Article Story

Knead Ceramics ภาชนะเรียบสวยที่ตอบโจทย์การใช้งาน โดยผู้คลุกคลีในวงการอาหารและเครื่องดื่ม

จากการเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ทำให้พบเห็นข้อจำกัดในการใช้ภาชนะในการเสิร์ฟ และในหลาย ครั้งก็สังเกตเห็นว่า รูปทรงและรูปลักษณ์ของภาชนะใส่อาหารเครื่องดื่มมีผลต่อรสชาติอย่างไม่น่าเชื่อ พวกเขาเลยตั้งใจให้ Knead Ceramics เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ที่จะทำให้ประสบการณ์แสนอร่อยนี้ลงตัวยิ่งขึ้น

Knead Ceramics คือการรวมตัวของ คุณพลอยผกาวัลย์ ติรไพโรจน์ และ โดนัทณัฐนรี ดีโนนงิ้ว มือคั่วกาแฟและบาริสต้าจาก Roots Bangkok และ เบสเมธาสิทธิ์ กิตติกุลยุทธ์ กราฟิกดีไซเนอร์และช่างภาพจาก The COMMONs ที่มีความสนใจร่วมกันในภาชนะเซรามิก โดยพวกเขามองว่า ภาชนะเซรามิกที่มีดีไซน์สวยและตอบโจทย์การใช้งานมีอยู่น้อย แถมผลงานที่เป็นของคนไทยจริง ในทุกวันนี้ก็หาซื้อได้ยาก จึงตัดสินใจไปเรียนปั้นดินเพื่อให้เข้าใจกระบวนการ และเริ่มออกแบบภาชนะเพื่อนำมาใช้และจำหน่ายด้วยตัวเอง

ตอนที่ทุกคนขึ้นไปเรียนเซรามิกด้วยกัน แค่ขั้นตอนแรกการนวดเพื่อเตรียมดินมันก็สำคัญแล้ว และยากมาก การจะทำดินให้เป็นรูปก้นหอยต้องทำเป็นชั่วโมง ถ้าทำไม่ดี มีอากาศเข้า ทุกอย่างต้องเริ่มใหม่หมดคุณพลอยเล่าให้ฟังถึงที่มาของชื่อ ‘Knead’ ที่มาจากกระบวดการนวดเตรียมดิน

คุณโดนัทได้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนจากภาควิชา Industrial Ceramic Design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการผลิตภาชนะเซรามิกโดยใช้ดินจากจังหวัดขอนแก่น นอกจากไม่ยุ่งยากในกระบวนการผลิตจากการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบแล้ว พวกเขายังมีความมุ่งหมายที่อยากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบท้องถิ่น ให้ไปได้ไกลกว่าเดิมในรูปลักษณ์ที่ไม่ค่อยมีใครได้เห็นเท่าไหร่นักเราไปเที่ยวแล้วเห็น product ในนิวยอร์กแล้วเกิดไฟลุก คิดว่าถ้าเราเอาของ local ไปขายบ้างก็น่าจะขายได้

ภายหลังที่เราได้เห็นผลิตภัณฑ์ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Knead Ceramic เป็นที่สะดุดตาจริง จากการออกแบบให้หน้าตาดูเรียบง่าย สวยงาม (neat) สามารถเป็นทั้งภาชนะที่ใช้ทุกวัน หรือเมื่อมันถูกวางไว้เฉย ก็สามารถเป็นของตกแต่งได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ต้องการ (need) ของคนในธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม เพราะนี่คือภาชนะที่เข้าใจหัวใจของคนปรุง คนเสิร์ฟ และคนกินดื่มอย่างแท้จริง

เรากับโดนัทเป็นบาริสต้า จะเห็นช่องโหว่ของอุตสาหกรรมที่เราทำงานด้วยนิดนึง บางอย่างเหมือนคนอุปาทานหมู่ว่า แก้วต้องเป็นทรงนี้ ขนาดเท่านี้ เท่านั้น แต่พอเอามาใช้จริง มันไม่ functional แบบที่เขาคิดกัน เราก็คิดว่าทำไมไม่มีภาชนะที่ทำให้บาริสต้าทำงานง่ายขึ้น แบบที่ชงกาแฟปุ๊บแล้วมันอร่อยเลย

สิ่งที่คุณพลอยพูดทำให้เราตั้งคำถามว่า รูปทรงของภาชนะ มีผลต่อรสชาติของอาหารที่เสิร์ฟจริงหรือ

เราใช้สกิลการทำกาแฟเข้าไปในการพัฒนาแบบของภาชนะ คือ based จากอาหารเครื่องดื่มเลย กาแฟนมมันขึ้นอยู่กับปริมาณของกาแฟกับนมถ้าเราหาสัดส่วนที่มันถูกต้อง มันก็จะได้กาแฟที่ดื่มแล้วรู้สึกรื่นรมย์ ไม่ได้ดื่มลาเต้ที่ขมเกินไป หรือนมจนเกินไป เราเลยพยายามหาจุดกึ่งกลางของความสวยกับความที่ใช้ได้จริง อันดับแรกเรากับโดนัทไปเริ่มทดลองเอากาแฟที่คั่วในระดับต่าง เข้ม กลาง อ่อน มาลองใส่ในแก้วหลาย แบบว่าจะอร่อยไหม จนได้เป็นแก้ว Joanne จุดเด่นของแก้วนี้มันทำให้ได้สัดส่วนของกาแฟกับนมที่พอดี ดื่มแล้วอร่อยขึ้น ส่วนขอบแก้วก็ทำให้บางหน่อย เพราะจะรู้สึกว่าดื่มแล้วเข้าปากแล้วพอดี ไม่หก

เซรามิกเวลาใส่ของร้อน มันจะจับแทบไม่ได้เพราะมันเก็บความร้อน เราเลยต้องออกแบบให้มีหู แก้วบางชนิดเวลาเอานิ้วใส่หูแล้วบางทีมันไม่ถนัดมือ เลยดีไซน์ให้หูแก้วจับถนัด จับเข้าไปได้สี่นิ้วพอดีทั้งชายหญิง ไม่ได้รู้สึกว่าเล็กหรือใหญ่ไป แล้วเวลาเราต้องยกดื่มก็จะทำให้สัดส่วนแก้วใหญ่กว่าปกติ เพราะจมูกเราจะได้ใกล้กับกาแฟ ได้ aroma ของมันชัดขึ้น

นอกจากความใส่ใจเพื่อที่จะให้ได้ประสบการณ์ในการลิ้มรสอาหารและเครื่องดื่มครบทุกด้านแล้ว Knead Ceramics ยังให้ความสำคัญกับผู้ให้บริการในร้านอาหาร และการใช้งานในชีวิตประจำวันไม่แพ้กัน

เราคุยกันว่าแบรนด์เรามันมีหลาย direction มาก แต่เราอยากให้มัน casual ดูเรียบง่าย เบสิก หยิบใช้ทุกวัน ไม่ได้หวือหวา อยากกินกาแฟก็หยิบอันนี้มาชง อย่างคอลเล็กชันแรกของเราเป็น Cafe Series เราดีไซน์ให้มันเหมาะกับคาเฟ่ เพราะส่วนมากโต๊ะจะไม่ได้ใหญ่มาก บางที่วางซะล้นโต๊ะ ต้องต่อโต๊ะ เราก็เลยต้องดีไซน์ให้มันไม่เปลืองพื้นที่ มีจานที่วางได้พอดี กินได้พอดี ถ่ายรูปแล้วออกมาสวย มันน่าจะเหมาะนะคุณพลอยเล่า

Knead Ceramics

หรือใครอยู่คอนโดอาจจะมีพื้นที่จำกัด จานขนาดไหนที่ใช้แล้วไม่เปลืองพื้นที่ ก็มี 6” กับ 8” บางทีเห็นของจริงแล้วรู้สึกว่าเล็ก แต่ไอ้ความเล็กนั้นก็คิดให้พอดีกับขนมหรืออาหารนั้นแล้วคุณเบสเล่าเสริม

เราไปนั่งคุยกับเชฟมา เวลาจะเสิร์ฟ เขาต้องมีจุดที่จับจานชามแล้วจะไม่ร้อนมือเขา เราเลยทำจานให้มีขอบสูง เวลาเสิร์ฟจะได้จับตรงขอบ หรือถ้วย คือเราก็อยากให้มันคล้ายถ้วยตาไก่ มีความบาน ขึ้นไปหน่อย แต่ต้องให้สวยเข้ากับบ้าน หรือตรงกับสไตล์ที่เราชอบ

Knead Ceramics

ด้วย texture ที่ไม่เป็นมันเงาจนเกินไป และไม่ด้านกระด้างมือจนเกินไป จากการทดลองเนื้อดินและตัวเคลือบ ผ่านการเผาออกมาเป็นบิสกิตแท่ง ทำให้พวกเขาได้สีและสัมผัสของเซรามิกอย่างที่ต้องการ

 

View this post on Instagram

 

Bisque color test

A post shared by knead Ceramics Co. (@kneadceramics) on

ตอนแรกคิดว่าง่ายนะ แต่จริง มันยาก ไอ้ขาวที่เห็นเนี่ย จริง มันมีขาวอีกเยอะเลย มันคือการเอาสารเคมีมาผสมให้ได้สี สัดส่วนมันต้องเป๊ะ จนสุดท้ายก็ได้ขาวที่อยากได้จริง

Knead Ceramics

เซรามิกเหล่านี้ก็เป็นงาน handmade ทั้งหมด ต้องยกความดีความชอบให้น้องที่ปั้น เพราะสำหรับเขาการปั้นเซรามิกมันคือศิลปะ แล้วเสน่ห์ของเซรามิกคือการที่แต่ละอันขนาดจะไม่เหมือนกัน แต่เราดันไปบรีฟเขาว่าเราต้องการแก้วที่เหมือนกันทุกใบ เพราะจุดเด่นของแก้วเราคือความเท่ากัน ถ้า sizing ผิด กาแฟจะไม่อร่อย ดังนั้นมันจะยากกับศิลปินที่เขาปั้นมาก เราว่ามันก็ย้อนแย้งกับสิ่งที่เขาชอบแหละ แต่เขาก็อยากทำให้เรา โปรดักต์แต่ละชิ้นที่เขาทำออกมาเหมือนกันแทบจะหมดเลย เราเซอร์ไพรส์มากคุณพลอยเล่าอย่างตื่นเต้น

Knead Ceramics

ตอนนี้ที่ h____dining กับร้าน Brew Dog ก็ใช้จานชามของ Knead Ceramics อยู่ ถ้าใครที่อยากได้แต่ไม่แน่ใจก็ไปลองสัมผัสของจริงกันได้ และถ้าตัดสินใจได้แล้วก็เข้าไปสั่งได้ที่ Instagram @kneadceramics นะ

อ่านต่อ

Tuna Dunn ขย้อนความรู้สึกสู่ผลงานรูปแบบใหม่ แรงบันดาลใจจากความว่างเปล่า

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้