Article Interview

ป๊อปดูโอ้ ‘Fellow Fellow’ กับซิงเกิ้ลต้อนรับการกลับมาที่ทำให้เรา ‘แพ้ทุกที’

  • Writer: Montipa Virojpan
  • Photographer: BEC Tero Music

หลังจากปล่อยอัลบั้มเต็มชุดแรก Nerd Eye View ไปเมื่อปีที่แล้ว ศิลปินป๊อป Fellow Fellow ก็กลับมาอีกครั้งพร้อมกับเพลงล่าสุด แพ้ทุกที ที่ยังคงเป็นเพลงติดหู แต่เพิ่มมาด้วยสีสันดนตรีที่สดใหม่ มีกรูฟที่กระฉับกระเฉงชวนโยกมากขึ้น ซึ่งเราคงได้มีโอกาสฟังกันไปบ้างแล้ว แต่อยากบอกว่าความพิเศษนอกจากที่เพลงจะดูโตขึ้นและติดกลิ่น nu disco เพิ่มเข้ามา ก็มี แทน Lipta มารับหน้าที่โปรดิวซ์ พร้อมด้วยทีมงานเบื้องหลังที่เป็นศิลปินมากฝีมืออีกหลายคน ซึ่งถ้าเราได้อ่านชื่อแล้วจะต้องตื่นเต้นอยากฟังเพลงต่อ ไปของพวกเขาอย่างแน่นอน

สมาชิก
ข้าวปณิธิ เลิศอุดมธนา (ร้องนำ)
ทีพิษณุ หทัยพัธลักษณ์ (กีตาร์)

ในชุดนี้ตั้งใจให้แนวเพลงเปลี่ยนไปจากอัลบั้มแรกยังไงบ้าง

ที: แนวเพลงที่เราวางไว้ในอัลบั้มแรกคือโซลป๊อป แต่ตอนนี้ด้วยความที่ยุคสมัยเปลี่ยนไปเราก็เริ่มที่จะหยิบความสมัยใหม่มาใส่ในเพลงเรา ทั้งวิธีการทำงาน และวิธีการเขียนเพลง คือเมื่อก่อนเราจะใช้เครื่องดนตรีจริงแทบจะทั้งหมดในทุกเพลงที่เราทำ เน้นสัดส่วนที่มันจะดูเต็มในแบบของมัน แต่พอเรามาวิเคราะห์เครื่องดนตรีในยุคนี้แล้ว ทุกคนจะเริ่มใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก เครื่องสังเคราะห์อะไรมากขึ้น มันก็มินิมัลด้วยเพราะเครื่องดนตรีจะไม่ได้เยอะเท่าอัลบั้มที่แล้ว แต่ใช้อย่างมีความหมายมากขึ้น เมโลดี้บางตัวที่ฟังแล้วฝังเข้าไปในหัวเลย

เพราะยุคนี้เป็นยุคซินธ์ป๊อปหรอ

ที: จริง ก็มองได้ทั้งสองอย่างนะครับ แนว retro ที่กลับมาตอนนี้ก็เป็นเทรนด์อย่างนึง แต่มันก็ยังเป็น retro ที่มี element ที่ร่วมสมัยมากกว่าด้วยซาวด์ เพราะเทคโนโลยีสมัยนั้นก็ยังไม่สามารถทำซาวด์แบบที่เป็นสมัยนี้ได้

ตอนเปลี่ยนจากอะคูสติกมาเป็นอิเล็กทรอนิกเจออุปสรรคอะไรไหม

ที: มันก็ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ ถ้ามีปัญหาก็มีในเรื่องพาร์ตทีที่เมื่อก่อนทีจะคุ้นชินกับเครื่องดนตรีที่เป็นอะคูสติกมากกว่า (แทน: ตอนนี้ทีใช้สตางค์แก้ปัญหาอยู่ครับ) ใช้เงินไปซื้อของอะไรบางอย่างมาเล่นให้ตัวเองรู้ แล้วหลังจากนี้เวลาไปแจมกับคนอื่นเพื่อแสดงสดเราจะได้บอกเขาได้ว่าเฮ้ย ทำตรงนี้ (ข้าว: ด้วยความที่มันเป็นอิเล็กทรอนิกก็ต้องมีอุปกรณ์มากขึ้น) เราก็ไม่ค่อยคุ้นด้วย ซึ่งตอนนั้นเราไม่น่าจะมาชอบดนตรีประมาณอย่างนี้ คือมีใช้เป็นส่วนประกอบในดนตรีของเราแต่ไม่ได้มีใช้เป็นส่วนหลัก พอมันปรับมาใช้เป็นส่วนหลักแล้วเราต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้กับมันเพิ่มขึ้น แต่อันที่จริงมันไม่ได้มีอะไรครับ มันเป็นเรื่องซาวด์ดีไซน์เฉย

อัลบั้มชุดใหม่ไปถึงไหนแล้ว

ข้าว: ตอนนี้อัดเสร็จหมดแล้วครับ เหลือขั้นตอนท้าย ใกล้จะ 100% ละครับ

ที: ทั้งอัลบั้มเราก็ยังเวิร์กกันอยู่ ชื่ออัลบั้มเรายังไม่คิดถึงตรงนั้นเลยครับ ชื่อเพลงแรกยังคิดได้ไม่กี่วันก่อนโปรโมตเลย (หัวเราะ) ทั้งหมดมี 8 เพลงครับ

ยังยืนพื้นกับการเป็นเพลงรัก

ที: เราเป็นวงที่ทำเพลงเพื่อตอบสนองมู้ดของสิ่งที่เรานำเสนอ คือมันไม่จำเป็นว่าเราต้องเป็นแนวเพลงอะไร แต่ทุกเพลงที่เราทำ เราโฟกัสในการถ่ายทอดมุมมองของพวกเรา อาจจะเป็นมุมมองที่คนอื่นไม่ค่อยจับต้องมากนัก จะดูเป็นคนเนิร์ด แหละครับ ซึ่งในเนื้อเพลงก็อาจจะสัมผัสได้ถึงความเนิร์ด ความน้อยใจตัวเองนิดนึง ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าต่อจากนี้อีกห้าปีเราจะเป็นเพลงแบบไหน ตอนนั้นจะเล่าเรื่องอะไรก็ยังไม่รู้ แต่ตอนนี้เราเล่าเรื่องแบบนี้ แล้วยุคสมัยนี้มีซาวด์แบบนี้ เราก็อยากจะทำซาวด์แบบนี้

ข้าว: ขอใช้คำว่าเติบโต คือ Fellow Fellow ก็เหมือนจะเป็นวงหน้าใหม่ แต่อยู่ในวงการมา 5-6 ปีแล้ว เราลองผิดลองถูกและผ่านอะไรมาเยอะเหมือนกัน และรู้สึกว่าการออกเพลงรอบนี้มันจะแสดงความเติบโตที่แท้จริงของวงขึ้นมา

ทำไมถึงเลือกปล่อยเพลงนี้ก่อน

ที: ก่อนหน้าที่เราจะเลือกสองเพลงนี้เราเขียนเพลงกันมาประมาณ 5-6 เพลงครับ แต่สองเพลงนี้เป็นอะไรที่แปลกใหม่สำหรับ Fellow Fellow มากที่สุด ด้วยความที่ว่าเราหายกันไปประมาณปีกว่า ไม่ได้ปล่อยเพลงใหม่เลย ก็เลยคิดว่าควรจะทำอะไรใหม่ ซาวด์ใหม่ วิธีการเล่าเรื่องก็ค่อนข้างจะใหม่ ก็กะจะปล่อยเพลง แพ้ทุกที ต่อด้วยอีกเพลงเร็ว นี้ เพราะคิดว่าถ้าปล่อยมาเพลงเดียวคนที่ติดตามเรามาตั้งแต่แรกอาจจะงงที่เราเปลี่ยนทิศกันขนาดนี้ เลยปล่อยสองเพลงเพื่อให้ซึมซับ direction ใหม่ที่เราจะไป แต่จริง ก็ไม่ได้เปลี่ยนอะไรขนาดนั้นเพราะว่าเนื้อหามันก็ยังเนิร์ดอยู่

ข้าว: ผมว่ามันตามอายุมากกว่า ตั้งแต่เพลงแรก Fellow Fellow ก็ 5-6 ปีแล้วครับ การเขียนเพลงอะไรต่าง ก็เติบโตไปตามวัย ก็จะเป็นเพลงที่ไม่ได้เข้มข้นรุนแรงมาก แต่ว่าฟังแล้วจะรู้ได้ว่าเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ด้วยภาษา เนื้อหา การเล่า อย่างเพลงแรก อย่าใช้ความเงียบมาคุยกัน เพลงมันจะแนวกุ๊กกิ๊กวัยรุ่นหน่อย แต่เพลงนี้มันจะเป็นความรักที่ผู้ใหญ่ก็เข้าถึงได้ ฟังได้ทั้งผู้ใหญ่ วัยรุ่น

ใช้เวลาทำกันนานไหม

ที: ตั้งแต่เริ่มเพลงนี้จริง ก็ไม่ได้นานมาก ประมาณสามเดือน process รวม น่าจะครึ่งปี แต่ถ้านับรอบแรกที่ไปงมกันตั้งแต่เริ่มโครงที่บ้านพี่แทนก็คือปีนึงเลย

ข้าว: ตอนแรกที่เหมือนเขียนเพลงส่งกันแล้วไม่ผ่านมันก็เหมือนกัน การบ่มเพาะเหมือนทำให้โปรดิวเซอร์กับศิลปินเข้าใจกันมากขึ้นว่ากำลังหาอะไรอยู่ แล้วก็มาคิดได้ตอนท้ายว่า ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมามันไร้ความหมาย ทุกอย่างมันก็บ่มเพาะมาเรื่อย จนเป็นเพลงนี้ แล้วมันใช่จริง

เปลี่ยนวิธีเขียนเพลง

ที: หลัก Fellow Fellow อัลบั้มที่แล้วข้าวจะดูเรื่องเนื้อร้อง ผมจะดูเรื่องดนตรี แต่รอบนี้เรามานั่งคุยกันใหม่ ถกกับโปรดิวเซอร์ด้วย ทำพร้อมกันสามคน ทุก process ที่ขึ้นมาเราอยู่ด้วยกันหมด หาจุดที่เป็นกึ่งกลางของทุกคน เหมือนเราพยายามเล่าเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ กับเมื่อก่อนเราจะเขียนเพลงโดยใช้คอร์ดทางโซล ในเพลงนึงเราจะใช้ 8 คอร์ด ทุกวันนี้เราจะเหลือประมาณ 4-6

ข้าว: ลองมา brainstorm ดูมันก็ได้อะไรแปลกใหม่กว่าการที่ผมเขียนเพลงคนเดียว จะลองเอาความคิดของทีหรือพี่แทนมา ถ้าเราคนเดียวคงไม่สามารถเขียนอะไรแบบนี้ได้

ที: แล้วพี่แทนมีประสบการณ์มากกว่าเรา แล้วด้วยอายุไม่ได้ห่างกันเยอะมาก เลยทำให้เราคุยกันแล้วเหมือนคลิกกัน เวลาปรึกษากันก็เข้าใจกันง่าย 

แทน: เหมือนผมอยากสร้างความเชื่อใหม่ ในเพลงของ Fellow Fellow หรือซาวด์ใหม่ เพราะมันจะไปถึงวิธีการแต่งตัว อาร์ตเวิร์กปก มันจะใหม่หมดเลย ตอนนั้นบอกคนทำปกว่าอยากให้สองคนนี้เป็น minimal/ stylish nerdies คือมีความเนิร์ด เก๋ ไม่เยอะ ซึ่งผมรู้สึกว่าสองคนนี้เป็นอย่างนั้นหลังจากที่รู้จักกันมา สองคนนี้เขาจะมีมุมของเขาแหละ แล้วดันหน้าตาคล้าย กัน ทรงผม ไซส์ตัว มันไม่ได้เป็นพี่น้องกันด้วยนะ เป็นเพื่อนกัน คนชอบแยกไม่ออก ก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นจุดเด่น ตอนแรกเคยบอกผู้กำกับ mv ให้หาคนที่หน้าคล้ายสองคนนี้มา แต่สุดท้ายเขาไปได้อีกคน 

ที่มาของเพลง แพ้ทุกที (Looper)

ที: ด้วยวิธีทำงานกันตอนอัลบั้มที่แล้วเราเริ่มจากเนื้อเพลงเป็นหลัก แต่อันนี้เราเริ่มจากเมโลดี้ก่อน เราก็ brainstorm คิดขึ้นมากับพี่แทน นั่งฟังเมโลดี้กันประมาณสัปดาห์นึง แล้วเรามานั่งคุยกันต่อว่าเมโลดี้จะพาเราไปทางไหน เลยได้เรื่องราวต่าง มาจากทำนอง

ข้าว: นั่นล่ะครับ จากที่เวิร์กกันมาเป็นเดือน แต่งกันมาหลายเพลง ไม่รอดเลย จนสุดท้ายลองแบบ อะ เราไม่มีอะไรในหัว ลองมาเจอกัน มาทำกัน มันได้ของเฉยเลย อาจจะเป็นความผสมผสานการทำงานร่วมกันที่มันได้สิ่งที่แปลกใหม่

แทน: เหมือนเพลงนี้ Fellow Fellow อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงเพื่อขึ้นอัลบั้มใหม่ ซึ่งแต่ก่อนการทำงานก็เป็นอีกแบบนึง ชุดแรกอะดี เพลงเพราะ แต่ว่าขาดความวัยรุ่นบางอย่าง มันเรื่อย ไปหน่อย เหมาะเป็น easy listening พอผมได้รู้จักข้าว แล้วมารู้จักกับที ก็รู้สึกว่าวงต้องวัยรุ่นขึ้น ก็เลยให้ข้าวกับทีลองแต่งเพลงมาเรื่อย เกือบสองเดือนแล้วเอาเพลงมาแก้กันดู ก็ยังไม่ได้อีก จนวันนึงที่อยู่ดี ลองทำงานแบบใหม่ เหมือนผมขึ้นโครงอะไรบางอย่างแล้วข้าวมาเติม ทีกับข้าวมาเขียนเนื้อตอนสุดท้าย ปรากฏว่าเพลงที่ได้ก็เป็นซาวด์ใหม่ของ Fellow Fellow ที่มันดีมาก พอได้โครงมา 3-4 เพลงก็คุยกัน ทุกคนชอบ แฮปปี้ เพลงแรกที่ตอนนี้ชื่อว่า แพ้ทุกที จำได้ว่าไปเขียนกันที่บ้านข้าว ประโยคแรกผมอยากได้อันที่พอขึ้นมาแล้วต้องตบโต๊ะ (ข้าว: แล้วเราก็อยู่กับประโยคแรกเป็นเดือน) เป็นคำว่าต้องทำยังไงให้เธอนั้นมองมาที่ฉัน ต้องพยายามแค่ไหนให้เธอนั้นมาสนใจจบประโยคนี้ปุ๊บ นั่งอยู่บ้านข้าว 5 ชั่วโมง คิดไม่ออก จนวันนึงมา revise กันใหม่ รู้สึกว่าอยากได้เพลงที่มีความ loser เบา ที่วนลูปกับอะไรสักอย่าง ก็จนได้เพลงนี้มา ผู้กำกับ mv ก็บอกว่าเพลงนี้ฟังแล้วมันเหมือนถูกผู้หญิงเลี้ยงไข้ เป็นของตายของเขา เพลงนี้แต่ก่อนชื่อแชมป์เก่าเพราะแต่ก่อนมันชนะ วันนี้มันแพ้แล้วเพราะมาเจอผู้หญิงคนนี้ แล้วทีนี้ก็เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น แพ้ทุกที

ข้าว: สตอรี่มันไม่ใช่เรื่องเศร้ามากหรือเศร้าสุด มันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ มันเหมือนตลกร้ายในชีวิต การที่ไปรักคนที่เขาไม่รักเรา เราก็รู้อยู่แล้ว บางคนเขาก็หาว่าเราโง่ที่ไปรักเขา เราไม่ได้โง่ แต่ว่าเราพร้อมที่จะเป็นคนโง่เอง เพราะเรารักเขา บางคนรู้ทฤษฎีพวกนี้ดีว่าเขาไม่รักเรา เราก็อย่าไปรักเขา แต่พอเจอเองมันทำไม่ได้ ผมว่าทุกคนบนโลกเจอเรื่องนี้หมด ต่อให้จะแข็งแรงขนาดไหน

เพลงนี้ตั้งใจทำให้ดนตรีเป็นลูปตามชื่อเพลง

แทน: ไม่ตั้งใจแต่เหมือนตั้งใจ ข้าวเพิ่งเขียนมาว่า การที่เราแพ้ใครสักคน หรือมีอารมณ์แบบ แพ้ทุกที มันเหมือนการวนลูปกับคนคนนึงไม่ว่าเขาจะทำไม่ดีกับเรา แต่เรารักไปแล้ว โดนเขาเลี้ยงไข้ เราก็จะวนลูปความแพ้เราไปเรื่อย

เนื้อหาเพลงเป็นประสบการณ์ตรงหรือเปล่า

ข้าว: ผมว่าเป็นเนื้อหาที่สามารถเจอกันได้ทุกคนแหละในช่วงชีวิต ส่วนเพลงที่สอง Followers ที่กำลังจะปล่อย เป็นประสบการณ์ร่วม (หัวเราะอันนี้เป็นตั้งแต่เราเริ่มแต่งเพลงเลย คือเรามาคุยกับพี่แทนครับว่า เรามาเริ่มอะไรง่าย ไหม อาจจะเป็นคอร์ดวนหรืออะไรที่จำง่ายดู มีจังหวะที่สนุกสนานขึ้นมา ก็คิดตามไหลกันไปเรื่อย ลองทำตามดนตรีก็ออกมาเป็นเพลงเหล่านี้เลย

ที: ที่มาคือเหมือนเปิดอินสตาแกรมเจอผู้หญิงน่ารัก แล้วเราก็นั่งดูกัน เนี่ยแหละ เราเป็นผู้ติดตามของเขา เอาจริงผมก็เคลิ้มไปด้วย เสร็จเร็วกว่าเพลงแรกเยอะมาก (หัวเราะ) ดีไซน์ของเมโลดี้จะสะกดจิตคนฟังมากกว่า เหมือนครั้งแรกฟังฮุคปุ๊บ แล้วรอบถัดไปต้องร้องได้เลย เพราะเมโลดี้มันซ้ำ กัน ให้ความรู้สึกเหมือนดูรูปแล้วแฮปปี้

แทน: ความตลกตอนเขียนเพลง Followers เนื้อเพลงมันจะพูดว่าไม่รู้เลยว่าฉันเป็นอย่างนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่มันก็ถอนใจไม่ได้แล้วท่อนพรีมันจะพูดว่าไม่อาจละสายตาไปได้แล้วแล้วท่อนฮุกมันก็พูดว่าแค่เธอยิ้ม แค่เธอหัวเราะ ก็เปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบผมก็เลยรู้สึกว่ามันก็ตลก หัวเราะกันไปมา ผมก็ฟังเมโลดี้ แล้วคุยกับข้าว เพลงนี้แม่งเหมือนแบบ stalker เลยอะ เราก็คิดว่า เชี่ย มันต้องชื่อ ‘followers’ ดิวะ

ที: มันได้ชื่อเพลงก่อนที่จะเขียนเพลงเสร็จอีก พูดออกมาพร้อมพี่แทนอะ

ข้าว: ผมว่าคำนี้มันชัดมาก

แทน: แล้วไม่จำเป็นต้องมีคำว่า ‘followers’ อยู่ในเพลง แล้วข้าวก็เอาไปเขียนต่อว่า แต่ก่อนมือถือมีแค่ไว้โทร เดี๋ยวนี้มันมีอะไรมากกว่านั้น ไป มา เพลงมันมีการเจริญเติบโต ก็เลยรู้สึกว่า เออ มันเป็นเพลงที่ผมยังฟังอยู่เรื่อย อยู่ในเพลย์ลิสต์เราฟังในรถก็ไม่เบื่อ อันนี้ก็การันตีในใจแล้วว่าเพลงมันโอเค

Fellow Fellow

แทนได้มาทำงานกับ Fellow Fellow แล้วเห็นอะไรในตัวสองคนนี้

แทน: จริง ต้องบอกว่าเวลาเราเลือกจะโปรดิวซ์ใครผมจะใช้เกณฑ์หลักอันนึง ผมจะต้องมีเพลงของเขาในโทรศัพท์ของผมก่อน แล้วตลกมากคือเราเคยคุยกันเล่น ว่า เพลงเฟลโล่วชุดแรกมี 8 เพลง ผมมีเพลงในโทรศัพท์ประมาณ 3-4 เพลง แล้วถามสองคนนี้ชอบเพลงอะไรกันบ้าง มันพูดชื่อสี่เพลงที่มันชอบในโทรศัพท์ผมพอดี อย่างแรกเลยคือเทสต์ตรงกัน

ก่อนจะมาเจอที ผมเจอข้าวก่อนโดยที่ไม่ได้รู้จักอะไรกันมาก่อนเลย แต่เหมือนผมหาคนมาเขียนเพลงด้วย แล้วอยู่ดี shuffle ไปเจอเพลง Fellow Fellow ซึ่งมันมีความป๊อปที่ถ้าผมพูดแบบเห็นภาพง่าย คือมันมีความคล้ายคลึงกับตัวเองอยู่ เขาเข้าใจว่าเพลงป๊อปต้องเขียนยังไง ก็เลยติดต่อกับพี่ที่ BEC Tero Music มาเจอหน้ากันแล้วก็ลองเขียนเพลงกันดู เพลงแรกชื่อ แค่คิดก็ผิด ของ Chilling Sunday ก็รู้สึกว่ามันก็ไปได้ แล้วก็เขียนเพลงให้อีกหลายคนเลย อิ้งค์ วรันธร, โอ๊ต ปราโมทย์, เป๊ก ผลิตโชค จนได้คุยกันว่า วงตัวเองเป็นยังไง เพราะเราก็เป็นแฟนเพลงเขาอยู่ และเห็น potential ว่าทั้งสองคนก็น่าจะทำได้ เลยลองมาเจอกัน

ผมเคยบอกข้าวว่าเวลาเขาร้องเดโม่ให้ผม เขาร้องเพราะชิบหายเลย แต่เวลาผมกลับไปฟังเพลง Fellow Fellow ผมรู้สึกว่าเสน่ห์บางอย่างในเสียงเขายังไม่โผล่ อาจจะด้วยตอนนั้นเขายังมือใหม่หรืออะไรก็ตามแต่ ผมอยากให้เสน่ห์ของเสียงร้องแบบที่เขาร้องให้เดโม่ผมเนี่ย มันออกมาให้คนอื่นได้ยินด้วย แล้วอย่างที่สองคือผมมารู้ว่าทีร้องเพลงเพราะ เป็นวงที่สมาชิกร้องเพลงเพราะทั้งคู่เลย พอได้สองสิ่งนี้มา ถ้าสังเกตดูท่อนฮุคเพลงนี้เขาจะร้องคู่กัน มันเรียกว่าไลน์คู่แปด คือร้องเมโลดี้เหมือนกันแต่ร้องคนละเรนจ์ คนนึงร้องต่ำ อีกคนร้องสูง แต่เสียงขนานกันไป ผมว่าฝรั่งร้องมีอยู่บ้าง บางทีผู้หญิงร้องเสียงสูง ผู้ชายร้องเสียงต่ำ แต่ไม่ค่อยเห็นวงที่เป็นผู้ชายคู่แล้วร้องพร้อมกันคนละโน้ต เลยรู้สึกว่าเพราะดี แล้วเสียงเขาสองคนก็เข้ากันด้วย

คราวนี้ต้องพูดถึงพาร์ตดนตรีนิดนึงว่าได้น้อง ปกป้อง Plastic Plastic มาช่วย ซึ่งเขาเป็นเพื่อนของทีตั้งแต่สมัยเรียน แล้วปกป้องทำเพลงมาเนี่ย มันเกินที่เราคิดกันไว้มาก เหมือน Thomas Alva Edison ไม่ใช่ทำไม่ได้แต่ตอนนั้นยังหาวิธีทำหลอดไฟไม่ได้ จนเขาหาวิธีทำได้ เลยรู้สึกว่า สองเพลงนี้มันมีการเดินทางที่ถ้าฟังอาจจะรู้สึกว่าเป็นเพลงที่ง่ายมาก เลยนะ แต่ผมรู้สึกว่า Fellow Fellow ควรจะเป็นเพลงที่ฟังรอบเดียวเก็ต อย่าไปตีความอะไรมันเยอะ แต่กว่ามันจะมาง่ายขนาดเนี้ย มันผ่านกระบวนการมาเยอะมากจนเจอว่า Fellow Fellow ยุคนี้มันควรเป็นแบบนี้ และเป็นแนวทางให้เพลงต่อ ไปว่าจะเป็นยังไง ผมรู้สึกว่าการมีผม มี Fellow Fellow และมีปกป้อง เป็น combination ที่กลมมาก ขาดไปคนนึงก็ไม่ได้ ต้องขอบคุณปกป้องมาก จริง ก็ไม่ได้รู้จักกับเขามาก่อนเลย ผมเป็นแฟนคลับน้องเพลง

ที: ตอนพี่แทนใส่ชื่อปกป้องมา ผมแบบ เอ้าหรอ (หัวเราะ) ก่อนหน้าที่จะไปหาปกป้องเราก็คุยว่าจะไปหาใครดี สุดท้ายก็มาจบที่ปกป้อง ด้วยอายุ ด้วยรสนิยมต่าง

แทน: ไอ้นี่มันก็ไม่เคยบอกเลยว่ามันเป็นเพื่อนปกป้อง จนวันนึงผมไปฟังเพลงเขา เพิ่งไปดู ‘Girls Don’t Cry’ มา แล้วก็ฟังเพลงหลัง ของพี่แสตมป์ ก็ไปดูว่าใครทำ เห็นชื่อปกป้องมาเรื่อย ก็รู้สึกว่ามันมีความวัยรุ่นอยู่ เป็น generation เดียวกับสองคนนี้ แล้วเขาเป็นคนที่เทสต์เพลงดี Plastic Plastic เนี่ย ถ้าเอามาบวกกันน่าจะดี แล้วก็เหมาะจริง

ที: ตอนแรกเราพยายามคิดกันไว้เยอะมาก พอไปคุยกับปกป้องแล้วทำออกมาในทิศทางที่เราคิดไม่ถึงเลย แต่ก็ลงตัวแล้วก็เข้ากับคาแร็กเตอร์ของวงประมาณนึง เหมือนเราพยายามหา prototype ที่มันเวิร์ก

ข้าว: อย่างตัวผมก็ค่อนข้างตื่นเต้นเหมือนกัน เพราะไม่รู้ว่าถ้าปกป้องทำมันจะเป็นแบบไหน เราก็เคยฟังเพลงเขามาเยอะ แต่ไม่เคยคิดว่าถ้ามาทำ Fellow Fellow จะเป็นยังไง แต่เพลงที่เขาทำมันไม่เหมือนเพลงนี้นะ ก็ตื่นเต้นพอเขาทำออกมา มันคือสิ่งที่เราชอบ เราโอเคกับมัน ทุกคนแฮปปี้

แทน: คนอะเรนจ์เพลงนี้คือคุณปกป้องใช่ไหมครับ อีกสองคนพิเศษที่มาอยู่ในงานเบื้องหลังของ Fellow Fellow คนที่อีดิตเสียงร้องของทีกับข้าวคือพี่โอ้ เสกสรรค์ ผมทำงานกับพี่โอ้อยู่แล้ว ผมรู้ว่าคนที่อีดิตร้องที่ดีได้ต้องเป็นนักร้อง เพลงหลัง ที่ผมโปรดิวซ์ เช่น อิ้งค์ วรันธร, อิมเมจ สุธิตา, หรือ Chilling Sunday เนี่ย ก็จะให้พี่โอ้เป็นคนอีดิตร้อง ส่วนคนที่มิกซ์เพลงนี้คือพี่พีท Blissonic, The Ghost Cat ซึ่ง แน่นอนครับ นี่คือวงที่จะอยู่ในใจของเด็กยุค 2000s หลาย คน ทุกวันนี้ก็มิกซ์เพลงให้หลายคนมาก ตอนนี้เราโปรดิวซ์เพลงอิเล็กทรอนิกเยอะก็รู้สึกว่า Fellow Fellow เหมาะกับพี่พีทมาก

ติดตามผลงานและความเคลื่อนไหวของ Fellow Fellow ได้ที่ Facebook fanpage

Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้