เราจะฟังเพลงที่ชอบสมัยวัยรุ่นวนไปอีกนานแค่ไหน

  • Writer: Sy Chonato
  • Illustrator: Thanaporn Soookthavorn

ไม่ว่ารสนิยมจะพัฒนาไปลึกลํ้าซับซ้อนแค่ไหน แต่ทำไมเวลากลับมาฟังเพลงเก่าแล้วมีความสุข รู้สึกอบอุ่นในหัวใจทั้งที่เพลงมันก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น เพราะเราจะสลัดเพลงที่เรารักตอนวัยรุ่นออกไปจากหัวไม่ได้ นอสตัลเจียจากเพลงสมัยวัยรุ่นจะหลอกหลอนเราไปตลอดชีวิต ช่วยด้วย! ยกตัวอย่างที่ออฟฟิศ ฟังใจ เอง ทุกคนที่เข้ามาอยู่ที่นี่ล้วนแต่รักดนตรี หลายคนที่เป็นทั้งผู้ฟังและศิลปินก็ย่อมมีแนวเพลงที่ชอบหลากหลายต่างกัน ทุกคนอาจจินตนาการว่าเราเปิดเพลงอินดี้สุดคูลสายลึกตลอด 24 ชม. แต่ในความเป็นจริง เมื่อเปิดเพลง Dojo City พี่เบิร์ด ธงไชย Big Ass หรือ Bodyslam ขึ้นมาทีไร ทุกคนก็สามารถร้องได้ สนุกได้ หวนนึกถึงวัยรุ่นเพราะเราต่างเติบโตมาในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน เพราะวัยรุ่นยังสร้างไม่เสร็จ หากชีวิตคนคือแอปพลิเคชันในมือถือ ช่วงวัยรุ่นคงเหมือนช่วง beta รุ่นทดลองที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ มีติดขัด ขลุกขลัก แฮงก์ และ error ไปบ้าง แต่ก็เพื่อการเรียนรู้และการเติบโต ฮอร์โมนและสารเคมีในสมองเป็นกลไกทางชีวะของร่างกาย ส่งผลให้วัยรุ่นว้าวุ่น เต็มไปด้วยความรู้สึกถาโถมที่หลีกหนีหรือควบคุมไม่ได้ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวซึมเดี๋ยวเศร้า ยิ่งกว่าพายุฝนในเขตร้อน เมื่อก่อนเคยมีความเชื่อว่าสมองคนเราหยุดโตตั้งแต่วัยเด็ก แต่วิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสมองจะเติบโตดีในช่วงวัยรุ่นไม่ต่างจากร่างกายที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในส่วน prefrontal cortex เหตุนี้ความทรงจำในช่วงวัยรุ่นจะติดตรึงฝังไปในสมองได้ดีมากกว่าช่วงอื่น ๆ ในชีวิต เพราะเกิดขึ้นขณะที่สมองกำลังสร้างตัว และได้ถูกผนวกไว้กับความทรงจำในช่วงที่เราจดจำได้มากที่สุด คือสมัยวัยรุ่น โดยดูดซึมหยิบเอาประสบการณ์และสิ่งที่พบเจอมาสะสมไว้ในสมอง งานศึกษาโดย Schulkind, Hennis, … Continued

เพลงทำให้สมองแฮปปี้ได้เหมือนมีเซ็กซ์และเสพยา

  • Writer: Sy Chonato
  • Illustrator: Ploypuyik

เพลงทำให้รู้สึกดีไม่ต้องมีใครมาบอก จริง ๆ แล้ว ไม่ต้องให้งานวิจัยไหนมาบอก เราก็รู้กันอยู่แล้วแหละว่า “ฟังเพลงทำให้รู้สึกดี” เพลงทำให้เรามีความสุข ช่วยให้กำลังในยามทุกข์ คนอกหักก็ให้เพลงปลอบใจ หลายคนรักการฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจจนขาดจากชีวิตไม่ได้ราวกับยาเสพติด จึงมีการทดลองเกิดขึ้นเพื่อหาว่าเกิดอะไรกับร่างกายของเราเมื่อฟังเพลง งานทดลองความสุขจากการเสพเพลง นักวิจัยจาก McGill University ใน Montreal ประเทศแคนาดา ทดลองหาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับสมองเมื่อฟังเพลง เพลงที่ชอบทำให้สมองผลิตสารโดปามีนที่ทำให้เกิดสุขเพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ (โคเคนทำให้เพิ่ม 22% ในขณะที่อาหารอร่อยเพิ่ม 6%) แต่เมื่อนักวิจัยทดลองบล็อกสมองส่วนสังเคราะห์สารโอปิออยด์ (Natural Opiod) สารนี้สมองเราสังเคราะห์เองหลังจากมีสิ่งกระตุ้น ยามที่มีเซ็กซ์ เสพยาโคเคน หรือกินอาหารอร่อย เมื่อบล็อกสมองส่วนนี้แล้วให้ผู้ถูกทดลองฟังเพลงที่พวกเขาชอบ  พวกเขาไม่รู้สึกแฮปปี้หรือฟินกับเพลงโปรดที่ชอบเหมือนเดิม “มันประหลาดมาก เพลงนี้เป็นเพลงโปรด แต่ทำไมรู้สึกไม่เหมือนเดิม” ผู้ถูกทดลองคนหนึ่งกล่าวหลังถูกบล็อกส่วนที่กระตุ้นความสุขขณะฟังเพลงโปรด ดังนั้น ความสุขจากการฟังเพลงอาจจะลึกซึ้งเท่าเทียมกับความสุขที่ได้จากเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด และอาหารอร่อย เพราะทำให้สมองเราหลั่งสารโดปามีนนี้ที่ให้เราเสพติด ต้องหามาเติมเรื่อย ๆ ให้ชีวิตสมบูรณ์ เมื่อเราฟังเพลง ร่างกายเราเกิดปฏิกิริยาที่ตรวจจับได้ เช่น ม่านตาขยาย ชีพจรเต้นไว และความดันเพิ่ม สมองส่วนเซเรเบลลัมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายถูกกระตุ้น ซึ่งจะทำให้เราอยากขยับเคลื่อนไหวและเต้นตามจังหวะเสียงเพลง … Continued