพในคอมิกที่เคลื่อนไหวได้ การออกแบบตัวละครแต่ละตัวคือเท่มากจนอยากให้มีฟิกเกอร์ออกมาซื้อสะสม มีพวกคำที่ใช้เป็นซาวด์เอฟเฟกต์ในคอมิกแบบฟิ้ว’ ‘ตุ๊บ’ ‘ผ่างโทนสีจัดจ้านทั้งเรื่อง โมชันของวัตถุ รวมถึงเฟรมภาพต่าง ก็ถูกจัดองค์ประกอบออกมาจนเราดูได้แบบเพลิน ตื่นตาตื่นใจในทุกฉากโดยไม่จำเป็นต้องมีเนื้อเรื่องล้ำลึกอะไรในเรื่องมากนัก แต่การเล่าเรื่องก็สนุกพอที่จะทำให้เราตั้งใจติดตามเรื่องราวต่อ ไหนจะมีการใช้ jump scare แบบในหนังสยองขวัญอยู่หลายจังหวะ และพลอตทวิสต์ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกรวดร้าวหัวใจ ที่สำคัญคือมีฉากเล็ก ออกมาเอาใจแฟนการ์ตูน Marvel ให้ได้คิดถึงและเผลอยิ้มออกมา

จะเรียกว่าเป็นท่าใหม่ของ Marvel ที่ทำหนังซูเปอร์ฮีโร่แบบไม่ได้เน้นแต่แอคชันหรือให้คติสอนใจแบบหนังการ์ตูนทั่วไปนัก โดยเลือกสอดแทรกเรื่องวัฒนธรรมเข้าไปมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เคยทำมาแล้วและค่อนข้างประสบความสำเร็จใน ‘Black Panthers’ ที่นำเสนอแฟชันและไลฟ์สไตล์ของแอฟริกันแบบเข้มข้น หรืออย่าง Spider-Man: Into the Spider-Verse บอกตรง ว่าขณะที่ดูเนี่ย บรรยากาศชวนให้นึกถึงซีรีส์ ‘The Get Down’ ทาง Netflix ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับต้นกำเนิดวัฒนธรรมฮิปฮอปปลายยุค 60s แต่อันนี้ถูกทำให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น ใครที่ชอบเรื่องนั้นแล้วมาดูเรื่องนี้ต้องติดใจเหมือนกันแน่นอน และที่ตลกไปกว่านั้นคือ นักแสดงที่มารับบทไมลส์ก็คือคนเดียวกับกับที่เล่นเป็นพระเอกในเรื่อง ‘The Get Down’ นั่นเอง รีบไปดูก่อนหนังออกโรงนะ แล้วรับประกันว่าคนที่เป็นแฟน Marvel ไม่ผิดหวังแน่นอน

 

ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.bustle.com/p/the-spider-man-into-the-spider-verse-soundtrack-is-exactly-what-miles-morales-would-jam-out-to-13243236
https://www.bustle.com/p/the-spider-man-into-the-spider-verse-trailer-is-a-major-game-changer-for-the-franchise-video-9312199
Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้