ทำความรู้จักกับ Man.Goes Human วงร็อกสัญชาติอินเดียกับทัวร์ไทยครั้งแรกของวง

  • Writer: Ratchanon Charoensettasilp and Malaivee Swangpol
  • Photographer: Man.Goes Human

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ได้ไปดู Man.Goes Human ที่ Play Yard, มหานิยม หรือจะเป็น Junk House ก็น่าจะติดใจซาวด์ดนตรีเท่ ๆ ติดกลิ่นไซคีเดลิก แอมเบียนต์ ของวงดนตรีวงนี้แน่นอน ซึ่งวันนี้เรามีบทสัมภาษณ์ของพวกเขามาให้อ่านกัน ไม่ว่าจะเรื่องชื่อวง ซีนดนตรีอินเดีย กรุงเทพ ฯ และ EP Moonglasses มาทำความรู้จักพวกเขาให้มากขึ้นกัน แล้วจะรู้เลยว่าซีนดนตรีนอกกระแสอินเดียก็มีอะไรสนุก ๆ ให้เราติดตามด้วย! แนะนำตัว Prince: สวัสดีครับ ผมชื่อปรินซ์ ผมมาเล่นกลองชุดให้ Man.Goes Human ในทัวร์นี้ครับ Noni: ผมโนนี่ครับ ผมเล่นกีตาร์ริธึ่ม Shitij: ผมชื่อชิติช ผมเล่นเบสครับ Paul: ผมพอล ร้องนำ TeeJay: ผม ทีเจ ผู้จัดการวงครับ ที่มาของชื่อ Man.Goes Human ชิติช: เพื่อนของเราคนนึงอยากจะตั้งชื่อพวกเราว่า … Continued

เพลงในหนัง หนังในเพลง : ความอลเวงของการเต้นและเพลงในภาพยนตร์อินเดีย

  • Writer: Piyakul Phusri

ถึงแม้ว่าหนังอินเดียจะไม่ได้เข้าโรงฉายในเมืองไทยบ่อยนัก แต่เชื่อว่าหนังอินเดียเป็นหนังที่แค่ดูครั้งแรกก็สามารถสร้างภาพจำบางอย่างให้กับคนดูได้อย่างแน่นอน ด้วยความโดดเด่นด้านฟอร์มที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ซึ่งสิ่งที่เป็นเหมือนเอกลักษณ์ของหนังอินเดียที่รู้กันดีก็คือ ฉากการร้องเพลงและเต้นรำ ทั้งแบบเดี่ยว คู่ชายหญิง และ เป็นหมู่คณะ   น่าสนใจว่าสูตรสำเร็จของหนังอินเดียที่เต็มไปด้วยฉากร้องเพลง-เต้นรำแบบเซอร์เรียล ๆ ยังคงเป็นเหมือนเดิมมาตลอดหลายสิบปี และยังคงสืบทอดวัฒนธรรมนี้อย่างโนแคร์โนสนวงการภาพยนตร์โลกต่อไป ซึ่งในด้านการตลาด อุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดียก็ผลิตหนังเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้ชมภายในประเทศ และคนอินเดียที่ไปอยู่ในประเทศอื่นซึ่งมีจำนวนมหาศาลมากกว่าพันล้านคนอยู่แล้ว ใยต้องแคร์ใคร? แต่แล้วผู้ชมคนอินเดียเขาไม่เบื่อกับฟอร์มหนังแบบนี้บ้างเหรอ? ฟอร์มหนังอินเดียมันเป็นแบบนี้มานานหรือยัง? เราอาจจะต้องลองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์อินเดียอย่างสั้น ๆ กันซักหน่อย ———- รากฐานของภาพยนตร์อินเดียมีที่มาจากการแสดงที่เรียกว่า ‘สังคีตนาฏยะ’ (Sangeet Natya) ซึ่งเป็นการแสดงประเภทละครเวทีประกอบเพลง เชื่อกันว่าสังคีตนาฏยะเกิดขึ้นในรัฐมหาราษฏระทางภาคตะวันตกของอินเดียในศตวรรษที่ 19 และได้รับความนิยมแพร่หลายทั้งในแถบนั้นรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งนักแสดงตัวหลัก ๆ ของสังคีตนาฏยะจะต้องมีความสามารถด้านการร้องเนื่องจากจะมีบทพูดสลับกับการเล่าเรื่องด้วยการร้องเพลง ซึ่งหัวใจและสิ่งที่ทำให้ผู้ชมชื่นชอบการแสดงประเภทนี้ไม่ใช่บทพูดหรือเนื้อเรื่อง แต่อยู่ที่การร้องเพลงเป็นหลัก ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ศิลปะการแสดงของอินเดียไม่ว่าจะเป็นแบบคลาสสิกหรือพื้นบ้าน จะรวมเอาดนตรี การเต้นรำ และการแสดงเข้าไว้ด้วยกันอย่างไม่สามารถแยกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งออกไปได้ และแม้ว่าอินเดียจะสร้างหนังใบ้ได้ตั้งแต่ปี 1912 แต่ก็มีการเล่นเครื่องดนตรีอินเดียอย่าง tabla และ harmonium ประกอบการฉายหนังอยู่ดี ขณะเดียวกัน ชาวอินเดียก็มีวัฒนธรรมการดูหนังในโรงหนังเหมือนกับดูการแสดงบนเวทีหรือการเชียร์กีฬา นั่นก็คือเมื่อนักแสดงที่ชอบปรากฏตัวบนจอ ตัวเอกออกลีลาแอ็กชั่นถูกใจ หรือมีฉากที่โดนใจ ผู้ชมจะก็ตะโกนโห่ร้อง … Continued

Govinda Bhasya เปิดโลกดนตรีภารตะ

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: Neungburuj Butchaingam

อย่างที่รู้กันว่าวัฒนธรรมอินเดียไม่ใช่สิ่งไกลตัวเราเท่าไหร่นัก ศาสนาที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรานับถือก็มาจากอินเดีย คำบาลี-สันสกฤตที่เขาใช้กันเราก็ยืมมา อยากได้ผ้าต้องไปพาหุรัด หรือถ้าจำกันได้ ช่อง 5 ตอนเด็ก ๆ จะมีละครศึกมหาภารตะมาฉาย และจะมีภาพจำว่าหนังอินเดียต้องมีฉากร้องเพลงวิ่งซ่อนหากันหลังต้นไม้ แต่รู้หรือไม่ว่าเบื้องหลังสิ่งขำขันอันเป็นมายาคติของชาวไทยบางคน กลับสอดแทรกเรื่องราวของวิถีชีวิต ความเชื่อ หรือแม้แต่ความศักดิ์สิทธิ์เพราะใช้เป็นสิ่งบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับดนตรีที่เสียงซีตาร์ก็ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่เกินไปสำหรับนักฟังชาวไทย แต่ความน่าสนใจคือมีศิลปินไทยที่หยิบเอาเครื่องดนตรีหรือท่วงทำนองแบบอินเดียนี้มาปรับใช้กับดนตรีร่วมสมัย เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่เราคุ้นชินให้กว้างขวาง แปลกใหม่ และน่าสนใจขึ้นอีกมากทีเดียว เราจะขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับศิลปินผู้นั้น Govinda Bhasya ตอนเรียนมหา’ลัยปีแรก นพ-นพรุจ สัจวรรณ ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปรัชญาศาสนาในอินเดีย จนได้มาพบว่าที่นั่นเขาใช้เพลงในการสวดบูชาพระเจ้า และตอนนั้นเองที่เขาได้มารู้จักกับซีตาร์เป็นครั้งแรก เขาประทับใจเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นนี้และออกตามหาที่เรียนอยู่หลายเดือน จนได้ทราบว่าที่ศูนย์วัฒนธรรมอินเดีย (ICC) มีเปิดสอนอยู่ เขาจึงได้เรียนกับอาจารย์สุบราตา เด เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มดนตรีอินเดียคลาสสิก ‘สวาลันจีรี’ ที่นำดนตรีอินเดียไปเผยแพร่ในต่างประเทศ เป็นเวลาสองปี “ดนตรีอินเดียเป็นมากกว่าดนตรี มันมีเรื่องของจิตใจ จิตวิญญาณ ศาสนา ความเชื่อ อย่างการบรรเลงซีตาร์หรือดนตรีอินเดียหลาย ๆ รูปแบบจะมีทำนองที่เรียกว่า ‘ราก้า’ ‘ราคะ’ หรือ ‘ร้าก’ (raga, raag) ตัวนี้แหละที่ทำให้ดนตรีอินเดียศักดิ์สิทธิ์ แต่ละราก้าจะถูกจัดอยู่ในแต่ละช่วงเวลาในหนึ่งวัน … Continued