เมื่อไม่มีงานดนตรี ศิลปินเหล่านี้ขายอะไรช่วง COVID-19?

ช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมาเหมือนเป็นหลุมดำของวงการคอนเสิร์ตและอีเวนต์ในไทย งานโชว์ต่าง ๆ ทยอยเลื่อน แคนเซิล ก่อนจะปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบไลฟ์สตรีมซึ่งอาจจะไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้มากนัก แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในเรื่องนี้ก็คือศิลปิน เราเลยอยากชวนมาซัพพอร์ตอาหารอร่อย ๆ และสินค้าเด็ด ๆ จากศิลปิน เพื่อช่วยให้พวกเขายังมีรายได้ในเวลาแบบนี้กัน   ปังมาไย ไปมายัง ร้านขนมปังปิ้งสุดสนุกโดย เอ้ Beagle Hug และ พัด Zweed n’ Roll ที่ถือกำเนิดขึ้นมาเนื่องจากศิลปินทั้งสองว่างงานด้วยพิษ COVID-19 บวกกับความชื่นชอบดั้งเดิมในการกินขนมปังปิ้งเตาถ่านคู่กับนมสดอร่อย ๆ จึงได้ออกเดินทางไปคัดสรรวัตถุดิบที่ดี นำมาปรับทดลองสูตรจนได้รสชาติแห่งความ spark joy ทั้งสองเลยถือโอกาสนี้ส่งมอบความสุขผ่านการกินให้ทุกคน ซึ่งเคล็ดลับความหอมกรอบนอกนุ่มมาจากการปิ้งด้วยเตาถ่าน และใช้แม่ปิ้งผู้มีประสบการณ์การเป็นแม่มา 20 กว่าปี ทำให้ขนมปังของปังมาไยรสชาติอูมามิมาก (ฮา) เมนูแนะนำ ขนมปังเนย+สังขยาชาไทย ขนมปังเนย+แยมส้ม ที่ทำแยมเองสด ๆ ทุกวัน นอกจากนี้ก็มีเครื่องดื่มอย่างนมสด ชาเขียว น้ำผึ้งมะนาว ฯลฯ ขายขนาดนี้ คุณไปมายัง!!?  ช่องทางไปชิม ร้านเปิดทำการ 17:00-21:30 … Continued

ยอดฟังมีความหมาย! หลากหลายวิธีที่ Music Streaming ช่วยเหลือศิลปินในวิกฤติโควิด

โควิดกระทบกับซีนดนตรีไปทั่วโลกในหลาย ๆ ทางจนเราคาดไม่ถึง งานหด อดโชว์ แถมยอดสตรีมมิ่งยังตกลงในช่วงโรคระบาดอีกด้วย แม้แต่ศิลปินดัง ๆ ยังขาดรายได้จนน่าใจหาย แล้วศิลปินตัวเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีงานทัวร์บ่อย ๆ คงเจอผลกระทบที่หนักหนากว่า จนอาจต้องยอมทิ้งอาชีพนักดนตรีไปเลย ศิลปินหลายคนก็ต้องออกมาไลฟ์บนโซเชียลเพื่อรับบริจาคเงินเพื่อเลี้ยงปากท้อง ทำโชว์บนโลกอินเทอร์เน็ตให้น่าสนใจเพื่อติดต่อกับแฟน ๆ ที่ไม่ได้เจอกันหลายเดือน หรือขายสินค้าของวงเพื่อนำเงินมาจุนเจือความฝันของตัวเองต่อ แน่นอนว่า มันทดแทนรายได้ที่หายไปเพราะโรคระบาดไม่ได้แน่ ๆ แม้ยอดสตรีมมิ่งหลายเจ้าจะลดลงไปบ้าง แต่พวกเขาต่างรู้อยู่เต็มอกว่า ถ้าไม่มีศิลปินแล้วพวกเขาก็คงไม่มีทางรันแพลตฟอร์มของตัวเองต่อไปได้แน่ หลายที่จึงออกมาตรการมาซัพพอร์ตซีนดนตรีไม่ให้ล่มสลายไปซะก่อนที่วัคซีนจะมาถึง ทันทีที่เกิดการระบาด Apple Music และ Spotify ต่างแบ่งพื้นที่ในหน้าแรกให้กับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดในแต่ละประเทศ เพื่อให้ความรู้กับคนฟังเพลงทุกคนถึงการห่างไกลโรคระบาด โดยเฉพาะ Spotify ที่งดรับสปอตโฆษณา แล้วให้หมอหรือผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำวิธีปฏิบัติตัวในช่วงโรคระบาด แทรกลงไประหว่างฟังเพลงแทน เพื่อให้ความรู้หรือข้อมูลสำคัญเข้าถึงคนรักการฟังเพลงมากขึ้น ส่วนแบ่งค่าตอบแทนจากยอดฟังในสตรีมมิ่ง ก็ยังนำไปบริจาคให้กับ MusiCares องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ออกมาเยียวยาเหล่าคนในอุตสาหกรรมดนตรีทั่วโลก และอีกหลาย ๆ องค์กรทั้งในซีนและนอกซีนดนตรี เพื่อช่วยกันเยียวยาผลกระทบจากโรคระบาดครั้งนี้ ล่าสุด Spotify ก็เพิ่งเปิดให้ศิลปินสามารถรับบริจาคเงินผ่านหน้าโปรไฟล์ศิลปินบนสตรีมมิ่ง ซึ่งเป็นบัญชีตรงไม่ต้องผ่าน Spotify หรือตัวกลางใด ๆ … Continued

คนฟังจะซัพพอร์ตศิลปินยังไงดี ในช่วงมีไวรัส covid-19 ระบาดจนไม่มีงานเล่น

เชื่อว่าตอนนี้ หลายคนน่าจะกำลังเป็นผู้ประสบภัย Covid-19 กันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ผู้ประกอบการ เจ้าของร้าน โปรโมเตอร์ หรือแม้แต่คนดูเองก็ตาม เนื่องจากโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่นี้ยังไม่มีวิธีรับมือที่แน่ชัด ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะออกไปเสี่ยงอยู่ในที่คนเยอะ ๆ ทำให้งานคอนเสิร์ตโดนยกเลิกหรือเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนดมากมาย เจ้าโรคระบาดไม่ได้ทำให้เรายิ่งหดหู่อย่างเดียว แต่กำลังกัดกินซีนดนตรีของเราอย่างช้า ๆ ทั้งที่ปีนี้น่าจะเป็นปีของศิลปินหลาย ๆ คน ต่างก็ต้องหยุดชะงักกันหมด ใครสายป่านยาวหน่อยก็ประคองตัวเองไป ศิลปินหลายคนที่มีงานหลักอยู่ก็อาจจะหายใจต่อได้ แต่ยังมีเฟืองตัวเล็ก ๆ อีกหลายตัวในธุรกิจดนตรีที่แทบจะไม่มีงานเข้ามาเลย ทั้งซาวด์เอน คนทำอีเว้นท์ คนทำวิชวล แถมความหวังเดียวของเราอย่างรัฐบาลก็ดูจะไม่เหลียวแลอะไรพวกเขาเลย สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือให้กำลังใจกัน ช่วยประคองกันไปให้รอดกันทั้งหมดเนี่ยแหละ ในฐานะคนฟังเพลง เราก็อดเป็นห่วงศิลปินที่เรารักไม่ได้เหมือนกัน เมื่อไม่มีงานเล่น พวกเขาก็ขาดรายได้หลักไปเลยทันที แต่ยังมีอีกหลายสิ่งที่เราทำได้ เพื่ออุ้มชูผลักดันศิลปินที่เรารักให้ยังมีชีวิตต่อไป หรืออย่างน้อยก็แสดงให้พวกเขาเห็นว่ายังมีกำลังใจอีกมากมายอยู่ข้าง ๆ เมื่อเมฆหมอกของโรคระบาดจางหายไป พวกเขาจะได้กลับมาขึ้นเวทีได้อย่างปลื้มใจ จับจ่ายสินค้าของศิลปินที่เรารักเท่าที่ทำได้ แม้หลายคนต้องคุมค่าใช้จ่ายกันรัดกุมขึ้น แต่ถ้าพอจะมีเงินเหลือซักหน่อย ก็ซื้อเสื้อ แผ่นซีดีหรือสินค้าต่าง ๆ ของศิลปินจากช่องทางหลักของพวกเขาเลย เพื่อให้เงินเหล่านั้นไปถึงมือเขาทันที แถมเป็นวิธีซัพพอร์ตศิลปินที่ดีที่สุดด้วย ฟังบน YouTube ไปหลายพันวิวแล้ว ก็มีอัลบั้มที่เราชอบของพวกเขาไว้ซักแผ่นมั้ย ถ้าพวกเราช่วยซื้อกันคนละแผ่น … Continued

ศิลปินอิยิปต์ถูกแบนตลอดกาล! เพียงเพราะทำเพลงผิดหลักศาสนา

ในวันที่เพลง ประเทศกูมี กลายเป็นคลื่นใต้น้ำที่คนรักประชาธิปไตยฟังกัน หรือใช้เป็นสัญลักษณ์ในการด่ารัฐบาลเผด็จการที่ง่อยเปลี้ยในการบริหารบ้านเมือง แถมยังตีมึนออกสื่อต่อการอภิปรายไม่ไหววางใจต่าง ๆ จนประชนชนเหนื่อยใจ ฝ่ายที่สนับสนุนเผด็จการก็มักจะพูดว่า ‘ถ้าประเทศไม่มีเสรีภาพ จะปล่อยให้คนร้องเพลงด่ารัฐบาลแบบนี้หรอ’  โดยที่ผู้พูดไม่รู้ว่า มีอีกหลายคนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อทวงคืนอำนาจกลับมาสู่ประชาชน ล้วนถูกฝ่ายตรงข้ามคุกคามด้วยวิธีต่าง ๆ หรือบางคนก็หายสาบสูญไปเลยก็มี บางประเทศที่กฎหมายรุนแรงมาก ๆ โดยเฉพาะรัฐศาสนาที่มีข้อบังคับไม่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน บทลงโทษที่ไม่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ประเทศอิยิปต์คืออีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้อำนาจคุกคามประชาชนได้อย่างน่ากลัว “ขอร้อง อย่าลงโทษลูกของฉันเลย” น้ำเสียงของคนเป็นแม่จะขาดใจตายออกสื่อไปทั่วประเทศ หญิงคนหนึ่งไม่เปิดเผยชื่อออกมาร้องขอความเป็นธรรมให้กับลูกชายของเธอระหว่างถูกทางการจับตัวไป เขาคือ Hamo Bika ศิลปินชื่อดังในประเทศอิยิปต์  ด้วยข้อหาร้องเพลงแนว mahraganat ที่ขัดกับหลักการข้อห้ามของศาสนาอิสลาม Mahraganat เป็นภาษาอารบิกแปลว่า ‘festival’ หรือเทศกาลเฉลิมฉลอง มันผสมเพลงพื้นเมืองเข้ากับดนตรีอิเล็กทรอนิกได้อย่างสนุกกสนาน การคำร้องด้วยภาษาปากที่ถ่ายทอดความอัดอันของชีวิตรากหญ้าหรือสรรเสริญกับชีวิตที่เรียบง่าย ส่วนใหญ่มักจะพูดถึงการเมือง เซ็กซ์ หรือชีวิตประจำวันอันยากลำบากของวัยรุ่น ทำให้เป็นเพลงฮิตในกลุ่มชนชั้นแรงงานของกรุงไคโรมาตั้งแต่ช่วงยุค 2000s เรียกว่าเปิดกันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่ล่าสุด รัฐประกาศห้ามเล่นเพลงแนวนี้อีกต่อไป ด้วยเหตุผลที่ว่ามัน ‘ผิดศีลธรรมและจารีตอันดีงาม’ (unethical and immoral) โดยหยิบยกเพลงฮิตติดชาร์ตของประเทศอย่าง Bent el-Geran (The Neighbor’s … Continued

ความสำเร็จชั่วข้ามคืนไม่มีจริง! ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ศิลปินมีชื่อเสียง

ไม่ผิดอะไรที่ศิลปินอยากจะมีชื่อเสียงบ้าง การที่เราดังก็หมายถึงมีคนชอบผลงานของเรา ทำให้งานเพลงของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น แล้วสิ่งที่ตามมาก็คือเงิน ที่จะช่วยต่อยอดผลงานใหม่ ๆ ให้กับเราจนสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องควบอีกงานที่ไม่ชอบเพื่อปากท้องของตัวเองไปเรื่อย ๆ มีศิลปินหลายวง ที่มีผลงานเพลงดี ๆ ออกมาหลายเพลง แต่ก็ต้องที่ใช้เวลาเป็นปีกว่าจะเป็นที่รู้จักของคนฟัง แต่ก็มีศิลปินบางคนเหมือนกันที่อยู่ ๆ ก็ดังขึ้นมาแค่มีเพลงไวรัลเพลงเดียว ไม่แปลกถ้าจะมีคนกังขาในชื่อเสียงและความสามารถของพวกเขา แต่เบื้องหลังความสำเร็จชั่วข้ามคืนของศิลปินเหล่านี้ อาจแลกมาด้วยวันคืนอันยากลำบากที่ต้องฝึกฝนมาอย่างยาวนานหลายปี โดยที่ไม่มีใครสนใจมาตลอดเลยก็ได้ ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ก็ยังเดาไม่ค่อยได้เหมือนกันว่าเพลงไหนจะดัง ศิลปินคนไหนจะมา หลายคนเชื่อว่าจะมีชื่อเสียงได้ก็ต้องมีผลงานที่ดีให้ได้ก่อน แต่ผลงานที่ดีอย่างเดียวไม่ช่วยให้เราดังได้ มีสูตรพื้นฐานง่าย ๆ ที่ศิลปินหลายคนทำเพื่อสะสมชื่อเสียงของตัวเอง จะลองทำตามก็ได้ไม่ว่ากัน ดังนี้ มั่นคง+ปริมาณ = คุณภาพ การสร้างสรรค์เพลงขึ้นมาซักเพลงมันต้องใช้เวลาอยู่แล้ว ทำเพลงได้ซักเพลงก็อย่ามัวหลงระเริงกับมัน สิ่งที่ศิลปินมีชื่อทุกคนทำเหมือนกันคือตั้งใจทำงานและปล่อยผลงานออกมาสม่ำเสมอ ทำงานแต่ละชิ้นโดยที่มีประเด็นชัดเจนในใจ ก้าวข้ามตัวเองและหาเทคนิคใหม่ ๆ ที่ตัวเองสนใจอยู่ตลอดเวลา ยิ่งตั้งใจทำงานมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งเก่งขึ้นแน่นอน ปลุกปั้นสไตล์ของตัวเองให้แตกต่างชัดเจน มีเพลงมากมายที่แค่ได้ยินเสียงกีตาร์หรือดนตรีซักท่อนแล้วเรารู้ได้ทันทีว่าเป็นเพลงของศิลปินคนไหน การหาสไตล์ของตัวเองให้เจอก็เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเราโดดเด่นเป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้นด้วย ต่อให้อยากทำเพลงป๊อปก็ต้องเป็นเพลงป๊อปที่ไม่เหมือนใครให้ได้ อาจจะผสมแนวเพลงที่เราสนใจลงไปด้วยและฝึกฝนหาทางไปของตัวเองให้เจอ หรือทำโชว์ของวงให้น่าสนใจ ก็จะกลายเป็นคอนเทนต์ที่ให้สื่อนำไปเล่าต่อได้ หรือสร้างภาพจำให้คนฟัง บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ถ้าอยากให้คนฟังจำเราแบบไหนก็อธิบายให้ทุกคนฟังด้วยตัวเองเลยเมื่อมีโอกาส การทำคอนเทนต์เฟซบุ๊กที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับเพลงหรือวงของตัวเอง ก็ทำให้คนฟังเข้าถึงเพลงของเราได้มากขึ้น … Continued

เป็นศิลปินก็เกษียณได้เหมือนกัน — ย้อนดูเหล่านักดนตรีที่ Retired จากอาชีพเพื่อไปพักผ่อน

  • Writer: Malaivee Swangpol

ชีวิตมนุษย์ธรรมดาอย่างเรา ๆ พอถึงวัยใกล้ เกษียณ เราก็เตรียมไปพักผ่อนเลี้ยงหลาน แต่สำหรับนักดนตรีผู้ทำงานได้เรื่อย ๆ แบบไม่จำกัดอายุล่ะ ถ้าเขาเหนื่อยหรือหมดไฟขึ้นมาวันนึงจะต้องทำอย่างไร ตามเรามาดูศิลปินเหล่านี้ที่ประกาศเกษียณอาชีพศิลปินด้วยสาเหตุต่าง ๆ กันจ้า Phil Collins มือกลองและนักร้องแห่งวงโพรเกรสซีฟร็อกอย่าง Genesis และเจ้าของโซโล่โปรเจ็กต์ผู้มีเพลงฮิตระดับโลกอย่าง In the Air Tonight และ Against All Odds (Take a Look at Me Now) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเทคนิค gated reverb ที่ใส่เอฟเฟกต์เข้าไปให้กับเสียงกลองในยุค 80s โดยหลังจากที่ Genesis ทัวร์ทิ้งท้ายในปี 2007 เขาก็เริ่มมีปัญหากับเส้นประสาททำให้ให้ต้องผ่าตัดคอ และทำให้ไม่สามารถเล่นกลองได้ ซึ่งในปี 2009 เขาก็ยังพยายามเล่นกลองโดยใช้วิธีแปะเทปที่มือ แต่ก็ยอมแพ้ไปจนทำให้ต้องประกาศเกษียณในปี 2011 Syd Barrett นักร้องนำ นักแต่งเพลง คนแรกของ Pink Floyd คนนี้ก็เกษียณจากวงการดนตรีเพราะปัญหาทางสุขภาพจิตในปี … Continued

Visual-Beat มิวสิกวิดิโอที่ให้คนฟังออกแบบดนตรีในเพลงด้วยตัวเอง

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Art Director: Tas Suwanasang

ทุกครั้งที่เราหลับตาฟังเพลงที่เราชอบมาก ๆ เราอาจจะนึกย้อนซ้อนทับเรื่องราวของเราลงไปในเนื้อเพลงเหล่านั้นแบบเงียบ ๆ คนเดียว แต่เมื่อศิลปินปล่อย music video หรือ mv เพลงนั้นออกมา กลับนำเสนอเมสเสจได้เหนือความคาดหมายไปเลยจนเรารักเพลงนั้นมากขึ้นไปอีก มิวสิกวิดิโอกลายเป็นเครื่องมือสำหรับไขประตูความรู้สึกของเรา แล้วถ่ายทอดเพลงเพลงนั้นเข้าไปถึงความแห้งแล้งในใจได้อย่างน่าอัศจรรย์ หลายคนจึงใส่ลูกเล่นความคิดสร้างสรรค์กันลงไปมากมาย บางอันก็สุดโต่งมาก ๆ เช่น mv นี้เป็นต้น   visual-beat MV Max Mörtl ชาวเยอรมันคือเจ้าของโปรเจกต์แสนพิสดารอันนี้ เขาเชี่ยวชาญในการทำสต็อปโมชั่นด้วย doodle ทรงเรขาคณิตทั้งหลาย เกิดปิ๊งไอเดียอยากลองทำมิวสิกวีดีโอ interactive ที่ให้คนดูมีส่วนร่วมในเพลงด้วย เขาจึงชวนศิลปินอีก 4 คนมาสร้างสรรค์เสียงดนตรีให้กับโปรเจกต์นี้ ได้แก่ Nutia ศิลปินสาย tech house ที่หลงใหลในซาวด์สุดกรูฟ Clara นักเชลโล่ระดับที่อยู่ในวงออร์เคสตรามาทั้งชีวิตจนอยากทดลองอะไรใหม่ ๆ บ้าง Mohna เธอเป็นคอรัสให้กับวงดนตรีชื่อดังและชื่นชอบในซาวด์แบบมินิมัลเป็นพิเศษ Dobré นักร้องนักแต่งเพลงสายโฟล์ก แต่ยังเชี่ยวชาญเครื่องดนตรีหลายชนิดจนเติบเต็มอารมณ์ทางดนตรีได้ทุกรูปแบบ พวกเขาช่วยกันสร้างเสียงอันหลากหลาย ตวงวัดน้ำหนักทางดนตรีและอารมณ์ได้อย่างเหมาะเจาะ แล้วจับมาประกอบกันให้กลายเป็นเสียงดนตรีที่มีหลากหลายมิติ โดยที่ mv … Continued

Merchandise สำคัญกับศิลปินยังไง พาไปส่องของประหลาดที่ศิลปินระดับโลกทำขาย

  • Writer: Peerapong Kaewthae

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การฟังเพลงก็เปลี่ยนตาม จากที่ทุกคนฟังเพลงจากซีดีเท่านั้นตอนนี้ก็หาฟังได้ผ่านอินเทอร์เน็ตหมดแล้ว ซีดีเลยกลายเป็นของสะสมที่เราหวงยิ่งกว่าชีวิต (เพราะมันอาจหาซื้อไม่ได้อีกแล้ว) รายได้ของศิลปินมาจากเป็นเล่นสดซะส่วนใหญ่ มีบางวงก็ยอมกัดฟันขูดเลือดขูดเนื้อตัวเองมาทำ merchandise หรือสินค้าที่พิเศษกว่าใครเพื่อเป็นที่ระลึกให้กับแฟนเพลงที่พวกเขารัก ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นรายได้สำคัญอีกช่องทางหนึ่งที่ทุกคนจะช่วยซัพพอร์ตศิลปินได้ แล้วยังทำหน้าที่อีกหลายอย่างเพื่อทำให้ศิลปินอยู่รอดได้ด้วย นอกจาก merchandise จะทำให้เห็นกระแสตอบรับหรือกำลังใจอันท่วมท้นจากแฟนเพลงที่ซื้อสินค้าของเราแล้ว มันยังช่วยกระจายความนิยมให้กับวงดนตรีนั้น ๆ ได้อีกด้วย แฟนเพลงอาจจะใส่เสื้อวงไปข้างนอกพบปะผู้คนมากมาย ทำให้ทุกคนได้รู้จักวงของเราผ่านสายตาหรือบทสนทนาเหล่านั้น หรือเจอคนที่ชอบอะไรคล้าย ๆ กันก็สร้างให้ฐานแฟนเพลงขึ้นทีละน้อยจนมันแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งสินค้าของเราน่าสนใจแค่ไหน ก็ยิ่งสร้างแรงกระเพือมให้คนที่ไม่รู้จักวงเราหันมาสนใจเราได้มากเท่านั้น และที่สำคัญที่สุดคือศิลปินจะได้มีเงินไปหมุนเพื่อทำผลงานใหม่ ๆ ออกมาให้เราฟังต่อไปนาน ๆ ได้ แต่เรื่องเงินก็อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับศิลปินบางวง merchandise แปลก ๆ ช่วยสร้างข่าวหรือกระแสบนโลกออนไลน์ให้ทุกคนรู้จักวงได้เหมือนกัน ถึงจะขายไม่ได้แต่ได้พื้นที่สื่อก็เป็นอาวุธทางการตลาดที่วงอาจหยิบมาเล่นได้ ทั่วโลกก็มีสินค้าประหลาด ๆ ของศิลปินเต็มไปหมด ลองไปดูกันว่าศิลปินระดับโลกเขาทำอะไรแปลก ๆ ออกมาขายกันบ้าง ผ้าห่ม วงปั่น ๆ แบบ Weezer ก็คงหนีไม่พ้นเอาของปั่น ๆ มาขาย กับผ้าห่มที่ใหญ่พอจะคลุมได้ทั้งตัวและมีแขนออกมาสำหรับใช้หยิบจับสิ่งของ ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ใต้ผ้าห่มอันนี้ได้จริง ๆ … Continued