Mozart Effect ความเชื่อผิด ๆ ที่คิดว่าเปิดเพลงคลาสสิกให้ลูกฟังแล้วจะฉลาดขึ้น
- Writer: Peerapong Kaewthae
- Art Director: Karin Lertchaiprasert
Mozart Effect อาจเป็นคำที่ทุกคนไม่คุ้นเคย แต่หลายคนน่าจะเคยได้ยินแนวคิดที่ว่าถ้าเปิดเพลงคลาสสิกให้เด็กฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแรกเกิด จะทำให้เด็กพวกนี้ฉลาดกว่าปกติ สำหรับพ่อแม่มือใหม่มันคือโฆษณาชวนเชื่อที่หอมหวาน พร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อเซ็ตซีดีนักดนตรีคลาสสิกมาเปิดให้ลูกฟังทั้งวันทั้งคืน อย่างน้อยลองดูก็ไม่เสียหายอะไรนี่ ความเชื่อนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1993 เมื่อมีคนทำวิจัยโดยเรียนเพลง Sonata for Two Pianos in D major, K. 448 ของ Mozart คีตกวีระดับโลกให้เด็กมหาลัยฟัง 10 นาที แแล้วให้พวกเขาทำแบบทดสอบอัตนัย โดยเทียบกับอีกกลุ่มที่ให้ฟังเสียงธรรมชาติและความเงียบแทนประมาณ 10 นาทีเท่ากัน เมื่อคิดคะแนนออกมา ปรากฎว่ากลุ่มแรกที่ฟัง Mozart ทำคะแนนในแบบทดสอบนี้ได้ดีที่สุด พอบทความเผยแพร่ออกไป แม้ในงานวิจัยจะไม่ได้ใช้คำว่า Mozart Effect เลยก็ตาม แถมกลุ่มตัวอย่างก็เป็นเด็กมหาลัยแค่ 38 คน แต่มันกลายเป็นเครื่องหมายการค้าที่สื่อต่าง ๆ อยากพูดถึง มีหนังสือ ซีดีหรือข้าวของเครื่องใช้เด็กเล็กออกมาเกาะกระแสมากมาย เหล่าพ่อแม่ทั้งหลายก็เชื่อกันอย่างงมงายว่าแค่เปิดเพลงคลาสสิกให้ลูกฟังทุกวันก็ทำให้ลูกฉลาดขึ้นได้ แม้แต่สภานิติบัญญัติในรัฐจอร์เจียแห่งสหรัฐอเมริกา ยังตั้งงบขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายซีดีเพลงคลาสสิกให้ทุกครอบครัวนำไปเปิดให้ลูกฟัง โดยไม่เคยตั้งคำถามว่ามันทำให้เด็กฉลาดได้จริง ๆ มั้ย หรือไม่มีงานวิจัยออกมายืนยันเรื่องเหล่านี้เลย ไม่แปลกใจว่าทำไมความเชื่อนี้ถึงแพร่หลายและหลายคนพร้อมลองทำตาม เพราะไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเท่าไหร่ … Continued