ทำไมเมืองของเราควรมี Music Festival

  • Writer: Peerapong Kaewthae
  • Art Director: Tunlaya Longsurname

เชื่อว่าคนรักเสียงดนตรีน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับชื่อของ Glastonbury, Coachella, , Fuji Rock, Tomorrowland หรือ Primavera Music Festival เพราะแต่ละงานต่างเป็นเทศกาลดนตรีในฝันสำหรับใครหลายคนที่ต้องไปให้ได้ซักครั้งในชีวิต นอกจากหลาย ๆ เวทีจะรวมศิลปินระดับแม่เหล็กที่ดูดคนจากทั่วโลกให้ไปที่งานได้แล้ว ยังมีการจัดแสดงงานศิลปะ ร้านค้า ความบันเทิง ไปจนถึงงานสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทุกแขนง บางเทศกาลยังสนับสนุน OTOP ของคนพื้นเมืองไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม เครื่องประดับ หรืออาหาร ช่วยเปิดหู เปิดตา เปิดกระโหลกเราทุกมุมมองจริง ๆ แต่นอกจากความสนุกที่เราจะได้รับระหว่างไปเสพความสุขในงานแล้ว เมืองยังได้รับอานิสงส์ของเทศกาลเหล่านี้ไปด้วย ตัวอย่างเทศกาลดนตรีที่ดีที่เราชอบมากคือ Mawazine Festival ที่จัดขึ้นในเมือง Rabat ประเทศโมร็อกโก กลายเป็นเฟสติวัลระดับนานาชาติที่ดึงดูดชาวเมืองหรือผู้มาเยือนจากทุกมุมโลกมาที่งานได้นับล้านคน มีตั้งแต่กลุ่มวัยรุ่นไปจนถึงหญิงสูงวัยในชุดชาวพื้นเมือง คู่รักที่พากันออกมาสร้างประสบการณ์ประทับใจ และครอบครัวใหญ่ที่ใช้เวลาอยู่ด้วยกันในวันหยุดสุดสัปดาห์ถึงสามรุ่นด้วยกัน นอกจากจะมีศิลปินชื่อดังระดับโลก ยังมีศิลปินท้องถิ่นจากทั่วประเทศได้ขึ้นเวทีอย่างยิ่งใหญ่ด้วย และที่พิเศษกว่าเฟสติวัลไหน ๆ คือมี Justin Timberlake ในไลน์อัพของงาน แต่โดยปกติตั๋วคอนเสิร์ตของจัสตินเองในปีเดียวกันนั้นตกราคาประมาณ $165 หรือประมาณ 5,220 บาท แต่ในเทศกาลดนตรี Mawazine คุณสามารถไปดูเขาได้ ฟรี!! ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐที่อยากยกให้ Mawazine เป็นเทศกาลดนตรีของชาวโมร็อกโกโดยไม่แบ่งแยกชนชั้น สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ เทศกาลดนตรี Mawazine … Continued

เคยได้ยินไหม Lifestyle Festival เทศกาลที่ไม่ได้มีแค่ดนตรีเพียงอย่างเดียว

  • Writer: Montipa Virojpan

ถ้าย้อนไปสักประมาณ 20 ปีที่แล้ว เราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นชินกับคำว่า music festival หรือเทศกาลดนตรีในบ้านเรากันเท่าไหร่ ส่วนมากก็จะเป็นคอนเสิร์ตใหญ่หรือโชว์เดี่ยวของศิลปินคนนั้น ๆ เพราะในยุคนั้นค่ายเพลงเจ้าใหญ่ยังมีบทบาทมากในสื่อกระแสหลัก ทำให้มีช่องทางนำเสนอผลงานของศิลปินในสังกัดของตัวเองโดยเฉพาะ และยังไม่ได้แผ่กิ่งก้านสาขาจับมือกันสร้างสังคมดนตรีที่เหนียวแน่นอย่างเช่นทุกวันนี้ แต่เท่าที่เราพอจะจำความได้ เมื่อปี 2001 Fat Festival ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ทำให้นักฟังชาวไทยก็ได้ทำความรู้จักกับเทศกาลดนตรีกันเป็นครั้งแรก พวกเขาถือเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ในไทย ที่มีไอเดียชักชวนเพื่อนศิลปินในวงการไม่ว่าจะรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ มีค่ายหรือไม่มีค่าย แต่ยืนพื้นด้วยการที่ศิลปินที่ถูกชักชวนมาเหล่านั้นคือคนที่ทำเพลงทางเลือก และพวกเขาก็ลงมือสร้างพื้นที่ทางเลือกนี้ให้เกิดขึ้นมาจริง ๆ โดยในงานก็มีดนตรีให้รับฟังรับชมกว่าหลายเวที หลายสิบศิลปิน หลายร้อยชีวิตผู้ชม ซึ่งทีมงานก็ยังไม่หยุดสานต่อเจตนารมย์ตั้งต้นเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน แม้ตัวงานจะผันเปลี่ยนทั้งรูปแบบหรือแม้กระทั่งชื่อเป็น Cat Festival ไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ ตามกาลเวลาก็ตาม แล้วในปี 2002 เราก็ได้ยินชื่อของเทศกาลดนตรีในฐานะของงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพัทยาในชื่อ Pattaya Music Festival ที่ผู้จัดเป็นค่ายยักษ์ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปีแรกมีศิลปินเบอร์ใหญ่จากค่ายนั้นและศิลปินต่างประเทศตบเท้าเข้ามาร่วมแสดง จนปีต่อ ๆ มาถึงเริ่มจะเปิดโอกาสให้ค่ายอื่น ๆ เป็นผู้ร่วมจัดงานและขยับขยายสเกลงานได้ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ถือว่าช่วงนี้เองที่เป็น ‘ระยะแรก’ ของการจัดเทศกาลดนตรีในประเทศไทย เกือบ 10 … Continued