Snacks

รวมเพลงปลุกใจ ซับหยาดเหงื่อของคนรักงาน ก่อนตื่นเช้าไปลุยต่อในวันจันทร์

ไม่สามารถปฏิเสธได้จริง ว่าในสังคมเรายังคงมีเรื่องช่องว่างทางเศรษฐกิจและชนชั้นอยู่มาก รายได้ของแต่ละอาชีพก็ถูกจัดสรรไว้อย่างไม่เป็นธรรมนัก จนศิลปินหลาย คนที่บ้างก็เคยมีประสบการณ์โดยตรงจากการเป็นชนชั้นแรงงาน เคยอยู่ในครอบครัวของผู้ใช้แรงงาน หรือเป็นคนที่มีแนวคิดสังคมนิยม รัฐสวัสดิการ ก็เล็งเห็นว่าการสร้างงานศิลปะของพวกเขาก็สามารถเป็นกระบอกเสียงทำให้สังคมหันมาสนใจความเหลื่อมล้ำ และหวังจะเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้นได้ด้วยเพลงเหล่านี้ มาดูกันว่ามีเพลงอะไรบ้าง

Billie Holiday – Strange Fruit

ขอย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคค้าทาสและเหยียดผิวในอเมริกาแบบโหด ๆ เดิมที่เพลงนี้ถูกเขียนขึ้นมาจากกวีของ Abel Meeropol ในปี 1937 ซึ่งต่อมาราชินีเพลงแจ๊ส Billie Holiday ก็เอามาร้องจนกลายเป็นเพลงที่โด่งดัง ทว่ามีเนื้อหาที่ดาร์กมาก เล่าถึงผลไม้ประหลาดที่ห้อยลงมาจากต้น poplar ซึ่งจริง ก็เป็นการเทียบเคียงร่างของทาสคนดำที่ไม่มีสิทธิเสียงใด  ๆ ถูกห้อยจากการแขวนคอทารุน เลือดที่หลั่งรินมาตามใบไม้ หรือน้ำผลไม้ที่หยาดหยดมาจากผลแสนสยดสยองและน่าอดสู ต่อมาเพลงนี้ก็มีคนนำไปคัฟเวอร์มากมายในหลายแนวเพลงทั้ง Nina Simone, Jeff Buckley หรือ Siouxsie & the Banshees

Bob Dylan – Maggie’s Farm

งานจากปี 1965 ของ Bob Dylan ถ้าฟังเวอร์ชัน Bringing It All Back Home ก็ดูจะเป็นงานบลูส์ร็อกตามปกติของเขา แต่พอได้ฟังเวอร์ชันสดที่เทศกาล Newport Folk Festival กลายเป็นว่าเขาเปลี่ยนจากโฟล์กร็อกไปเป็นวงเครื่องไฟฟ้ากับซาวด์กีตาร์ที่ดุดันทำเอาชาวโฟล์กสมัยนั้นเหวอไปตามกัน ซึ่งหลายคนตอนนั้นก็ไม่พอใจเท่าไหร่กับการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเราดูเนื้อเพลงแล้วจะพบว่าเขาจงใจที่จะเปลี่ยนจากทางสายเดิมมาเป็นทางนี้ เหมือนกับที่ร้องว่า จะไม่ทำงานในฟาร์มอีกแล้วโว้ย มีแต่คนกลั่นแกล้ง กดขี่ ค่าจ้างก็น้อยนิดแล้วยังมาถามว่าชีวิตความเป็นอยู่ดีไหม เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นที่อยากจะเป็นดีกว่า 

Marianne Faithfull – Working Class Hero

แต่เดิมเพลงนี้เป็นงานของ John Lennon ที่ออกมาในอัลบั้ม John Lennon/Plastic Ono Band ในปี 1970 หลังจากที่ The Beatles สลายโต๋กันไป เพลงนี้นำมาใช้เล่าเรื่องความเหลื่อมล้ำของชนชั้นแรงงานที่พยายามจะทำให้ตัวเองกลายมาเป็นชนชั้นกลาง แต่ขณะเดียวกันระบบก็ทำให้พวกเขากลายเป็นเครื่องจักรเพราะต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะได้หลุดไปจากตรงนี้จริง ซักที และเพลงนี้ก็ถูกเอาไปคัฟเวอร์หลายเวอร์ชันมาก ทั้ง Cyndi Lauper, Tin Machine (วงของ David Bowie), Greenday แต่เราขอยกเวอร์ชัน Marianne Faithfull มาให้ฟังในความดิบเถื่อนกราดเกรี้ยวโดยไม่ได้ตั้งใจในน้ำเสียงของเธอ

Gang Of Four – It’s Her Factory

เพลงเสียดสีโลกปิตาธิปไตยชายเป็นใหญ่ในปี 1979 โดยสมัยนั้นผู้หญิงถูกจำกัดไว้ให้เป็นแค่แม่บ้าน ไม่ค่อยมีใครออกมาทำงานนอกบ้านกันเหมือนสมัยนี้ มีท่อนร้าย ที่ร้องว่า ‘Housewife heroines, addicts to their homes’ คำว่าฮี่โร่ผู้หญิงในภาษาอังกฤษถูกนำมาเล่นกับคำว่า เฮโรอีน ซึ่งเป็นยาเสพติด ในวรรคนี้ก็เป็นการแซะว่าแม่บ้านเหล่านี้ก็ติดอยู่แต่ที่บ้านของพวกหล่อน ข่าวสารที่พอจะเสพได้ก็มาจากแค่หน้านิตยสารนั่นแหละ

Dolly Parton – 9 to 5

วลี ‘9 to 5’ เป็นอะไรที่ได้ยินอย่างกว้างขวางมาก หมายถึงการเข้างานตั้งแต่เก้าโมงเช้าและเลิกงานตอนห้าโมงเย็น ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของการทำงานในออฟฟิศที่มีความเป็น routine น่าเบื่อหน่าย เพลงนี้ก็ถูกใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน โดยบอกเล่าเรื่องราวของมนุษย์เงินเดือนว่าวัน จะต้องเจอกับอะไรบ้าง ซึ่งก็โดนกันตั้งแต่บรรทัดแรกที่แปลได้ว่า แหกขี้ตาตื่นจากเตียงแล้วพุ่งเข้าครัว กระดกเครื่องดื่มแห่งปณิธาน (กาแฟ) หาวซักหวอด บิดขี้เกียจซักนิด โดยหวังว่าจะกลับมามีชีวิต ก่อนจะวิ่งไปอาบน้ำแล้วไปหัวร้อนบนถนนที่ทุกคนก็กำลังมุ่งหน้าไปทำงานเหมือน กัน แค่ฟังก็รู้สึกมีกำลังใจทำงานแล้ว เฮ่อ

OverMe – Office

มาที่ฝั่งบ้านเรากันบ้างงานล่ะจะมีกี่งานล่ะจะมีกี่งานเชิญโยนมาให้ผมดิค้าบบบบ เพลงชาติของเหล่าคนรักงาน เหมือนเป็นเวอร์ชันภาษาไทยของเพลง 9 to 5 แต่อันนี้พี่ OverMe เขาจัดมาให้แบบสุดติ่ง ฟังแล้วฮึกเหิม (?) หอบแฮ่ก อธิบายแทบทุกอารมณ์ของพนักงานออฟฟิศ ภาวะช็อตก่อนสิ้นเดือน เงินไม่พอซื้อกาแฟ คืนวันศุกร์ที่รอคอย เจ้านายตามงาน แปป วันจันทร์อีกแล้ว โอ้ยไม่ทันได้พักเลยว้อย

electric.neon.lamp – Employee of the Month

สุดท้ายละ ก็ไม่คิดว่าวันนึงจะได้ร้องไห้เพราะอินจัดกับเพลงเพลงนี้ เมื่อคณะณีอรได้เขียนเพลงนี้ขึ้นมานานนมและเพิ่งได้อัดใส่ในอัลบั้ม Brightside 2017 edition เป็นเพลงที่ระบายความอัดอั้นออกมาได้แบบซอฟต์ ว่า เนี่ย ฉันเป็นคนที่ loyalty มาก เลยนะ กะจะให้ working performance ออกมาดี เจ้านายถูกใจ ได้เป็นพนักงานดีเด่น ได้ขึ้นเงินเดือน แต่สุดท้ายแล้วพอมีเงินแต่กลับไม่ได้ไปใช้ชีวิต แถมยังเสียสุขภาพอีก มาคิด ดู มันคุ้มกันมั้ยน้อ 

Facebook Comments

Next: