Sonoligo แพลตฟอร์มดนตรีสัญชาติญี่ปุ่น ที่พาศิลปินคลาสสิคกับแจ๊สมาเจอคนฟัง

  • Writer: Peerapong Kaewthae

ทุกคนน่าจะเคยได้ยินกันมาว่าจุดเริ่มต้นของ ฟังใจ ก็มาจากความชื่นชอบในเสียงเพลงและอยากมีพื้นที่ให้ศิลปินนอกกระแสได้ปลอดปล่อยของกันได้เต็มที่เท่านั้น เราอาจจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ทำให้คนรักการฟังเพลงได้รู้จักศิลปินคุณภาพมากมายในตอนนี้ แต่จุดเล็ก ๆ เนี่ยแหละที่ช่วยต่อยอดชีวิตและความสามารถของศิลปินหลายคนให้ไปได้ไกล เหมือน Sonoligo ที่หนุ่มน้อยวัย 24 ปี ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งกำลังทำอยู่ Kanji Toyama สร้างเว็บ Sonoligo ขึ้นมา โดยเป็นแพลตฟอร์มที่พาศิลปินสายคลาสสิกหรือสายแจ๊สกับคนฟังมาเจอกัน ซึ่งชื่อเว็บก็มาจากคำว่า sono ที่แปลว่า ‘ดนตรี’ ผสมกับคำว่า ligo ที่แปลว่า ‘เชื่อมต่อ ในภาษาเอสเปรันโต ซึ่งทุกคนสามารถลงทะเบียนเข้าใช้ได้ฟรี เพื่อเลือกศิลปินที่เราชื่นชอบหรือเลือกร้านที่เราชอบไปเพื่อดูตารางว่าจะมีคอนเสิร์ตวันไหนบ้าง พร้อมแผนที่บน Google Map ระบุตำแหน่งชัดเจน แถมยังเลือกให้แจ้งเตือนผ่านอีเมลได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีโปสเตอร์และคอนเสิร์ตใหญ่ ๆ พร้อมรายละเอียดในเว็บแจ้งไว้ เราไม่ต้องเช็กเองจากเว็บไซต์หลายเว็บ หรือบนโซเชียลมีเดียที่เมื่อผ่านไปไม่กี่วั ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกดันหายไปแล้ว โดยเฉพาะศิลปินที่ยังไม่มีชื่อเสียงมากนักเลยไม่มีเครื่องมือที่จะโปรโมตตัวเองได้ดีพอ มือพิณอย่าง Riko Matsuoka หนึ่งในศิลปินที่มีข้อมูลอยู่บนเว็บไซต์นี้ก็ออกมายืนยันว่าเธอได้พบปะแฟนเพลงหน้าใหม่จากเว็บนี้มากมาย “ทุกคนอยากให้มีแพลตฟอร์มแบบนี้เกิดขึ้น แต่ไม่มีใครลงมือทำซักที” ศิลปินแจ๊สหรือคลาสสิกหลายคนมักใช้โซเชียลมีเดียของตัวเองในการโปรโมตคอนเสิร์ตของตัวเองที่กำลังจะมาถึง แต่โพสต์เหล่านั้นก็ถูกดันหายไปในกระแสของข้อมูลภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากเปิดตัวไปเมื่อพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ล่าสุด Sololigo มีศิลปินมาลงทะเบียนแล้วมากถึง 400 … Continued

Monaural Mini Plug เหล่าคนญี่ปุ่นที่หลงใหลในเสียงพิณแคนของหมอลำ

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Photographer: Monaural mini plug พิณแคนประยุกต์ ญี่ปุ่น – โมโนมินิปลั๊ก

หมอลำเป็นศาสตร์และศิลป์อีกแขนงหนึ่งที่ถูกส่งออกจากไทยไปม่วนกันหลาย ๆ ที่ต่างประเทศ เห็นได้จากความสำเร็จของวงรุ่นพี่อย่าง The Paradise Bangkok Molam International Band ที่พาหมอลำประยุกต์ไปขจรขจายทั่วโลก อีกหนึ่งประเทศที่นิยมชมชอบหมอลำเหมือนกันโดยที่เราอาจไม่รู้ก็คือประเทศญี่ปุ่น ที่หลงใหลซาวด์ย้อนยุคพื้นบ้านของเรากันอย่างบ้าคลั่ง คนญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งที่รักในเสียงพิณและแคนมาก ๆ จึงรวมกลุ่มกันเพื่อฟอร์มวงหมอลำประยุกต์ในแดนปลาดิบเองซะเลย พวกเขาคือ Monaural Mini Plug จุดเริ่มต้นของวงมาจากการที่สมาชิกวงเจอคลิป ‘Pinpurayuk’ (พิณประยุกต์) บน YouTube จนพบกับความหลงใหลในเสียงแห่งความสุข สนุกตื่นเต้น ดิ้นกันสะบัด เขาเริ่มหัดเล่นด้วยตัวเองจนอยากศึกษาจริงจัง ต้องมาจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อหาครูที่จะสอนเขาเล่นให้เก่งกว่านี้ให้ได้ เมื่อได้มิตรภาพมากมายและเทคนิกการเล่นลำเพลินมาแล้วพวกเขาก็ตั้งใจนำเสียงพิณเสียงแคนกลับไปเผยแพร่ที่บ้านเกิดของตัวเอง หลังจากฝึกฝนและได้ไปเล่นสดตามที่ต่าง ๆ พวกเขาก็ได้เดบิวต์อัลบั้มแรกในชื่อ Samurai Mekong Activity ประกอบด้วยแทร็คอย่าง ลำภูไท ที่เข้าถึงต้นฉบับได้อย่างถ่องแท้ หรือ สวรรค์ ที่ม่วนอีหลี มีการดรอปจังหวะแคนแบบสามช่าที่คนไทยคุ้นเคยกันด้วย แต่แทร็คสุดท้ายที่น่าสนใจที่สุดชื่อว่า ซามูไรลำเพลิน 2561 ที่มีความยาว 24 นาที อินโทรด้วยเสียงสตาร์ทรถนี่ก็รู้เลยนะคะ มันคือการจำลองการแห่ขันหมากเมดเล่ย์นอนสต็อป เต้นกันให้ตีนแตกไปข้างเลย มีการเร่งจังหวะผ่อนจังหวะไปมาเรื่อย ๆ เพื่อความสนุกต่อเนื่อง ต้องบอกว่าพวกเขาเข้าใจวัฒนธรรมหมอลำพอสมควรเลยทีเดียว ด้วยความที่ชอบมากจึงลองเข้าไปส่องเพจวงก็พบว่าเขาใช้ภาษาไทยในการโปรโมตควบคู่ไปกับภาษาญี่ปุ่นด้วย เราเลยลองติดต่อไปขอสัมภาษณ์เขาทางอีเมล์ดู … Continued

Audio Architecture นิทรรศการที่ต่อยอดเสียงดนตรีให้เข้าถึงทุกประสาทสัมผัส

  • Writer: Peerapong Kaewthae

เพลงเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา เพราะถูกประกอบขึ้นด้วยเสียง การสั่นสะเทือน จังหวะ และโครงสร้างอันซับซ้อนราวกับสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น มันเลยทำให้เรามักจะเพิกเฉยหรือมองข้ามความงดงามเหล่านี้ไปในบางครั้ง Keigo Oyamada หรือที่เรารู้จักเขาในชื่อ Cornelius เป็นเหมือนพ่อมดแห่งวงการเพลงญี่ปุ่นได้สรรสร้างเพลงขึ้นมาใหม่ ใช้คำและดนตรีที่ท้าทายโสตประสาทยากเกินจะสัมผัสด้วยใบหู ต้องเข้าถึงด้วยความรู้สึก เขายังเชี่ยวชาญในการใช้ภาพสื่อสารผ่านเพลงของเขาอีกด้วยจาก mv หลาย ๆ ตัวของเขาเอง Sean Ono Lennon ลูกชายของ John Lennon และ Yoko Ono ถึงกับออกปากยกยอปอปั้นเขาว่า ‘…paints a kind of audio architecture’ หรือประพันธ์เพลงได้ราวกับสร้างสถาปัตยกรรมเสียง ครั้งนี้เขาไม่ได้ถ่ายทอดเพลงใหม่ด้วยตัวเอง แต่ชวนศิลปินอีก 8 คนจากศาสตร์หลากหลายแขนงมาถ่ายทอดเพลงของเขาในรูปแบบของสื่อต่าง ๆ ทั้งวีดีโอกราฟฟิก อนิเมชัน ภาพประกอบ ภาพยนตร์ หรือการเขียนโปรแกรมซึ่งล้อเล่นไปกับเพลงของ Oyamada ด้วย นี่คือนิทรรศการที่ชื่อว่า ‘Audio Architecture’ จัดที่ 21_21 Design Sight (อ่านว่า ทูวัน ทูวัน) ที่เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะหรืองานดีไซน์แห่งแรกของโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อยู่ในย่านรปปงหงิซึ่งจัดแสดงงานล้ำ ๆ ตลอดเวลา … Continued

How to ส่งวงไทยไปเล่นญี่ปุ่น

  • Writer: Piyapong Muenprasertdee, Sy Chonato
  • Illustrator: Lalita Chatromyen

วงดนตรีหลายๆวงอาจจะมีความฝันที่จะได้ไปเล่นที่ประเทศญี่ปุ่นสักครั้งในชีวิต และมีศิลปินที่ได้ไปทัวร์แล้วหลายๆวงด้วยกัน เช่น แสตมป์ อภิวัชร์, Yellow Fang, Two Million Thanks, Gym and Swim หรือ Jelly Rocket ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่รักศิลปะ มีพื้นที่ให้เล่นมากมายกับโลกดนตรีและศิลปะต่างๆ ตลาดเพลงที่นี่มีคนฟังเปิดกว้างรับแนวเพลง Genre ต่างๆมากมาย การได้ไปเล่นที่นั่นไม่ง่ายเลย แต่ที่ยากกว่าคือจะชนะใจมิตรรักแฟนเพลงญี่ปุ่นอย่างไร วันนี้จึงขอเล่าเรื่องราวแชร์ประสบการณ์เมื่อ ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี  Co-Founder และ Community Director ของฟังใจได้ไปร่วมงานสัมมนาทางดนตรีที่งาน Zandari Festa และ MU:CON ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว สิ่งที่ควรรู้ไว้หากจะไปเล่นดนตรีที่ญี่ปุ่น 1. ชนะใจแฟนเพลงญี่ปุ่นไม่ง่าย คนญี่ปุ่นมีความตั้งใจ ขยัน มีวินัยมากๆ ถ้าตั้งใจทำอะไรก็ไม่แพ้ใครในโลก ศิลปินญี่ปุ่นทักษะทางดนตรีเทพมาก ถ้าเรายังเล่นได้ไม่ดี ยังไม่เจ๋งพอ อาจจะไม่มีโอกาสชนะวงท้องถิ่นได้เลย ดังนั้นต้องซ้อมมากๆๆ ต้องแม่น ต้องแน่น ต้องเป๊ะ แทบจะมีทุกแนวเพลงในญี่ปุ่นอยู่แล้ว ไม่มีแนวไหนที่ใหม่ว้าวสำหรับตลาดคนฟังอินดี้ญี่ปุ่น อย่าหวังว่าเขาจะเซอร์ไพรส์กับแนวของเรา เพราะเขาอาจจะเคยเห็นมาก่อน แต่ข้อดีคือ ในตลาดที่หลากหลายแบบนี้ … Continued