Article Guru

Iranian Revolution ความเรืองรองของดนตรีที่หายไปกว่า 40 ปีหลังการปฏิวัติ

  • Writer: Montipa Virojpan

11 กุมภาพันธ์ 1979 Iranian Revolution หรือการปฏิวัติอิสลาม ได้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์อิหร่านมาจนถึงปัจจุบัน

ระหว่างที่กำลังเรียนวิชาวิจารณ์ภาพยนตร์เมื่อหลายปีก่อน อาจารย์เปิดเรื่อง ‘The Mirror’ (1997) ของ Jafar Panahi ผู้กำกับชาวอิหร่านให้เราได้ดู ซึ่งหนังเรื่องนี้ถูกพูดถึงในหนังอีกเรื่องที่เราเคยดูมาก่อนหน้าแล้วที่ชื่อ ‘This is not a Film’ (2011) ของผู้กำกับคนเดียวกัน หนังทั้งสองทำให้เราเริ่มสนใจประเด็นการจำกัดทางสิทธิเสรีภาพของประชากรอิหร่านที่มีเรื่อยมาตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามในปี 1979

ปี 1941 อิหร่านถูกปกครองโดยกษัตริย์ Shah Mohammad Reza Pahlavi พระองค์พยายามผลักดันให้ชาวอิหร่านรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเพราะเชื่อว่าจะเป็นการนำประเทศไปสู่ความนำสมัยและทำให้เกิดความเสรีนิยมยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นก็ทำให้การสนับสนุนการศึกษาและสภาพเศรษฐกิจของอิหร่านเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ จนอังกฤษและสหรัฐนับอิหร่านเป็นพันธมิตรสำคัญในแถบตะวันออกกลาง

ทว่าการครองราชย์ของพระองค์ที่ทรงอำนาจขึ้นเรื่อย ก็ถือเป็นเผด็จการ เพราะพระองค์ จำกัดเสรีภาพหรือการแสดงความเห็นทางการเมืองของฝ่ายค้าน และเพิกเฉยต่อข้อเสนอของฝั่งคอมมิวนิสต์และผู้เคร่งศาสนาที่จะให้ระบบการเมืองเป็นการคานอำนาจระหว่างพรรค ทุกครั้งที่มีผู้ต่อต้านอำนาจก็จะมีการออกมาปราบปราม  รวมถึงการมีข้อห้ามในข้อกำหนดทางศาสนาบางประการ เช่น การบังคับให้ผู้หญิงไม่สวมเครื่องแต่งกายมุสลิมในที่สาธารณะ ก็ทำให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมไม่พอใจ นำไปสู่การปฏิวัติต่อต้านการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คอรัปชัน และการกดทับสิทธิของปัจเจกชนโดยรัฐที่อยู่ภายใต้กษัตริย์ โดย Ayatollah Khomeini และกลุ่มผู้ประท้วงที่อยู่ในฝั่งประชานิยม และยังเป็นพวกชาตินิยมที่เคร่งศาสนานิกายชีอะห์ ซึ่งการปฏิวัตินั้นได้ส่งผลยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน และนั่นก็เป็นเวลากว่า 40 ปีมาแล้ว

แต่เมื่อไม่นานมานี้วงดนตรีจากเท็กซัสอย่าง Khruangbin ได้ปล่อยเพลงจากอัลบั้มชุดใหม่ชื่อ Maria También หรือ Dance of Maria ต้นฉบับเป็นของศิลปินที่ชื่อ Elias Rahbani ในปี 1974 ที่ซาวด์ดนตรีต่างจากงานก่อน ของวงโดยได้อิทธิพลจากดนตรีตะวันออกกลาง พวกเขาเล่าว่าได้แรงบันดาลใจจากสตรีที่สร้างงานศิลปะในอิหร่านอย่างอิสระ ทำให้เราได้เห็นฟุตเทจวิดิโอของนักร้องเปอร์เซียนที่เต้นรำอย่างมีชีวิตชีวาหลายต่อหลายคน ก่อนที่จะเกิด Iranian Revolution ในปี 1979

หลังจากดูมิวสิกวิดิโอจบแล้วก็ต้องรู้สึกประหลาดใจ เพราะก่อนหน้านี้เราคงนึกภาพชาวอิหร่านเต้นทวิสต์ไปกับเพลงร็อกแอนด์โรลไม่ออกใช่ไหม?

ก่อนการปฏิวัติ

เราได้เจอแฟ้มภาพที่สำนักข่าวต่างประเทศหลาย หัวได้นำเสนอชีวิตประจำวันของชาวอิหร่านช่วงก่อนการปฏิวัติ เราพบว่าประเทศของพวกเขาเต็มไปด้วยสีสัน ดูสนุกสนาน มีอิสรภาพ และรุ่มรวยในงานวัฒนธรรม ผู้หญิงและผู้ชายจากยุค 60s-70s แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบตะวันตกสีสันสดใส แม้กระทั่งมินิสเกิร์ตโชว์เรียวขาของพวกเธอ เมคอัพและเครื่องประดับจัดเต็ม ผู้ชายเองก็แต่งตัวตามสมัยนิยม เสื้อยืดพอดีตัวกับกางเกงขาบาน ไว้ผมทรงมุลเลต ทุกคนสามารถร้องรำทำเพลงไปกับแนวดนตรีต่าง ได้อย่างเท่าเทียมซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในปัจจุบัน

Iranian Revolution

ยิ่งเห็นแบบนี้แล้วยิ่งทำให้เราต้องค้นลึกลงไปถึงศิลปะร่วมสมัยของพวกเขา โดยเฉพาะกับดนตรีอันเป็นสิ่งบันเทิงในชีวิตประจำวัน ก่อนหน้านี้คนทั่วไปจะฟังแต่เพลงท้องถิ่นอิหร่านที่ใช้เครื่องดนตรีเช่นกลองพื้นบ้าน เครื่องสายอิหร่านอย่าง qanun เมโลดี้ร้องแบบดั้งเดิม แต่หลังจากเทคโนโลยีวิทยุถูกนำเข้ามาใช้ในช่วงสงคราม เพลงป๊อปก็เริ่มแพร่กระจายไปในอิหร่านและเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 1950s จากสภาวะที่ประเทศกำลังเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างเต็มที่ และเพลงป๊อปเหล่านี้ก็มีความแปลกใหม่ด้วยการผสมผสานดนตรีพื้นบ้านของอิหร่านเข้ากับเครื่องดนตรีสากลอย่างกีตาร์ไฟฟ้า เบส กลอง คีย์บอร์ด เกิดเป็นเพลงที่มีซาวด์ของฟังก์ ดิสโก้ กรูฟ ไซคีเดลิก แต่เป็นภาษาเปอร์เซียน เพียงแค่เนื้อหาก็ยังพูดถึงความรัก ความเปลี่ยวเหงา ถ่ายทอดความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา มันก็แค่อะไรที่ปุถุชนคนธรรมดาจะประสบเหมือน กัน และคนที่ถูกยกให้เป็นสุลต่านแห่งเพลงป๊อปและแจ๊สอิหร่านก็คือ Viguen เขานี่แหละคือผู้บุกเบิกการนำกีตาร์มาบรรเลงในเพลงร่วมสมัยเป็นคนแรก

ระหว่างที่เรากำลังหาเพลงอิหร่านยุคก่อนปฏิวัติเพลงอื่น ฟัง เราก็ได้พบกับอัลบั้ม Pomegranates: Persian Pop, Funk, Folk and Psych of the 60s and 70s ที่รวบรวมดนตรีอิหร่านในสมัยนั้น และทำให้เราอดจินตนาการถึงความมีชีวิตชีวาของคนรุ่นใหม่ในเตหะราน ขณะนั้นไม่ได้

แม้แต่วงร็อกก็เป็นอะไรที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ที่อิหร่านมีวงบลูส์ร็อก การาจซาวด์ดุ อย่าง Jokers เป็นเหมือน hidden gem ที่เซอร์ไพรส์เราไม่น้อย

ยิ่ง compilation album นี้เหมือนเป็นขุมทรัพย์เพลงการาจยุค 60s ที่ทรงคุณค่ามาก

รู้ไหมคนนี้เป็นดั่งไอคอนิกเลยนะ?

ศิลปินที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นเห็นจะไม่พ้น Faegheh Atashin หรือ Googoosh เธอคือนักร้องดิว่าที่ถูกพูดถึงในฐานะนักร้องคนสำคัญของอิหร่านเพราะเป็นต้นแบบของศิลปินหลาย คนในยุค 70s เธอได้รับอิทธิพลจากเพลงอเมริกันมาอย่างเต็มเปี่ยม จากวิดิโอด้านล่างนี้เธอไปออกรายการโทรทัศน์ของอิหร่านโดยใส่เสื้อผ้าที่เผยให้เห็นเรือนร่างแสดงให้เห็นเสรีภาพทางร่างกายของสตรีอิหร่านในยุคก่อน Iranian Revolution มากขนาดไหน

เธอเล่าว่าผู้หญิงคนแรกที่ถอดฮิญาบบนเวทีคือ Qamar-ol-Moluk Vaziri ซึ่งนั่นก็จุดประกายให้เธอทำตาม และเธอก็คือคนแรกที่ใส่ท่าเต้นโยกย้ายตามเพลงเข้าไปในการแสดง เป็นคนแรกที่ตัดผมทรงบ็อบแบบพวกม้อด และเธอก็เป็นผู้หญิงอิหร่านคนแรกที่ได้แสดงบทนำในภาพยนตร์เรื่อง ‘Bita’ ในปี 1972 นอกจากนี้เธอจะเคยคัฟเวอร์เพลง Respect ของ Aretha Franklin แล้วฟังก์เท่ ของ Sly and The Family Stone ในเพลง I Want to Take You Higher อีกด้วย

ความโด่งดังของเธอทำให้มีแฟนเพลงต่างประเทศ โดยแผ่นเสียงของเธอขายดีเป็นเทน้ำเทท่าตั้งแต่ในเตหะรานจนถึงโรม ภายหลังเธอก็กลายมาเป็น Iranian-American รุ่นแรก เพราะได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติและต้องย้ายที่พำนักเช่นเดียวกันกับศิลปินคนอื่น แต่แล้วเธอก็พบว่าไม่สามารถอยู่ห่างจากบ้านเกิดของตัวเองได้ สามเดือนต่อมาจึงตัดสินใจกลับไปเตหะราน แต่ก็ต้องถูกจับกุมในคุก ภายหลังก็คุมตัวในบ้านของเธอเอง และโดนแบนถึง 21 ปี ไม่ให้ทำการแสดงหรือสร้างผลงานใหม่ เลย

แต่ก็ไม่มีใครหยุด Googoosh ได้ เมื่อผลงานของเธอถูกเผยแพร่ไปยังผู้อพยพชาวอิหร่านผ่านเทปคาสเซ็ตที่อัดก็อปปี้มาอีกที ชื่อของเธอถูกพูดถึงแบบปากต่อปาก จนในปี 2000 เธอกลับมาออกอัลบั้มชื่อ Zoroaster ในวัย 50 ปี และมีการทัวร์คอนเสิร์ตเกิดขึ้น เพลงของเธอถูกนำไปใช้เป็นแซมพลิงในเพลง Feedback ของ Kanye West แบบรีเวิร์ส แม้แต่ Beyonce กับ Jay Z ก็ยังชื่นชอบงานของเธอ

หลังการปฏิวัติ

เนื่องด้วยการปฏิวัติดังกล่าวคือการเปลี่ยนจากระบอบปกครองโดยกษัตริย์เพื่อเปลี่ยนให้อิหร่านกลายเป็นรัฐอิสลาม รวมถึงต่อต้านแนวความคิดจากตะวันตกทุกด้าน เลยส่งผลปฏิปักษ์กับศิลปวัฒนธรรมต่าง ที่มีมาของอิหร่านในยุคก่อนหน้า โดยเฉพาะกับดนตรีและการเต้นรำที่สร้างความเริงรมย์ถูกจัดเป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนา เว้นแต่การเต้นรำในพิธีกรรมโดยผู้แสดงต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็ต้องกลับมาแต่งกายมิดชิด ไม่สามารถร้องเพลงและเต้นรำได้อีกต่อไป (เว้นแต่ว่าจะร้องในสถานที่ปิด หรือไม่ก็ต้องเป็นนักร้องที่อยู่ในวงดนตรีผู้ชาย เพราะเสียงของผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้ร้องออกมาได้แบบโดด ) แม้แต่การฟังเพลงป๊อปแบบตะวันตกก็ยังเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ดังนั้นเพลงที่ได้ยินส่วนมากในเวลาต่อมาจะเป็นเพลงโฆษณาชวนเชื่อของรัฐ เพลงศาสนา หรือเพลงปลุกใจช่วงสงคราม หรือเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องมาจากบทกวีโบราณที่ไม่ขัดต่อข้อห้ามรัฐ วงดนตรีพื้นบ้านหรือวงซิมโฟนีออเคสตราก็ยังมีได้แต่ต้องเป็นการจัดแสดงตามที่รัฐอนุญาต หรือต้องได้รับการตรวจสอบจากทางการก่อน

เราอาจเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเขมรแดงมาบ้างในบทความก่อนหน้า ซึ่งชะตากรรมของศิลปินป๊อป คนทำเพลงประกอบภาพยนตร์ และนักดนตรีและผู้ประพันธ์เพลงคลาสสิกในยุคนั้นก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ พวกเขาต้องหลบหนีไปพำนักในประเทศที่อนุญาตให้พวกเขาสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะต่อไปได้ ซึ่งหมุดหมายยอดฮิตก็คือลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา มีศิลปิน Iranian-American เกิดขึ้นมากมายในช่วงนั้น แต่หลังยุคที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ รัฐอิหร่านก็พบว่าคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นประชากรกว่า 70% ในขณะนั้นมองว่าเพลงพื้นบ้านน่าหดหู่สำหรับพวกเขา และอยากฟังเพลงสนุก แบบที่เคยมีในยุค 60s มากกว่า หากแต่ศิลปินยุคบุกเบิกเหล่านั้นได้อพยพไปอยู่ที่อื่นหมดแล้ว ทำให้รัฐต้องอะลุ่มอล่วยให้เพลงป๊อปเป็นสิ่งถูกกฎหมายนับแต่นั้นเป็นต้นมา

การต่อต้านโดยสันติและความอะลุ่มอล่วยด้านวัฒนธรรม

แม้ข้อห้ามทางศาสนาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อ 40 ปีก่อน อันเป็นตัวจำกัดขอบเขตการสร้างสรรค์ของศิลปินยุคปัจจุบันและริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงจะยังคงอยู่ ทำให้มีการเริ่มแสดงท่าทีของผู้ไม่เห็นด้วยและต้องการอิสรภาพทางความคิดและร่างกายเกิดขึ้นอยู่เรื่อย

ในปี 2014 มีผู้หญิงหลายคนโพสต์ภาพตัวเองไม่สวมฮิญาบลงในโซเชียลมีเดีย และในปี 2017 ก็มีผู้หญิงออกมาประท้วงด้วยการโบกธงขาว ซึ่งเป็นฮิญาบของเธอเองที่เอามาผูกติดกับไม้ยาว และต้องจำคุก 1 เดือน หลังจากนั้นก็มีผู้หญิงหลายคน รวมถึงผู้ชายบางคน เริ่มทำเช่นเดียวกับเธอ และการเคลื่อนไหวนี้ก็ถูกเรียกว่า ‘The Girls of Revolution Street’ มีผู้หญิงบางคนถูกศาลสั่งฑันท์บนฐานไม่สวมฮิญาบในที่สาธารณะถึง 18 ปี อนึ่ง พวกเธอบางคนก็แสดงความเห็นว่าเธอยอมรับ เคารพ และสนับสนุนผู้หญิงที่ต้องการใส่ฮิญาบ แต่สำหรับเธอที่ไม่ต้องการสวมฮิญาบก็เพียงต้องการอิสรภาพของตัวเองเท่านั้น

หรือแม้แต่การเข้าชมฟุตบอลก็ยังเป็นสิ่งต้องห้ามของพวกเธอ โดยรัฐอ้างว่าการห้ามอย่างไม่เป็นทางการนี้ก็เพื่อไม่ให้ผู้หญิงได้ยินคำสบถจากผู้ชาย ก่อนหน้านี้มีผู้หญิง 35 คนพยายามเข้าไปในสนามเพื่อรับชม แต่ก็ถูกจับกุมในภายหลัง ทำให้ต่อมามีผู้หญิงสองคนปลอมตัวเป็นผู้ชายและเข้าไปรับชมการแข่งขันได้สำเร็จ พวกเธอถ่ายคลิปวิดิโอออกมาเป็นไวรัลอยู่พักหนึ่ง

ทว่าเป็นเรื่องดีที่คนในภาครัฐและผู้นำทางศาสนาบางคนที่เห็นด้วยกับการปฏิรูปเสียใหม่ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน Ali Khamenei ผู้นำอิหร่านได้สำรวจประชากรอิหร่านพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการถูกบังคับให้ใส่ฮิญาบ และทางการกำลังพิจารณาให้ล้มเลิกข้อห้ามแฟนบอลหญิงเข้าชมในสนาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกระบวนการก็ยังมีอุปสรรคจากกลุ่มเคร่งศาสนาที่มีอำนาจอยู่

ทางด้านดนตรีเองก็เริ่มมีวงดนตรีใต้ดินที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงอารยะขัดขืนผ่านงานศิลปะ พวกเขาทำเพลงร็อก เมทัล แร็ป ออกมาเป็นปริปักษ์กับแนวคิดหลักของรัฐบาลอย่างเห็นได้ชัด แต่โดยส่วนมากพวกเขามักมีจุดจบที่การโดนจับกุมที่ house party หรือเวทีการแสดงสดลับ เสมอ แต่ในภายหลังก็ยังพอมีความผ่อนปรนหลาย อย่างโดยอนุญาตให้คนสร้างสรรค์งานที่คาบเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตก เกิดกลุ่ม Rap-e Farsi หรือ Presian rap ขึ้นมา แต่บางคนก็ไม่ตกเป็นเป้าสายตาของรัฐเพราะพวกเขาทำเพลงเนื้อหาป๊อปไม่มีพิษภัย

หรือในปัจจุบันก็มีวง Mitra Sumitra ดนตรีอิหร่านขนานแท้ที่สร้างสีสันให้กับนิวยอร์กด้วยเพลง Farsi funk ที่ทำให้เรานึกถึงงานต้นตำรับ และทำให้ผู้คนได้รู้จักกับ Persian music มากยิ่งขึ้น

ก็ต้องรอติดตามกันต่อไปว่าอนาคตของสิทธิเสรีภาพและการแสดงออกทางวัฒนธรรมของอิหร่านจะเดินต่อไปในทิศทางไหน เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ประเทศไทยในตอนนี้ที่น่าห่วงไม่แพ้กัน ยังมีโครงสร้างเกมการเมืองซับซ้อนที่ประชาชนยังต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย ขออนุญาตฟังเพลงไปตามข่าวไปก็นะ (จะว่าไปอาการลักปิดลักเปิดทางการเมืองของบ้านเราก็มีมายาวนานพอ กับบ้านเขาแหละ อุ๊ปส์)

 

อ้างอิง
อิหร่าน : หญิงผู้ไม่ยอมสวมฮิญาบ
ผู้หญิงอิหร่านปลอมเป็นผู้ชายเข้าไปดูฟุตบอลในสนาม
From locals doing the ‘Tehran twist’ to students sporting mullets and miniskirts: Fascinating photos reveal life in Iran before the revolution
Cultural Changes of Iranian Music after Islamic Revolution
Iran Before the Revolution in photos
Identity and The Golden Age of Persian Pop Music: Psychedelic, Garage Rock, and Funk from 1960s Iran
Iranian Icon Googoosh on Being Banned from Singing and Breaking the Rules
Facebook Comments

Next:


Montipa Virojpan

อิ๊ก เนิร์ดดนตรีที่เพิ่งกล้าเรียกตัวเองว่าเป็นนักเขียนตอนอายุ 25 ชอบเดินเร็ว นอกจากขนมปังกับกาแฟดำแล้วก็สามารถกินไอศกรีมกับคราฟต์เบียร์แทนมื้อเช้าได้