Article Between the Lines

Way Out โดย Abuse the Youth

  • Writer: Kamolnat Kosolgan

Abuse The Youth
‘Way Out’

คำร้อง: (มิก) – กาย วรนิสรา
ทำนอง: (มิก) – กาย วรนิสรา
เรียบเรียง: Abuse The Youth

download-2

ก่อนบทเพลง Way Out จะเริ่มบรรเลง

หลายคนอาจเคยได้ยินเพลง ‘บทเพลงกระซิบ’ ที่ทำให้หัวใจเราสั่นไหว เพลง ‘ชีวิตเดิมเริ่มใหม่’ ที่ทำให้เรามีความหวัง ในวันที่สับสนและไร้ทางออก เรายังมีเพลง “Way Out” เป็นเหมือนกับเพื่อนที่เข้าใจ

เริ่มต้นเล่าเรื่องราว

Abuse The Youth คือ วงดนตรีที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 เปิดตัวด้วยเพลงที่แต่งขึ้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ทำให้เป็นทางเลือกใหม่ของเหล่านักฟังเพลงในขณะนั้น EP แรกของพวกเขาหากใครยังจำได้ถึงเพลง Into Red กับดนตรีแนวAmerican Rock ได้ และช่วงเวลาก่อนที่เพลง “Way out” ในปี 2008 จะทำให้วงนี้โด่งดัง และเปลี่ยนฉากหลังของวงจากใต้ดินขึ้นมาสู่เทศกาลดนตรีระดับนานาชาติ ซึ่งเพลงนี้แหละทำให้ Abuse the youth ได้ไปเล่นคอนเสิร์ตในเทศกาลดนตรีต่างประเทศอย่าง Baybeats ที่สิงคโปร์

download-3

Now I separate all the things I dreamed.
It’s not quite all these things I’ve seen

ที่มาของเพลงนี้เริ่มต้นจากความสับสนของเด็กเพิ่งจบการศึกษา ปัญหาสามัญของเด็กทุกยุคสมัย ภาวะช่องว่างระหว่างการพ้นจากวัยรุ่นสู่การเป็นผู้ใหญ่ จุดปะทะระหว่างสิ่งที่อยากทำตามความฝันกับการเผชิญหน้ากับความจริง ทำให้มิกตัดสินใจหยุดทุกอย่างไว้ชั่วคราว แล้วหยิบกีต้าร์ขึ้นมาดีดหาโน้ตที่ใช่ และเติมเต็มเนื้อหาของเพลงลงไป “จากชีวิตในมหาวิทยาลัย เรียนสนุก ๆ แล้วพอเรียนจบแล้วทุกอย่างมันหายไปหมด เกิดอาการเคว้งคว้าง งานก็ไม่อยากทำ มีปัญหากับครอบครัวด้วย เพราะพ่อแม่เห็นแล้วก็ถามว่ายังไม่ออกไปทำอะไรอีกเหรอ เลยเป็นจุดเริ่มต้นให้จับกีต้าร์ขึ้นมานั่งดีดๆและลองเริ่มเขียนเพลงโดยใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จากนั้นก็เริ่มทำ EP แรกออกมาไปขายงานแฟตโดยนั่งแต่งเองและอัดในห้องนอน”

เราฟังเพลงไทยครั้งสุดท้ายคือ ม.3 เพราะฟังตามเพื่อน หลังจากนั้นก็ฟังเพลงฝรั่งตลอด ไม่ฟังตามเพื่อนแล้ว แต่ฟังตามหนังสือ เวลาที่เราคิดเนื้อเพลงก็เลยทำให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษมาโดยตลอด

Feel everything is so clear
Blue sky and the sun is near.
And the water is good I’ve never been so alive

ฉากหลังของเพลง “Way out” เป็นสถานที่ที่เรานิยมพาตัวเองไปทิ้งในวันที่ความเหนื่อยล้า
ถ้าท้องทะเลคือจุดหมายและเป็นปลายทางของการทบทวนเรื่องราวที่ถาโถม เพลง “Way Out” ตอนนั้นก็นึกไปเรื่อย ๆ เพราะ เราอยากเขียนเพลงที่บอกกับทุกคนว่า เฮ้ย ตัวเราจะตายอยู่แล้วนะ แต่อยากให้เนื้อหาออกมาแฮปปี้หน่อย เราเลยคิดเป็นภาพขึ้นมาว่า เราไปนั่งอยู่ริมทะเล กระโดดลงไปเล่นในน้ำ ภาพในฝันเลย อยากออกไปพักผ่อนแบบนั้น แต่ข้างในเราคือจะตายอยู่แล้ว เรากำลังหนีอะไรอยู่สักอย่าง

download-4

สถานที่ที่คิดง่ายที่สุดคือทะเล ตอนนั้นมีทั้งไปคนเดียว ไปกับแม่ กับเพื่อน ซึ่งถ้าทะเลมันเป็นวิธีการหนีที่เวิร์คจริงมันไม่ต้องไปหลายรอบหรอก มันเลยพิสูจน์เราว่า การหนีแบบนี้มันไม่เวิร์ก กลับมาเลยสรุปได้ว่าเราหนีปัญหาไปที่ไหนสักที่หนึ่ง เหมือนแค่พาตัวเองออกจากปัญหาไปได้ไม่นาน เพราะ ถ้าปัญหามันยังอยู่ตรงนั้น บางทีเราไปไหนมันก็จะตามเราไปด้วย ไม่มีทางหนีไปได้เลย วิธีที่ดีที่สุดคือกลับมามองมัน อยู่กับมัน แล้วแก้ไขมันต่างหาก

Like someone told,
One day you’ll be living alone.
But is this too much for me?

จากปัญหาส่วนตัวที่เป็นต้นทุนสำคัญในการแต่งเนื้อเพลงนี้ เมื่อเวลาผ่านไปวงดนตรีย่อมต้องเติบโตขึ้นตามทัศนคติและมุมมองต่อการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เนื้อเพลงของวงเริ่มเปลี่ยนจากเรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องส่วนรวมมากขึ้น “พอกลับไปดูเนื้อเพลงเก่า ๆ เรารู้สึกว่าเป็นเด็กคนนึงที่ออกมาโวยวายว่าไม่พอใจกับชีวิตเลย ตอนนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว เลยพยายามเขียนเพลงที่ทุกคนรู้สึกเหมือนกัน จากเพลงพูดถึงเรื่องส่วนตัว เหมือนกับว่าเรามองความสัมพันธ์กับคน เราสื่อออกมาด้านเดียวคือด้านเรา แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เลยปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้าง เมื่อก่อนคือถ้าไม่ใช่เรื่องงานก็ไม่คุย แต่ก็เริ่มพยายามสังเกตเรื่องรอบตัวมากขึ้น เช่น การดูข่าวบันเทิง รู้บ้างก็ได้นะ (หัวเราะ)

เพลงภาษาอังกฤษแต่งไม่ยาก

“เท่าที่สังเกตมา เวลาเขียนเพลง หลายคนใช้วิธีเดียวกันคือทำเมโลดี้ก่อน แต่งทำนอง แล้วก็ร้องเป็นภาษาต่างดาวก่อน และภาษาต่างดาวนั้นเองแหละ ที่มันคล้ายกับภาษาอังกฤษมากกว่า ดังนั้นพอเราคิดเนื้อเพลงเป็นภาษาอังกฤษมันเลยง่ายกว่า”

แต่เมื่อตัวผู้เขียนได้ถามว่า ทำไม Abuse The Youth ถึงเริ่มต้นด้วยภาษาสากลตลอดกว่า 20 เพลงที่ถูกเขียนขึ้นมา มิกให้คำตอบว่า “เพราะเราฟังเพลงไทยครั้งสุดท้ายคือ ม.3 เพราะฟังตามเพื่อน หลังจากนั้นเราฟังเพลงฝรั่งตลอด ไม่ฟังตามเพื่อนแล้วแต่ฟังตามหนังสือ  เวลาที่เราคิดเนื้อเพลงออกมาก็เลยทำให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษมาโดยตลอด”

ตลอดระยะเวลาที่ได้คุยกันกับมิก เราเห็นวิธีการถ่ายทอดเเรื่องราวป็นตัวหนังสือในสมุดโน้ตเล่มหนาหลายหน้า หัวมุมกระดาษมีการระบุสถานที่ไว้ทุกครั้ง ซึ่งส่วนมากคือร้านกาแฟ กระบวนการเขียนเพลงของ Abuse The Youth คล้ายกับการเขียนเพื่อระบายความรู้สึกออกมาก่อน เป็นชุดประโยค ที่บางประโยคในหนึ่งหน้าก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์ แต่เมื่อทำนองพร้อม ตัวหนังสือเหล่านี้จะถูกเรียงขึ้นใหม่เป็นเนื้อเพลงและถูกถ่ายทอดถึงคนฟังได้อย่างสมบูรณ์และนี่คือเรื่องราวของเพลง “Way Out”ของ Abuse The Youth

ถ้าปัญหามันยังอยู่ตรงนั้น บางทีเราไปไหนมันก็จะตามเราไปด้วย ไม่มีทางหนีไปได้เลย วิธีที่ดีที่สุดคือกลับมามองมัน อยู่กับมัน แล้วแก้ไขมันต่างหาก

 

Facebook Comments

Next: