ครบรอบ 25 ปี การจากไปของ เติ้ง ลี่ จวิน ราชินีเพลงจีนที่เรายังคิดถึงเสมอ

เถียน มี่มี นิเฉียน เด เถียน มี่มี~ ‘รอยยิ้มนี่ฉันเคยเห็นที่ไหนนะ … อ๋อ ในฝันของฉันนั่นเอง …’ ดนตรีสดใสกับเสียงร้องที่หวานจับใจร่ำรวยเสน่ห์น่าหลงใหล แต่เมื่อรวมกับเนื้อเพลงที่เหงากินใจ ยอมรับในโชคชะตาที่ไม่อาจได้เจอกันอีก ไม่แปลกเลยที่เพลงนี้จะชนะใจคนทั้งโลกได้ เด็กรุ่นนี้ยังได้ยินเพลง 甜蜜蜜 เถียน มี่มี ที่มีชื่อไทยว่า หวานปานน้ำผึ้ง กันอยู่รึเปล่าไม่แน่ใจ แต่ผมที่โตมากับครอบครัวคนจีนอพยพ ก็มักจะได้ยินเพลงนี้เปิดวันละครั้งเป็นอย่างน้อย แม้จะผ่านมา 25 ปีแล้ว แต่การจากไปของ เติ้ง ลี่จวิน หรือที่ทุกคนรู้จักในชื่อ Teresa Teng ยังคงสร้างความสะเทือนใจให้กับแฟนเพลงทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่าทุกครั้ง เมื่อโลกหมุนมาถึงวันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเสียชีวิตของเธอ สาเหตุจากโรคหอบหืดเฉียบพลันส่งผลให้หัวใจล้มเหลว ระหว่างวันหยุดในเชียงใหม่ตอนปี 1995 ย้อนไปก่อนปี 1953 ที่เธอเกิด พ่อของเธอเป็นนายทหารฝ่ายก๊กมิงตั๋งที่แพ้สงครามจึงต้องหอบครอบครัวหนีมาอยู่ไต้หวัน เติ้งเลยได้เกิดที่นี่ ก่อนจะก้าวเข้ามาอยู่ในวงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 11 จากการประกวดร้องเพลงในรายการทีวี และกวาดรางวัลประกวดไปอีกมากมายหลายรายการ ซึ่งในยุคนั้นที่ยอดขายเทปกับแผ่นเสียงกำลังเติบโตอย่างมาก พ่อของเธอจึงอนุญาตให้เธอเลิกเรียนมาเป็นนักร้องเต็มตัว พร้อมเซ็นสัญญาออกแผ่นเสียงแผ่นแรกในชีวิต และใช้เวลาเพียงสิบปีในการก้าวขึ้นมาเป็นราชินีเพลงจีนที่มีแฟนคลับไปทั่วเอเชีย ทั้งฮ่องกง … Continued

กว่าจะมีวันนี้! เปิดประวัติศาสตร์เทศกาลดนตรีไต้หวัน ที่ทำให้ซีนดนตรีเติบโตไม่สิ้นสุด

  • Writer & Photographer: Damien Chen and Taiwan Beats
  • Translator: Peerapong Kaewthae

ปฐมบทของเทศกาลดนตรีในไต้หวัน สิงหาคมปี 1987 หนึ่งเดือนหลังจากยกเลิกกฎอัยการศึกในไต้หวัน ค่ายเพลงอินดี้อย่าง Crystal Records ตัดสินใจจัดงาน Taipei New Music Festival (台北新音樂節) ขึ้นมา เพื่อช่วยโปรโมตดนตรีนอกกระแสในท้องถิ่น และยังเป็นเทศกาลดนตรีงานแรกของไต้หวันอีกด้วย สังคมที่มีเสรีภาพมากขึ้นทำให้ความคิดสร้างสรรค์เติบโตไปพร้อมกับซีนดนตรีอย่างรวดเร็ว หนึ่งในงานสำคัญที่บุกเบิกเทศกาลดนตรีในไต้หวันยุคแรกก็คือ Spring Scream จากความร่วมมือกันระหว่างศิลปินสองคนคือ Jimi Moe และ Wade Davis ซึ่งจัดในอุทยานแห่งชาติเขิ่นติง ในเวลาเดียวกันไทเปก็จัดงาน Fromoz Festival ขึ้นมาครั้งแรกพร้อมกัน แล้วเทศกาลดนตรีในไต้หวันก็เริ่มพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่นั้นมา ทุกงานค่อย ๆ ความสัมพันธ์อันดีและเชื่อมต่อกับวัฒนธรรมของวงดนตรีในไต้หวัน ในบรรดาเฟสติวัลทั้งหมด Formoz Festival มีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเทศกาลดนตรีระดับชาติของไต้หวันที่ขาดไม่ได้ ศิลปินมากมายได้รับเชิญให้ไปเล่นที่งานรวมไปถึงศิลปินตะวันตกด้วย เช่น Moby, The XX และ Yo La Tengo แม้จะหยุดไปหลายปีกว่าจะกลับมาจัดอีกครั้งตอน 2013 แต่ไลน์อัพและสเกลงานก็ใหญ่โตและน่าตื่นเต้นทุกปี … Continued

Undercimber Fin. อาวองการ์ดไต้หวันจาก CINEMA SESSIONS ที่น่าจับตามอง

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Photographer: CINEMA SESSIONS
  • Art Director: Karin Lertchaiprasert

Undercimber Fin. เป็นวงดนตรีที่ไม่เหมือนใครในซีนดนตรีของไต้หวัน สไตล์ดนตรียังมีการผสมผสานแบบแปลกใหม่ ทำให้เพลงของพวกเขามีความคุ้นเคยแต่ก็ดูไม่เข้าพวก เหมือนส่วนผสมของเบื้องหลังสมาชิกแต่ละคนในวง “ฉันโตมากับการเรียนดนตรี และตั้งใจจะเข้ามหาลัยให้ได้” Adlian มือคีย์บอร์ดของวงเล่าให้ฟังหลังจากอัด CINEMA SESSIONS เสร็จ บางครั้งเธอก็รับงานเรียบเรียงเพลงให้ละครเวที และในเวลาว่างเธอยังเป็นแฟนตัวยงของ Steve Reich, Radiohead และเพลงแนว J-rock “ฉันคิดว่าดนตรีของฉันใกล้เคียงกับความ minimalism มาก ๆ ก่อนจะเขียนเพลงขึ้นมาซักเพลง ฉันจะมองเห็นไอเดียเป็นภาพหรือเรื่องราวในหัวก่อนเสมอ” แล้ววงถูกตั้งขึ้นมาตอนไหน ตอนแรก Adlian, Kang (ร้องนำ) และ Andy (มือกีตาร์และคอรัส) เจอกันในโรงเรียนและมีโอกาสได้ตั้งวงเล่นด้วยกัน Pin มือเบสที่เคยเล่นแต่เพลงแนวเมทัลกับ Link มือกีตาร์ที่ชื่นชอบโพสต์ร็อกจากเกาะอังกฤษก็ทยอยตามเข้ามา พวกเขาโชว์ด้วยกันมามากกว่า 4 ปีแล้ว Mipu มือกลองก็ตามมาทีหลังเมื่อปีก่อน เขาเป็นน้องชายของ Andy ที่เพิ่งสอบเข้ามหาลัยได้ เขาหลงใหลในดนตรีนอกกระแสตั้งแต่วง No Party For Cao Dong ชนะรางวัลใน Golden … Continued

คุยกับ Xueiyuan ผู้ปลุกดนตรี R&B ให้ซู่ซ่าในซีนดนตรีไต้หวัน จนได้อยู่ใน Cinema Sessions

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Photographer: CINEMA SESSION
  • Art Director: Karin Lertchaiprasert

เสียงเพลงของ David Tao เจ้าพ่อแห่งวงการเพลงป๊อปของไต้หวันเป็นแบ็คกราวด์ในสตูดิโอช่วงบ่ายคล้อยวันนี้ โดยวง Xueiyuan เป็นคนคัดสรรเพลงในวันนี้ด้วยตัวเอง กลิ่นอายของดนตรี r&b แสนโรแมนติกในเพลงนี้เติมบรรยากาศแห่งความผ่อนคลายท่วมใบหู และทำให้นึกถึงงานของพวกเขาที่ปล่อยออกมาเมื่อปีที่แล้ว Wind Blowing ที่สามารถเรียกร้องความสนใจจากทุกคนในซีนดนตรีนอกกระแสได้ทันที น่าเสียดายที่ชื่อวง Xueiyuan ไม่ได้มีที่มาจากนางแบบญี่ปุ่นชื่อดัง Kiko Mizuhara (ในภาษาจีนชื่อของเธอออกเสียงคล้ายกัน) แต่ชื่อวงมาจากชื่อถนนแห่งหนึ่งในไทเปเป็นที่ตั้งสตูดิโอของพวกเขาเอง วงเพิ่งก่อตั้งเพียงปีเดียว ถือว่าเป็นคลื่นลูกใหม่มาก ๆ ในซีนนี้ และยังมีอีกหลายเพลงที่ยังไม่ได้ปล่อย แต่คนรุ่นใหม่ย่อมมาพร้อมพลังที่ทำให้วงการเพลงนอกกระแสสะท้านได้ทุกครั้ง อย่างวงนี้ก็เป็นสมาชิกจากหลาย ๆ วงมารวมตัวกันทั้ง Bacbeth, Wake Up! Explosion และ Boycany แต่ Xueiyuan ก็มีแนวทางดนตรีที่แตกต่างจากวงก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง รสนิยมและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาเกินตัวไปมาก จนทำให้ดนตรีของพวกเขากลายเป็นเทรนด์ใหม่ในไต้หวันทันที “พวกเรามีสตูดิโอบนถนนสุ่ยหยวน พวกเรามันจะไปนั่งเล่นกันที่นั่นต่อให้ทุกคนจะมีวงของตัวเองก็ตาม และรวมกลุ่มกันเล่นดนตรีขำ ๆ เลยทำให้เกิดวง Xueiyuan ขึ้นมา” Howie มือกีตาร์ของวงเหล่าให้เราฟัง เขายังอยู่วง Bacbeth อีกด้วย “พวกเราส่วนใหญ่จะเล่นแนวร็อก พอ … Continued