BEER BELLY X LITTLE CREATURES POP-UP BEER TERRACE เปิดตัว 3 พ.ยนี้ ชมไลฟ์อคูสติกโชว์จาก HUGO และโปรโมชั่นสุดคุ้ม

“BEER BELLY X LITTLE CREATURES POP-UP BEER TERRACE” เปิดตัวอย่างเป็นทางการ 3 พฤศจิกายนนี้  พร้อมชมไลฟ์อคูสติกโชว์จาก HUGO คอเบียร์ห้ามพลาดโปรโมชั่นเด็ด! เมื่อ Beer Belly เบียร์ฮอลล์สุดฮิต มาพบกับ Little Creatures ความสนุกจึงเกิดขึ้น ใน “Beer Belly X Little Creatures Pop-Up Beer Terrace” พฤศจิกายนนี้ คอเบียร์เตรียมพบกับประสบการณ์แห่งการดื่มด่ำเบียร์สด รับลมเย็นๆ ณ เทอเรส ชั้น 1, 72 Courtyard งานนี้ไม่ต้องบินไกลไปถึงแดนจิงโจ้  Beer Belly ร่วมกับ Little Creatures เบียร์สัญชาติออสเตรเลีย ที่คว้ารางวัลออสเตรเลียน อินเตอร์เนชั่นแนล เบียร์และรางวัลเบียร์เพลเอลยอดเยี่ยมมาการันตี เราอิมพอร์ทคราฟท์เบียร์ส่งตรงจากโรงเบียร์ Little Creatures Brewing ให้แฟน Beer Belly ได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ในการดื่มเบียร์ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวออสซี่ กว่า 7 ชนิดดังนี้  Little Creatures IPA (ABV 6.4) ,Little Creatures Rogers Beer (ABV 3.8, Amber Ale) ,Little Creatures Pilsner … Continued

แกะกล่องอัลบั้ม Out of Time งานชุดแรกของ Old Fashioned Kid

  • Writer: Wathanyu Suriyawong
  • Photographer: Chavit Mayot

Old Fashioned Kid คือศิลปินเดี่ยวที่เพลงของเขามีดนตรีโฟล์กร็อกเป็นส่วนผสมหลัก แต่ถ้าสืบลึกไปถึงเบื้องหลังจะพบว่า นี่คือโปรเจกต์เดี่ยวของ ติน มือกลองวง Shopping Bag หลังจากที่ปล่อยผลงานเป็นซิงเกิ้ลมาสักระยะ ในที่สุด Old Fashioned Kid ก็มีอัลบั้มเต็มในชื่อว่า Out of Time ซึ่งตรงกับคอนเซปต์ของเพลงที่จะเกี่ยวกับเวลาทั้งหมดที่มีกำลังหมดลง ทั้งหมดเวลาอกหัก หมดเวลาของความเศร้า หมดเวลาที่จะมัวกังวลและก้าวเดินต่อไป โดยอัลบั้มนี้ได้ร่วมงาน  บิว—ปิยทัศน์ เหมสถาปัตย์ โปรดิวเซอร์มือดีที่เคยร่วมงานกับ Yanin และ TELEx TELEXs มาโปรดิวซ์ให้กับอัลบั้ม Out of Time นี้ด้วย ก่อนจะไปถึงตัวเพลง เราแวะมาที่แพ็คเกจซีดีกันสักเล็กน้อย อัลบั้มนี้บรรจุอยู่ในกล่องซีดีใส ปกเป็นรูปคนกอดกันโทนสีน้ำเงินทึม ๆ หน่อย เหมือนจะบอกว่ามนุษย์ที่มีความทุกข์เหมือน ๆ กัน กอดเพื่อปลอบประโลม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน หรืออาจจะหมายถึงการผ่านเรื่องร้าย ๆ ไปด้วยกันก็เป็นได้ ซึ่งปกซีดีก็ก็ไม่ใช่ปกกระดาษหน้าเดียว แต่เป็น booklet ที่มีภาพศิลปะ เนื้อเพลง และเครดิตผู้ทำงานเบื้องหลังระบุไว้ด้วย ทั้งหมดนี้ออกแบบโดย … Continued

6 เพลงแจ๊สที่เปี่ยมความหมายและความทรงจำ โดย นุ วุฒิวิชัย แห่ง Jazz Happens

  • Writer: Piyakul Phusri

6 เพลงแจ๊สที่เปี่ยมความหมายและความทรงจำ โดย นุ วุฒิวิชัย แห่ง Jazz Happens บทเพลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช – แว่ว (Echo) เพลงนี้คนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเพราะร้องตามยากจริง ๆ ส่วนเนื้อหา… ไม่รู้ท่านแต่งได้อย่างไร มันดีมาก ผมเชื่อว่าถ้าเป็นนักดนตรีแจ๊สจะชอบเพลงนี้ ด้วยความสละสลวยของเมโลดี้ เนื้อร้อง ทำนอง นับว่าสุดยอด ถือเป็น rare item ที่มหัศจรรย์จริง ๆ Burt Bacharach – A House is not a Home เป็นเพลงเศร้า ต้องไปฟังเนื้อร้องเพลงเอาเอง เป็นเพลงที่แต่งได้ดีมาก และมีความซับซ้อนของจังหวะ Charlie Chaplin – Smile มีอะไรก็ให้ยิ้มกันไว้ เป็นเพลงที่ฟังไม่ยากและอยู่มายาวนาน เป็นเพลงที่ให้ความหวังกับคนในอีกรูปแบบหนึ่ง Various Artists (มีหลายเวอร์ชั่น หลายคนร้อง) – My Foolish Heart เป็นเพลงที่เนื้อร้องทันกับยุคสมัยและเพราะมาก พูดถึงความรัก … Continued

7 ปีที่ผ่านมา เทรนด์ดนตรีนอกกระแสของเราเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง

  • Writer: Montipa Virojpan

*บทความนี้ขอหยิบยกมาจากประสบการณ์การวนเวียนอยู่ในแวดวงดนตรีนอกกระแสไทยช่วง 7 ปีที่ผ่านมา* บนโลกนี้มีแนวเพลงมากมายที่วิ่งผ่านรูหู บ้างก็เป็นดนตรีที่คุ้นเคยอย่างดี บ้างก็แปลกเสียจนงงว่าแบบนี้ก็มีด้วยหรอ ซึ่งมันเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เราไม่หยุดที่จะขุดเพลงเก่า ๆ ที่บางทีก็เป็นเพลงใหม่สำหรับเรามาฟังอยู่เสมอ ถ้าเรานับถอยไปประมาณ 10 ปีที่แล้วเราจะค้นพบกับเพลงร็อกสีสันจัดจ้านแบบดีดดิ้นได้กับ Arctic Monkeys, The Strokes, Two Door Cinema Club ย้อนไปอีกทศวรรษก็จะพบกับบริตป๊อปหรืออัลเทอร์เนทิฟอย่าง Blur, Oasis, Radiohead, The Verve ที่หลายเพลงได้ถูกนำมาใช้หัดเล่นกีตาร์หรือร้องกันจนติดปาก ในยุค 80s ก็อุดมไปด้วยโพสต์พังก์ นิวเวฟ อาร์ตร็อก The Cure, Joy Division, Talking Heads หรือเพลงแดนซ์ที่เป็นผลผลิตตกตะกอนมาจากยุคดิสโก้ ถ้ากลับไปไกลกว่านั้นเราก็จะพบทั้ง ฮิปฮอป พังก์ ฮาร์ดร็อก ร็อกแอนด์โรล โฟล์ก ไซคีเดลิก โซล แจ๊ส บลูส์ ฯลฯ ที่ต่อมาได้กลายเป็นวัตถุดิบต้นขั้วของหลายวงดนตรีในการสร้างสรรค์งานเพลงร่วมสมัย นั่นคือบริบทของเพลงแต่ละยุคที่ทุกคนพอจะนึกออก แล้วมีใครเคยตั้งข้อสังเกตสำหรับ modern day music เฉพาะแค่ในประเทศไทยบ้างหรือเปล่า … Continued

More Rice ค่ายเพลงอิเล็กทรอนิก เน้นปลูกข้าวพันธุ์ไทย ไปโตไกลถึงยุโรป

  • Writer: Korn Varasarin
  • Photographer: Chiratchaya Wongin

ในยุคที่วงการเพลงพัฒนาก้าวไปไกล กระบวนการผลิตสื่อ platform ต่าง ๆ รวมไปถึงวิธีการฟังเพลงที่แทบจะเป็นดิจิทัลไปหมดแล้ว แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่หันมาสนใจการฟังเพลงจากแผ่นเสียงที่เป็นแบบอนาล็อก ทำให้เกิดกระแสการกลับมาของแผ่นเสียง (vinyl revival) โดยคนกลุ่มนี้เชื่อว่าแผ่นเสียงนั้นให้เสียงที่ดีกว่า และเป็นรูปธรรมจับต้องได้มากกว่าไฟล์ดิจิทัล เช่นกันกับคนที่เปิดเพลงตามคลับบาร์ต่าง ๆ มีดีเจจำนวนหนึ่งที่คลั่งไคล้ในจิตวิญญาณของแผ่นเสียงด้วยเหตุผลเดียวกัน ความสนใจเรื่องการเปิดเพลงและการเล่นแผ่นเสียงทำให้สองดีเจ เจ—ศรายุ ศรียุกต์สิริ และ ต๊อป—ภัครภณ อนันตกฤตยาธร ได้มาทำความรู้จักกันมากขึ้น อันเป็นจุดเริ่มต้นของ More Rice การเดินทางครั้งใหญ่ที่จะพาวงการเพลงไทยไปสู่เวทีโลก —เปิดเพลง จัดปาร์ตี้ ทำมาตั้งหลายอย่าง แต่มาลงเอยที่การเปิดค่ายเพลง— ย้อนกลับไปตอนสมัยที่พวกเขาแทบยังไม่รู้จักกัน ต่างคนต่างก็โตกันมาต่างที่ เจเรียนและเติบโตที่อังกฤษมาโดยตลอด “ผมทำงานเกี่ยวกับดีเจมา 8-9 ปี ตั้งแต่อยู่ที่นั่น ก็มีโอกาสได้จัดปาร์ตี้ เพื่อน ๆ ที่นู่นก็ทำค่ายเพลง ทำอะไรเป็นของตัวเองกันหมด พอกลับมาที่นี่ก็ได้ทำ SixSix เป็น touring agency ของดีเจ” ส่วนต๊อปอยู่เมืองไทย เป็นดีเจและโปรดิวเซอร์ใช้ชื่อว่า DOTT หรือ Dogs on the Turns มีโอกาสได้เอาเพลงไปออกกับค่ายเพลงในต่างประเทศมากมาย และยังตั้งกลุ่ม … Continued

การทำงานในแวดวงดนตรีส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ จริงเหรอ?

  • Writer: Montipa Virojpan

ผลวิจัยล่าสุดจาก Help Musicians UK พบว่านักดนตรีมีอัตราเสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าสายอาชีพอื่นที่ร่วมวงการถึงสามเท่า ก่อนหน้านี้เราคงเคยอ่านเจอบทความหรือได้ยินใครหลายคนบอกว่า นักดนตรีเป็นกลุ่มคนที่มีอารมณ์อ่อนไหว เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และมีอัตราเสียชีวิตขณะที่อายุยังน้อยกว่าสายอาชีพอื่น โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการฆ่าตัวตายมากกว่าการใช้ยาเสพติดเกินขนาด ซึ่งแย้งกับผลการศึกษาที่ว่า คนไปคอนเสิร์ตหรือมีกิจกรรมทางดนตรีบ่อยเป็นปกติมีแนวโน้มที่จะมีความสุขกว่าคนอื่น ๆ อย่างน่าตกใจ ผลการศึกษาล่าสุดของ Sally-Anne Gross และ Dr. George Musgrave จาก University of Westminster รองรับข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยจุดประสงค์หลักของการวิจัยนี้จัดทำขึ้นสำหรับองค์กร Help Musicians UK เพื่อศึกษาความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างข้อจำกัดในการทำงานของศิลปินที่ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต เพื่อที่จะช่วยเหลือศิลปิน นักดนตรี ผู้ประพันธ์หรือเรียบเรียงเพลง และโปรดิวเซอร์ที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างตรงจุด พวกเขาเปิดเผยตัวเลขที่น่ากังวลของบุคคลากรในอุตสาหกรรมดนตรีประเทศอังกฤษที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางสุขภาพจิตผ่านแบบสำรวจ ‘Can Music Make You Sick?’ ที่ได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างนักดนตรีจำนวน 2,211 รายจนพบว่า พวกเขาเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าเกินกว่าสายงานอื่น ๆ ถึงสามเท่าตัว โดยปัจจัยหลัก ๆ เกิดมาจาก ความมั่นคงในอาชีพ ซึ่งมักมาจากความกังวลเรื่องรายได้ที่ไม่แน่นอนและเต็มไปด้วยความเสี่ยงเมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพต่าง ๆ การไม่ได้รับการยอมรับในสายอาชีพ (วงฉันต้องดัง ต้องมีชื่อเสียง … Continued

Skip ! นอกจากเพลงที่ไม่ชอบแล้ว ทำไมเราถึงกดข้ามเพลงบางเพลงด้วยล่ะ ตอนที่ 2

  • Writer: Mokara Chitteangtham

ช่วงท้ายจากตอนที่แล้ว ผมได้พูดถึง mere exposure (กระบวนการสื่อสารให้เกิด brand awareness ในสินค้า) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกของเราแต่ละคน จริง ๆ แล้วmere exposure ถูกใช้ในการสื่อสารโดยเฉพาะวงการเพลงและโฆษณามานานแล้ว อย่างสมัยก่อนที่เวลาโฆษณาจะต้องพูดถึงสรรพคุณสินค้า แต่ย้ำชื่อสินค้าซ้ำ ๆ ไปด้วยจนกลายเป็นภาพหรือชื่อจำของประเภทสินค้า เช่น ถ้าคน gen x หรือ baby boomer จะเรียกผงซักฟอกว่า ‘แฟ้บ’ กันจนติดปาก เพราะเป็นแบรนด์แรก ๆ ที่เข้ามาทำตลาดและสร้าง brand awareness กับคนรุ่นนั้น ส่วนในด้านธุรกิจเพลง หลายคนคงเคยเจอเพลงที่ฟังครั้งแรกรู้สึกเฉย ๆ แต่พอเปิดวิทยุ โทรทัศน์ หรือเผลอกดเข้าไปฟังเวลามีคนแชร์เพลงนี้จนเต็ม newsfeed ผ่านไปหลายวันเข้า พอได้ยินเพลงนี้ที่ไหนเรากลับร้องตามได้ขึ้นมาซะงั้น หรือถึงขั้นเผลอชอบไปเลยก็มี ซึ่งนี่ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ mere exposure effect อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคน โดยเฉพาะคนสมัยใหม่ มักจะปิดโอกาสต่อสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นชินและจมจ่อมอยู่แต่ในรสนิยมตัวเอง หรือความง่ายในการเลือกที่จะปฏิเสธ ลองคิดตามนะครับ สมัยก่อนถ้ามีเพลงที่เราไม่ชอบอยู่หนึ่งเพลงในม้วนเทป เราต้องเสียเวลากรอเทปจนกว่าพ้นเพลงนั้นโดยต้องหยุดเช็กเป็นระยะ ๆ บางทีก็กรอจนเลยเพลงไปซะไกล … Continued

Bomb At Track บอกเล่าความโหดร้ายของสังคมผ่านดนตรีเมทัลและการแร็ป

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Photographer: Narawit Suksawat

เพลง อำนาจเจริญ สร้างปรากฎการณ์สั่นสะเทือนสามัญสำนึกชาวเน็ตเป็นวงกว้าง จากจุดเริ่มต้นของนักดนตรีวัยรุ่นเลือดใหม่ทั้งห้าตระหนักถึงความอยุติธรรมของสังคม พวกเขาต้องการบันทึกเรื่องราวอัปยศทั้งหลายให้เป็นประวัติศาสตร์ที่ทุกคนต้องไม่ลืมและช่วยกันแก้ไข ผ่านเพลงแร็ปเมทัลที่สื่อสารตรงไปตรงมาและไม่ประนีประนอม ด้วยภาพลักษณ์ที่น่าเกรงขามกับแนวดนตรีที่ดุดัน ทำให้ Fungjaizine แอบหวั่น ๆ เหมือนกันก่อนจะได้พบปะพูดคุยกับ Bomb At Track แต่ความจริงแล้วพวกเขาก็คือวัยรุ่นธรรมดาที่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก แถมยังมีนิสัยขี้เล่นทะเล้นเป็นกันเองทั้งวง จนเราแทบไม่เชื่อว่าคือคนคนเดียวกับที่วิจารณ์สังคมอย่างถึงลูกถึงคนในเพลงของพวกเขา สมาชิก เต้ — วงศกร เตมายัง (ร้องนำ) เมษ — ภควรรษ ประเสริฐศักดิ์ (กีตาร์) ปุ้ย — ปราชญานนท์ ยุงกลาง (กีตาร์) ข้น — ศาสตร์ พรมุณีสุนทร (เบส) นิล — สิรภพ เลิศชวลิต (กลอง) ทำไมถึงเริ่มสนใจเรื่องสังคมการเมือง เต้: ตอนนั้นเราทำดนตรีกันมาพักนึง แล้วผมไม่รู้จะแต่งเรื่องอะไรอีก วันนั้นก็นั่งเล่นเฟซบุ๊กแล้วเห็นข่าวรุมทำร้ายคนพิการ ตอนแรกก็ไม่ได้สนใจอะไร หลังจากนั้นวันสองวันเราก็รู้สึกว่าเริ่มเห็นข่าวนี้บ่อยเลยกดเข้าไปดู ก็เริ่มศึกษาติดตามข่าวจนคดีปิดก็รู้สึกว่ามันไม่ควรเป็นแบบนี้ เลยลองเขียนเพลงขึ้นมาใส่กับดนตรีมันก็เข้ากันพอดี ออกมาเป็นเพลงแรกของเรา อำนาจเจริญ เลยทำต่อไปครับ ก่อนที่จะมาอยู่ค่ายพวกเราเคยจะทำเพลงกันเองด้วย … Continued

เมื่อศิลปินล่วงละเมิดทางเพศ เราควรสนับสนุนผลงานของเขาต่อไปไหม?

  • Writer: Peerapong Kaewthae and Montipa Virojpan

หลายคนอาจผิดหวังกับการที่คอนเสิร์ต Ducktails ถูกยกเลิก แต่เราขอแสดงความนับถือต่อทีมงานผู้จัดในการตัดสินใจครั้งนี้ มีหลายเสียงที่เห็นพ้องกับเรา แต่มีบางเสียงอาจยังไม่เข้าใจว่าทำไมมันร้ายแรงถึงขั้นต้องแคนเซิล การล่วงละเมิดทางเพศคงเป็นปัญหาที่เราต้องหยิบมาพูดถึงกันอย่างจริงจังได้แล้ว เมื่อไม่กี่วันก่อน Matt Mondanile ผู้ก่อตั้งและฟรอนต์แมนวง Ducktails ถูกกล่าวหาว่าคุกคามทางเพศผู้หญิงหลายคน ทั้งเพื่อนที่มหาลัยรวมถึงแฟนเพลงของตัวเอง โดยเมื่อต้นปีที่แล้วมีข่าวที่เขาออกจากตำแหน่งมือกีตาร์ของวง Real Estate และทางวงให้เหตุผลว่าเขาต้องการโฟกัสกับงานเดี่ยวของตัวเอง (Ducktails) แต่ไม่กี่วันก่อนนี้ วงออกมาประกาศอีกครั้งหลังจากโดน ‘Weinstein effect’ หรือกรณีที่มีนักแสดงหญิงและพนักงานหญิงในแวดวงภาพยนตร์พร้อมใจกันออกมาแฉ Harvey Weinstein โปรดิวเซอร์ชื่อดังผู้ก่อตั้งบริษัทภาพยนตร์ Miramax ว่าเคยคุกคามล่วงละเมิดทางเพศพวกเธอ เช่นกันกับเคสของ Mondanile ที่ทางวงไล่เขาออกเพราะพฤติกรรมไม่เหมาะสมและการล่วงละเมิดทางเพศ เหยื่อหลายคนพูดตรงกันว่าถูก Mondanile จูบหรือแตะต้องร่างกายโดยไม่ยินยอม บางคนถึงขนาดแจ้งต้นสังกัดหรือบอกเพื่อนในวงการดนตรีแล้ว แต่คำพูดของเธอก็ไม่มีน้ำหนักมากพอให้ใครฟัง   Here are screenshots of Matt Mondanile / Ducktails’ texts after I said I didn’t want to see him again pic.twitter.com/yivaZj8p0u — Zoë Ligon (@thongria) October 16, 2017 … Continued

เมื่อเธอเศร้า..จงหยิบเราขึ้นมาฟัง: บางส่วนของเครื่องดนตรีเสียงเศร้าจากทั่วโลก

  • Writer: Piyakul Phusri

คุณเชื่อเหมือนกันหรือเปล่าว่า ความตลกไม่ใช่สิ่งที่เป็นสากล แต่ความเศร้าเป็นภาษาสากล ถึงแม้จะเป็นเรื่องอัตวิสัยอยู่พอสมควรว่าเสียงของเครื่องดนตรีอะไรที่ทำให้คนที่ได้ยินรู้สึกเศร้าได้อย่างเป็นจริงเป็นจัง เพราะไม่ใช่ทุกเสียงจะทำให้ทุกคนที่ได้ยินรู้สึกได้เหมือนกัน อารมณ์ความรู้สึกของผู้ฟังที่เกิดขึ้นจากเสียงดนตรีขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมาย ตั้งแต่ประสบการณ์ชีวิตของผู้ฟังว่าเคยพบเจออะไรมาบ้าง ตัวโน้ตที่เรียงร้อยกันออกมาเป็นเพลง ทักษะการเล่นของนักดนตรี ไปจนถึงสถานที่ที่ฟัง คุณภาพของเสียงที่ได้ยิน หรือความเชื่อที่ว่า เสียงไมเนอร์ (minor) เป็นเสียงที่ทำให้เพลงเศร้าก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป แต่จากการศึกษาของนักวิจัยหลายสาขาวิชาทำให้เราพอเห็นเค้าลาง ๆ ของคุณสมบัติพื้นฐานของความเศร้าที่มาพร้อมกับเสียงดนตรีอยู่พอสมควร Emil Kraepelin จิตแพทย์ชาวเยอรมัน ได้จำแนกคุณสมบัติของเสียงพูดที่มีความเศร้าไว้เมื่อประมาณ 100 ปีก่อนว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่ เสียงมีความเบา มีอัตราการเปล่งเสียงช้า มีระดับเสียง (pitch) ต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงที่แคบ (หรือมีความ monotone) และเปล่งเสียงออกมาอย่างพึมพำไม่ชัดเจน ซึ่งต่อมานักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ได้เพิ่มคุณสมบัติของเสียงพูดที่มีความเศร้าว่ามีคุณลักษณะของเสียง หรือมีเนื้อเสียงที่เศร้าหมอง (dark timbre) ซึ่งมีนักวิจัยจำนวนไม่น้อยได้นำคุณลักษณะเหล่านี้ไปเทียบเคียงกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรี และพบว่า เสียงเพลงหรือเสียงจากเครื่องดนตรีที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเศร้ามีคุณสมบัติค่อนข้างคล้ายกับคุณสมบัติของเสียงพูดที่มีความเศร้า เมื่อโฟกัสมาที่งานศึกษาเรื่องความเศร้าจากเสียงเครื่องดนตรี งานวิจัยของ David Huron แห่ง School of Music, Ohio State … Continued

10 เพลงฮิตแห่งเวทีประกวดวงดนตรียุคกระโปรงบานขาสั้น

  • Writer: Wathanyu Suriyawong

เส้นทางสู่การเป็นศิลปินในสมัยนี้มีทางเลือกให้เดินมากมาย สำหรับวงหน้าใหม่ที่ยังไม่มีเพลงของตัวเองก็มักจะเลือกตักตวงโอกาสและประสบการณ์จากเวทีการประกวดวงดนตรีต่าง ๆ ไม่ว่าจะงานโรงเรียน งานระดับจังหวัด ไล่ไปถึงระดับประเทศ ซึ่งศิลปินเบอร์ใหญ่หลายวงในบ้านเราก็ผ่านจุด ๆ กันมาไม่น้อยทั้ง So Cool, Clash, Modern Dog, Boduslam และอีกหลาย ๆ วง แต่ ณ ตอนนั้นพวกเขายังไม่มีเพลงเป็นของตัวเองจึงต้องคัฟเวอร์งานของศิลปินรุ่นพี่ไปก่อน เวทีประกวดจึงเป็นแหล่งที่จะทำให้เราได้พบเพลงคุ้นหูในเวอร์ชั่นต่าง ๆ เป็นร้อยเป็นพัน เราอาจได้พบกับเพลงที่ป๊อปที่สุดในเวอร์ชันที่ร็อกที่สุด หรืออาจจะเป็นเพลงร็อกที่แจ๊สที่สุด และในงานเดียวกัน เราอาจได้ฟังเพลงเพลงเดียวถึง 7 เวอร์ชันก็เป็นได้ จากที่เล่ามาเลยมีข้อสรุปได้ว่า สมัยนั้นคงมีอยู่ไม่กี่เพลงฮิตที่ทักจะถูกหยิบมาใช้ในการประชันฝีมือบนเวทีประกวดวงดนตรีในตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเวทีไหน อย่างน้อยก็น่าจะมีหนึ่งในเพลงเหล่านี้ที่ถูกเอาไปเล่นบ้างแหละ มาดู 10 เพลงฮิตแห่งเวทีประกวดวงดนตรี Crescendo – วีนัส เพลงดังของ Crescendo เผยแพร่เมื่อปี 2547 เป็นที่นิยมของเหล่าวงสตริงคอมโบฟิวชันแจ๊สอะไรเทือกนั้น ด้วยอินโทรเสียงกีตาร์และเบสอันเป็นเอกลักษณ์ กรูฟที่สนุกสนานเพลิดเพลิน และท่อนฮุกที่เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเล่นยูนิซันกัน ถ้าวงไหนเล่นเป๊ะ ๆ จะโคตรดูดีเลย เพลงนี้ขับร้องโดย บี พีระพัฒน์ ขึ้นชื่อเรื่องเสียงอันทรงพลัง ถ้าวงไหนเลือกเพลงนี้ … Continued

เมื่อศิลปินเล่าชีวิตหลังความตายและสวรรค์ผ่านบทเพลง

  • Writer: Tunlaya Dunn

สวรรค์หรือชีวิตหลังความตายในความคิดของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เราจึงรวบรวม 5 เพลงที่พูดถึงสวรรค์หรือนำชีวิตหลังความตายมาเปรียบเทียบในแบบต่าง ๆ ลองมาฟังกัน Bob Dylan – Knockin’ On Heaven’s Door That long black cloud is comin’ down I feel I’m knockin’ on heaven’s door เพลงสุดคลาสสิกของ Bob Dylan ถูกแต่งขึ้นเพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง Pat Garrett and Billy the Kid (1973) โดยเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวเอกของเรื่อง Pat Garrett ที่เป็นนายอำเภอและได้รับหน้าที่ให้ตามล่าเพื่อนเก่าของเขา Billy the Kid จึงอาจตีความได้ว่าเพลงนี้เหมือนความรู้สึกของ Garrett ที่เขาหวังว่าเขาจะได้ขึ้นสวรรค์ด้วยการยอมตายแทนที่จะต่อสู้ ลองฟังแบบ live เวอร์ชั่นนี้ดู R.I.P. Tom Petty Arcade Fire … Continued

5 เพลงโปรดของ แคนแคน BNK48 และเหตุผลที่เธออยากเป็นนายกหญิงคนที่สอง!?

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Photographer: Chavit Mayot

แคนแคน—นายิกา ศรีเนียน คือเด็กสาวน่ารัก อารมณ์ดี ด้วยภาพจำที่เธอเป็นหนึ่งในสมาชิก BNK48 ไอดอลของมวลชน แต่ในอีกมุมหนึ่งเธอก็มีมิติของความเป็นผู้หญิงน่าค้นหาที่ใครจะรู้ว่า เด็กสาวมากความสามารถทั้งร้องและเต้นคนนี้จะชอบดูหนังไซไฟและ Star Wars ชอบเพลงอินดี้ แถมยังอยากเป็นนายกหญิงคนที่สองของไทยอีกด้วย ไปทำความรู้จักอีกมุมหนึ่งของ แคนแคนคนคูล กัน แล้วจะรู้ว่าฉายานี้ไม่ได้ได้มาเพราะโชคช่วย 5 เพลงโปรดของ แคนแคน BNK48 Summer Dress – D-OK เพราะมันดีออกค่ะ (หัวเราะ) เหตุผลทุกอย่างอยู่ในเพลงหมดแล้ว Buddhist Holiday – เหตุผล อย่า อย่าทำให้มันต้องมีเหตุผล ~ (ร้องเพลง) หนูมีแผ่นเขาอยู่ในรถด้วย (ยิ้ม) Jet – Look What You’ve Done เป็นเพลงประกอบภาพยนต์ที่ชอบเรื่อง A Lot Like Love พูดแล้วซาวด์แทร็คขึ้นมาเลย ฟูววว (หัวเราะ) พราว – วันไร้สมอง จริง … Continued

จะได้ดูใครบ้างใน St Jerome’s Laneway Festival 2018 – Singapore

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photos: Laneway Festival Singapore

กลับมาอีกครั้งกับ St Jerome’s Laneway Festival เทศกาลดนตรียอดนิยมของเด็กไทย ที่ยอมลงทุนบินไปสิงคโปร์เพื่อเสพวงดนตรีวงโปรดที่อาจไม่มีโอกาสโฉบมาเล่นในบ้านเรา เป็นประจำทุกปีที่จะต้องมีคนนั่งเก็งไลน์อัพว่าปีนี้จะได้เจอกับวงไหนบ้าง โดยเริ่มจากการสำรวจตลาดว่ามีศิลปินคนไหนออกอัลบั้มใหม่ มีทัวร์ในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงตามติดไลน์อัพของ Laneway ที่ประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิดของเทศกาลดนตรีอันนี้ตั้งแต่ปี 2005 ซึ่งโดยปกติแล้ว ไลน์อัพที่ออสเตรเลียกับสิงคโปร์จะมีความใกล้เคียงกันอยู่ 60% นั่นคือวงพีค ๆ ที่เราอยากดูกันที่ออส มักจะไม่มาเล่นที่สิงกันหรอก (ฮือ) แต่กับปีนี้ ทันทีที่ไลน์อัพออสออกมาก็ได้ตาอ้าปากค้าง เพราะพีคมากจริง ๆ มีทั้ง Aldous Harding, Alex Cameron, Amy Shark, Anderson Paak & The Free Nationals, BADBADNOTGOOD, Billie Eilish, Bonobo, Cable Ties, City Calm Down, Dream Wife, Father John Misty, KLLO, Loyle Carner, Mac DeMarco, Miss Blanks, Moses Sumney, ODESZA, Rolling Blackouts Coastal Fever, (Sandy) Alex … Continued

เมื่อสิ่งของในชีวิตประจำวันอย่าง เสาอากาศ กลายมาเป็นผลงานแรกในชีวิตของ M Yoss

  • Writer: Wathunyu Suriyawong
  • Photographer: Chavit Mayot

ถ้าให้นึกถึงศิลปินที่แต่งเพลงไม่เหมือนชาวบ้าน เอาอะไรที่ไม่น่าเกี่ยวกันไม่ว่าจะเป็น ฟ้า ฝน การล้างรถ สลากกินแบ่งรัฐบาล มารวมอยู่ในเพลงเดียวกันจนกลายเป็นเพลงรักที่โคตรโรแมนติก ก็คงมีแต่พี่ติ๊ก ชีโร่ เท่านั้น และก็คิดว่าคงไม่มีใครสามารถทำได้อย่างเขาอีกแล้ว หรือต่อให้ทำได้ก็คงไม่ทำอยู่ดี พอมาวันนี้ เรากลับมีอัจฉริยะเกิดขึ้นมาอีกคน เขาสามารถแต่งเพลงจากเสาอากาศทีวี ทั้งที่ยุคนี้สื่อหลักอยางทีวีถูกลดบทบาทด้วยอินเทอร์เน็ต การพูดถึงเสาอากาศในสมัยนี้จึงออกจะผิดยุคผิดสมัยไปเสียหน่อย แต่เขาก็เล่าออกมาได้อย่างน่ารักและร่วมสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ เรากดฟังเพลงด้วยความสนใจ อยากรู้จริง ๆ ว่าเขาเป็นคนยังไง โตมายังไง จนในที่สุด เรามีโอกาสได้ไปพูดคุยทำความรู้จักเขาอยู่ชั่วโมงกว่า และทุกคนกำลังจะได้รู้จักกับเขาแบบที่เรารู้จักผ่านบทสัมภาษณ์นี้ เขาคือ M Yoss (เอ็ม-ยศ) ศิลปินเบอร์แรกของค่าย 123 Records บริหารโดยท่านประธาน แสตมป์—อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข กับผลงานแรกของเขาในชื่อเพลงว่า เสาอากาศ  แนะนำตัวกันเล็กน้อย ยศวัศ สิทธิวงค์ ครับ ชื่อเล่นชื่อเอ็ม สมัยประถมมีคนชื่อเอ็ม 2 คน เพื่อนก็เลยว่า ‘เอ็มยศ’ แล้วก็เรียกมาเรื่อย ๆ พอมัธยมจะเริ่มตามด้วยชื่อพ่อแทน (หัวเราะ) เข้ามหาลัยมาก็ได้วาดภาพประกอบในเพจชื่อว่า BLACKHAND แล้วต่อมาก็อยากมีชื่อฝรั่ง แต่คิดไม่ออกเลยใช้ M Yoss … Continued