Article Guru

สหภาพดนตรี: สหภาพดนตรีแห่งประเทศไทย เป็นจริงได้ไหม? ตอนที่ 2

  • Writer: Piyapong Muenprasertdee and Kamolkarn Kosolkarn

จากในตอนที่ 1 เราได้กล่าวแนะนำคร่าวๆเกี่ยวกับสหภาพนักดนตรีของต่างประเทศ รวมทั้งสมาคม สโมสร และชมรมนักดนตรีของประเทศไทย ในตอนที่ 2 นี้ เราอยากจะวิเคราะห์เจาะลึก ว่าการจัดตั้งสหภาพดนตรีสำหรับประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้ และจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การก่อตั้งสหภาพในประเทศไทย ทำได้อย่างไร?

จริงๆแล้ว คำว่า ‘สหภาพ’ ที่ถูกต้องนั้น ต้องมีคำว่า ‘แรงงาน’ ด้วย รวมเป็น ‘สหภาพแรงงาน’

4-1

ตามกฎหมาย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หมวด 7 ในการที่จะตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาใหม่นั้น ต้องมีกฏเกณฑ์มากมายเลยทีเดียว ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็พบว่ามีข้อความที่น่าสนใจอยู่หลายประการ เช่น มาตรา 88 กล่าวว่า ผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า House Union หรือเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน โดยไม่คำนึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Industrial Union ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระดับตามมาตรา 95 คือ สหภาพแรงงานระดับพนักงานลูกจ้างธรรมดา และสหภาพแรงงานระดับผู้บังคับบัญชา ซึ่งสมาชิกของระดับหนึ่งจะเป็นสมาชิกของอีกระดับหนึ่งไม่ได้ (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง) นอกจากนี้ มาตราแรกในกฎหมายหมวดนี้ คือ มาตรา 86 ระบุว่า สหภาพแรงงาน ต้องมีวัตถุที่ประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน

จากการพยายามตีความข้อกฎหมายนี้ ผู้เขียนรู้สึกว่าการก่อตั้งสหภาพแรงงานนั้นเป็นเรื่องของ “ลูกจ้าง” และ “นายจ้าง” ซึ่งน่าจะเป็นลักษณะของงานประจำเท่านั้น และจากการพยายามศึกษาเพิ่มเติม ก็ไม่พบสหภาพแรงงานของบุคลากรที่มีอาชีพ “อิสระ” หรือลูกจ้างแบบไม่ประจำเลย ซึ่งในอุตสาหกรรมดนตรีนั้นมีสัดส่วนของบุคลากรที่จัดอยู่ในจำพวกอาชีพอิสระอยู่ไม่น้อยเลย

แล้วหากกลุ่มของผู้ทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีจะรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของตนเอง จะต้องทำอย่างไรล่ะ?

สหภาพ สหกรณ์ สหพันธ์ สมาคม สโมสร ชมรม แบบไหนถึงจะดีสำหรับวงการดนตรีของประเทศไทย?

สหภาพ อย่างที่เขียนไปแล้วในย่อหัวข้อที่แล้ว ว่าคงจะเป็นไปไม่ได้เนื่องด้วยข้อกฎหมาย ส่วนสหกรณ์ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้เช่นกัน เพราะว่าสหกรณ์เป็นการรวมตัวเพื่อดำเนินการในลักษณะวิสาหกิจ (อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wiki/สหกรณ์) ซึ่งคงไม่เหมาะกับสิ่งที่บุคลากรในวงการดนตรีต้องการ สำหรับในส่วนของสหพันธ์ คือเป็นการรวมตัวของสหภาพแรงงานตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง) เพราะฉะนั้นด้วยความหมายแล้วจึงไม่ใช่อีกเช่นกัน

4-2

ชมรม ก็คือการรวมกลุ่มคนที่สนใจสิ่งเดียวกันหรือคล้ายๆกัน ไม่ต้องจดทะเบียน ส่วนสโมสร ก็คือสถานที่ที่รวมตัวกันของกลุ่มคน อาจเป็นสโมสรของชมรมหรือของสมาคมก็ได้ อาจตั้งเป็นอิสระ มีสมาชิกของตนเอง ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง) แต่เนื่องด้วยเพราะไม่ต้องจดทะเบียน จึงดูไม่ค่อยมีอำนาจในการต่อรองกับองค์กรหรือบริษัทต่างๆมากนัก ยกเว้นเสียแต่ว่าจะมีผู้นำที่แข็งแรง และสมาชิกที่มีความสามารถและสามัคคีเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ควรที่จะทำการให้เป็นทางการได้ และจดทะเบียนเป็นสมาคม

ลักษณะของสมาคม น่าจะเป็นรูปแบบที่เหมาะที่สุดสำหรับการรวมตัวของบุคลากรในวงการดนตรี เพื่อก่อเกิดประโยชน์ร่วมกัน เพราะโดยนิยามแล้ว สมาคมเป็นการรวมตัวของกลุ่มบุคคลเพื่อกระทำการใดๆเป็นการต่อเนื่อง ที่มีวัตถุประสงค์การบริหารงานเพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลัก (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง) โดยต้องมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งก็ได้เคยมีการจัดตั้งสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปแล้ว แต่ก็ดูไม่ค่อยมีบทบาทในวงการดนตรีอิสระปัจจุบันสักเท่าไร ดังที่เขียนไปแล้วในตอนที่ 1

สมาคมดนตรีฯ ควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง?

ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่ทางสมาคมดนตรีฯควรปรับปรุงเป็นอย่างแรกเลยก็คือ ควรมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสมาคมให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักมากกว่านี้ อีกทั้งควรมีการเชิญชวนให้มีคนรุ่นใหม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับสมาคมมากยิ่งขึ้น จากนั้นก็ต้องปรับปรุงวิธีการบริหารให้ทันสมัย เท่าทันเทคโนโลยี และการทำงานในวงการดนตรีในปัจจุบัน เหมือนอย่างที่ AFM ใช้โซเชียล มีเดียในการประชาสัมพันธ์ สื่อสารเนื้อหาที่ทางสหพันธ์ต้องการบอก อย่างเช่นในเฟซบุ้คหรือทวิตเตอร์ของ AFM ที่มีการอัพเดตกิจกรรมที่น่าสนใจ ข้อมูลที่เป็นความรู้สำหรับนักดนตรี หรือช่องทางในยูทูปที่มีการอัปโหลดคลิปเหตุการณ์สำคัญ เช่น การเสนอข้อเรียกร้องด้านแรงงาน เพื่อเป็นการอัพเดตความเคลื่อนไหวในการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคตต่อไป

4-3

สมาคมดนตรีฯ ควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง?

ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่ทางสมาคมดนตรีฯควรปรับปรุงเป็นอย่างแรกเลยก็คือ ควรมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสมาคมให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักมากกว่านี้ อีกทั้งควรมีการเชิญชวนให้มีคนรุ่นใหม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับสมาคมมากยิ่งขึ้น จากนั้นก็ต้องปรับปรุงวิธีการบริหารให้ทันสมัย เท่าทันเทคโนโลยี และการทำงานในวงการดนตรีในปัจจุบัน เหมือนอย่างที่ AFM ใช้โซเชียล มีเดียในการประชาสัมพันธ์ สื่อสารเนื้อหาที่ทางสหพันธ์ต้องการบอก อย่างเช่นในเฟซบุ้คหรือทวิตเตอร์ของ AFM ที่มีการอัพเดตกิจกรรมที่น่าสนใจ ข้อมูลที่เป็นความรู้สำหรับนักดนตรี หรือช่องทางในยูทูปที่มีการอัปโหลดคลิปเหตุการณ์สำคัญ เช่น การเสนอข้อเรียกร้องด้านแรงงาน เพื่อเป็นการอัพเดตความเคลื่อนไหวในการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคตต่อไป

สมาคมดนตรีฯ ในอุดมคติ ควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

สมาชิกในสมาคมควรต้องประกอบไปด้วยสมาชิกจากทุกสายงานในอุตสาหกรรมดนตรี ไม่ว่าจะเป็นนักดนตรี นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง ศิลปิน ทั้งที่เป็นลูกจ้างและทำงานอิสระ ค่ายเพลง เจ้าของสถานบันเทิง โปรโมเตอร์จัดงาน ผู้จัดการศิลปิน นักการตลาด กราฟฟิกดีไซน์ เจ้าของโรงงานผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ นอกจากนี้ก็ควรมีกรรมการที่เป็นตัวแทนจากทุกกลุ่มอาชีพอีกด้วย

หน้าที่ของสมาคมฯ นอกจากให้บริการคำปรึกษาทางกฎหมายแล้ว ก็ควรที่จะเป็นตัวแทนในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างสมาชิกกับผู้ว่าจ้าง บริษัท หรือองค์กรต่างๆ ที่อาจเอาเปรียบสมาชิก รวมทั้งเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่างๆให้กับสมาชิกอีกด้วย

การบริการให้การศึกษาก็เป็นเรื่องสำคัญ สมาคมฯจึงควรมีการจัดงานสัมมนาและเวิร์คช็อปให้ความรู้ในทุกๆเรื่องที่จำเป็นสำหรับสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพโดยตรง หรือความรู้เสริมที่จะช่วยให้สมาชิกสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบริการให้คำปรึกษาการบริหารเงินแก่สมาชิก เพื่อช่วยทำให้สมาชิกมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงมากขึ้น นอกจากนี้ ก็ควรจะจัดทำสื่อการศึกษาแบบออนไลน์ให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่าย และการมีสาขาตามหัวเมืองในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มสมาชิกและองค์กรอิสระอื่นๆของแต่ละท้องที่ เช่น สมาคม นักดนตรี นักร้อง นักแสดง เชียงใหม่ หรือ CMSAA (Chiang Mai Musician Singers Actors Assiociation ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาวงการดนตรีได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

องค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับดนตรีของประเทศไทย

จริงๆแล้ว ประเทศไทยมีองค์กรที่ดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมดนตรีอยู่บ้างแล้ว แต่อาจไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก ซึ่งมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด – Music Copyright (Thailand) Co., Ltd.

4-4

เรียกย่อๆว่า MCT เป็นองค์กรของนักแต่งเพลงไทย ที่มีเป้าหมายเพื่อพิทักษ์ ผลประโยชน์ทางลิขสิทธิ์รวมทั้งสนับสนุนให้นักแต่งเพลงสามารถดูแลและบริหารสิทธิ ในงานสร้างสรรค์ของตนได้ โดยบริษัทจะดูแลเฉพาะงานลิขสิทธิ์ประเภทงานดนตรีกรรม อันได้แก่ งานทำนองซึ่งอาจมีหรือไม่มีคำร้องเท่านั้น ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2537 หลังจากที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของไทยมีผลบังคับใช้ โดยดำเนินการบริหารจัดการค่าสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน คือ การเปิดเพลงหรือการเล่นดนตรี การแสดงดนตรีให้แก่สาธารณชนรับฟังอันเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของผู้ประกอบการ ให้กับสมาชิกนักแต่งเพลงผู้เป็นเจ้าของงานดนตรีกรรม (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง)

สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย – Thai Entertainment Content Trade Association

เรียกย่อๆว่า TECA ได้เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างบริษัทที่ประกอบกิจการ เกี่ยวกับธุรกิจบันเทิงของไทยและต่างประเทศ เริ่มดำเนินงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 มีสมาชิกค่ายเพลงสากลและเพลงไทยรวมหลายบริษัทด้วยกัน โดยมีบทบาทในการแสวงหากิจกรรม

 

ในรูปแบบต่างๆเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจของมวลสมาชิกให้เกิดการพัฒนา และการสร้างสรรค์งานใหม่ๆออกสู่สังคม ยกตัวอย่างเช่น การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดบทบัญญัติกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้สมาคมฯ ยังเป็นตัวแทนของสมาชิกในการร้องเรียนเพื่อรักษาผลประโยชน์และร่วมเจรจาในการดำเนินการทางนิติบัญญัติด้วย (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง)4-5

สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย – Thai Entertainment Content Trade Association

เรียกย่อๆว่า TECA ได้เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างบริษัทที่ประกอบกิจการ

เกี่ยวกับธุรกิจบันเทิงของไทยและต่างประเทศ เริ่มดำเนินงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 มีสมาชิกค่ายเพลงสากลและเพลงไทยรวมหลายบริษัทด้วยกัน โดยมีบทบาทในการแสวงหากิจกรรม

ในรูปแบบต่างๆเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจของมวลสมาชิกให้เกิดการพัฒนา และการสร้างสรรค์งานใหม่ๆออกสู่สังคม ยกตัวอย่างเช่น การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดบทบัญญัติกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์โดย อาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้สมาคมฯ ยังเป็นตัวแทนของสมาชิกในการร้องเรียน เพื่อรักษาผลประโยชน์และร่วมเจรจาในการดำเนินการทางนิติบัญญัติด้วย (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง)

บริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงต่างๆ

ซึ่งในตอนนี้มีอยู่ 21 บริษัทด้วยกัน เช่น บริษัท เอ็มพีซี มิวสิค จำกัด, บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นต้น  ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บค่าใช้งานเพลงที่เปิดในสถานประกอบการต่างๆ ทั้งเพลงไทยและต่างประเทศ รวมรายการเพลงมากกว่า 5.6 ล้านเพลงด้วยกัน (ลิงก์สู่แหล่งอ้างอิง)

4-6

ถ้าไม่รวมตัวกัน ก็คงไม่มีวันพัฒนา

แม้ตอนนี้ประเทศไทยจะมีสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยฯอยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ข้างต้น ว่าหากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และเชิญชวนให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม บุคลากรในวงการดนตรีของประเทศไทยก็จะไม่มีวันได้รับสิทธิประโยชน์ เฉกเช่นในต่างประเทศที่มีสหภาพนักดนตรีและแรงงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมดนตรี ผู้เขียนจึงอยากชักชวนให้ทุกๆคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับดนตรี ให้เริ่มคุยกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น อ่านข้อมูลให้มากขึ้น และพบปะกันมากขึ้น เพื่อที่จะได้เรียนรู้ปัญหาและร่วมกันหาทางออกให้กับวงการ แม้จะไม่มีการจัดตั้งจดทะเบียนเป็นองค์กรอะไรอย่างเป็นทางการก็ตาม


ฟังใจเองก็เป็นองค์กรเล็ก ๆ ที่พยายามเป็นแหล่งพบปะพูดคุยและสื่อสารระหว่างคนดนตรี ซึ่งอาจยังมีสมาชิกหรือคนรู้จักไม่มากนัก แต่ก็หวังว่าเสียงเล็กๆของเราจะได้ถูกนำไปพูดต่อ ๆ กัน และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้นโปรดติดตามต่อไปครับ

Facebook Comments

Next:


Piyapong Meunprasertdee

นักวิชาการอุตสาหกรรมดนตรี รักแมว รักโลก เคยทำงานเป็นนักวิชาการที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก (Sustainability & Climate Change) เคยมีวงอินดี้แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และจากการที่ไปทำงานในบริษัทเกี่ยวกับดนตรีอินดี้ที่อเมริกา ก็เลยมีความคิดอยากมีส่วนช่วยพัฒนาวงการดนตรีไทยให้มีความแข็งแรงและยั่งยืนยิ่งขึ้น