Moogseum พิพิธภัณฑ์ซินธิไซเซอร์ที่พาเราไปเจาะลึกถึงขอบเขตเสียงที่น่าค้นหา

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Art Director: Tas Suwanasang

คนเล่น synthesizer หรือที่เราเรียกให้เข้าปากว่าซินธ์ จะต้องมีแบรนด์ที่เราชอบเป็นพิเศษแน่นอน อย่างส่วนตัวผมนี่ตกหลุมรัก Korg อย่างรุนแรง แต่ก็ยังมีแบรนด์ซินธ์ชื่อดังรายอื่น ๆ ที่หลายคนไว้วางใจ ใครใช้ Moog อยู่ก็ยิ้มเลย เพราะฝั่งตะวันตกเขานับถือแบรนด์นี้กันมาก ๆ การมาถึงของ Minimoog ทำให้กระแสดนตรีในประเทศเขาเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วด้วยลูกเล่นที่เหนือชั้น ทลายข้อจำกัดในการทำเพลงและเปิดประตูสู่ซาวด์ใหม่ ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ หลังจากบิดาผู้ให้กำเนิดขอบเขตเสียงที่ไม่มีใครไปถึงอย่าง Robert (Bob) Moog เสียชีวิตลง ครอบครัวของเขาก็ก่อตั้ง Bob Moog Foundation ต่อยอดแพชชั่นทางด้านดนตรีของเขาให้คนรุ่นใหม่ ๆ ต่อไป ทั้งโรงเรียนที่สอนเล่นซินธ์ให้เด็ก ๆ ฟรี โดยล่าสุดพวกเขาก็สร้าง Moogseum พิพิธภัณฑ์ที่บันทึกวิวัฒนการของเครื่องดนตรีในแบรนด์ Moog ทั้งหมด และไปถึงแรงบันดาลใจในด้านดนตรีทุกชนิดเท่าที่เราจะนึกออกได้ในแอชวิล นอร์ธแคโรไลนา ในมิวเซียมมีอยู่หลายโซน เริ่มที่เข้าไปโลดแล่นในชีวิตอันแสนมัหัศจรรย์ของ Bob Moog ที่หลงใหลในเสียงดนตรีสังเคราะห์อย่างถอนตัวไม่ขึ้น จากเด็กที่โดนบังคับให้เรียนดนตรีจนเริ่มประดิษฐ์เครื่องดนตรีหน้าตาประหลาดเล่นเอง สู่การเป็นเจ้าของบริษัทซินธิไซเซอร์ระดับโลก พร้อมรูปช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของเขาที่สะสมโดยมูลนิธิ แถมพาเราเจาะลึกลงไปในระบบของซินธ์หลาย ๆ ตัวว่าทำงานยังไง ทำไมถึงสร้างเสียงได้หลากหลายขนาดนี้ … Continued

ฟังเพลง Synthesizer ระหว่างบรรทัด โดย Summer Dress

  • Writer: Montipa Virojpan

Synthesizer – Summer Dress เนื้อร้อง ศิวณัฐ บุญศรีพรชัย ทำนอง Summer Dress เรียบเรียง Summer Dress เพลง Synthesizer ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังต้นศตวรรษ 19 เรื่อง Metropolis เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์สร้างหุ่นยนตร์ โดยเต๊นท์ ผู้รับหน้าที่แต่งเนื้อเพลงเพลงนี้จำภาพของนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องกำลังหัวเสีย จึงเอาภาพจำอันเลือนรางนั้นมาขยายต่อ ให้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ที่อยากจะสังเคราะห์ความทรงจำดี ๆ ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต ที่อาจจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้วมาทำซ้ำใหม่ให้กลายเป็นรูปเป็นร่าง แต่ก็ทำไม่สำเร็จ จึงคิดได้และละวางความพยายามนั้นไป สำหรับชื่อเพลง Synthesizer ก็มาจากเครื่องดนตรีที่นักดนตรีต่างคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ถูกนำมาต่อยอดในความหมายของการที่เป็นคนที่สามารถสังเคราะห์ได้ทุกเสียง ยกเว้นความทรงจำของตัวเอง ฉันมีอาชีพเป็นนักสังเคราะห์ให้คล้ายต้นแบบ Synthesizer Synthesis แปลว่าการสังเคราะห์ เราอยากใส่ er เข้าไปให้มันแปลว่าเป็นนักสังเคราะห์ ซึ่งความจริง synthesizer คือเครื่องมือ เครื่องดนตรี แต่ความคิดเราคืออยากให้มันเป็นคน เป็นอาชีพ เหมือนพวก designer ที่จากการออกแบบ (design) กลายเป็นคนที่ทำงานออกแบบ อะไรแบบนั้น ต้องทำต้องลองสังเคราะห์ให้เหมือนตัวอย่าง ที่ใครเขาจ้างมา เจตจำนงแรกของ synthesizer คือการที่เราไม่มีเครื่องดนตรีชิ้นนั้น … Continued