เพลงใหม่ประจำสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน 2559

  • Writer: Montipa Virojpan

เห็ดใหม่สัปดาห์นี้รีวิวเพลงของ Rasmee, Pure43, Ruangvit Sairuam, IRONBOY และ AumDVD  Pure43 – นักเลงกระดาษ *ต่ำกว่า 18 ห้ามฟังครับโพ้ม* บทเพลงแฝงเนื้อหาเกรี้ยวกราดที่น่าจะพบได้ในวงสังสรรค์ยามค่ำคืน ดนตรีวงเหล้าขนานแท้กับการเคาะเข้าจังหวะแบบดิบ ๆ ร่วมด้วยการเล่าเรื่องถึงเหตุการณ์ที่ไปเจอมา แบบว่ามีคนเอากระดาษที่เขียนว่า “จอดรถดี ๆ หน่อยไอสัส” มาวางไว้หน้ารถ เอ้าาาา ก็ขึ้นสิครับ นังเลงจริงเขาไม่เขียนในกระดาษโว้ยยย Ruangvit Sairuam – เจ้านาย Boss อาห์ กำลังเครียดกับงานที่กองโตอยู่บนโต๊ะของคุณอยู่ใช่ไหม มาลองฟังเพลงสุดปั่นด้วยดนตรีที่มีทิศทางไม่คงที่นี้ จะช่วยปลดปล่อยความทุกข์นี้ให้กับคุณ ด้วยการแชร์เรื่องที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนรู้สึกไม่ต่างกัน เมื่อคนคนหนึ่งกลายมาเป็นผู้มีอิทธิพลกับปากท้องของคุณ ซึ่งแม้คุณจะไม่โอเคกับเขาเท่าไหร่ แต่คุณก็ต้องทนตรากตรำทำงานต่อให้จบเดือน พร้อมกับท่องไว้ในใจว่า “ปล่อยมันไปไม่เป็นไร” เดี๋ยวเงินเดือนก็ออกแล้ว AumDVD – เราไม่ใช่เครื่องจักร (We’re Not Machine) เพลงสายทดลองที่นำเอาดนตรีอิเล็กทรอนิกมาผสมกันกับดนตรีร็อกหนัก ๆ ที่บรรเลงแบบเปลี่ยนสัดส่วนดนตรีไปเรื่อย ๆ ในหลายช่วง ในขณะที่เล่นเครื่องไม้แบบสาด ๆ ก็จะสอดแทรกด้วยลูปหรือนอยซ์ให้ความรู้สึกขัดแย้งกันเองกับชื่อเพลงประมาณว่า … Continued

อิเล็กทรอนิก + ไทยเดิม = IIIII

  • Writer: Montipa Virojpan

น่าดีใจสุด ๆ ที่ช่วงนี้เราได้ยินเพลงพื้นบ้านในดนตรีร่วมสมัยหลายต่อหลายวง อย่างล่าสุดนี้เราได้ไปเจอกับวงที่ชื่อว่า IIIII (ซึ่งไม่รู้ว่าจะออกเสียงยังไงดี) เพราะเจ้าของผลงานอย่าง พากษ์ พรายด้วง เขาคิดว่ามันคงแปลกดีถ้าศิลปินมีชื่อที่ออกเสียงไม่ได้ (อ้าว) พากษ์ กำลังศึกษาปริญญาตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิตย์ แต่การทำเพลงอิเล็กทรอนิกแบบนี้มีที่มาจากการเป็นคนชอบฟังเพลงหลากหลายแนว ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่ให้ความรู้สึกที่แปลกใหม่ จนได้ทดลองทำเพลงด้วยตัวเองโดยใช้ความรู้พื้นฐานที่ได้เรียนมาตอน ม.ต้น กับการศึกษาเองจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งเมื่อพากษ์ขึ้น ม.ปลาย เขาเคยคุยกับเพื่อนไว้ว่าถ้านำเพลงไทยเดิมมาผสมกับ dubstep คงจะเป็นเพลงที่เพราะน่าดู แต่เพื่อนของพากษ์กลับบอกว่าสิ่งที่เขาคิดไม่มีทางเป็นไปได้ พากษ์จึงทำ IIIII ขึ้นมาเพื่อเป็นการพิสูจน์สิ่งที่เขาเชื่อให้ทุกคนได้ประจักษ์แก่หูของตัวเอง เพราะหลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่าการผสมกันของเพลงไทยเดิมกับอิเล็กทรอนิกจะออกมาเป็นยังไง “เพลงที่ผมทำส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าเอาไปให้เพื่อน ๆ ฟังหรอกครับ มันอาจจะแปลกเกินไปสำหรับพวกเขา” พากษ์เชื่อว่าเพลงไทยเดิมที่เขาฟังไม่ว่าจะเป็น นกขมิ้น แสนคำนึง ราตรีประดับดาว โหมโรงจีนตอกไม้ หรือลาวดวงเดือน ต่างมีเสน่ห์เฉพาะของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเสียงกระทบ ความก้องกังวาน กลิ่นอายของความโบราณที่ให้ความรู้สึกขลัง แต่ขณะเดียวกันก็มีความอ่อนโยนซ่อนอยู่ ซึ่งพากษ์ก็จับความประทับใจนี้มาผนวกเข้ากับดนตรีอิเล็กทรอนิก ทำให้เกิดความแปลกใหม่ ด้วยเพลงไทยเดิมก็เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครกล้าจับต้อง (เช่นกันกับศิลปะชั้นสูงประเภทอื่น ๆ) “เสน่ห์ของอิเล็กทรอนิกก็มีความหลากหลายมาก จึงค่อนข้างอธิบายได้ยากอยู่นะครับ IIIII อาจจะเน้นความเป็นไทยเดิมมากกว่าอิเล็กทรอนิก จึงอาจทำให้รู้สึกแตกต่างจากไทยเดิมผสมอิเล็กทรอนิกงานอื่น ๆ นะครับ” พากษ์มองว่าการที่ศิลปินไทยเริ่มนำความเป็นไทยมาใช้เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง … Continued

Playlist ของ ปราบดา หยุ่น

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Neungburuj Butchaingam

Prabda Playlist “เป็นคนฟังเพลงเยอะ เพลงที่ชอบจึงมีจำนวนเป็นร้อย แต่ 10 เพลงนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น 10 เพลงที่มักนึกถึงหรือฟังซ้ำอยู่บ่อย ๆ และรู้สึกว่าเป็นเพลงที่คนแต่งเขียนได้ดีมาก ทั้งในมิติของคำร้องและทำนอง” Leonard Cohen – Hallelujah อาจจะเป็นเพลงที่ฟังซ้ำและร้องเล่นเพลิน ๆ ระหว่างอาบน้ำบ่อยที่สุด เป็นเพลงที่ชวนให้สนุกกับการตีความเนื้อร้องและชอบทำนอง ถึงจะไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์และไม่มีความรู้สึกร่วมอะไรเลยกับคำว่า “hallelujah” แต่ความเป็นบทกวีของมัน รวมทั้งภาพที่ปรากฏขึ้นในหัวระหว่างฟัง ก็สร้างความประทับใจที่ยากอธิบายให้ทุกครั้งที่ได้ยินและได้ร้องตาม Bob Dylan – Simple Twist of Faith ชอบเพลงส่วนใหญ่ของ Bob Dylan และฟังเกือบทุกอัลบั้มซ้ำไปมาบ่อย ๆ แต่เพลงที่รู้สึกว่าดีแลนเขียนได้ดีที่สุดคือเพลงประเภทเล่าเรื่องความสัมพันธ์เศร้า ๆ เหมือนได้ฟังเรื่องสั้นหรือได้ดูหนังสั้น ๆ สักเรื่อง จับต้องได้และสะเทือนใจกว่าเพลงยุคแรก ๆ ที่ทำให้เขาโด่งดัง Molly Drake – I Remember Molly Drake เป็นแม่ของ Nick Drake เธอเป็นนักดนตรีและแต่งเพลงไว้ไม่น้อย ถึงจะชอบผลงานของ นิค เดรค … Continued

Rasmee : Shades of Molam

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Nattanich Chanaritichai
  • Stylist: Varachaya Chetchotiros
  • Art Director: Tunlaya Dunnvatanachit

Part 0: INTRODUCTION ถ้ายังพอจำกันได้ เมื่อหลายเดือนก่อนมีดราม่าถกเถียงกันว่าการประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ร่วมสมัย เป็นการทำลายเกียรติ ความดีงาม ความศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ ของศิลปะนั้น ๆ หรือไม่ แน่นอน ฝั่งอนุรักษ์นิยมก็จะมองว่านั่นเป็นการหยิบมาใช้แบบไม่เหมาะควร ซึ่งในแง่มุมของคนสร้างงานศิลปะที่คลุกคลีกับงานพื้นถิ่นกลับมองว่า นั่นคือการต่อลมหายใจให้วัฒนธรรมเก่าที่กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลาหากไม่มีการปรับตัวให้เข้ากับผู้คนรุ่นใหม่ที่จะขับเคลื่อนสังคมต่อไปในอนาคต ด้วยยุคสมัย วิถีชีวิต และแนวคิดคนที่เปลี่ยนไปจึงทำให้คนทำงานศิลปะไม่สามารถแช่แข็งรูปแบบดั้งเดิมต่อไปได้ นั่นคงจะเป็นการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมไทยหลังจากมีคนพยายามจะแหวกขนบเพื่อให้ศิลปะนั้นไปต่อ ซึ่งหากจะย้อนกลับไปนานกว่านั้น นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีคนประยุกต์ศิลปะดั้งเดิม โขนของอาจารย์พิเชษฐ์ กลั่นชื่น ถูกลดทอนรูปแบบจนเหลือเพียงหัวใจของศาสตร์ ซึ่งคือร่างกายและการเคลื่อนไหวของผู้แสดง ไม่ได้รับการยอมรับจากคนไทยบางกลุ่ม แต่งานชิ้นนี้กลับถูกมองว่าเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเป็นที่ชื่นชมในสายตาชาวโลก หรือ The Paradise Bangkok Molam International Band กลับเพิ่งได้รับความสนใจหลังจากที่พวกเขาได้ไปแสดงที่เทศกาลดนตรีระดับโลกอย่าง Glastonbury หรือ Boiler Room ทั้งที่จริงแล้วนักดนตรีแต่ละคนถือเป็นครูเพลงอีสานที่หาตัวจับยากยิ่ง และแม้แต่พวกท่านเองก็นำเครื่องดนตรีอีสานไปผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากลได้อย่างลงตัว ถึงแม้ว่าลำดับขั้นของการได้รับการยอมรับในศาสตร์เหล่านี้จะดูผิดเพี้ยนจากที่ควร (ที่คนในควรให้ความสนใจก่อนคนนอก) แต่นี่อาจเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับวงการศิลปะและดนตรีพื้นบ้านของไทย ที่ว่าอย่างนี้ก็เพราะเมื่อช่วงสองสามปีที่ผ่านมา มีศิลปินและวงดนตรีที่หันมาให้ความสนใจกับดนตรีท้องถิ่น โดยการหยิบจับองค์ประกอบบางอย่างไปผนวกรวมกับดนตรีร่วมสมัย ทำให้เกิดเป็นสีสันและสุ้มเสียงที่แปลกใหม่น่าสนใจออกมามากมายนับไม่ถ้วน เราอาจจะเคยได้ยินหมอลำดั๊บของ เสียงหองไลออนส์ หมอลำอิเล็กทรอนิกของ ต้นตระกูล แก้วหย่อง แร๊ปกำเมืองอย่าง … Continued

อย่าไห้เด้ โดย Srirajah Rockers feat. Rasmee

  • Writer: Montipa Virojpan

อย่าไห้เด้ (Don’t Cry) – Srirajah Rockers feat. Rasmee   คำร้อง รัสมี เวระนะ ทำนอง วิน ชูจิตารมย์ เรียบเรียง ศรีราชาร็อคเกอร์ “จริง ๆ ตอนแรกที่เขาส่งเพลงมา มันเป็นอีกชื่อนึงเลย เขาเลยบอกพี่ (รัสมี) ว่ามันเป็นเพลงประมาณว่า อยากให้กำลังใจคน ตอนเข้าห้องอัดมันยังไม่มีคำว่าอย่าไห้เด้ มันมาทีหลัง แต่ตอนแต่งมันเป็นการบอกให้คนอย่าท้อในสิ่งที่ตัวเองทำ ถึงแม้ว่าเธอไม่มีใครแต่เธอยังมีฉันอยู่ แล้วมันต้องมีท่อนที่ทำให้คนจำได้ เป็น ‘อย่าไห้เด้ ไม่ต้องร้อง’ ซ้ำ ๆ” โอ้…………. ให้เอ็ดหยัง อย่าให้เด เจ้าโซเซ ถูกคลื่น ชัดมา สิ่งที่หวัง ล้มพัง ไม่เป็นท่า หบดแรงล้า พลัง หวังสิ้นลง จงอย่าร้อง แม้ว่าคลื่นจะชัดเจ้ามานั้น จะทำให้เจ้าหมดพลังและล้มลง เจ้าอย่าแคร์ ถึงแม่ว่า บ่มีไผ กำโอ้ย มันโซรนเจิ๊ด เดรินโตข้างมูก … Continued

สามารถรับฟังเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบนฟังใจได้แล้ววันนี้

Hitman Jazz Records ส่งบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่บรรเลงโดย John Di Martino นักประพันธ์ โปรดิวเซอร์ และนักเปียโนจากนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาเรียบเรียงใหม่และบรรเลงออกมาด้วยความสามารถทางด้านการเล่นเปียโนท่ีโดดเด่น ซึ่งทุกคนสามารถรับฟังเพลงจากอัลบั้ม A Tribute to King of Jazz Vol. I (2013) และ A Tribute to King of Jazz Vol. II (2013) บนเว็บไซต์ฟังใจได้วันนี้ จนถึง 31 ธันวาคมนี้ เท่านั้น

กิ้งก่า กิ้งกือ กิ้งก่า กิ้งกือ นี่หรือเพลงแหล่?

  • Writer: Chokchai Riamthaisong

‘โอ้นิ่มน้องแม่ทองพันชั่ง พี่นาคขอสั่ง เอาวันละกั๊ก เอาวันละแบน เอาวันละกั๊กก็พอ โซดาไม่ต้อง…’ และวลีที่ว่า ‘อันบวชหัวใจเอ่ยยยยย อันละกิ้งก่า กิ้งกือ กิ้งก่า กิ้งกือ อืออืออือ’ ทั้ง 2 ส่วนที่ยกมานี้เป็นคำร้องเพลงแหล่ ในชุด ‘นาคสั่งสีกา’ ของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และ ทศพล หิมพานต์ ซึ่งนับว่าเป็นการประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงนั้นที่ทำให้เพลงแหล่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปกติเพลงแหล่คนจะเข้าใจกันว่าจะต้องให้ประกอบการเทศน์มหาชาติ แต่ในปัจจุบันมีใช้แหล่ประกอบในการทำขวัญนาค หรือให้แสดงในโอกาสต่าง ๆ ที่เหมาะสม เรารู้จักเพลงแหล่กัน แต่มีน้อยคนที่จะรู้ว่าเพลงแหล่มีที่มาจากอะไร จากการค้นคว้า ไปพบหนังสือที่ชื่อว่า ‘กะเทาะเปลือกเวสสันดร’ ของพระครูวิวิธธรรมโกศล (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) สรุปได้ว่า คำว่า ‘แหล่’ นั้น เกิดจากประเพณีการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก เมื่อพระเทศน์จบตอนหนึ่งหรือกัณฑ์หนึ่ง ในตอนใกล้จบเนื้อความจะมีคำลงท้ายว่า “นั่นแล” หรือ “นั้นแล” เช่น “ด้วยพระทัยอนุโมทนาในกาลบัดนั้นแล” “ดังพรรณนามาฉะนี้แล้วแล” เวลาลงเสียงมักลากเสียงยาว ๆ “แล” ญาติโยมจึงจึงพากันได้ยินว่า … Continued

Yaan โลกแห่งดนตรีและจิตวิญญาณ

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Neungburuj Butchaingam

โดยภาพรวมแล้ว วงดนตรี world music อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนัก แต่ในเมืองไทยก็ยังนับว่าเป็นอะไรที่ยังไม่ค่อยแพร่หลาย แต่เมื่อหลายปีก่อน วง Yaan ก็ได้สร้างปรากฏการณ์จากเพลง น้ำ เพลงบรรเลงสุดไพเราะที่มีการใช้เครื่องดนตรีจากหลายประเทศในเพลง และทำให้คำว่า world music เริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนฟังดนตรีนอกกระแส มาทำความรู้จักกับพวกเขาและดนตรี world music ในแบบของ Yaan ให้มากขึ้นกันดีกว่า สมาชิก ย้ง-ชวลิต เสาวภาคย์พงศ์ชัย: ไวโอลิน กีตาร์ เธเรมีน นพ-นพรุจ สัจวรรณ: ซิตาร์ เบส เพอร์คัสชัน ลี่-นฤพนธ์ ช่างเจริญ: ดิดเจอริดู เบส เพอร์คัสชัน ทอมมี่ แฮนซัน: ซาวด์ดั๊บ, เอฟเฟกต์ โจ้-นพกร วรธนิตกิจกุล: ซินธิไซเซอร์ กีตาร์ไฟฟ้า แชมป์: คีย์บอร์ด พิณ แคน ซินธิไซเซอร์เสียงอีสาน กิ๊กกี้: เพอร์คัสชัน เก่ง: กลอง อะไรคือแรงบันดาลใจให้เกิดวงญาณขึ้นมา … Continued

เพลงใหม่ประจำสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน 2559

  • Writer: Montipa Virojpan

เห็ดใหม่สัปดาห์นี้รีวิวเพลงของ IIIII, Natural Frequency, Pagorn, The ███████ และ Asia 7   คลิกที่ภาพเพื่อรับฟังเพลงบนเว็บไซต์ฟังใจ   Natural Frequency – Flying High Over Beautiful Land of Smiles เห็นชื่อเพลงน่ารักอบอุ่นสบายสไตล์สยามเมืองยิ้มขนาดนี้ก็คิดว่าจะเป็นโฟล์กชิล ๆ แต่พอกดเข้าไปฟังกลับกลายเป็นเพลงอิเล็กทรอนิกเท่ ๆ ถ้าเราฟังตั้งแต่แรกเราอาจจะรู้สึกว่าเพลงนี้คงเป็นสไตล์ดาร์กหม่น แต่พอฟังไปได้พักนึง ซาวด์ออกจะเป็นดนตรี 80s ที่ไม่เน้นกลองไฟฟ้าขนาดนั้น ฟีลของมันมีความทยานออก สดใส เปี่ยมด้วยพลังด้านบวก คือถ้าเพลงนี้ถูกเอาไปใช้เป็นเพลงประกอบช่วง pre-flight safety ก่อนเครื่องจะขึ้นก็คงจะเหมาะมากทีเดียว   IIIII – หอม feat. ปุ้ย The Voice งานที่แล้วก็ทำเราติดใจจนเขียนถึง มาที่งานล่าสุดของ IIIII ศิลปินที่เราไม่รู้จะออกเสียงเรียกชื่อเขาว่าอย่างไร เป็นการผสมผสานเพลงไทยเดิม เช่นจังหวะจะโคน เครื่องดนตรีทั้งฉิ่ง หรือขิมมาเป็นเมโลดี้ทำนองหลัก … Continued

ทศพล หิมพานต์ ศิลปินเพลงแหล่กับความสามารถเหลือแหล่

  • Writer: Tossaphol Leongsupporn
  • Photographer: Tossaphol Leongsupporn

“ความตื่นเต้นเป็นส่วนผสมที่ดีในทุกการทำงาน” เคยมีคนบอกผมไว้แบบนั้น บ่ายวันพฤหัสปลายเดือนตุลาคม เรื่องตื่นเต้นแรกได้เกิดขึ้นกับผมแล้ว คนขับแท็กซี่รายที่สองกล่าวหลังเห็นได้ยินจุดหมายที่ผมจะไป “ไม่ไปครับพี่ ไกลไป” (ใช่ครับ เพราะไกลไงครับผมถึงโบกเรียกแท็กซี่) พลิกข้อมือดูนาฬิกาบอกว่าตอนนี้ยังพอมีเวลาอยู่ แต่ไม่น่าจะเพียงพอให้ผมฟังคำปฏิเสธได้อีกแล้ว โชคดีที่พี่แท็กซี่คันที่สามตอบตกลงพาผมไปส่งถึงที่ ไม่อย่างนั้นอาจจะต้องโทรเลื่อนนัดกันได้ ผมมีนัดสัมภาษณ์กับบุคคลที่ผมอยากเจอมาทั้งชีวิต เขาไม่ใช่ญาติผู้พลัดหลงหรือคนรักที่ตามหากันมานานอย่างในนิยายหรอกครับ ชื่อของเขาคือ ทศพล หิมพานต์ นักร้องเพลงแหล่มืออาชีพตัวท็อปแห่งประเทศไทย นอกจากเหตุผลอันไร้สาระที่อยากเจอตัวเพื่อพูดคุยที่ผมบังเอิญไปชื่อเดียวกับพี่เขาแล้ว (แต่พี่เขามีชื่อจริงว่า สมบูรณ์ จุลมุสิก) เรื่องราวของเขานับว่าน่าสนใจทีเดียว จากสามเณรน้อยที่สามารถแหล่เทศน์ชาดกได้ไพเราะไม่แพ้พระรุ่นพี่ ลาสิกขาออกมาเป็นนักร้องศิลปินลูกทุ่งชื่อดังออกอัลบั้มร่วมกว่าร้อยชุด และปัจจุบันก็เพิ่งลงจากตำแหน่งนายกสมาคมนักร้องลูกทุ่งแห่งประเทศไทยมาหมาด ๆ ถ้าความตื่นเต้นเป็นส่วนผสมที่ดีในทุกการทำงาน ผลลัพธ์จากการทำงานที่ดีคงหนีไม่พ้นความตื้นตันอย่างแน่นอน ผมเองค่อนข้างเปิดกว้างเรื่องแนวเพลงนะ เพราะสุดท้ายแล้วคนที่จะให้คำตอบได้ว่ามันดีหรือว่าแย่ก็คือคนฟัง ชีวิตทุกวันนี้ของคุณเป็นยังไงบ้าง ก็หลังจากเหตุการณ์สวรรคตที่ทุกคนทราบกัน งานที่เคยนัดไว้ก็ต้องเลื่อนออกไปก่อน ส่วนใหญ่ตอนนี้เลยจะเน้นไปทางพวกจิตอาสาเสียมากกว่า ก็ไม่เป็นไรนะ กลายเป็นเรื่องดีด้วยเพราะได้เจอกับเพื่อนศิลปินหลายคนที่ปกติก็คงจะไม่ได้เจอ ทราบว่าคุณเพิ่งจะหมดวาระจากตำแหน่งนายกสมาคมนักร้องลูกทุ่งแห่งประเทศไทย คือช่วงที่เริ่มก่อตั้งสมาคม ผู้ใหญ่เขาก็โทรชวนให้มาเป็นนายก ฯ คนแรกของสมาคมให้หน่อย ผมฟังแล้วก็ตอบปฏิเสธไปเลยเพราะคิดว่าตัวเองไม่น่าจะเหมาะ แต่พอโดนชวนบ่อยเข้าเลยตัดสินใจตกลงรับตำแหน่ง แต่บอกเขาว่าขอเป็นแค่สมัยเดียวนะ สุดท้ายกลายเป็นว่าได้เป็นถึงสองสมัยไปอย่างนั้น (หัวเราะ) จนมาถึงการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ล่าสุดนี้เป็นคุณ เสรี รุ่งสว่าง มารับช่วงต่อแทน หน้าที่ของนายกสมาคมนักร้องลูกทุ่งแห่งประเทศไทยคืออะไร หน้าที่หลักคือการช่วยเหลือศิลปินนักร้องลูกทุ่งโดยตรง ทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ … Continued

Lucy and Bourne ความเกรี้ยวกราดสุดน่ารักในดวงตาเจ้าเหมียว

  • Writer: Montipa Virojpan

ย้อนไปเมื่อต้นเดือน เราเห็นบรรดาเพื่อน ๆ ในเฟซบุ๊กกระหน่ำแชร์เพลงของวงที่ไม่คุ้นชื่อมาก่อนอย่าง Lucy and Bourne พอกดเข้าไปฟังปุ๊บก็รู้สึกว่าเป็นเพลงที่มีซาวด์ดนตรีน่าสนใจ สืบไปสืบมาก็พบว่านี่คือโปรเจกต์ใหม่ล่าสุดของ ดุ่ย (Two Million Thanks, Youth Brush) และ หมิง แฟนของเขา ดุ่ยบอกว่าการทำวงครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเขากับหมิงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก (ทัมดีย์ อันนี้เราชอบมาก) ซึ่งที่มาของชื่อ Lucy and Bourne นี้ไม่ได้มีที่มาที่พิศวงงงงวยแต่อย่างใดหากแต่ ‘Lucy’ คือหนังที่นำแสดงโดย Scarlett Johansson ซึ่งเป็นหนังที่หมิงชอบ ส่วน ‘Bourne’ ก็ไม่พ้นตัวละคร Jason Bourne สายลับจากหนังแอ๊กชั่นบล็อกบัสเตอร์ที่ดุ่ยชื่นชอบนั่นเอง ความน่าสนใจในเพลงของเขาและเธอคือความเรียบง่ายแต่หลากหลายด้วยสีสันของเสียงและเทคนิคการทดลองต่าง ๆ ที่ทำให้เพลงนี้เป็นมากกว่าเพลงฟังสบายทั่วไป เมโลดี้แปลกที่บาลานซ์กันระหว่างความหดหู่กับความมีหวัง แถมวิธีการร้องที่ใช้เสียงนุ่มนวลสบายหูดูน่ารักน่าหยิกนี้ กลับมีเนื้อหาที่มีความเจ้าคิดเจ้าแค้นอยู่หน่อย ๆ โดยพวกเขาเลือกให้มีประโยคตั้งต้นมาว่า I Kill You In My Mind เป็นประมาณว่า บางทีเกลียดใครมาก ๆ แต่จะไปฆ่าเขามันก็ไม่ได้ไง … Continued

รู้หรือไม่ หมอลำที่เราฟัง ๆ กัน ไม่ได้มีแค่แบบเดียวนะ

  • Writer: Montipa Virojpan

แปลกใจล่ะสิที่เพลงร้องพื้นบ้านแถบอีสานที่เราเรียกว่าหมอลำมันมี sub genre ของมันด้วย แต่เอาจริงก็ไม่ได้เป็นอะไรที่แปลกใหม่มากมาย เพลงต่างประเทศยังมี sub genre เล้ย เอาแค่ rock เนี่ย แบ่งไปได้กี่สายแล้วล่ะ (punk, post punk, metal, nu-metal, post rock, krautrock, shoegaze, hardcore, deathcore, etc.) ส่วนของบ้านเรา ด้วยความเป็นภูมิปัญญา ‘ท้องถิ่น’ นี้เองจึงทำให้หมอลำมีการแบ่งแขนงแยกสายออกไปมากมาย หนนี้เราเลยจะพาไปรู้จักกับแนวย่อย ๆ ของหมอลำว่ามีอะไรบ้าง หมอลำ เป็นการผนวกระหว่าง 2 คำ อย่าง ‘หมอ’ หมายถึง ผู้มีความชำนาญ ในบริบทนี้ไม่ได้แปลว่าแพทย์รักษาอาการนาจา ส่วน ‘ลำ’ หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ หมอลำ ก็เลยแปลว่า ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะสุข เศร้า เหงา แค้น … Continued

เมื่อคนดื่มสุรา ลองฟังเพลงจาก เป้ อารักษ์ แอนด์ เดอะปีศาจแบนด์

  • Writer : Neungburuj Butchaingam
  • Photographer : Neungburuj Butchaingam

ลงพื้นที่ จะเป็นอย่างไรเมื่อฟังใจจับคนหลากหลายอาชีพ หลากพื้นเพ มาฟังเพลงที่พวกเขาไม่คุ้นเคยและถามความเห็นกันแบบตรงไปตรงมา มาร่วมทำลายกำแพงดนตรีนอกกระแสไปพร้อม ๆ กัน “ถ้าผมได้ฟังเพลงนี้ตอนที่อยู่ในช่วงเลิกกับเเฟนใหม่ๆนะ อาจจะทำให้ผมเป็นโรคตับแข็งเลยก็ว่าได้นะครับ” คุณ ผลเศรษฐ์ (โปส) อาชีพ นักศึกษาปีที่ 4 อายุ 22 ปี ศิลปิน / แนวเพลงที่ชอบ เสก โลโซ , ปู พงษ์สิทธิ์ , โปเตโต้ , บอดี้สเเลม , บิ๊กแอส , เพลงที่ได้ฟัง : คิดถึง – เป้ อารักษ์ แอนด์ เดอะปีศาจแบนด์ สามารถรับฟังเพลงนี้บนฟังใจได้ที่ https://www.fungjai.com/artists/pae-arak-and-the-pisat-band ” โหพี่ตรงกับผมตอนนี้เลย ผมเพิ่งเลิกกับเเฟน แต่ตอนนี้หายแล้วนะครับ นึกถึงอาทิตย์ สองอาทิตย์แรก ที่อกหักแหละ ก็อารมณ์นี้อาทิตย์นึงมี 7 วัน ก็กิน 7 วัน พอฟังเพลงนี้แล้ว อาจจะดื่มหนักกว่าเดิมอีก(หัวเราะ) ปกติไม่ค่อยได้ฟังเพลงของพี่เป้เท่าไหร่  เพลินดีครับชอบๆ  เป็นกับแก้มเหล้าชั้นดีเลยทีเดียว … Continued

Temp. วงดนตรีอากาศดี น้องใหม่ไฟแรง

  • Writer: Gandit Panthong
  • Photographer: Neungburuj Butchaingam

ขอต้อนรับฤดูหนาวที่กำลังจะเข้ามาด้วยการพาไปทำความรู้จักวงดนตรีไฟแรง น้องใหม่สุด ๆ ที่มีนามว่า Temp. วงดนตรีป๊อปลามกสุดโรแมนติก ที่ครั้งนี้พวกเขาจะขอเปิดตัวด้วยบทสัมภาษณ์ใน Fungjaizine เป็นที่แรกว่าเป็นใครมาจากไหน เห็นหน้าคุ้น ๆ แบบนี้ แท้จริงแล้วจุดมุ่งหมายในการทำวงดนตรีวงนี้คืออะไร พร้อมแล้วก็เชิญอ่านเรื่องราวสนุก ๆ จากพวกเขากันได้เลย สมาชิกวง นิค-ธาฤทธิ์ เจียรกุล (ร้องนำ) จิน-วรเมธ มตุธรรมธาดา (กีตาร์) น็อต-วรงค์ ราชปรีชา (เบส) แปม-ธีรวุฒิ อิทธิวุฒิ (กลอง) แดน-อัครเดช สารอินทร์ (ทรัมเป็ต) จุดเริ่มต้นการพบกันของสมาชิกวง Temp. แปม: พวกเรานั่งรถไฟฟ้ามาจากพระโขนงครับ (หัวเราะ) นิค: การเริ่มต้นของเรารอบนี้มันมาจาก จิน ทักผมมาว่า ทำวงดนตรีกันเถอะ ช่วงนี้กูว่าง ซึ่งตอนที่มันทักมาเนี่ยคือเราหยุดเล่นดนตรีไปเกือบประมาณปีนึงเลย ส่วนตัวผมเองก็มีเพลงที่เขียนทิ้งไว้เพลงนึง คือไม่ได้ใช้สักทีแต่เมโลดี้มันวนอยู่ในหัวจนฝังใจ เลยรู้สึกว่าเอองั้นในเมื่อเรามีวัตถุดิบเรื่องเมโลดี้เพลงอยู่แล้วก็ลองทำกันดูน่าจะสนุกดี มันรู้สึกมั่วซั่วเหมือนตอนเริ่มทำ Part Time Musicians ด้วยเลยลุยเลย แต่ปัญหาตอนนั้นคือผมอยู่ออสเตรเลียไปเรียนต่อ การส่งเพลงต่าง ๆ … Continued

15 เพลงเกี่ยวกับความตาย ที่จะทำให้คุณคลายเศร้า

  • Writer: Montipa Virojpan

ในช่วงที่ความโศกเศร้าจากการสูญเสียกำลังปกคลุมจิตใจ แต่ก็มีบางคนที่ไม่ได้แสดงออกถึงความเสียใจออกมาชัดเจนเช่นคนอื่น ๆ หรือมีการแสดงออกเพื่อปลอบประโลมผู้อื่นในทางที่ไม่คุ้นชิน เช่น ‘free hug’ (ผู้ชายทำไม่เห็นจะมีใครว่า แต่ที่โดนว่าเพราะคนคนนั้นเป็นผู้หญิง ก็เป็นเรื่องของบทบาททางเพศในสังคมไทยที่ต้องพูดถึงในคราวต่อไป) จนทำให้ถูกว่ากล่าวเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งภายหลังก็มีหลายเสียงออกมาแสดงความเห็นว่า “ทุกคนมีรูปแบบของการแสดงออกถึงความอาลัยที่ต่างกัน” หรือ “มีการรับมือและจัดการกับความโศกเศร้าได้ต่างกัน” ซึ่งเราเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง จะปฏิเสธกันให้ได้เชียวหรือว่าคนไทยเราไม่ใช่มนุษย์ที่รักความรื่นเริง ไม่ว่างานบุญ งานบวช หรือเกี่ยวข้าว ก็ยังมีงานมหรสพหรือเพลงประจำกิจกรรมนั้น ๆ อยู่ตลอด The MATTER เองยังเคยเล่าว่างานพระบรมศพในอดีตก็ยังมีงานมหรศพเพื่อคลายความเศร้าด้วยซ้ำ และไม่ใช่แค่ที่บ้านเรา หลาย ๆ ประเทศก็มีความสนุกสนานในงานศพอย่างที่เราเคยนำเสนอไปในบทความที่ผ่านมา ดังนั้นเราจึงเชื่อเหลือเกินว่า หนึ่งในวิธีที่ทำให้เราหลุดพ้นจากความเศร้าและ move on ต่อไปได้นั้นคือการฟังเพลง นิตยสาร NME ได้ลงบทความเกี่ยวกับ ‘เพลงเกี่ยวกับความตาย’ ไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม กล่าวคือพวกเขา (และเรา) เชื่อว่า แม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าช่างเป็นช่วงเวลาที่ผ่านไปได้ยากเย็นหรือไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาลงได้ แต่ในเพลงที่แม้ว่าจะมีเนื้อหาเศร้าโคตร ๆ มันก็จะมีพลังพิเศษบางอย่างที่ทำให้เราระลึกถึงวันคืนที่ดีและมีกำลังจะก้าวต่อไปได้ในที่สุด รวมไปถึงคำสอนในพุทธศาสนาเองที่ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นเรื่องธรรมดา หลาย ๆ วงดนตรีเลยมีการเขียนเพลงเกี่ยวกับความตายขึ้นมาเพื่อเป็นการ “เจริญมรณสติ” ให้ทุกคนมองว่าชีวิตไม่จีรัง … Continued