ใครดังกว่าชนะ : สงครามการใช้เสียงในอุตสาหกรรมดนตรี

  • Writer: Malaivee Swangpol

Loudness War หรือ Loudness Race คือสงครามที่ศิลปินพยายามทำให้เพลงเสียงดังกว่าคนอื่นเมื่อเปิดต่อ ๆ กัน จนเสียงออกมาไม่ธรรมชาติ และดังจนขาดความไพเราะของดนตรีไป สงครามนี้เริ่มตั้งแต่ยุค 40s จนเข้ามาสู่วงการเพลงอย่างจริงจังในยุค 90s-00s โดยที่วันนี้เราจะมาเล่าที่มาที่ไปและผลของ Loudness War แต่ก่อนจะไปอ่านบทความอยากให้ชมคลิปนี้เพื่อทำความเข้าใจกับสงครามเสียง ซึ่งอธิบายอย่างเข้าใจง่ายและเปรียบเทียบให้เห็นผลเสียของมันอย่างชัดเจน หมายเหตุ: ในบทความนี้จะมีการใช้คำว่า dynamic range ซึ่งหมายถึงช่วงกว้างของเสียงในเพลง โดยอัลบั้มที่มีช่วงกว้างมากกว่าก็จะฟังดูมีมิติ และเป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างเช่นเพลงคลาสสิกมักจะมี dynamic range มากกว่าเพลงเมทัลหนัก ๆ หรืออัลบั้มป๊อปที่มีการ compress ให้เสียงดังขึ้น ทั้งนี้ แต่ละแนวเพลงจะมี dynamic range ที่เหมาะสมไม่เท่ากัน 40s-70s จริง ๆ แล้วสงครามความดังเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1940 ที่ยังเป็นยุคของไวนิล jukebox และสารพันสิ่งอานาล็อก ซึ่งเจ้าของร้านที่มีตู้เพลงตั้งอยู่ก็มักจะปรับเสียงไว้แค่ระดับความดังเดียว แล้วให้ลูกค้ามาจ่ายตังเลือกเพลงเล่นไปเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตเพลงหัวใสก็เลือกที่จะมิกซ์เพลงให้ดังกว่า เพื่อให้เวลาเปิดเพลงออกมาดังกว่าคนอื่น โดยในยุค 50s เป็นต้นมาโปรดิวเซอร์ก็เริ่มขอให้ทำแผ่นซิงเกิ้ลที่ดังกว่าคนอื่นเพื่อให้โดดเด่นเวลาประกวดกันไปเข้าคลื่นวิทยุ เช่นเดียวกับอัลบั้มรวมฮิต ที่อาจมีการขอให้มาสเตอร์ใหม่ … Continued