ม่วนโดยมิได้นัดหมาย? ทำไมวงจากแอฟริกา หรือละติน ถึงคล้ายหมอลำขนาดนี้!?

ในหลาย ๆ ครั้งที่เราฟังดนตรีโลก (world music) ที่ไม่ว่าจะมาจากประเทศไหน ทวีปไหน ก็จะพบกับความน่ามหัศจรรย์ของเสียงเพลงเหล่านี้ที่จะมีความเชื่อมโยงกันอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งเสมอ ยิ่งถ้าได้ฟังเพลงจากทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกัน เราจะรู้สึกว่า ทำไมเสียงเครื่องดนตรี โครงสร้างเพลง จังหวะ หรือวิธีการร้อง มันละม้ายคล้ายคลึงกับหมอลำทางภาคอีสานจังเลย เรื่องนี้มีเหตุผลแบบบังเอิญ ๆ ที่ก็ไม่บังเอิญซะทีเดียว  ย้อนกลับไปตั้งแต่จุดกำเนิดของเพลงแอฟริกันกับเพลงหมอลำ จุดที่ทำให้มีความคล้ายคลึงกัน เพราะบริบทในสังคมของทั้งสองพื้นถิ่นนี้มีความใกล้เคียงกันอยู่ คนไทยในภาคอีสาน และคนในทวีปแอฟริกา อาศัยอยู่ในพื้นที่ธุรกันดาร แห้งแล้ง พบเจอกับความลำบาก ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมนี้เองที่ทำให้เกิดแนวเพลง หรือการเรียบเรียงดนตรีดังที่เราได้ยินกัน โดยคนทั้งสองคนเผ่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทางชาติพันธุ์แต่อย่างใด “ถ้าพูดภาพรวมดนตรีแอฟริกันกับหมอลำ อาจจะไม่ได้เหมือนกันมาก แต่คอนเซ็ปต์การเล่าเรื่องใกล้เคียงกัน คือเล่าเรื่องชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน แต่ถึงแม้ว่าชีวิตของพวกเขาลำบาก แร้นแค้น ก็ไม่จำเป็นต้องทำแต่เพลงท่วงทำนองเศร้าสร้อย สังเกตได้จากเพลงส่วนใหญ่ของอีสาน หรือแอฟริกัน จะทำออกมาเป็นเพลงสนุก มีจังหวะครื้นเครง เพราะพวกเขาต้องการสร้างความสนุกมาเพื่อปลอบประโลมชีวิต” ต้นตระกูล แก้วหย่อง อาจารย์วิชาดนตรีร่วมสมัย สาขาดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก ที่มหาวิทยาลัยมหิดล หรือที่พวกเรารู้จักเขาในฐานะศิลปินเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน Tontrakul, Asia 7 และ Nisatiwa เล่าให้เราฟังถึงปัจจัยต่าง … Continued

E-San Fusion เติมเสียงพิณของไทยลงไปในดนตรีฟังก์ได้เปรี้ยวเข็ดฟัน ใน ‘Funk Der La’

ชื่อวงของเขาก็บอกอยู่แล้วว่า E-San Fusion ทุกคนก็น่าจะพอเดาออกว่าเขาต้องหยิบหมอลำมาทำให้น่าตื่นเต้นได้แน่ ๆ โดยเฉพาะเพลงแรกกับ Funk Der La (ฟังก์เด้อหล่า) ที่ชวนทุกคนมาโยกย้ายอวัยวะไปกับเสียงพิณแและกรู๊ฟสนุก ๆ เกินใคร กลองจับจังหวะเข้ามาพร้อมเสียงพิณที่ชดช้อยนุ่มนวลมาก แต่ยังมีกลิ่นอายกรู๊ฟ ๆ ของความสนุกอยู่ มี backing track ด้วยเสียงของ Jonas Anderson ฝรั่งหัวใจลูกทุ่ง ก่อนจะซัดฮุกม่วน ๆ เข้ามากับกลิ่นอายแบบหมอลำ ขยี้จังหวะได้สนุกสุด ๆ ไปเลย ดรอปจังหวะลงซักหน่อย แล้วปล่อยให้พิณแผลงฤทธิ์ร่ายรำอย่างงดงาม ตอนท้ายก็เติมกีตาร์ฟังก์ ๆ มานิดหน่อยก่อนลากเข้าฮุกที่สนุกเหมือนเดิม มีลูกเล่นของพิณอีกนิดหน่อยตอนจบได้ประทับใจมาก แค่เพลงแรกก็น่าตื่นเต้นขนาดนี้แล้ว ดีใจที่หลายวงเริ่มหยิบเพลงหมอลำมาประยุกต์ใช้กับเพลงของตัวเอง ต่อยอดสไตล์พื้นบ้านของเราให้ไปไกลขึ้นเยอะเลย ยังไงติดตามวงนี้ต่อไปแน่นอน ใครชอบก็มีให้ฟังบน ฟังใจ แล้วนาจา

‘บินเสิ่น’ แจ๊สสำเนียงหมอลำชวนม่วนอีหลี จากเครื่องดนตรีตะวันตกของคณะ Kula Lumnum

  • Writer: Peerapong Kaewthae

Kula Lumnum เติมรสชาติแบบตะวันตกลงไปให้หมอลำจัดจ้านและเซ็กซี่น่าฟังขึ้นเยอะมาก กับ บินเสิ่น ที่บาลานซ์ความเป็นแจ๊สกับดนตรีพื้นบ้านได้น่าตื่นเต้นสุด แนวทางดนตรีและบทเพลงของ กุลา ลำนำ คือการผสมผสานท่วงทำนองหมอลำอีสาน เข้ากับดนตรีตะวันตก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า contemporary เสียงคีย์บอร์ดที่เปิดจังหวะมาอย่างม่วน มีกลองกับเบสคอยเลี้ยงอารมณ์ แล้วซัดตามเข้ามาด้วยซาวด์แคนที่ใช้แซกโซโฟนแทนก็ได้อารมณ์ที่เซ็กซี่และนุ่มขึ้นเยอะมาก ๆ เบสก็ตีคอร์ดเด่นขึ้นมาบ้างบางจังหวะ แต่พอเข้าฮุกเท่านั้นแหละ แซ็กโซโฟนก็รื่นหูมาก แถมยังบาลานซ์จังหวะระหว่างความเป็นหมอลำกับแจ๊สได้น่าฟังสุด ๆ ระหว่างที่กำลังจะขยี้เสียงหวาน ๆ เครื่องดนตรีทุกชิ้นก็เข้ามาซัพพอร์ตต่อทันที จนแซกขึ้นสุดได้อย่างงดงาม คีย์บอร์ดลงมาม่วนต่อ โดยมีแซ็กมาแจมเป็นระยะ แล้วประสานจังหวะกันตอนท้ายสุดจะติดหู เป็นการผสมหมอลำกับสไตล์อื่นได้ลงตัวงดงามมาก เป็นอีกวงที่ผสมผสานดนตรีพื้นบ้านเข้ากับสไตล์อื่นได้น่าตื่นเต้น กดหัวใจเก็บไว้ฟังบนฟังใจได้ >ที่นี่< หรืออไปกดไลก์เป็นกำลังใจให้พวกเขาบนเพจ Kula Lumnum กุลา ลำนำ

Rasmee ‘Roots’ ลงรากลึกในหมอลำที่เธอหวงแหน

  • Writer: Montipa Virojpan

จากที่เราได้พูดคุยกับ Rasmee หรือ แป้ง—รัสมี เวระณะ นักร้องนักแต่งเพลงหมอลำที่มีผลงานออกมาแล้วถึงสองอัลบั้มนั่นคือ Isan Soul และ อารมณ์ จากที่ได้สร้างสรรค์ผลงานผสมผสานเอาดนตรีสากลมารวมไว้ในเพลงพื้นบ้านอย่างหมอลำ ปีนี้เธอได้หวนกลับไปสู่จุดกำเนิดของเพลงที่เธอผูกพันและคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ในอัลบั้ม Roots สรรเสริญหมอลำ 6 เพลงพื้นบ้านที่ได้ใช้เสียงทรงเสน่ห์ของเธอขับกล่อมเรื่องราวที่เขียนมาจากปลายปากกาตัวเอง และได้เครื่องดนตรีอีสานอย่างพิณกับแคนมาช่วยขับกลิ่นอายดั้งเดิมให้แจ่มชัดขึ้น ความคลั่งไคล้หมอลำตั้งแต่เด็กจนโต ทำให้มีฝัน……. ฝัน…..ที่อยากร้องหมอลำได้และมีผลงานเพลงหมอลำอัลบั้มเล็กๆเป็นของตัวเองสักอัลบั้ม สรรเสริญหมอลำ เป็นอัลบั้มที่มาเติมเต็มความฝัน เสียงพิณเสียงแคนช่วยทำให้อัลบั้มนี้งดงามมากขึ้น ขอบคุณผู้สร้างและทุกผู้เสพ………  Roots by Rasmeeหมอลำจงเจริญ เพลงสรรเสริญหมอลำอย่างแท้จริง เสียงพิณจังหวะกลาง ๆ โทนสว่างบรรเลงนำขึ้นมาเป็นเหมือนตัวเบิกโรงเข้าสู่เพลงอื่น ๆ ในอัลบั้ม เสียงขับร้องเป็นภาษาอีสานเป็นทำนองลำเพลิน กับท่อนหนึ่งที่เป็นการร้องแปลเนื้อความท่อนแรกเป็นภาษากลาง เล่าเรื่องตั้งแต่การเก็บกระเป๋า ก้าวเท้าลงบันได ขึ้นเครื่องกลับไปอีสานเพื่อหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ รวมถึงถ่ายทอดความรู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจหมอลำ ญ้อน สกลนคร เสียงแคนนำล่องมาก่อน ตามด้วยเสียงเอื้อนเล่าเรื่องเทศกาลดนตรี ญ้อน ที่จัดขึ้นที่จังหวัดสกลนคร ถ่ายทอดบรรยากาศที่ทุกคนนั่งล้อมวง ได้กลิ่นกองฟางจาง ๆ ท้องฟ้ายามกลางคืนที่งดงาม มีเสียงซอและกลองบองโกคลอไปตลอดเพลง ตั้งแต่เพลงก่อนหน้ารัสมีได้ใส่ความเห็นที่ว่าหมอลำรุ่นใหม่น่าสนใจ และไม่ว่าจะเป็นคนทำเพลงจากยุคไหนก็ไม่เป็นไร แค่ได้มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานก็เป็นเรื่องที่ดีแล้ว … Continued

Monaural Mini Plug เหล่าคนญี่ปุ่นที่หลงใหลในเสียงพิณแคนของหมอลำ

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Photographer: Monaural mini plug พิณแคนประยุกต์ ญี่ปุ่น – โมโนมินิปลั๊ก

หมอลำเป็นศาสตร์และศิลป์อีกแขนงหนึ่งที่ถูกส่งออกจากไทยไปม่วนกันหลาย ๆ ที่ต่างประเทศ เห็นได้จากความสำเร็จของวงรุ่นพี่อย่าง The Paradise Bangkok Molam International Band ที่พาหมอลำประยุกต์ไปขจรขจายทั่วโลก อีกหนึ่งประเทศที่นิยมชมชอบหมอลำเหมือนกันโดยที่เราอาจไม่รู้ก็คือประเทศญี่ปุ่น ที่หลงใหลซาวด์ย้อนยุคพื้นบ้านของเรากันอย่างบ้าคลั่ง คนญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งที่รักในเสียงพิณและแคนมาก ๆ จึงรวมกลุ่มกันเพื่อฟอร์มวงหมอลำประยุกต์ในแดนปลาดิบเองซะเลย พวกเขาคือ Monaural Mini Plug จุดเริ่มต้นของวงมาจากการที่สมาชิกวงเจอคลิป ‘Pinpurayuk’ (พิณประยุกต์) บน YouTube จนพบกับความหลงใหลในเสียงแห่งความสุข สนุกตื่นเต้น ดิ้นกันสะบัด เขาเริ่มหัดเล่นด้วยตัวเองจนอยากศึกษาจริงจัง ต้องมาจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อหาครูที่จะสอนเขาเล่นให้เก่งกว่านี้ให้ได้ เมื่อได้มิตรภาพมากมายและเทคนิกการเล่นลำเพลินมาแล้วพวกเขาก็ตั้งใจนำเสียงพิณเสียงแคนกลับไปเผยแพร่ที่บ้านเกิดของตัวเอง หลังจากฝึกฝนและได้ไปเล่นสดตามที่ต่าง ๆ พวกเขาก็ได้เดบิวต์อัลบั้มแรกในชื่อ Samurai Mekong Activity ประกอบด้วยแทร็คอย่าง ลำภูไท ที่เข้าถึงต้นฉบับได้อย่างถ่องแท้ หรือ สวรรค์ ที่ม่วนอีหลี มีการดรอปจังหวะแคนแบบสามช่าที่คนไทยคุ้นเคยกันด้วย แต่แทร็คสุดท้ายที่น่าสนใจที่สุดชื่อว่า ซามูไรลำเพลิน 2561 ที่มีความยาว 24 นาที อินโทรด้วยเสียงสตาร์ทรถนี่ก็รู้เลยนะคะ มันคือการจำลองการแห่ขันหมากเมดเล่ย์นอนสต็อป เต้นกันให้ตีนแตกไปข้างเลย มีการเร่งจังหวะผ่อนจังหวะไปมาเรื่อย ๆ เพื่อความสนุกต่อเนื่อง ต้องบอกว่าพวกเขาเข้าใจวัฒนธรรมหมอลำพอสมควรเลยทีเดียว ด้วยความที่ชอบมากจึงลองเข้าไปส่องเพจวงก็พบว่าเขาใช้ภาษาไทยในการโปรโมตควบคู่ไปกับภาษาญี่ปุ่นด้วย เราเลยลองติดต่อไปขอสัมภาษณ์เขาทางอีเมล์ดู … Continued

Apichat Pakwan รู้จักกับวง Esantronic การปรับตัวของวัฒนธรรมอีสานร่วมสมัย

  • Writer: Montipa Virojpan

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาทุกคนพอจะทราบดีว่าเป็นวันที่มีอีเวนต์ชนกันอิรุงตุงนังจนทำให้พลาดหลาย ๆ งานไปอย่างน่าเสียดาย แต่พอเราจบจากงานหัวค่ำแล้ว เราก็ได้มีโอกาสไปต่อที่อีกงานหนึ่งในคืนเดียวกันเพราะสถานที่จัดใกล้กันมาก คือคืนนั้นรุ่นพี่เราบอกว่าที่ร้านของเขาจะมีวงที่น่าสนใจมาก ๆ มาเล่น เราเลยแวะเข้าไปดูอีเวนต์เพจคร่าว ๆ ก็พบว่าเป็นวง Apichat Pakwan (อภิชาติ ปากหวาน) วงหมอลำดั๊บที่พักนี้เริ่มจะได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของพวกเขาบ่อยขึ้น และ Govinda Bhasya ที่แฟนเพลงเวิร์ลมิวสิกจะต้องเคยได้ยินชื่อมาบ้าง แต่ด้วยเวลาอันคาบเกี่ยวจึงทำให้เราไปดูทันในช่วงสุดท้ายของโชว์แล้ว เมื่อไปถึงก็ได้พบว่าทุกคนกำลังดิ้นกันสนุก เต้นกันแบบไม่ลืมหูลืมตา ตอนนั้นในใจก็คิดแล้วว่าเสียดายที่มาไม่ทันตั้งแต่วงแรก เพราะเพียงแค่สองเพลงท้ายก็ทำให้เรารู้สึก ‘ม่วนคัก ๆ’ แล้ว ถ้าได้ดูทั้งโชว์จะต้องสนุกครบรสกว่านี้แน่ ๆ มีหลักฐานการันตีได้เป็นอย่างดีจากบรรดาผู้ชมฟรอนต์โรวที่น่าจะโดนฤทธิ์ยาดองไปพอสมควร ก็เซิ้งอย่างออกรสเชียวล่ะ แถมช่วงท้ายก็ยังมีอังกอร์และ after party ที่จัดเพลงดิสโก้ ดั๊บ ดีพเฮาส์ ให้ได้เต้นกันต่อ ด้วยเหตุนี้เองเราถึงกับออกปากถามโปรดิวเซอร์ตัวตั้งตัวตีที่มาจากอัมสเตอร์ดัมว่าโชว์ต่อไปของพวกเขาจะไปเล่นที่ไหน ปรากฏว่างานหน้าคือคืนวันอาทิตย์ซึ่งจะมีเล่นกับวงเร็กเก้/รักกามัฟฟินที่ Jam สุรศักดิ์ ไอเราก็คิดว่าควรจะพักร่างบ้าง แต่ไป ๆ มา ๆ กลับมีจังหวะให้ต้องไปแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ เลยได้ดูโชว์เต็ม ๆ ของพวกเขาในที่สุด Apichat Pakwan เกิดจากการรวมตัวกันของ Olivier Shreuder โปรดิวเซอร์ฮิปฮอปเร็กเก้จากเนเธอร์แลนด์ที่มีความสนใจและหลงรักในเสียงอีสานขณะที่เดินทางมาท่องเที่ยวแถบนี้เมื่อปี 2004 … Continued

รู้หรือไม่ หมอลำที่เราฟัง ๆ กัน ไม่ได้มีแค่แบบเดียวนะ

  • Writer: Montipa Virojpan

แปลกใจล่ะสิที่เพลงร้องพื้นบ้านแถบอีสานที่เราเรียกว่าหมอลำมันมี sub genre ของมันด้วย แต่เอาจริงก็ไม่ได้เป็นอะไรที่แปลกใหม่มากมาย เพลงต่างประเทศยังมี sub genre เล้ย เอาแค่ rock เนี่ย แบ่งไปได้กี่สายแล้วล่ะ (punk, post punk, metal, nu-metal, post rock, krautrock, shoegaze, hardcore, deathcore, etc.) ส่วนของบ้านเรา ด้วยความเป็นภูมิปัญญา ‘ท้องถิ่น’ นี้เองจึงทำให้หมอลำมีการแบ่งแขนงแยกสายออกไปมากมาย หนนี้เราเลยจะพาไปรู้จักกับแนวย่อย ๆ ของหมอลำว่ามีอะไรบ้าง หมอลำ เป็นการผนวกระหว่าง 2 คำ อย่าง ‘หมอ’ หมายถึง ผู้มีความชำนาญ ในบริบทนี้ไม่ได้แปลว่าแพทย์รักษาอาการนาจา ส่วน ‘ลำ’ หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ หมอลำ ก็เลยแปลว่า ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะสุข เศร้า เหงา แค้น … Continued